ASTVผู้จัดการรายวัน-คณะทำงานอัยการ ยันไม่ได้ตีกลับสำนวนคดีราเกซ แต่เป็นการให้ตำรวจสอบเพิ่ม ประเด็นแปลเอกสารภาษาอังกฤษประกอบสำนวน-แจ้งสิทธิผู้ต้องหา เชื่อยื่นฟ้องได้ก่อนครบฝากขังครั้งที่สอง 11 พ.ย.นี้ ด้าน"สุเทพ"แจงกระทู้ถามสด ยันข้อมูลบีบีซี ยังเหมือนเดิม ลั่นตนไม่มีหน้าที่ดำเนินคดีใคร "ไอ้ตู่” ย้อนรอยขึงพรืด “บิ๊กเติ้ง”ทางสภาข้อหาร่วมมือ“ราเกซ”ยักยอกแบงค์บีบีซี
วานนี้(5 พ.ย.)นายสมพร แย้มนิล อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดีนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ผู้ต้องหาคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อนุมัติสินเชื่อปล่อยกู้ให้บริษัท ซิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวที่ระบุว่าคณะทำงานอัยการตีกลับสำนวนการสอบปากคำนายราเกซ ของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ว่า ในการประชุมคณะทำงานอัยการ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ประชุมพบข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวน 2 ประเด็น เกี่ยวกับการแปลเอกสารภาษาอังกฤษที่แนบมากับคำสั่งศาลแคนาดาในคดีส่งตัวนายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งประกอบมาในสำนวน และเรื่องการแจ้งสิทธิต่อสู้คดีให้ผู้ต้องหาทราบ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 อัยการจึงได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนไปสอบเพิ่มเติมในทั้งสองประเด็น ทั้งยังกำชับให้ดำเนินการโดยเร็ว
“ข่าวที่ออกมาน่าจะเป็นการเข้าใจผิด อัยการให้ตำรวจไปสอบสวนเพิ่มเติม ไม่ใช่ตีกลับสำนวน และยังเร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร็ว ซึ่งเชื่อว่าทางพนักงานสอบสวนก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ หากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบเพิ่มเติมเข้ามาครบถ้วนแล้ว เชื่อว่าอัยการจะยื่นฟ้องนายราเกซได้ก่อนครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 พ.ย.นี้”
**ราเกซ ยังไม่ขอความคุ้มครอง
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ รักษาการผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษ เปิดเผยถึงความเป็นอยู่ในเรือนจำของนายราเกซ สักเสนา ว่ามีสุขภาพร่างกายดีขึ้น หน้าตาสดใส โดยได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ และเพื่อนผู้ต้องขัง โดยแพทย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่เข้ามาตรวจร่างกายนายราเกซ รายงานว่า นายราเกซ มีอาการปกติ ส่วนอาการอัมพาตไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
อย่างไรก็ตาม ช่วงเช้ามี ภรรยาชาวไทยของนายราเกซ ได้มาติดต่อเข้าเยี่ยม โดยใช้เวลาเยี่ยมตามระเบียบที่เรือนจำกำหนด คือเยี่ยมได้วันละ 10 ครั้ง ภายในเวลา 20 นาที
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวว่า ขณะนี้นายราเกซ ยังไม่ขอรับความคุ้มครองใดๆ และยังไม่ให้การใดๆ ต่อเจ้าหน้าที่ แม้ว่านายราเกซ จะอยู่ในฐานะผู้ต้องหาในคดีอาญา จึงไม่อยู่ในข่ายพยานที่มีสิทธิ์ร้องขอการคุ้มครองพยานตามกฎหมาย แต่นายราเกซ ถือเป็นผู้ต้องหาที่มีข้อมูลสำคัญ หากนายราเกซ เกรงว่าครอบครัวและญาติมิตรอาจตกอยู่ในอันตราย มีเหตุผลเพียงพอที่สามารถร้องขอให้ดีเอสไอส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยให้กับญาติได้
**"ไอ้ตู่"ท้า"สุเทพ"จับบรรหาร
วันเดียวกัน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้สดถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องสอบถามความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้สร้างความเสียหายแก่ธนาคารกรุงเทพฯพณิชย์การจำกัด(มหาชน)ว่าการล้มของธนาคากรุงเทพฯพาณิชย์การ(บีบีซี)จำกัด(มหาชน)ในปี 2538 -2540 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายยังอยู่กันครบถ้วน และผู้ที่ถูกกล่าวหาและพวกที่กล่าวหากลายเป็นพวกเดียวกัน โดยนายสุเทพ เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายบรรหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2539 ว่านายบรรหาร ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ผิดประมวลกฎหมายมาตรา 148 เพราะหาทรัพย์สินประโยชน์อื่นใด จึงถามว่าขณะที่นายสุเทพ และพวกทำการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายบรรหาร ได้นำพยานเอกสารและบันทึกข้อเท็จจริงนายราเกซ 15 หน้าที่พบว่าทำผิด แล้ววันนี้นายสุเทพ เป็นรองนายกฯและกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วยังยืนยันในหลักฐานเรื่องเช็คธนาคารแหลมทองจำนวน 20 ล้านบาทหรือไม่ แล้วทำไมนายสุเทพ ไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีในพยานหลักฐานที่มี เมื่อนายสุเทพ รับผิดชอบโดยตรง แล้วนายสุเทพ มีความคิดที่จะดำเนินคดีกับนายบรรหาร หรือไม่ แล้วนายสุเทพยังยืนยันสิ่งที่เคยอภิปรายไว้หรือไม่
**"เทพ"ตอบไม่มีหน้าที่ดำเนินคดีใคร
นายสุเทพ ชี้แจงว่า ตนได้ทำหน้าที่ ส.ส.ในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลครบถ้วนกระบวนความและรวบรวมเอกสารเท่าที่ทำได้ ว่าเพราะเหตุใดไม่ไว้วางใจ ครม.ในขณะนั้น และเมื่อภิปรายเสร็จสิ้นก็ยื่นเอกสารหลักฐานให้ประธานสภาฯ ตนไม่มีหน้าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลที่ตนอภิปรายใดๆทั้งสิ้น คนที่ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษคือผู้เสียหาย และกรณีนี้คนที่ร้องทุกข์กล่าวโทษกรณี ธนาคารบีบีซี คือธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารบีบีซี ก็ไปร้องทุกข์เพราะเป็นผู้เสียหาย ส่วนเอกสารก็หาได้ที่สภาฯ ส่วนตนก็มีสำเนาอยู่แต่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร
นายสุเทพ ชี้แจงต่อว่า ตอนอภิปรายจบได้นำพยานหลักฐานส่งให้ประธานสภาฯแล้ว ส่วนทำไมตนไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษนายราเกซ ในความคิดของตนได้ปฏิบัติหน้าที่การเป็น ส.ส.แล้ว ที่มีหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร สมัยนั้น ยังไม่มีองค์กรอิสระเหมือนสมัยนี้ ไม่มี กกต. ถ้ามีตนคงทำเหมือนยื่นเรื่องยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนอย่างที่ทำมา ส่วนเรื่องนี้ใครผิดใครถูก เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องดำเนินการเมืองมีคนร้องทุกข์
**อัดรัฐบาลชวลิตล้มเพราะลดค่าเงินบาท
นายสุเทพ ยังชี้แจงว่า ตนรับผิดชอบในคำอภิปรายที่บันทึกไว้ เอกสารหลักฐานที่บันทึกไว้ก็ได้ส่งไปให้ประธานสภาฯแล้ว ตำรวจก็มาขอหลักฐานและคำอภิปรายตามขั้นตอนแล้ว ส่วนมีการอภิปรายที่พาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ ว่าการอภิปรายของตนทำให้รัฐบาลนายบรรหาร ล้ม และรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ขึ้นมาแล้วต้องล้มเพราะพรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีพิเศษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ล้มเพราะไปลดค่าเงินบาทและถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วท่านก็ลาออกเสียเอง และพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ ส่วนเอกสารหลักฐานที่ไม่นำจับกุมนายบรรหาร เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่และหากนายราเกซ ซักทอดใคร เจ้าหน้าที่ก็สามารถตั้งต้นคดีใหม่ได้
**"สุรพงษ์"เล็งขอข้อมูลราเกซในคุก
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯกำลังติดตามและต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี ที่ล่าสุดมีการนำตัวนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ มาดำเนินคดี โดยคณะกรรมาธิการฯจะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี อดีตนักการเมืองกลุ่ม 16 หรือแม้แต่นายราเกซ มาให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการฯ หรือคณะกรรมาธิการฯอาจจะเดินทางไปพบนายราเกซ ถึงคุกเพื่อขอให้ นายราเกซ เปิดเผยความจริงสักครั้งในชีวิต เพื่อจะได้นำมาเสนอสู่สาธารณะชนว่าสิ่งเลวร้ายในสังคมนั้นคืออะไร เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป
นอกจากนี้ ตนได้ขอสำเนารายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2539 ที่นายสุเทพ เคยอภิปรายเปิดโปงทุจริตในเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา ในคณะกรรมาธิการฯด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้เห็นว่ามีใครเกี่ยวข้องอย่างไร และรัฐบาลที่นายสุเทพนั่งเป็นรองนายกฯอยู่ในขณะนี้จะจัดการหรือไม่
วานนี้(5 พ.ย.)นายสมพร แย้มนิล อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดีนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ผู้ต้องหาคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อนุมัติสินเชื่อปล่อยกู้ให้บริษัท ซิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวที่ระบุว่าคณะทำงานอัยการตีกลับสำนวนการสอบปากคำนายราเกซ ของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ว่า ในการประชุมคณะทำงานอัยการ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ประชุมพบข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวน 2 ประเด็น เกี่ยวกับการแปลเอกสารภาษาอังกฤษที่แนบมากับคำสั่งศาลแคนาดาในคดีส่งตัวนายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งประกอบมาในสำนวน และเรื่องการแจ้งสิทธิต่อสู้คดีให้ผู้ต้องหาทราบ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 อัยการจึงได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนไปสอบเพิ่มเติมในทั้งสองประเด็น ทั้งยังกำชับให้ดำเนินการโดยเร็ว
“ข่าวที่ออกมาน่าจะเป็นการเข้าใจผิด อัยการให้ตำรวจไปสอบสวนเพิ่มเติม ไม่ใช่ตีกลับสำนวน และยังเร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร็ว ซึ่งเชื่อว่าทางพนักงานสอบสวนก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ หากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบเพิ่มเติมเข้ามาครบถ้วนแล้ว เชื่อว่าอัยการจะยื่นฟ้องนายราเกซได้ก่อนครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 พ.ย.นี้”
**ราเกซ ยังไม่ขอความคุ้มครอง
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ รักษาการผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษ เปิดเผยถึงความเป็นอยู่ในเรือนจำของนายราเกซ สักเสนา ว่ามีสุขภาพร่างกายดีขึ้น หน้าตาสดใส โดยได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ และเพื่อนผู้ต้องขัง โดยแพทย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่เข้ามาตรวจร่างกายนายราเกซ รายงานว่า นายราเกซ มีอาการปกติ ส่วนอาการอัมพาตไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
อย่างไรก็ตาม ช่วงเช้ามี ภรรยาชาวไทยของนายราเกซ ได้มาติดต่อเข้าเยี่ยม โดยใช้เวลาเยี่ยมตามระเบียบที่เรือนจำกำหนด คือเยี่ยมได้วันละ 10 ครั้ง ภายในเวลา 20 นาที
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวว่า ขณะนี้นายราเกซ ยังไม่ขอรับความคุ้มครองใดๆ และยังไม่ให้การใดๆ ต่อเจ้าหน้าที่ แม้ว่านายราเกซ จะอยู่ในฐานะผู้ต้องหาในคดีอาญา จึงไม่อยู่ในข่ายพยานที่มีสิทธิ์ร้องขอการคุ้มครองพยานตามกฎหมาย แต่นายราเกซ ถือเป็นผู้ต้องหาที่มีข้อมูลสำคัญ หากนายราเกซ เกรงว่าครอบครัวและญาติมิตรอาจตกอยู่ในอันตราย มีเหตุผลเพียงพอที่สามารถร้องขอให้ดีเอสไอส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยให้กับญาติได้
**"ไอ้ตู่"ท้า"สุเทพ"จับบรรหาร
วันเดียวกัน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้สดถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องสอบถามความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้สร้างความเสียหายแก่ธนาคารกรุงเทพฯพณิชย์การจำกัด(มหาชน)ว่าการล้มของธนาคากรุงเทพฯพาณิชย์การ(บีบีซี)จำกัด(มหาชน)ในปี 2538 -2540 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายยังอยู่กันครบถ้วน และผู้ที่ถูกกล่าวหาและพวกที่กล่าวหากลายเป็นพวกเดียวกัน โดยนายสุเทพ เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายบรรหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2539 ว่านายบรรหาร ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ผิดประมวลกฎหมายมาตรา 148 เพราะหาทรัพย์สินประโยชน์อื่นใด จึงถามว่าขณะที่นายสุเทพ และพวกทำการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายบรรหาร ได้นำพยานเอกสารและบันทึกข้อเท็จจริงนายราเกซ 15 หน้าที่พบว่าทำผิด แล้ววันนี้นายสุเทพ เป็นรองนายกฯและกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วยังยืนยันในหลักฐานเรื่องเช็คธนาคารแหลมทองจำนวน 20 ล้านบาทหรือไม่ แล้วทำไมนายสุเทพ ไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีในพยานหลักฐานที่มี เมื่อนายสุเทพ รับผิดชอบโดยตรง แล้วนายสุเทพ มีความคิดที่จะดำเนินคดีกับนายบรรหาร หรือไม่ แล้วนายสุเทพยังยืนยันสิ่งที่เคยอภิปรายไว้หรือไม่
**"เทพ"ตอบไม่มีหน้าที่ดำเนินคดีใคร
นายสุเทพ ชี้แจงว่า ตนได้ทำหน้าที่ ส.ส.ในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลครบถ้วนกระบวนความและรวบรวมเอกสารเท่าที่ทำได้ ว่าเพราะเหตุใดไม่ไว้วางใจ ครม.ในขณะนั้น และเมื่อภิปรายเสร็จสิ้นก็ยื่นเอกสารหลักฐานให้ประธานสภาฯ ตนไม่มีหน้าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลที่ตนอภิปรายใดๆทั้งสิ้น คนที่ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษคือผู้เสียหาย และกรณีนี้คนที่ร้องทุกข์กล่าวโทษกรณี ธนาคารบีบีซี คือธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารบีบีซี ก็ไปร้องทุกข์เพราะเป็นผู้เสียหาย ส่วนเอกสารก็หาได้ที่สภาฯ ส่วนตนก็มีสำเนาอยู่แต่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร
นายสุเทพ ชี้แจงต่อว่า ตอนอภิปรายจบได้นำพยานหลักฐานส่งให้ประธานสภาฯแล้ว ส่วนทำไมตนไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษนายราเกซ ในความคิดของตนได้ปฏิบัติหน้าที่การเป็น ส.ส.แล้ว ที่มีหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร สมัยนั้น ยังไม่มีองค์กรอิสระเหมือนสมัยนี้ ไม่มี กกต. ถ้ามีตนคงทำเหมือนยื่นเรื่องยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนอย่างที่ทำมา ส่วนเรื่องนี้ใครผิดใครถูก เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องดำเนินการเมืองมีคนร้องทุกข์
**อัดรัฐบาลชวลิตล้มเพราะลดค่าเงินบาท
นายสุเทพ ยังชี้แจงว่า ตนรับผิดชอบในคำอภิปรายที่บันทึกไว้ เอกสารหลักฐานที่บันทึกไว้ก็ได้ส่งไปให้ประธานสภาฯแล้ว ตำรวจก็มาขอหลักฐานและคำอภิปรายตามขั้นตอนแล้ว ส่วนมีการอภิปรายที่พาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ ว่าการอภิปรายของตนทำให้รัฐบาลนายบรรหาร ล้ม และรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ขึ้นมาแล้วต้องล้มเพราะพรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีพิเศษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ล้มเพราะไปลดค่าเงินบาทและถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วท่านก็ลาออกเสียเอง และพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ ส่วนเอกสารหลักฐานที่ไม่นำจับกุมนายบรรหาร เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่และหากนายราเกซ ซักทอดใคร เจ้าหน้าที่ก็สามารถตั้งต้นคดีใหม่ได้
**"สุรพงษ์"เล็งขอข้อมูลราเกซในคุก
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯกำลังติดตามและต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี ที่ล่าสุดมีการนำตัวนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ มาดำเนินคดี โดยคณะกรรมาธิการฯจะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี อดีตนักการเมืองกลุ่ม 16 หรือแม้แต่นายราเกซ มาให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการฯ หรือคณะกรรมาธิการฯอาจจะเดินทางไปพบนายราเกซ ถึงคุกเพื่อขอให้ นายราเกซ เปิดเผยความจริงสักครั้งในชีวิต เพื่อจะได้นำมาเสนอสู่สาธารณะชนว่าสิ่งเลวร้ายในสังคมนั้นคืออะไร เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป
นอกจากนี้ ตนได้ขอสำเนารายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2539 ที่นายสุเทพ เคยอภิปรายเปิดโปงทุจริตในเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา ในคณะกรรมาธิการฯด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้เห็นว่ามีใครเกี่ยวข้องอย่างไร และรัฐบาลที่นายสุเทพนั่งเป็นรองนายกฯอยู่ในขณะนี้จะจัดการหรือไม่