ที่รัฐสภา วานนี้ ( พ.ย.) พ.ท. กมล ประจวบเหมาะ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 วุฒิสภา พร้อมด้วย คณะกรรมาธิการได้แถลงผลการพิจารณาศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยพ.ท.กมล กล่าวว่า ช่วงแรกองค์ประกอบของคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยตัวแทน 3 ฝ่าย แต่ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนว่าฝ่ายค้านได้ถอนตัวออกไป จึงเหลือเพียงฝ่ายรัฐบาลและวุฒิสภา ทางคณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า วุฒิสภาไม่ควรเข้าไป มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นมีพื้นฐานมาจากข้อเสนอของคณะกรรมาการสมานฉันท์ฯ จนนำไปสู่การยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องไม่ลืมว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในชาติ ดังนั้นเมื่อฝ่ายค้านถอนตัวออกไปการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อ้างว่านำไปสู่การสมานฉันท์จึงทำไม่ได้ คณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไป
นอกจากนี้ยังเห็นตรงกันว่าตัวแทนของวุฒิสภา 2 คนที่ไปร่วมดำเนินการ กับทางรัฐบาลจึงไม่ใช่ตัวแทนของ ส.ว.ทั้งหมด ประกอบกับพึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญ 22 คณะ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โควตาวิปวุฒิของแต่ละคณะกรรมาธิการดังนั้นจึงไม่สมควรอ้างเป็นตัวแทนของ วิปวุฒิอีก ซึ่งคณะกรรมาธิการฯจะทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่หากรัฐบาลเห็นควรให้แก้ไขต่อไป ก็ให้ทำในนามของรัฐบาลฝ่ายเดียว ส่วน ส.ว.ท่านใดจะมีความเห็นสนับสนุน ก็เป็นการแสดงความเห็นในนามส่วนตัว
ด้านพล.ท. พงษ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา กล่าวว่า หากคณะกรรมการ สมานฉันท์ฯ ครบองค์ประกอบจาก 3 ฝ่ายเราก็เห็นด้วย ที่จะให้เดินหน้าต่อ แต่เมื่อเหลือ 2 ฝ่ายอย่างนี้คิดว่าถึงทำไปก็คงไปไม่ถึงไหน ไม่เป็นเต็มร้อย จึงเห็นควรที่วุฒิสภาจะถอยทิ้งระยะห่างชะลอให้สถานการณ์ดีกว่านี้ก่อน
นาย วันชัย แสงสุขเอี่ยม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ถกประเด็นที่มาของ ส.ว.ซึ่งมีการตั้งคำถามว่าส่าวผสมในปัจจุบันระหว่าง ส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้งอย่างนี้มีความกลมกล่อมแค่ไหน โดยมีมติที่จะทำหนังสือถึง ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ศึกษาและประมวลผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในประเด็นที่มาของ ส.ว.ด้วย
ด้านนายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธาน วิปรัฐบาล กล่าวว่ายังไม่ทราบเรื่องที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 วุฒิสภา เสนอให้ วุฒิสภาถอนตัวจากการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขณะที่คณะกรรมการยกร่างฯ ได้ยกร่างฯแก้ไขทั้ง 6 ประเด็นอยู่ โดยจะแล้วเสร็จในวันที่ 12 พ.ย. และวิป 3 ฝ่ายก็จะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป แต่ทั้งนี้ ส่วนตัวยังคงมั่นใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามกระบวนการทางการเมือง นอกจากนี้อยากขอความ ร่วมมือทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายค้าน และแกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ให้เข้าร่วมกระบวนการตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยด้วย เพื่อร่วมกันหาทางออกให้บ้านเมือง
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นมีพื้นฐานมาจากข้อเสนอของคณะกรรมาการสมานฉันท์ฯ จนนำไปสู่การยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องไม่ลืมว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในชาติ ดังนั้นเมื่อฝ่ายค้านถอนตัวออกไปการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อ้างว่านำไปสู่การสมานฉันท์จึงทำไม่ได้ คณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไป
นอกจากนี้ยังเห็นตรงกันว่าตัวแทนของวุฒิสภา 2 คนที่ไปร่วมดำเนินการ กับทางรัฐบาลจึงไม่ใช่ตัวแทนของ ส.ว.ทั้งหมด ประกอบกับพึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญ 22 คณะ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โควตาวิปวุฒิของแต่ละคณะกรรมาธิการดังนั้นจึงไม่สมควรอ้างเป็นตัวแทนของ วิปวุฒิอีก ซึ่งคณะกรรมาธิการฯจะทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่หากรัฐบาลเห็นควรให้แก้ไขต่อไป ก็ให้ทำในนามของรัฐบาลฝ่ายเดียว ส่วน ส.ว.ท่านใดจะมีความเห็นสนับสนุน ก็เป็นการแสดงความเห็นในนามส่วนตัว
ด้านพล.ท. พงษ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา กล่าวว่า หากคณะกรรมการ สมานฉันท์ฯ ครบองค์ประกอบจาก 3 ฝ่ายเราก็เห็นด้วย ที่จะให้เดินหน้าต่อ แต่เมื่อเหลือ 2 ฝ่ายอย่างนี้คิดว่าถึงทำไปก็คงไปไม่ถึงไหน ไม่เป็นเต็มร้อย จึงเห็นควรที่วุฒิสภาจะถอยทิ้งระยะห่างชะลอให้สถานการณ์ดีกว่านี้ก่อน
นาย วันชัย แสงสุขเอี่ยม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ถกประเด็นที่มาของ ส.ว.ซึ่งมีการตั้งคำถามว่าส่าวผสมในปัจจุบันระหว่าง ส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้งอย่างนี้มีความกลมกล่อมแค่ไหน โดยมีมติที่จะทำหนังสือถึง ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ศึกษาและประมวลผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในประเด็นที่มาของ ส.ว.ด้วย
ด้านนายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธาน วิปรัฐบาล กล่าวว่ายังไม่ทราบเรื่องที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 วุฒิสภา เสนอให้ วุฒิสภาถอนตัวจากการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขณะที่คณะกรรมการยกร่างฯ ได้ยกร่างฯแก้ไขทั้ง 6 ประเด็นอยู่ โดยจะแล้วเสร็จในวันที่ 12 พ.ย. และวิป 3 ฝ่ายก็จะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป แต่ทั้งนี้ ส่วนตัวยังคงมั่นใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามกระบวนการทางการเมือง นอกจากนี้อยากขอความ ร่วมมือทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายค้าน และแกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ให้เข้าร่วมกระบวนการตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยด้วย เพื่อร่วมกันหาทางออกให้บ้านเมือง