ASTV ผู้จัดการรายวัน – นายกฯ ไฟเขียวตำรวจลุยลากคอไอ้โม่งปล่อยข่าวอัปมงคล หลังรวบรวมพยานหลักฐานเตรียมยื่นศาลขออนุมัติหมายจับ 4-5 ราย รองผบช.ก. เผยอาจเอาผิดทั้งคดีหมิ่นเบื้องสูง และพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ “ดีเอสไอ” เรียก ก.ล.ต. - ตลาดหุ้น ถกกรอบการทำงานร่วมกันวันนี้ “กรณ์” ปิ๊งไอเอดีย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว ต้องแจ้งการถือหุ้นด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับคนที่ปล่อยข่าวลืออุปมงคลที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างหนักเมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีข้อมูลระดับหนึ่งแล้ว หากข้อมูลหลักฐานเพียงพอก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งได้รับทราบจะมีการออกหมายจับประมาณ 4 คน แต่ขณะนี้ยังไมทราบว่าบุคคลที่จะโดนหมายจับมีความสำคัญระดับใด
“ขณะนี้ผมยังไม่เห็นรายชื่อ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกลุ่มนักการเมือง หรือนักธุรกิจระดับใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยข่าวลือดังกล่าว แต่ได้ให้นโยบายว่าหากรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายได้ทันที”
**สัปดาห์หน้าออกหมายจับแน่!
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. กล่าวถึง ความคืบหน้าการติดตามบุคคลที่ปล่อยข่าวลือทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างหนัก ว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเตรียมออกหมายจับผู้ต้องหา 4 -5 ราย ที่ปล่อยข่าวลือดังกล่าว ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
“ขณะนี้การรวบรวมพยานหลักฐานได้มีคืบหน้าไปมากพอสมควรแล้ว โดยคืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 60-70 ส่วนการที่จะนำไปสู่การขอศาลอนุมัติออกหมายจับได้หรือไม่นั้น ขณะนี้ทางพนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมอยู่ และคาดว่าภายในต้นสัปดาห์หน้าจะออกหมายจับได้”
สำหรับความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาจะเกี่ยวข้องกับคดีอาญาเรื่องการหมิ่นประมาท หมิ่นเบื้องสูง หรือ จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือไม่นั้น ทางพนักงานสอบสวนได้ประสานกับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งหากพบมูลความผิดดังกล่าว จะส่งข้อมูลให้กับทางสำนักงานา ก.ล.ต. หรือ ดีเอสไอ เดำเนินการต่อไป
“ตำรวจยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่จะออกหมายจับได้ คงต้องรอให้ได้ตัวผู้ต้องหามาก่อน ”พล.ต.ต.ปัญญา กล่าว
**ดีเอสไอนัดถก ก.ล.ต.-ตลท.วันนี้
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า ดีเอสไอได้แต่งตั้ง พ.ต.อ.มานิตย์ ธนะสันติ ผบ.สำนักงานคดีการเงินและการธนาคาร เป็นหัวหน้าคณะทำงานติดตามและตรวจสอบกรณีการปล่อยข่าวลืออัปมงคลที่กระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และในวันนี้ 30 ต.ค. นี้ จะประชุมหารือร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่จาก ก.ล.ต. เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการทำงานในความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ส่วนประเด็นข่าวลือดีเอสไอจะตรวจสอบว่า กลุ่มคนที่ปล่อยข่าวลือได้ประโยชน์จากตลาดหุ้นหรือไม่และเชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลที่ ก.ล.ต.ส่งรายชื่อมาให้ลักษณะใดนั้น ถ้าทั้งกลุ่มเกี่ยวข้องกันก็ต้องดำเนินคดีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับระยะเวลาในการตรวจสอบคาดว่า นายธาริต กล่าวว่า จะต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะเป็นเรื่องซับซ้อน สำหรับรายชื่อที่ก.ล.ต.ส่งมาให้ดีเอสไอมี 3 กลุ่ม เป็นข้อมูลเดียวกับที่ก.ล.ต.แถลงก่อนหน้านี้ คือ รายชื่อบุคคลธรรมดา ชื่อย่อ ย. หุ้นของ เครดิต สวิส ฮ่องกง และ ยูบีเอส สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การออกหมายจับกลุ่มผู้คนที่ปล่อยข่าวลือของตำรวจ ยังไม่ทราบข้อมูลว่า เป็นกลุ่มใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องประสานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงินหรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า ในชั้นนี้ยังไม่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ของ ปปง. โดยดีเอสไอจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน หากสลับซับซ้อน หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเส้นทางเงินของบุคคลต้องสงสัย อาจจะต้องใช้อำนาจของปปง.ร่วมตรวจสอบ ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำงานที่คิดไว้
**บังคับ ขรก. รสก.แจ้งถือครองหุ้น
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า ได้หารือกับปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเตรียมออกระเบียบกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการของกระทรวงการคลังเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงรายงานข้อมูลการถือหุ้นและการซื้อขายหุ้น ทั้งของตนเองและครอบครัว ก่อนจะขยายไปสู่ข้าราชการทุกคนของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของข้าราชการ โดยจะเริ่มมีผลในต้นปี 53 หลังจากนั้นก็จะนำระเบียบดังกล่าวไปใช้กับทุกหน่วยงานในสังกัดภาครัฐ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวไม่ได้สืบเนื่องมาจากกรณีการปล่อยข่าวลือทุบหุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือน ต.ค.52
"คลังควรต้องทบทวนบทบาทของตัวเอง และต้องปฏิรูปตัวเองก่อน ซึ่งคลังมีแหล่งข้อมูลภายในมากที่สุด แต่จนถึงวันนี้กลับไม่มีเกณฑ์กำกับการซื้อขายหุ้นของข้าราชการ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไข" นายกรณ์กล่าวและว่า นอกจากนั้นยังมีแนวคิดการแก้ไขระเบียบและหลักเกณฑ์การเป็นคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สอดคล้องกันด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีข้าราชการหลายคนเข้าไปนั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจทำให้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น หรือขัดแย้งในบาทของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและผู้กำกับดูแล แต่ก็ยังเห็นว่าจำเป็นต้องให้ข้าราชการเข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจแต่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับคนที่ปล่อยข่าวลืออุปมงคลที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างหนักเมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีข้อมูลระดับหนึ่งแล้ว หากข้อมูลหลักฐานเพียงพอก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งได้รับทราบจะมีการออกหมายจับประมาณ 4 คน แต่ขณะนี้ยังไมทราบว่าบุคคลที่จะโดนหมายจับมีความสำคัญระดับใด
“ขณะนี้ผมยังไม่เห็นรายชื่อ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกลุ่มนักการเมือง หรือนักธุรกิจระดับใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยข่าวลือดังกล่าว แต่ได้ให้นโยบายว่าหากรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายได้ทันที”
**สัปดาห์หน้าออกหมายจับแน่!
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. กล่าวถึง ความคืบหน้าการติดตามบุคคลที่ปล่อยข่าวลือทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างหนัก ว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเตรียมออกหมายจับผู้ต้องหา 4 -5 ราย ที่ปล่อยข่าวลือดังกล่าว ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
“ขณะนี้การรวบรวมพยานหลักฐานได้มีคืบหน้าไปมากพอสมควรแล้ว โดยคืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 60-70 ส่วนการที่จะนำไปสู่การขอศาลอนุมัติออกหมายจับได้หรือไม่นั้น ขณะนี้ทางพนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมอยู่ และคาดว่าภายในต้นสัปดาห์หน้าจะออกหมายจับได้”
สำหรับความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาจะเกี่ยวข้องกับคดีอาญาเรื่องการหมิ่นประมาท หมิ่นเบื้องสูง หรือ จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือไม่นั้น ทางพนักงานสอบสวนได้ประสานกับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งหากพบมูลความผิดดังกล่าว จะส่งข้อมูลให้กับทางสำนักงานา ก.ล.ต. หรือ ดีเอสไอ เดำเนินการต่อไป
“ตำรวจยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่จะออกหมายจับได้ คงต้องรอให้ได้ตัวผู้ต้องหามาก่อน ”พล.ต.ต.ปัญญา กล่าว
**ดีเอสไอนัดถก ก.ล.ต.-ตลท.วันนี้
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า ดีเอสไอได้แต่งตั้ง พ.ต.อ.มานิตย์ ธนะสันติ ผบ.สำนักงานคดีการเงินและการธนาคาร เป็นหัวหน้าคณะทำงานติดตามและตรวจสอบกรณีการปล่อยข่าวลืออัปมงคลที่กระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และในวันนี้ 30 ต.ค. นี้ จะประชุมหารือร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่จาก ก.ล.ต. เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการทำงานในความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ส่วนประเด็นข่าวลือดีเอสไอจะตรวจสอบว่า กลุ่มคนที่ปล่อยข่าวลือได้ประโยชน์จากตลาดหุ้นหรือไม่และเชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลที่ ก.ล.ต.ส่งรายชื่อมาให้ลักษณะใดนั้น ถ้าทั้งกลุ่มเกี่ยวข้องกันก็ต้องดำเนินคดีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับระยะเวลาในการตรวจสอบคาดว่า นายธาริต กล่าวว่า จะต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะเป็นเรื่องซับซ้อน สำหรับรายชื่อที่ก.ล.ต.ส่งมาให้ดีเอสไอมี 3 กลุ่ม เป็นข้อมูลเดียวกับที่ก.ล.ต.แถลงก่อนหน้านี้ คือ รายชื่อบุคคลธรรมดา ชื่อย่อ ย. หุ้นของ เครดิต สวิส ฮ่องกง และ ยูบีเอส สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การออกหมายจับกลุ่มผู้คนที่ปล่อยข่าวลือของตำรวจ ยังไม่ทราบข้อมูลว่า เป็นกลุ่มใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องประสานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงินหรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า ในชั้นนี้ยังไม่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ของ ปปง. โดยดีเอสไอจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน หากสลับซับซ้อน หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเส้นทางเงินของบุคคลต้องสงสัย อาจจะต้องใช้อำนาจของปปง.ร่วมตรวจสอบ ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำงานที่คิดไว้
**บังคับ ขรก. รสก.แจ้งถือครองหุ้น
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า ได้หารือกับปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเตรียมออกระเบียบกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการของกระทรวงการคลังเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงรายงานข้อมูลการถือหุ้นและการซื้อขายหุ้น ทั้งของตนเองและครอบครัว ก่อนจะขยายไปสู่ข้าราชการทุกคนของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของข้าราชการ โดยจะเริ่มมีผลในต้นปี 53 หลังจากนั้นก็จะนำระเบียบดังกล่าวไปใช้กับทุกหน่วยงานในสังกัดภาครัฐ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวไม่ได้สืบเนื่องมาจากกรณีการปล่อยข่าวลือทุบหุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือน ต.ค.52
"คลังควรต้องทบทวนบทบาทของตัวเอง และต้องปฏิรูปตัวเองก่อน ซึ่งคลังมีแหล่งข้อมูลภายในมากที่สุด แต่จนถึงวันนี้กลับไม่มีเกณฑ์กำกับการซื้อขายหุ้นของข้าราชการ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไข" นายกรณ์กล่าวและว่า นอกจากนั้นยังมีแนวคิดการแก้ไขระเบียบและหลักเกณฑ์การเป็นคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สอดคล้องกันด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีข้าราชการหลายคนเข้าไปนั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจทำให้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น หรือขัดแย้งในบาทของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและผู้กำกับดูแล แต่ก็ยังเห็นว่าจำเป็นต้องให้ข้าราชการเข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจแต่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก.