จากเมืองเปชวาร์,ปากีสถาน ออกไปทางตะวันตก ตามถนนจัมรุด (Jamrud) ซึ่งเป็นเส้นทางมุ่งสู่ช่องเขาไคเบอร์ (Khyber Pass) อันเลื่องชื่อในประวัติศาสตร์ เราจะผ่านตลาดคาร์โคโน (Karkhono Market) ย่านที่เป็นตลาดการค้าหลายๆ แห่งต่อเนื่องกัน บรรดาสินค้าที่วางขายกันที่นี่ปกติแล้วคือของเถื่อน โดยที่ในเวลานี้สินค้าซึ่งถือเป็นมาตรฐานต้องมีให้เลือกซื้อก็ได้แก่ ยุทธปกรณ์ต่างๆ ของสหรัฐฯ เป็นต้นว่า เครื่องแบบสนามของทหารยามออกรบ, แว่นตาที่ทำให้มองเห็นได้ในตอนกลางคืน, เสื้อเกราะกันกระสุน, และมีดทหาร
ถัดจากตลาดไปคือจุดตรวจ ที่เป็นเส้นแบ่งพื้นที่เมืองเปชวาร์ออกจากเขตไคเบอร์ อันเป็นดินแดนชาวชนเผ่าที่จะมีอำนาจกึ่งปกครองตนเอง ในอดีตที่ผ่านมา หากใครอ้อยอิ่งอยู่ใกล้ๆ แถวเส้นแบ่งนี้นานสักหน่อย ก็มักจะมีใครบางคนจากฟากที่อยู่ห่างไกล เข้ามาติดต่อทาบทามบอกขายกัญชา, สุรา, ปืน, หรือกระทั่งเครื่องยิงลูกจรวด สำหรับระยะหลังๆ มานี้ เซลส์แมนพวกนี้ยังอาจจะเสนอขายปืนเอ็ม 16, ปืนยาวติดกล้องสำหรับทหารซุ่มยิง, และปืนพก ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ สำหรับพวกที่ตกลงซื้อหาสินค้าเหล่านี้ไปนั้น ไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องคุณวิเศษของอาวุธเหล่านี้เท่าไรนักหรอก เพราะพื้นที่แถบนี้ยังคงนิยมชมชอบปืนอาก้า (เอเค47) กันมากกว่า แต่พวกเขาอยากได้ข้าวของที่จะเป็นเครื่องระลึกถึงจักรวรรดิที่กำลังจะตายต่างหาก
ความตระหนักถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้ อาจจะกำลังบังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในหมู่พันธมิตรบางรายของสหรัฐฯ ทว่าสำหรับที่นี่แล้วทุกๆ คนต่างแน่ใจว่ากองทหารฝ่ายตะวันตกกำลังพ่ายแพ้ในสงครามคราวนี้แล้ว อย่างไรก็ดี ขณะที่ในอัฟกานิสถานนั้น ประสิทธิภาพของกองทหารดังกล่าวนี้ในการเป็นเครื่องมือเพื่อต่อสู้ปราบปรามการก่อความไม่สงบ กำลังถูกตั้งคำถามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางด้านปากีสถานที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านอยู่ติดต่อกัน ก็มีการพบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันด้วย
การสำรวจที่จัดทำโดย สถาบันชาวรีพับลิกันระหว่างประเทศ (ไออาร์ไอ)ที่ได้เงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2009 และไม่ได้รวมผู้คนใน “พื้นที่ชาวชนเผ่าที่บริหารโดยรัฐบาลกลาง” ( Federally Administered Tribal Areas หรือFATA) และหลายๆ ส่วนของแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ ( North-West Frontier Province หรือNWFP) อันล้วนเป็นดินแดนที่ถูกกระทบกระเทือนจากสงครามโดยตรงนั้น พบว่า 69% ของผู้ตอบคำถามแสดงความสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารในเขตหุบเขาสวัต (อยู่ในแคว้น NWFP) ในเดือนพฤษภาคม
การสำรวจอีกครั้งหนึ่งที่กระทำโดย “แกลลัป” บริษัททำโพลอเมริกัน ในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนั้นแต่หยั่งเสียงผู้คนทั่วทั้งประเทศปากีสถาน พบว่ามีเพียง 41% ที่สนับสนุนการปฏิบัติการดังกล่าว นอกจากนั้นโพลของแกลลัปยังออกมาว่า ผู้คนจำนวนมากกว่าคือ 43% อยากให้ใช้วิธีแก้ปัญหากันทางการเมืองโดยผ่านการเจรจากัน
ผลการหยั่งเสียงทั้ง 2 สำนักนี้ยังให้ภาพอันน่าสนใจมากในเรื่องเกี่ยวกับความรับรู้เข้าใจของชาวปากีสถานต่อภัยคุกคามจากการก่อการร้าย นั่นคือ ถ้าหากผู้คนในประเทศนี้มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจำเป็นที่จะต้องประจันหน้าคัดค้านพวกหัวรุนแรงแล้ว พวกเขาก็เป็นเอกภาพเช่นกันในการมีความรู้สึกชิงชังสหรัฐฯ ทว่าพวกเขายังคงให้น้ำหนักแก่ภัยคุกคามทั้ง 2 ประการนี้ไม่เท่ากัน การสำรวจของแกลลัปพบว่า 59% ของชาวปากีสถานมองเห็นว่าสหรัฐฯคือภัยคุกคามที่ใหญ่โตกว่า เปรียบเทียบกับที่มีเพียง 11% คิดว่าตอลิบานเป็นอันตรายกว่า ส่วนผลโพลของไออาร์เอสก็ชี้ว่า คนที่เห็นว่าตอลิบานเป็นภัยคุกคามใหญ่มีเพียง 13% ขณะที่อันตรายร้ายแรงที่สุดกลับเป็นเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเบ่งบานสร้างความหายนะให้แก่เศรษฐกิจ โดยได้คะแนนไปถึง 40%
ในเขตเซาท์ วาซิริสถาน อันเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาลกำลังเปิดยุทธการรุกโจมตีปราบปรามพวกตอลิบานครั้งใหม่ล่าสุดขณะนี้ ผู้คนถึงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดทีเดียวอยู่ในสภาพต้องอพยพพลัดพรากจากที่อยู่ของพวกตน โดยที่แทบไม่ได้รับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์อะไรเลย เมื่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในทีมข่าวของสำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ด เพรส (เอพี) พบกับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ พวกเขาก็ได้แสดงความโกรธแค้นต่อรัฐบาลปากีสถานให้ปรากฏ ด้วยการตะโกนว่า “ตอลิบานจงเจริญ”
แทนที่จะสามารถเอาชนะใจผู้คนในท้องถิ่นเหล่านี้ รัฐบาลปากีสถานกลับกำลังผลักใสพวกเขาไปให้ข้าศึกศัตรู
ถึงแม้หลายๆ ภาคส่วนของชนชั้นนำจะได้ดำเนินความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อทำให้สงครามคราวนี้เป็นสงครามของปากีสถาน ทว่าทัศนะโดยทั่วไปยังคงมีอยู่ว่าปากีสถานกำลังสู้รบในสงครามของอเมริกันต่างหาก การที่ปฏิบัติการทางทหารในเซาท์ วาซิริสถาน บังเกิดขึ้นหลังการออกกฎหมายโดยรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งทำให้ปากีสถานได้รับความช่วยเหลือก้อนโตปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้งการสู้รบที่นี่ยังได้รับความสนับสนุนจากการตรวจการณ์ของเครื่องบินไร้นักบินของสหรัฐฯอีกด้วย เหล่านี้จึงแทบไม่อาจสยบความคิดเห็นของพวกระแวงข้องใจลงไปได้
ชาวปากีสถานตระหนักอย่างชัดเจนว่า ก่อนหน้าปี 2002 ยังไม่มีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายใดๆ และพวกเขาก็มีความแน่ใจพอๆ กันว่า ภัยคุกคามนี้จะหายวับไปทันทีที่กองทหารสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคแถบนี้ ทว่าก่อนหน้าเรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ มีบางคนหวั่นกลัวว่า ปากีสถานจะยินยอมอ่อนข้อในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการธำรงเสถียรภาพระยะยาวของตนเอง
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่องWhy Pakistanis see US as the bigger threat โดย Muhammad Idrees Ahmadผู้ร่วมก่อตั้ง Pulsemedia.org)
ถัดจากตลาดไปคือจุดตรวจ ที่เป็นเส้นแบ่งพื้นที่เมืองเปชวาร์ออกจากเขตไคเบอร์ อันเป็นดินแดนชาวชนเผ่าที่จะมีอำนาจกึ่งปกครองตนเอง ในอดีตที่ผ่านมา หากใครอ้อยอิ่งอยู่ใกล้ๆ แถวเส้นแบ่งนี้นานสักหน่อย ก็มักจะมีใครบางคนจากฟากที่อยู่ห่างไกล เข้ามาติดต่อทาบทามบอกขายกัญชา, สุรา, ปืน, หรือกระทั่งเครื่องยิงลูกจรวด สำหรับระยะหลังๆ มานี้ เซลส์แมนพวกนี้ยังอาจจะเสนอขายปืนเอ็ม 16, ปืนยาวติดกล้องสำหรับทหารซุ่มยิง, และปืนพก ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ สำหรับพวกที่ตกลงซื้อหาสินค้าเหล่านี้ไปนั้น ไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องคุณวิเศษของอาวุธเหล่านี้เท่าไรนักหรอก เพราะพื้นที่แถบนี้ยังคงนิยมชมชอบปืนอาก้า (เอเค47) กันมากกว่า แต่พวกเขาอยากได้ข้าวของที่จะเป็นเครื่องระลึกถึงจักรวรรดิที่กำลังจะตายต่างหาก
ความตระหนักถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้ อาจจะกำลังบังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในหมู่พันธมิตรบางรายของสหรัฐฯ ทว่าสำหรับที่นี่แล้วทุกๆ คนต่างแน่ใจว่ากองทหารฝ่ายตะวันตกกำลังพ่ายแพ้ในสงครามคราวนี้แล้ว อย่างไรก็ดี ขณะที่ในอัฟกานิสถานนั้น ประสิทธิภาพของกองทหารดังกล่าวนี้ในการเป็นเครื่องมือเพื่อต่อสู้ปราบปรามการก่อความไม่สงบ กำลังถูกตั้งคำถามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางด้านปากีสถานที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านอยู่ติดต่อกัน ก็มีการพบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันด้วย
การสำรวจที่จัดทำโดย สถาบันชาวรีพับลิกันระหว่างประเทศ (ไออาร์ไอ)ที่ได้เงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2009 และไม่ได้รวมผู้คนใน “พื้นที่ชาวชนเผ่าที่บริหารโดยรัฐบาลกลาง” ( Federally Administered Tribal Areas หรือFATA) และหลายๆ ส่วนของแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ ( North-West Frontier Province หรือNWFP) อันล้วนเป็นดินแดนที่ถูกกระทบกระเทือนจากสงครามโดยตรงนั้น พบว่า 69% ของผู้ตอบคำถามแสดงความสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารในเขตหุบเขาสวัต (อยู่ในแคว้น NWFP) ในเดือนพฤษภาคม
การสำรวจอีกครั้งหนึ่งที่กระทำโดย “แกลลัป” บริษัททำโพลอเมริกัน ในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนั้นแต่หยั่งเสียงผู้คนทั่วทั้งประเทศปากีสถาน พบว่ามีเพียง 41% ที่สนับสนุนการปฏิบัติการดังกล่าว นอกจากนั้นโพลของแกลลัปยังออกมาว่า ผู้คนจำนวนมากกว่าคือ 43% อยากให้ใช้วิธีแก้ปัญหากันทางการเมืองโดยผ่านการเจรจากัน
ผลการหยั่งเสียงทั้ง 2 สำนักนี้ยังให้ภาพอันน่าสนใจมากในเรื่องเกี่ยวกับความรับรู้เข้าใจของชาวปากีสถานต่อภัยคุกคามจากการก่อการร้าย นั่นคือ ถ้าหากผู้คนในประเทศนี้มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจำเป็นที่จะต้องประจันหน้าคัดค้านพวกหัวรุนแรงแล้ว พวกเขาก็เป็นเอกภาพเช่นกันในการมีความรู้สึกชิงชังสหรัฐฯ ทว่าพวกเขายังคงให้น้ำหนักแก่ภัยคุกคามทั้ง 2 ประการนี้ไม่เท่ากัน การสำรวจของแกลลัปพบว่า 59% ของชาวปากีสถานมองเห็นว่าสหรัฐฯคือภัยคุกคามที่ใหญ่โตกว่า เปรียบเทียบกับที่มีเพียง 11% คิดว่าตอลิบานเป็นอันตรายกว่า ส่วนผลโพลของไออาร์เอสก็ชี้ว่า คนที่เห็นว่าตอลิบานเป็นภัยคุกคามใหญ่มีเพียง 13% ขณะที่อันตรายร้ายแรงที่สุดกลับเป็นเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเบ่งบานสร้างความหายนะให้แก่เศรษฐกิจ โดยได้คะแนนไปถึง 40%
ในเขตเซาท์ วาซิริสถาน อันเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาลกำลังเปิดยุทธการรุกโจมตีปราบปรามพวกตอลิบานครั้งใหม่ล่าสุดขณะนี้ ผู้คนถึงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดทีเดียวอยู่ในสภาพต้องอพยพพลัดพรากจากที่อยู่ของพวกตน โดยที่แทบไม่ได้รับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์อะไรเลย เมื่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในทีมข่าวของสำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ด เพรส (เอพี) พบกับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ พวกเขาก็ได้แสดงความโกรธแค้นต่อรัฐบาลปากีสถานให้ปรากฏ ด้วยการตะโกนว่า “ตอลิบานจงเจริญ”
แทนที่จะสามารถเอาชนะใจผู้คนในท้องถิ่นเหล่านี้ รัฐบาลปากีสถานกลับกำลังผลักใสพวกเขาไปให้ข้าศึกศัตรู
ถึงแม้หลายๆ ภาคส่วนของชนชั้นนำจะได้ดำเนินความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อทำให้สงครามคราวนี้เป็นสงครามของปากีสถาน ทว่าทัศนะโดยทั่วไปยังคงมีอยู่ว่าปากีสถานกำลังสู้รบในสงครามของอเมริกันต่างหาก การที่ปฏิบัติการทางทหารในเซาท์ วาซิริสถาน บังเกิดขึ้นหลังการออกกฎหมายโดยรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งทำให้ปากีสถานได้รับความช่วยเหลือก้อนโตปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้งการสู้รบที่นี่ยังได้รับความสนับสนุนจากการตรวจการณ์ของเครื่องบินไร้นักบินของสหรัฐฯอีกด้วย เหล่านี้จึงแทบไม่อาจสยบความคิดเห็นของพวกระแวงข้องใจลงไปได้
ชาวปากีสถานตระหนักอย่างชัดเจนว่า ก่อนหน้าปี 2002 ยังไม่มีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายใดๆ และพวกเขาก็มีความแน่ใจพอๆ กันว่า ภัยคุกคามนี้จะหายวับไปทันทีที่กองทหารสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคแถบนี้ ทว่าก่อนหน้าเรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ มีบางคนหวั่นกลัวว่า ปากีสถานจะยินยอมอ่อนข้อในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการธำรงเสถียรภาพระยะยาวของตนเอง
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่องWhy Pakistanis see US as the bigger threat โดย Muhammad Idrees Ahmadผู้ร่วมก่อตั้ง Pulsemedia.org)