ASTVผู้จัดการรายวัน-”มาร์ค”เตรียมแจงญี่ปุ่นกรณีมาบตาพุด ระหว่างบินร่วมประชุมสุดยอดญี่ปุ่น-แม่โขง 5-7 พ.ย.นี้ หวังสร้างความเชื่อมั่นไม่กระทบการลงทุนจากต่างประเทศ “อุตสาหกรรม”ไม่กังวลสมาคมต้านโลกร้อนเตรียมฟ้องเพิ่ม 181 โครงการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เตรียมหาทางออก เสนอนายกฯ ลงนามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรองรับ เร็วๆ นี้ เอสซีจี แนะเอกชนทำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดล่วงหน้า ยอมรับมี 20 โครงการ ลงทุนแสนล้านกระทบแน่ หากศาลสั่งระงับ ระบุการตั้งกรรมการอิสระน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ชาวบ้านมาบตาพุดขนอาหารทะเลให้นายกฯ และครม.ชิม ยืนยันไม่มีสารพิษตกค้าง
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดญี่ปุ่น-แม่โขง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ย.นี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีจะรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการมาบตาพุด โดยจะบอกว่าทางไทยได้เดินหน้าแก้ไขปัญหา ในเรื่องของการวางแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และได้มีการตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยดูใน 76 โครงการ รวมทั้งจะยืนยันถึงความพร้อมในการรองรับการลงทุน และชักจูงนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้เข้ามาร่วมลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
นายสรยุทธ เพ็ชรสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีที่สมาคมต่อต้านโลกร้อนเตรียมฟ้องโครงการ 181 กิจการเพิ่มเติมว่า ไม่ได้ตื่นเต้นอะไรเพราะก่อนหน้านั้นก็ระบุว่าเตรียมจะยื่นฟ้องถึง 500 โครงการ ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมว่ามีมากน้อยเพียงใดด้วยซ้ำไป ดังนั้น สิ่งที่รัฐเตรียมการออกกฏหมายชั่วคราวมาดูแลให้สอดรับกับมาตรา 67 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ด้วยการออกเป็นประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะออกเป็นหนังสือเวียนให้ทุกฝ่ายเห็นชอบก่อนที่นายกฯจะลงนามประกาศใช้ในเร็วๆ นี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสุด
“การที่เขาจะฟ้องร้องต่อศาลก็ถือเป็นเรื่องปกติ ยิ่งเราตื่นเต้นตามจะทำให้ภาพพจน์ประเทศชาติเสียหายมาก เขาเล่นจิตวิทยาในแง่ของตัวเลข อยากให้เรื่องนี้จบโดยเร็วและมีทางออกสำหรับประเทศ”นายสรยุทธกล่าว
ทั้งนี้ วันที่ 12 พ.ย. ศาลปกครองกลางจะนัดไต่สวนรอบ 2 เพิ่มเติมอีกครั้ง โดยเชื่อมั่นว่าเรื่องนี้น่าจะจบภายในสิ้นปีนี้ เพราะถ้าปล่อยไว้นานก็จะยิ่งกระทบมาก ส่วนคดีหลักก็ไม่เป็นห่วงหากคดีนี้สามารถจบ และมีกฎหมายชัดเจนออกมา แต่ถ้าเรื่องนี้ไม่จบคดีหลักก็น่าห่วงเพราะจะลุกลามหนักขึ้น
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่องค์กรภาคประชาชนจะยื่นฟ้องเพิ่มเติมอีก 181 โครงการทั่วประเทศ แต่มองว่าเป็นการเตือนให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต้องเร่งดำเนินการให้สอดรับกับกฎหมายนี้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมา เครือซิเมนต์ไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาในการศึกษาทำ HIA ไปแล้ว โดยมองว่าหากบริษัทเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนก็จะเป็นการปลดล็อกได้เร็วขึ้น
สำหรับแผนการรับมือกรณีที่ศาลฯ ให้ระงับโครงการในมาบตาพุด เนื่องจากติดขัดตามกฎหมายนั้น จะมีผลทำให้โครงการที่อยู่ระหว่างการลงทุนไปแล้ว 20 โครงการของเครือฯ มูลค่าเงินลงทุน 1.08 แสนล้านบาท คงต้องชะลอไปด้วย โดยมีทางออกเดียว คือ เอสซีจีก็คงต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2ให้เร็วที่สุด ส่วนโครงการเหล่านี้จะล่าช้ามากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับกลไกของภาครัฐที่จะออกมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศาลฯ ยังไม่มีคำสั่งอย่างไรออกมา หลังจากหน่วยงานภาครัฐได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับ 76 โครงการในมาบตาพุดเป็นการชั่วคราว คงต้องรอดูคำสั่งศาลก่อน
“ยอมรับว่าพาร์ทเนอร์ต่างชาติมีความวิตกกังวลเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อว่าทุกอย่างน่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อแก้ปัญหามาบตาพุดขึ้นมา โดยมองว่าจะเป็นจุดที่หยุดความเห็นที่ไม่ลงรอยกันได้ จะเป็นกลไกนำไปสู่จุดคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น”นายชลณัฐกล่าว
นายสุทธา เหมสถล นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม อ.บ้านฉาง-มาบตาพุด จ.ระยอง กล่าวว่า ได้นำตัวแทนสื่อมวลชนท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่บริเวณที่ประกาศเขตมลพิษ (มาบตาพุด-บ้านฉาง-เนินพระ-ทับมา-มาบข่า) นำรายชื่อประชาชน 10,000 ชื่อที่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมามอบให้นายกรัฐมนตรี พร้อมนำอาหารทะเลชนิดต่างๆ ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา มาให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ชิม เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีสารตกค้าง และขอเชิญให้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ไปดูด้วยตนเอง
ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับคำเชิญ โดยกล่าวว่ากำลังหาเวลาที่จะลงไปในพื้นที่ และจะพยายามรักษาความสมดุลให้เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ทดลองชิมกุ้งที่ชาวบ้านมาบตาพุดนำมาด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดญี่ปุ่น-แม่โขง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ย.นี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีจะรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการมาบตาพุด โดยจะบอกว่าทางไทยได้เดินหน้าแก้ไขปัญหา ในเรื่องของการวางแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และได้มีการตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยดูใน 76 โครงการ รวมทั้งจะยืนยันถึงความพร้อมในการรองรับการลงทุน และชักจูงนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้เข้ามาร่วมลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
นายสรยุทธ เพ็ชรสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีที่สมาคมต่อต้านโลกร้อนเตรียมฟ้องโครงการ 181 กิจการเพิ่มเติมว่า ไม่ได้ตื่นเต้นอะไรเพราะก่อนหน้านั้นก็ระบุว่าเตรียมจะยื่นฟ้องถึง 500 โครงการ ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมว่ามีมากน้อยเพียงใดด้วยซ้ำไป ดังนั้น สิ่งที่รัฐเตรียมการออกกฏหมายชั่วคราวมาดูแลให้สอดรับกับมาตรา 67 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ด้วยการออกเป็นประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะออกเป็นหนังสือเวียนให้ทุกฝ่ายเห็นชอบก่อนที่นายกฯจะลงนามประกาศใช้ในเร็วๆ นี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสุด
“การที่เขาจะฟ้องร้องต่อศาลก็ถือเป็นเรื่องปกติ ยิ่งเราตื่นเต้นตามจะทำให้ภาพพจน์ประเทศชาติเสียหายมาก เขาเล่นจิตวิทยาในแง่ของตัวเลข อยากให้เรื่องนี้จบโดยเร็วและมีทางออกสำหรับประเทศ”นายสรยุทธกล่าว
ทั้งนี้ วันที่ 12 พ.ย. ศาลปกครองกลางจะนัดไต่สวนรอบ 2 เพิ่มเติมอีกครั้ง โดยเชื่อมั่นว่าเรื่องนี้น่าจะจบภายในสิ้นปีนี้ เพราะถ้าปล่อยไว้นานก็จะยิ่งกระทบมาก ส่วนคดีหลักก็ไม่เป็นห่วงหากคดีนี้สามารถจบ และมีกฎหมายชัดเจนออกมา แต่ถ้าเรื่องนี้ไม่จบคดีหลักก็น่าห่วงเพราะจะลุกลามหนักขึ้น
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่องค์กรภาคประชาชนจะยื่นฟ้องเพิ่มเติมอีก 181 โครงการทั่วประเทศ แต่มองว่าเป็นการเตือนให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต้องเร่งดำเนินการให้สอดรับกับกฎหมายนี้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมา เครือซิเมนต์ไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาในการศึกษาทำ HIA ไปแล้ว โดยมองว่าหากบริษัทเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนก็จะเป็นการปลดล็อกได้เร็วขึ้น
สำหรับแผนการรับมือกรณีที่ศาลฯ ให้ระงับโครงการในมาบตาพุด เนื่องจากติดขัดตามกฎหมายนั้น จะมีผลทำให้โครงการที่อยู่ระหว่างการลงทุนไปแล้ว 20 โครงการของเครือฯ มูลค่าเงินลงทุน 1.08 แสนล้านบาท คงต้องชะลอไปด้วย โดยมีทางออกเดียว คือ เอสซีจีก็คงต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2ให้เร็วที่สุด ส่วนโครงการเหล่านี้จะล่าช้ามากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับกลไกของภาครัฐที่จะออกมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศาลฯ ยังไม่มีคำสั่งอย่างไรออกมา หลังจากหน่วยงานภาครัฐได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับ 76 โครงการในมาบตาพุดเป็นการชั่วคราว คงต้องรอดูคำสั่งศาลก่อน
“ยอมรับว่าพาร์ทเนอร์ต่างชาติมีความวิตกกังวลเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อว่าทุกอย่างน่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อแก้ปัญหามาบตาพุดขึ้นมา โดยมองว่าจะเป็นจุดที่หยุดความเห็นที่ไม่ลงรอยกันได้ จะเป็นกลไกนำไปสู่จุดคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น”นายชลณัฐกล่าว
นายสุทธา เหมสถล นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม อ.บ้านฉาง-มาบตาพุด จ.ระยอง กล่าวว่า ได้นำตัวแทนสื่อมวลชนท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่บริเวณที่ประกาศเขตมลพิษ (มาบตาพุด-บ้านฉาง-เนินพระ-ทับมา-มาบข่า) นำรายชื่อประชาชน 10,000 ชื่อที่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมามอบให้นายกรัฐมนตรี พร้อมนำอาหารทะเลชนิดต่างๆ ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา มาให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ชิม เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีสารตกค้าง และขอเชิญให้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ไปดูด้วยตนเอง
ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับคำเชิญ โดยกล่าวว่ากำลังหาเวลาที่จะลงไปในพื้นที่ และจะพยายามรักษาความสมดุลให้เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ทดลองชิมกุ้งที่ชาวบ้านมาบตาพุดนำมาด้วย