ASTVผู้จัดการรายวัน - เผย กทม.-ปริมณฑลมีหนี้สินสูงสุดเฉลี่ย 188,404 บาทต่อครัวเรือน ส่วนยอดรวมทั้งประเทศ 133,293 บาท ยังดีที่หนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบถึง 21 เท่า ด้านกรุงเทพโพลชี้ 80% ประชาชนหนุนรัฐแก้หนี้นอกระบบ
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงาน ครม. โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาวะหนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือนจากครัวเรือนทั่วประเทศ จากตัวอย่างครัวเรือน 26,000 ครัวเรือน พบว่า รายได้ครัวเรือน ปี 2552 ทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงาน (ร้อยละ 72.2) ซึ่งได้แก่ ค่าจ้างเงินเดือน (ร้อยละ 40.2) จากการทำธุรกิจ (ร้อยละ 20) และจากการทำการเกษตร (ร้อยละ 12) และมีรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นนอกครัวเรือน/รัฐ (ร้อยละ 10.3) รายได้จากทรัพย์สิน เช่น ดอกเบี้ย (ร้อยละ 1.5) นอกจากนั้นยังมีรายได้ในรูปแบบสวัสดิการ/สินค้าและบริการต่าง ๆ (ร้อยละ 14.3)
ส่วนค่าใช้จ่าย ใน 6 เดือน พบว่า มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,225 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ร้อยละ 33.5 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม (ซึ่งมีค่าเครื่องดื่มที่เป็นแฮลกอฮอล์ร้อยละ 1.5) รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน (ร้อยละ 20.5) ใช้เกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ (ร้อยละ 17.5) ใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้า (ร้อยละ 5.5) ในการสื่อสารร้อยละ 3.2 และใช้ในการบันเทิง/จัดงานพิธี ใช้ในการศึกษาค่าเวชภัณฑ์/ค่ารักษาพยาบาล ประมาณร้อยละ 2-2.5 กิจกรรมทางศาสนามีเพียงร้อยละ 1.1 แต่ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 12.1
"ครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 61.8 โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 133,293 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือ ซื้อบ้าน/ที่ดิน ร้อยละ 36.3 ใช้ในการอุปโภคบริโภคร้อยละ 29.7 และหนี้ที่ใช้ในการศึกษามีเพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้น สำหรับหนี้สินเพื่อทำการเกษตรและทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 14.8" รองโฆษกฯกล่าวและว่า ครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบ และนอกระบบปี 52 ใน 6 เดือน พบว่า ส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ โดยเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบอย่างเดียวร้อยละ 82.9 และเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งในและนอกระบบร้อยละ 9.7 สำหรับครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียงร้อยละ 7.4
“จำนวนเงินเฉลี่ยที่เป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ ถึง 21 เท่า คือ เป็นหนี้ในระบบเฉลี่ย 127,152 บาท และเป็นหนี้นอกระบบเฉลี่ย 6,140 บาทต่อครัวเรือน” นพ.ภูมินทร์กล่าว
**คนกรุงสูงสุด 1.8 แสนบาท/ครัวเรือน
เมื่อแบ่งเป็นรายภาค กรุงเทพฯและปริมณฑล มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่นมาก คือ 36,745 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายและจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุดเช่นเดียวกัน คือค่าใช้จ่าย 27,636 บาทต่อครัวเรือน และหนี้สิน 188,404 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 81.5 ทำให้มีเงินออมหรือชำระหนี้ได้น้อยกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งนี้พบว่า ครัวเรือนทีมีอาชีพนัดวิชาการ นักบริหาร ผู้ปฏิบัติวิชาชีพยังมีรายได้เฉลี่ยสูงสุดที่ 48,838 บาท แต่ก็พบว่ามีรายจ่ายสูงและหนี้สูงตามมา ขณะที่ครัวเรือนเกษตรกรรม ประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์หาของป่ามีรายได้เฉลี่ย 9,073บาท
“ยังพบว่า ตั้งแต่2543 ถึงปี 2552 ครัวเรือนมีรายได้และร่ายจ่ายสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีรายได้เพิ่มจาก 12,150 เป็น 21,135 บาท และมีรายจ่ายเพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาทตามลำดับ ขณะที่พบว่า หนี้สินต่อรายได้ในปี 2547 จะสูงสุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามพบว่ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 7 เท่า เป็น 6.3 เท่า ในปี 2550 และทรงตัวในปี 2552”
**โพลหนุนรัฐแก้หนี้นอกระบบ
กรุงเทพโพลระบุ ประชาชนกว่าร้อยละ 79 เห็นด้วยกับโครงการแก้หนี้นอกระบบของรัฐฯ ส่วนการแก้ปัญหาร้อยละ 51.2 แนะให้รู้จักการวางแผนใช้เงิน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพทำการสำรวจประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,416 คน ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ย.ที่ผ่านมา หัวข้อ “รัฐบาลกับการพยุงหนี้นอกระบบ” พบว่าคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 79 เห็นด้วยกับโครงการพยุงหนี้นอกระบบของรัฐบาล แม้ส่วนใหญ่จะเห็นว่าการรู้จักวางแผนใช้จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือย เป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงาน ครม. โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาวะหนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือนจากครัวเรือนทั่วประเทศ จากตัวอย่างครัวเรือน 26,000 ครัวเรือน พบว่า รายได้ครัวเรือน ปี 2552 ทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงาน (ร้อยละ 72.2) ซึ่งได้แก่ ค่าจ้างเงินเดือน (ร้อยละ 40.2) จากการทำธุรกิจ (ร้อยละ 20) และจากการทำการเกษตร (ร้อยละ 12) และมีรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นนอกครัวเรือน/รัฐ (ร้อยละ 10.3) รายได้จากทรัพย์สิน เช่น ดอกเบี้ย (ร้อยละ 1.5) นอกจากนั้นยังมีรายได้ในรูปแบบสวัสดิการ/สินค้าและบริการต่าง ๆ (ร้อยละ 14.3)
ส่วนค่าใช้จ่าย ใน 6 เดือน พบว่า มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,225 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ร้อยละ 33.5 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม (ซึ่งมีค่าเครื่องดื่มที่เป็นแฮลกอฮอล์ร้อยละ 1.5) รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน (ร้อยละ 20.5) ใช้เกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ (ร้อยละ 17.5) ใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้า (ร้อยละ 5.5) ในการสื่อสารร้อยละ 3.2 และใช้ในการบันเทิง/จัดงานพิธี ใช้ในการศึกษาค่าเวชภัณฑ์/ค่ารักษาพยาบาล ประมาณร้อยละ 2-2.5 กิจกรรมทางศาสนามีเพียงร้อยละ 1.1 แต่ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 12.1
"ครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 61.8 โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 133,293 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือ ซื้อบ้าน/ที่ดิน ร้อยละ 36.3 ใช้ในการอุปโภคบริโภคร้อยละ 29.7 และหนี้ที่ใช้ในการศึกษามีเพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้น สำหรับหนี้สินเพื่อทำการเกษตรและทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 14.8" รองโฆษกฯกล่าวและว่า ครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบ และนอกระบบปี 52 ใน 6 เดือน พบว่า ส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ โดยเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบอย่างเดียวร้อยละ 82.9 และเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งในและนอกระบบร้อยละ 9.7 สำหรับครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียงร้อยละ 7.4
“จำนวนเงินเฉลี่ยที่เป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ ถึง 21 เท่า คือ เป็นหนี้ในระบบเฉลี่ย 127,152 บาท และเป็นหนี้นอกระบบเฉลี่ย 6,140 บาทต่อครัวเรือน” นพ.ภูมินทร์กล่าว
**คนกรุงสูงสุด 1.8 แสนบาท/ครัวเรือน
เมื่อแบ่งเป็นรายภาค กรุงเทพฯและปริมณฑล มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่นมาก คือ 36,745 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายและจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุดเช่นเดียวกัน คือค่าใช้จ่าย 27,636 บาทต่อครัวเรือน และหนี้สิน 188,404 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 81.5 ทำให้มีเงินออมหรือชำระหนี้ได้น้อยกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งนี้พบว่า ครัวเรือนทีมีอาชีพนัดวิชาการ นักบริหาร ผู้ปฏิบัติวิชาชีพยังมีรายได้เฉลี่ยสูงสุดที่ 48,838 บาท แต่ก็พบว่ามีรายจ่ายสูงและหนี้สูงตามมา ขณะที่ครัวเรือนเกษตรกรรม ประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์หาของป่ามีรายได้เฉลี่ย 9,073บาท
“ยังพบว่า ตั้งแต่2543 ถึงปี 2552 ครัวเรือนมีรายได้และร่ายจ่ายสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีรายได้เพิ่มจาก 12,150 เป็น 21,135 บาท และมีรายจ่ายเพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาทตามลำดับ ขณะที่พบว่า หนี้สินต่อรายได้ในปี 2547 จะสูงสุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามพบว่ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 7 เท่า เป็น 6.3 เท่า ในปี 2550 และทรงตัวในปี 2552”
**โพลหนุนรัฐแก้หนี้นอกระบบ
กรุงเทพโพลระบุ ประชาชนกว่าร้อยละ 79 เห็นด้วยกับโครงการแก้หนี้นอกระบบของรัฐฯ ส่วนการแก้ปัญหาร้อยละ 51.2 แนะให้รู้จักการวางแผนใช้เงิน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพทำการสำรวจประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,416 คน ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ย.ที่ผ่านมา หัวข้อ “รัฐบาลกับการพยุงหนี้นอกระบบ” พบว่าคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 79 เห็นด้วยกับโครงการพยุงหนี้นอกระบบของรัฐบาล แม้ส่วนใหญ่จะเห็นว่าการรู้จักวางแผนใช้จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือย เป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด