สหภาพแรงงานขนส่งนานาชาติประกาศท่าทีสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) โดยเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา นายเดวิด คอครอฟท์ เลขาธิการใหญ่ สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ส่งอีเมลถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง สร.รฟท.และการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเร็วที่สุด
จดหมายของนายเดวิดระบุว่า เราทราบมาว่า กรรมการสหภาพแรงงานฯ ในสาขาหาดใหญ่จำนวน 6คน ได้ถูกฝ่ายบริหารของการถไฟแห่งประเทศไทยไล่ออกจากงาน เนื่องจากการประท้วงที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ในขณะที่เราเขียนหนังสือฉบับนี้ถึงท่านนั้น เรายังได้รับทราบข้อมูลว่าผู้นำระดับสูง ซึ่งรวมถึงประธาน รองประธาน และเลขานุการของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยก็จะถูกไล่ออกในเร็วๆ นี้ และมีอีก 18 คน ที่อาจจะถูกไล่ออกตามมาอีกด้วย
**ชี้ละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน
สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ไม่สามารถยอมรับทัศนคติและการกระทำของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าในประเทศใดก็ตามที่ตอบโต้การประท้วงที่ชอบด้วยกฎหมายแบบนี้ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่สำคัญ ตามที่ได้รับการคุ้มครองในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรารู้สึกเห็นใจและเข้าใจในเหตุผลของสหภาพแรงงานในการประท้วงครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง เราตกใจมากเมื่อทราบว่าการขาดแคลนพนักงานของการรถไฟฯ ได้ทำให้พนักงานขับรถและช่างเครื่องจำนวนมากต้องทำงานติดต่อกันมากกว่า 30 วันโดยไม่มีวันพักผ่อน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าวิธีปฏิบัติเช่นนี้เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งประชาคมโลก และสังคมนานาประเทศจะต้องตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่เลวร้ายเช่นนี้
ทั้งนี้ เรามีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นระหว่างสหภาพแรงงานและฝ่ายบริหารในการรถไฟฯ นั้น จะสามารถคลี่คลายลงไปได้ด้วยการหันหน้ามาพูดคุยและเจรจากัน ไม่ใช่การเผชิญหน้ากัน และถ้าท่านต้องการทาง ITF มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือหรือช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่เรามีอยู่
**จี้รับพนักงานกลับคืน
“สุดท้ายนี้ ITF ด้วยความสมานฉันท์กับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สมาชิกของเรา ขอเรียกร้องให้ท่านรับพนักงานทั้งหมดที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าไปทำงานตามเดิมในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยุตินโยบายที่จะคุกคามและปฏิบัติต่อสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างไม่เป็นธรรม” จดหมายของเลขาธิการใหญ่ ITF ระบุ
**สหภาพญี่ปุ่นยื่นหนังสือฑูต
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา นายโคอิชิ วาตานาเบะ ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศญี่ปุ่น (KOUNROKYO/ITF-JC) ได้ยื่นหนังสือถึงนายพิชัย อิศรภักดี อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กรณีข้อพิพาทเรื่อง ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารในการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยตามที่ได้ตกลงไว้
ทั้งนี้ นายโคอิชิได้แสดงความเห็นใจและเข้าใจในเหตุผลของสหภาพแรงงานในการประท้วงที่ผานมา พร้อมเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับผิดชอบต่อมาตรการที่จะทำให้ขบวนรถไฟ และการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของกิจการรถไฟนั้นมีความปลอดภัย พนักงานรถไฟที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปตามตารางเวลาเดินรถที่กำหนด ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่ต้องการจะลดจำนวนพนักงานลง ถือเป็นนโยบายการบริหารงานที่ไม่สามารถยอมรับได้
**ระบุฝ่ายบริหารไร้ความรับผิดชอบ
พร้อมระบุว่า ผลจากนโยบายการลดจำนวนพนักงานนี้ ได้นำไปสู่ปัญหาความเหนื่อยล้าในการทำงานของพนักงานรถจักรที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา การที่ฝ่ายบริหารโทษพนักงานขับรถเพียงฝ่ายเดียว และการโยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้กับพนักงานขับรถที่ต้องกลายเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวในการบริหารงานขององค์กรเป็นเรื่องที่รับไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง
สหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศญี่ปุ่น ยังเรียกร้องให้ ร.ฟ.ท.รับพนักงานทั้งหมดที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าไปทำงานตามเดิมในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยุตินโยบายที่จะคุกคามและปฏิบัติต่อสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างไม่เป็นธรรม
**อินเดียประนามใช้อำนาจรัฐรังแก
ขณะที่ นายชีวา โกปาล มิชรา เลขาธิการใหญ่สหพันธ์คนงานรถไฟทั่วประเทศอินเดีย (AIRF) ได้ส่งอีเมล์ถึงนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา สนับสนุนข้อเรียกร้องของ สร.รฟท. เรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยของขบวนรถไฟ รวมทั้งได้ประณามการใช้โครงสร้างอำนาจการบริหารของรัฐที่กระทำต่อสมาชิกและกรรมการของ สร.รฟท. การใช้อำนาจตำรวจและศาลในการจำกัดการดำเนินงานของสหภาพแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในการที่จะเปิดเผยถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากวิธีการบริหารจัดการความปลอดภัยของ การโยนความผิดหรือการเอาแต่โทษพนักงานเพียงฝ่ายเดียวสำหรับความล้มเหลวเชิงโครงสร้างในด้านมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารงาน และเรียกร้องให้ทคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก (Safety First) ในการบริหารงานกิจการรถไฟ
นอกจากนี้ยังมีสหภาพแรงงานด้านการขนส่งจากประเทศต่างๆ ส่งจดหมายแสดงการสนับสนุน สร.รฟท.พร้อมเรียกร้องให้การรถไฟรับพนักงานที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าทำงานตามเดิม ได้แก่ นายวิลเฮม ฮาเบอร์เซ็ท ประธานสาขาการขนส่ง สหภาพแรงงานวีดา ประเทศออสเตรีย, เลขาธิการใหญ่ สหภาพแรงงานทางทะเลแห่งประเทศอินเดีย (FSUI) สำนักงานนครมุมไบ, เอ็ม แอล เบลานี เลขาธิการใหญ่ สหภาพแรงงานขนส่งและแรงงานท่าเรือกานดลา ประเทศอินเดีย, นายเอ็ดการ์ จอห์น พี. บีลายอน ประธานสหภาพแรงงานรถไฟแห่งประเทศฟิลิปปินส์.
จดหมายของนายเดวิดระบุว่า เราทราบมาว่า กรรมการสหภาพแรงงานฯ ในสาขาหาดใหญ่จำนวน 6คน ได้ถูกฝ่ายบริหารของการถไฟแห่งประเทศไทยไล่ออกจากงาน เนื่องจากการประท้วงที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ในขณะที่เราเขียนหนังสือฉบับนี้ถึงท่านนั้น เรายังได้รับทราบข้อมูลว่าผู้นำระดับสูง ซึ่งรวมถึงประธาน รองประธาน และเลขานุการของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยก็จะถูกไล่ออกในเร็วๆ นี้ และมีอีก 18 คน ที่อาจจะถูกไล่ออกตามมาอีกด้วย
**ชี้ละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน
สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ไม่สามารถยอมรับทัศนคติและการกระทำของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าในประเทศใดก็ตามที่ตอบโต้การประท้วงที่ชอบด้วยกฎหมายแบบนี้ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่สำคัญ ตามที่ได้รับการคุ้มครองในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรารู้สึกเห็นใจและเข้าใจในเหตุผลของสหภาพแรงงานในการประท้วงครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง เราตกใจมากเมื่อทราบว่าการขาดแคลนพนักงานของการรถไฟฯ ได้ทำให้พนักงานขับรถและช่างเครื่องจำนวนมากต้องทำงานติดต่อกันมากกว่า 30 วันโดยไม่มีวันพักผ่อน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าวิธีปฏิบัติเช่นนี้เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งประชาคมโลก และสังคมนานาประเทศจะต้องตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่เลวร้ายเช่นนี้
ทั้งนี้ เรามีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นระหว่างสหภาพแรงงานและฝ่ายบริหารในการรถไฟฯ นั้น จะสามารถคลี่คลายลงไปได้ด้วยการหันหน้ามาพูดคุยและเจรจากัน ไม่ใช่การเผชิญหน้ากัน และถ้าท่านต้องการทาง ITF มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือหรือช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่เรามีอยู่
**จี้รับพนักงานกลับคืน
“สุดท้ายนี้ ITF ด้วยความสมานฉันท์กับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สมาชิกของเรา ขอเรียกร้องให้ท่านรับพนักงานทั้งหมดที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าไปทำงานตามเดิมในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยุตินโยบายที่จะคุกคามและปฏิบัติต่อสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างไม่เป็นธรรม” จดหมายของเลขาธิการใหญ่ ITF ระบุ
**สหภาพญี่ปุ่นยื่นหนังสือฑูต
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา นายโคอิชิ วาตานาเบะ ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศญี่ปุ่น (KOUNROKYO/ITF-JC) ได้ยื่นหนังสือถึงนายพิชัย อิศรภักดี อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กรณีข้อพิพาทเรื่อง ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารในการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยตามที่ได้ตกลงไว้
ทั้งนี้ นายโคอิชิได้แสดงความเห็นใจและเข้าใจในเหตุผลของสหภาพแรงงานในการประท้วงที่ผานมา พร้อมเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับผิดชอบต่อมาตรการที่จะทำให้ขบวนรถไฟ และการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของกิจการรถไฟนั้นมีความปลอดภัย พนักงานรถไฟที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปตามตารางเวลาเดินรถที่กำหนด ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่ต้องการจะลดจำนวนพนักงานลง ถือเป็นนโยบายการบริหารงานที่ไม่สามารถยอมรับได้
**ระบุฝ่ายบริหารไร้ความรับผิดชอบ
พร้อมระบุว่า ผลจากนโยบายการลดจำนวนพนักงานนี้ ได้นำไปสู่ปัญหาความเหนื่อยล้าในการทำงานของพนักงานรถจักรที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา การที่ฝ่ายบริหารโทษพนักงานขับรถเพียงฝ่ายเดียว และการโยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้กับพนักงานขับรถที่ต้องกลายเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวในการบริหารงานขององค์กรเป็นเรื่องที่รับไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง
สหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศญี่ปุ่น ยังเรียกร้องให้ ร.ฟ.ท.รับพนักงานทั้งหมดที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าไปทำงานตามเดิมในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยุตินโยบายที่จะคุกคามและปฏิบัติต่อสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างไม่เป็นธรรม
**อินเดียประนามใช้อำนาจรัฐรังแก
ขณะที่ นายชีวา โกปาล มิชรา เลขาธิการใหญ่สหพันธ์คนงานรถไฟทั่วประเทศอินเดีย (AIRF) ได้ส่งอีเมล์ถึงนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา สนับสนุนข้อเรียกร้องของ สร.รฟท. เรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยของขบวนรถไฟ รวมทั้งได้ประณามการใช้โครงสร้างอำนาจการบริหารของรัฐที่กระทำต่อสมาชิกและกรรมการของ สร.รฟท. การใช้อำนาจตำรวจและศาลในการจำกัดการดำเนินงานของสหภาพแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในการที่จะเปิดเผยถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากวิธีการบริหารจัดการความปลอดภัยของ การโยนความผิดหรือการเอาแต่โทษพนักงานเพียงฝ่ายเดียวสำหรับความล้มเหลวเชิงโครงสร้างในด้านมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารงาน และเรียกร้องให้ทคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก (Safety First) ในการบริหารงานกิจการรถไฟ
นอกจากนี้ยังมีสหภาพแรงงานด้านการขนส่งจากประเทศต่างๆ ส่งจดหมายแสดงการสนับสนุน สร.รฟท.พร้อมเรียกร้องให้การรถไฟรับพนักงานที่ถูกไล่ออกให้กลับเข้าทำงานตามเดิม ได้แก่ นายวิลเฮม ฮาเบอร์เซ็ท ประธานสาขาการขนส่ง สหภาพแรงงานวีดา ประเทศออสเตรีย, เลขาธิการใหญ่ สหภาพแรงงานทางทะเลแห่งประเทศอินเดีย (FSUI) สำนักงานนครมุมไบ, เอ็ม แอล เบลานี เลขาธิการใหญ่ สหภาพแรงงานขนส่งและแรงงานท่าเรือกานดลา ประเทศอินเดีย, นายเอ็ดการ์ จอห์น พี. บีลายอน ประธานสหภาพแรงงานรถไฟแห่งประเทศฟิลิปปินส์.