คณะทำงานยกร่างแก้ไข รธน.ประชุมนัดแรก ยันเป็นกลางทางการเมือง คาดเสนอกรอบต่อที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้ทันภายใน 22 ต.ค.นี้
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภาได้ประชุมนัดแรก โดยมีนายจเร พันธุ์เปรื่อง รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะทำงานทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยนายจเรได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า คณะทำงานประกอบด้วยฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีหน้าที่ในการให้บริการทางด้านกฎหมายกับสมาชิกทั้งสองสภาอยู่แล้ว ดังนั้นคณะทำงานจะศึกษารัฐธรรมนูญว่าจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรตามที่ที่ประชุมร่วมวิปสามฝ่ายได้ประสานมา สำหรับการดำเนินการเบื้องต้นจะยึดหลักเกณฑ์ในการยกร่างกฎหมายโดยการพูดคุยสอบถามกับผู้ใช้บริการว่า มีความประสงค์และความต้องการอย่างไร มีหลักการเหตุผลและข้อมูลมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ขณะที่คณะทำงานจะมีนักวิชาการกฎหมาย ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการยกร่าง ทั้งนี้เมื่อได้ประเด็นที่จะยกร่างแล้วจะตรวจสอบว่า ตรงกับสาระสำคัญที่ผู้ร้องขอต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อใด ส่วนกรณีที่ที่ประชุมร่วมวิป 3 ฝ่าย มีกำหนดนัดหารือในครั้งไปในวันที่ 22 ต.ค. คณะทำงานคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าว น่าจะได้กรอบแนวทางที่จะดำเนินการแล้ว
นายจเรกล่าวอีกว่า สำนักงานเลขาธิการทั้งสองสำนักงานขอยืนยันว่ามีความเป็นกลางทางการเมือง โดยจะดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ร้องขอส่วนที่ฝ่ายใดจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองที่สามารถจะไปแก้ไขได้ตามความต้องการ
เมื่อถามถึงการดำเนินการยกร่างสองแนวทางคือหนึ่งร่าง 6 ประเด็นและ 6 ร่าง 6 ประเด็น นายจเรกล่าวว่า การกำหนดประเด็นอยู่ที่ว่าแต่ละประเด็นมีสาระสำคัญอย่างไร การยกร่างสองแนวทางไม่มีความแตกต่างกัน ขอเพียงให้มีความชัดเจนในสาระสำคัญที่จะยกร่างแล้ว การแบ่งออกเป็น 6 ร่างหรือรวมเป็นร่างเดียวไม่มีความแตกต่างกันเพราะในทางเทคนิคการยกร่างไม่มีปัญหาที่จะดำเนินการ ทั้งนี้ เบื้องต้นฝ่ายการเมืองยังไม่มีการประสานหรือกำหนดกรอบเวลาการทำงานแต่อย่างใด โดยคณะทำงานยังไม่ได้หารือกับตัวแทนของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหากเป็นไปได้หากมีโอกาสได้พูดคุยและทราบถึงสาระสำคัญในการยกร่างจะเป็นประโยชน์มาก
“เดิมมีกรอบที่กรรมการสมานฉันท์ฯ เสนออยู่แล้วเพียงแต่ในกรอบที่มีอยู่กรรมการสมานฉันท์ อาจจะมีความเห็นในแต่ละประเด็นได้หลายทาง คณะทำงานจึงต้องมีการถามเพื่อให้ได้ความชัดเจน ปกติถ้าแต่ละประเด็นได้ข้อสรุปว่ามีสาระสำคัญอย่างไร จะแยกร่างหรือรวมร่างไม่แตกต่างกัน ในด้านเทคนิคไม่ต่างกัน” นายจเรกล่าว
เมื่อถามว่าห่วงหรือไม่ว่าขณะนี้ฝ่ายการเมืองบางส่วนมีความเห็นไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายจเรกล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นความเห็นขอฝ่ายการเมือง สำนักงานมีหน้าที่ให้บริการยกร่าง เหมือนการยกร่างกฎหมายให้สมาชิกตามปกติเมื่อยกร่างให้แล้วสมาชิกจะเสนอหรือไม่ หรือจะเห็นชอบไม่เห็นชอบเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภาได้ประชุมนัดแรก โดยมีนายจเร พันธุ์เปรื่อง รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะทำงานทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยนายจเรได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า คณะทำงานประกอบด้วยฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีหน้าที่ในการให้บริการทางด้านกฎหมายกับสมาชิกทั้งสองสภาอยู่แล้ว ดังนั้นคณะทำงานจะศึกษารัฐธรรมนูญว่าจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรตามที่ที่ประชุมร่วมวิปสามฝ่ายได้ประสานมา สำหรับการดำเนินการเบื้องต้นจะยึดหลักเกณฑ์ในการยกร่างกฎหมายโดยการพูดคุยสอบถามกับผู้ใช้บริการว่า มีความประสงค์และความต้องการอย่างไร มีหลักการเหตุผลและข้อมูลมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ขณะที่คณะทำงานจะมีนักวิชาการกฎหมาย ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการยกร่าง ทั้งนี้เมื่อได้ประเด็นที่จะยกร่างแล้วจะตรวจสอบว่า ตรงกับสาระสำคัญที่ผู้ร้องขอต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อใด ส่วนกรณีที่ที่ประชุมร่วมวิป 3 ฝ่าย มีกำหนดนัดหารือในครั้งไปในวันที่ 22 ต.ค. คณะทำงานคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าว น่าจะได้กรอบแนวทางที่จะดำเนินการแล้ว
นายจเรกล่าวอีกว่า สำนักงานเลขาธิการทั้งสองสำนักงานขอยืนยันว่ามีความเป็นกลางทางการเมือง โดยจะดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ร้องขอส่วนที่ฝ่ายใดจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองที่สามารถจะไปแก้ไขได้ตามความต้องการ
เมื่อถามถึงการดำเนินการยกร่างสองแนวทางคือหนึ่งร่าง 6 ประเด็นและ 6 ร่าง 6 ประเด็น นายจเรกล่าวว่า การกำหนดประเด็นอยู่ที่ว่าแต่ละประเด็นมีสาระสำคัญอย่างไร การยกร่างสองแนวทางไม่มีความแตกต่างกัน ขอเพียงให้มีความชัดเจนในสาระสำคัญที่จะยกร่างแล้ว การแบ่งออกเป็น 6 ร่างหรือรวมเป็นร่างเดียวไม่มีความแตกต่างกันเพราะในทางเทคนิคการยกร่างไม่มีปัญหาที่จะดำเนินการ ทั้งนี้ เบื้องต้นฝ่ายการเมืองยังไม่มีการประสานหรือกำหนดกรอบเวลาการทำงานแต่อย่างใด โดยคณะทำงานยังไม่ได้หารือกับตัวแทนของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหากเป็นไปได้หากมีโอกาสได้พูดคุยและทราบถึงสาระสำคัญในการยกร่างจะเป็นประโยชน์มาก
“เดิมมีกรอบที่กรรมการสมานฉันท์ฯ เสนออยู่แล้วเพียงแต่ในกรอบที่มีอยู่กรรมการสมานฉันท์ อาจจะมีความเห็นในแต่ละประเด็นได้หลายทาง คณะทำงานจึงต้องมีการถามเพื่อให้ได้ความชัดเจน ปกติถ้าแต่ละประเด็นได้ข้อสรุปว่ามีสาระสำคัญอย่างไร จะแยกร่างหรือรวมร่างไม่แตกต่างกัน ในด้านเทคนิคไม่ต่างกัน” นายจเรกล่าว
เมื่อถามว่าห่วงหรือไม่ว่าขณะนี้ฝ่ายการเมืองบางส่วนมีความเห็นไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายจเรกล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นความเห็นขอฝ่ายการเมือง สำนักงานมีหน้าที่ให้บริการยกร่าง เหมือนการยกร่างกฎหมายให้สมาชิกตามปกติเมื่อยกร่างให้แล้วสมาชิกจะเสนอหรือไม่ หรือจะเห็นชอบไม่เห็นชอบเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง