(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Pakistan, US look across the border
By Syed Saleem Shahzad
12/08/2009
เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแล้ว เวลานี้ปากีสถานที่ได้รับความช่วยเหลือจากแข็งขันจากสหรัฐฯ สามารถคืบหน้าไปก้าวใหญ่ๆ ทีเดียวในการสกัดยับยั้งพวกหัวรุนแรงในพื้นที่ชนเผ่าของประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม สาเหตุรากเหง้าของการเกิดพวกหัวรุนแรงเหล่านี้ขึ้นมากลับอยู่ที่อีกฟากหนึ่งของพรมแดน นั่นคือในอัฟกานิสถาน และด้วยเหตุนี้เอง ทั้งอิสลามาบัดและวอชิงตันจึงกำลังเพิ่มความพยายามของพวกตนเพื่อหาทางจับมือกับพวกหัวหน้าตอลิบานระดับล่างๆ
อิสลามาบัด– การที่ปากีสถานให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีส่วนสำคัญมากทีเดียวที่ทำให้ได้รับเงินกู้เพิ่มเติมอีก 3,200 ล้านดอลลาร์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จนทำให้ยอดเงินกู้ทั้งหมดขึ้นไปอยู่ที่ 11,300 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 6.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของประเทศนี้
ขณะเดียวกัน ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯที่ดูแลกิจการด้านปากีสถานและอัฟกานิสถาน ริชาร์ด โฮลบรูก ก็มีกำหนดมาเยือนปากีสถานระหว่างวันที่ 15 – 18 สิงหาคม เพื่อกดดันอิสลามาบัดให้เพิ่มความร่วมมือมากขึ้นอีก ในการจัดการกับ เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan) อันเป็นองค์การหลักที่รวบรวมพวกหัวรุนแรงตอลิบานในปากีสถานเข้าด้วยกันด้วยความประสงค์ที่จะต่อสู้ต่อต้านรัฐบาลกลาง มีรายงานว่าไบตุลเลาะห์ เมห์ซูด (Baitullah Mehsud) ผู้นำขององค์การนี้ได้ถูกสังหารไปแล้วจากการโจมตีของเครื่องบินไร้นักบินแบบเพรเดเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และพวกหัวรุนแรงอื่นๆ อีกจำนวนมากก็สิ้นชีพไปเช่นกันจากการโจมตีในลักษณะดังกล่าว
สหรัฐฯนั้นต้องการให้ปากีสถานช่วยเหลือเป็นตัวกลางในการยุติสงครามความขัดแย้งในปากีสถานและอัฟกานิสถานในเวลานี้ โดยเกลี้ยกล่อมให้พวกตอลิบานยอมเข้าสู่การเจรจาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้พวกเขาได้เข้าร่วมอยู่ในการเมืองกระแสหลักของอัฟกานิสถาน
“แผนการจริงๆ นั้นไม่ได้ต้องการกำจัดใครคนไหนทั้งสิ้น แต่เพื่อการขุดรากถอนโคนกองบัญชาการของกลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างเซาท์วาซิริสถาน (South Waziristan) และนอร์ทวาซิริสถาน (North Waziristan) [ทั้งสองเขตนี้ต่างเป็นพื้นที่ชาวชนเผ่าในปากีสถาน] ซึ่งกำลังเป็นต้นตอก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพอย่างมหาศาลในทั่วทั้งภูมิภาคตั้งแต่ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อินเดีย ไปจนถึงอิรัก” เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงของปากีสถานที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงอิสลามาบัดผู้หนึ่ง บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้ระบุชื่อ
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เปิดเผยเอกสารลับมากจำนวนหนึ่งแก่เอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มต่างๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับอัลกออิดะห์ มีพฤติการณ์อย่างไรบ้างทั้งในเรื่องการปล้นชิงที่ตกเป็นข่าวเกรียวกราว, การลอบสังหาร, และกิจกรรมอื่นๆ โดยทำงานกันในลักษณะเป็นเครือข่ายที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จากนอร์ทวาซิริสถานไปจนถึงนครมุมไบ(บอมเบย์)ในอินเดีย ทั้งนี้ที่เมืองท่าใหญ่ของอินเดียแห่งนี้เอง พวกหัวรุนแรงที่โยงใยกับปากีสถานจำนวน 10 คนได้ก่อเหตุโจมตีครั้งใหญ่ในปีที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 150 คน
ไม่มีใครเชื่อว่าปากีสถานจะเป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง จนทำให้สหรัฐฯสามารถเล่นงานไบตุลเลาะห์ได้แบบถึงตัว แต่ทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการแลกเปลี่ยนแผนที่อันละเอียดลออของพื้นที่บริเวณเขตวาซิริสถานที่เครื่องบินไร้นักบินเข้าไปโจมตีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อมุ่งเด็ดชีพไบตุลเลาะห์ ซึ่งถูกตั้งค่าหัวเอาไว้ 5 ล้านดอลลาร์
เวลานี้ในกรุงอิสลามาบัด เมืองหลวงของปากีสถาน มีการจัดตั้งเครือข่ายขึ้นมาเครือข่ายหนึ่ง ประกอบไปด้วยนายตำรวจระดับอาวุโสของปากีสถานหลายต่อหลายคน แล้วยังมีพวกเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองที่มีภูมิหลังเป็นทหารมาก่อน ตลอดจนมีสมาชิกหลายคนจากประชาคมข่าวกรองอเมริกัน เครือข่ายนี้ขณะนี้พบปะกันทุกๆ วันเพื่อปรึกษาหารือกันถึงเป้าหมายต่างๆ รวมทั้งประเมินผลลัพธ์ของการโจมตีที่ได้ดำเนินการไป
เมื่อวันอังคาร(11) เครื่องบินไร้นักบินจำนวนหนึ่งได้ออกปฏิบัติการโดยอาศัยข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายปากีสถาน เป้าหมายคือเล่นงาน มาอัสคาร์(Maaskar) ศูนย์ฝึกอบรมพวกหัวรุนแรงที่ดำเนินการโดยพวกหัวรุนแรงชาวอาหรับ ในพื้นที่คานิกูราม (Kaniguram) ของเซาท์วาซิริสถาน ทั้งนี้มีรายงานว่ามีผู้ถูกสังหารไปหลายๆ คนทีเดียวจากการโจมตีคราวนี้
ตอนเช้าวันเดียวกันนั้นเอง พวกหัวรุนแรงก็ได้เปิดการโจมตีด้วยจรวดอย่างดุเดือดที่เมืองเปชาวาร์ (Peshawar) เมืองเอกของแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province หรือ NWFP) ตามรายงานข่าวระบุว่ามีการยิงจรวดสิบกว่าลูก สังหารพลเรือนตายไป 2 คน แต่การโจมตีคราวนี้ดูออกจะเปะปะไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน บ่งบอกให้เห็นถึงความสิ้นคิดในส่วนของพวกหัวรุนแรง เมื่อต้องเผชิญกับการถูกโจมตีเล่นงานจากเครื่องบินไร้นักบิน
ในวันอังคาร(11)อีกเช่นกัน พวกหัวรุนแรงยังได้เข้าทำลายโรงเรียน 10 แห่ง และศูนย์สาธารณสุขอีก 1 แห่ง ในตำบลบูเนอร์(Buner) เขตมาลาคันด์ (Malakand Division) เหตุร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นขณะที่รัฐบาลอ้างว่าทุกสิ่งทุกอย่างกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้วในพื้นที่ ดีร์(Dir) และ สวัต (Swat) ของ NWFP รวมทั้งในบูเนอร์ด้วย
อย่างไรก็ดี แม้จะเกิดการโจมตีของพวกหัวรุนแรงในวันอังคาร ก็ดูเหมือนว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงของฝ่ายรัฐบาลปากีสถาน สามารถทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่เสถียรภาพได้แล้ว หลังจากที่เมื่อสองสามเดือนก่อนพวกตอลิบานทำท่าจะกำลังรุกคืบมุ่งสู่เมืองหลวงอิสลามาบัด
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของปากีสถานผู้นี้นบอกอีกว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ต้องถือว่ายอดเยี่ยมมากสำหรับฝ่ายรัฐบาล ในเมื่อพวกตอลิบานต้องยอมทิ้งบริเวณที่พวกเขาขนานนามว่า เป็นแคว้นเจ้าอิสลาม (emirate) ไม่ว่าจะเป็นเขตบาจาอูร์ (Bajaur Agency), โมห์มันด์ (Mohmand Agency), และ สวัต ขณะเดียวกันพวกเขาเองก็ยังต้องคอยหลบหนีอยู่ในบริเวณพื้นที่เขตนอร์ทวาซิริสถาน และเซาท์วาซินิสถาน สถานการณ์จะยิ่งดีกว่านี้อีก ถ้าหากสิ่งต่างๆ กลับขึ้นสู่ปกติในอัฟกานิสถาน เนื่องจาก สิ่งนี้ [การก่อเหตุของพวกหัวรุนแรงในปากีสถาน] เป็นการล้นทะลักออกมาของสงครามอัฟกานิสถานนั่นเอง”
พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ประกาศเมื่อวันอังคาร(11)ว่า กองทหารของพันธมิตรจะเป็นผู้ชนะในสงครามคราวนี้ ทว่าเขาก็ย้ำอีกครั้งว่าเขายังคงเปิดกว้างสำหรับการเจรจาปรองดองกับพวกผู้ก่อความไม่สงบระดับล่างๆ
“ผมจะมีความอบอุ่นใจอย่างที่สุดมอบให้แก่นักรบและหัวหน้านักรบระดับล่างๆ ซึ่งตัดสินใจที่จะหวนกลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองของชาวอัฟกัน ภายใต้รัฐธรรมนูญของชาวอัฟกัน” แมคคริสตัลกล่าว ขณะที่เรื่องการทำความปรองดองกับพวกผู้นำหัวรุนแรงระดับสูงนั้น แมคคริสตัลบอกว่า “เรื่องอย่างนั้นเห็นชัดเจนว่าต้องขึ้นอยู่กับ [ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน]”
ตัวคาร์ไซก็ได้กล่าวแสดงเจตนารมณ์ของเขาต่อสาธารณชนในวันอังคาร โดยบอกว่าเขาจะเพิ่มขนาดกองกำลังทหารตำรวจของอัฟกานิสถานขึ้นไปอีกเท่าตัว และผลักดันให้มีการเจรจาสันติภาพกับพวกตอลิบาน หากเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง ในการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนนี้
ขณะเดียวกัน ในการประชุมสภาชนเผ่า (shura) ของพวกตอลิบานอัฟกานิสถาน ซึ่งเชื่อกันว่ากระทำกันแถวๆ เมืองเกวตตา (Quetta) ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ทางผู้นำตอลิบาน มุลลาห์ โอมาร์(Mullah Omar) ได้เรียกร้องให้สภาชนเผ่าเข้าแทรกแซงเพื่อพิทักษ์คุ้มครองทรัพย์สินอันสำคัญยิ่งของพวกหัวรุนแรงที่อยู่ในเซาท์วาซิริสถาน ทั้งนี้ไม่ว่าไบตุลเลาะห์จะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว โดยจุดมุ่งหมายของการแทรกแซงก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการต่อสู้ขัดแย้งกันเองระหว่างกลุ่มต่างๆ ใน เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน
การประชุมสภาชนเผ่าคราวนี้ ผู้เข้าร่วมมีทั้ง มุลลาห์ บราดาร์ (Mullah Bradar) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของตอลิบานในอัฟกานิสถาน, มุลลาห์ ฮะซัน เราะห์มานี (Mullah Hasan Rahmani) ผู้ช่วยคนสนิทของมุลลาห์ โอมาร์ ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าการจังหวัดกันดาฮาร์ ในอัฟกานิสถาน ระหว่างที่ตอลิบานปกครองอัฟกานิสถานในตอนปลายทศวรรษ 1990, ตลอดจนบุคคลสำคัญยิ่งคนอื่นๆ ของพวกตอลิบานอัฟกัน ซึ่งมาจากเผ่ากันดาฮารี (Kandahari)
ถ้าหากสภาชนเผ่านี้ตัดสินใจที่จะแต่งตั้งหัวหน้าใหญ่ตอลิบานปากีสถาน ที่เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว ซึ่งตรงกันข้ามกับไบตุลเลาะห์ที่เป็นคนแข็งกร้าวและไม่ยอมประนีประนอมแล้ว เส้นทางไปสู่การปิดเกมในภูมิภาคแถบนี้ก็จะมีความราบรื่นยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com
Pakistan, US look across the border
By Syed Saleem Shahzad
12/08/2009
เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแล้ว เวลานี้ปากีสถานที่ได้รับความช่วยเหลือจากแข็งขันจากสหรัฐฯ สามารถคืบหน้าไปก้าวใหญ่ๆ ทีเดียวในการสกัดยับยั้งพวกหัวรุนแรงในพื้นที่ชนเผ่าของประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม สาเหตุรากเหง้าของการเกิดพวกหัวรุนแรงเหล่านี้ขึ้นมากลับอยู่ที่อีกฟากหนึ่งของพรมแดน นั่นคือในอัฟกานิสถาน และด้วยเหตุนี้เอง ทั้งอิสลามาบัดและวอชิงตันจึงกำลังเพิ่มความพยายามของพวกตนเพื่อหาทางจับมือกับพวกหัวหน้าตอลิบานระดับล่างๆ
อิสลามาบัด– การที่ปากีสถานให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีส่วนสำคัญมากทีเดียวที่ทำให้ได้รับเงินกู้เพิ่มเติมอีก 3,200 ล้านดอลลาร์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จนทำให้ยอดเงินกู้ทั้งหมดขึ้นไปอยู่ที่ 11,300 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 6.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของประเทศนี้
ขณะเดียวกัน ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯที่ดูแลกิจการด้านปากีสถานและอัฟกานิสถาน ริชาร์ด โฮลบรูก ก็มีกำหนดมาเยือนปากีสถานระหว่างวันที่ 15 – 18 สิงหาคม เพื่อกดดันอิสลามาบัดให้เพิ่มความร่วมมือมากขึ้นอีก ในการจัดการกับ เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan) อันเป็นองค์การหลักที่รวบรวมพวกหัวรุนแรงตอลิบานในปากีสถานเข้าด้วยกันด้วยความประสงค์ที่จะต่อสู้ต่อต้านรัฐบาลกลาง มีรายงานว่าไบตุลเลาะห์ เมห์ซูด (Baitullah Mehsud) ผู้นำขององค์การนี้ได้ถูกสังหารไปแล้วจากการโจมตีของเครื่องบินไร้นักบินแบบเพรเดเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และพวกหัวรุนแรงอื่นๆ อีกจำนวนมากก็สิ้นชีพไปเช่นกันจากการโจมตีในลักษณะดังกล่าว
สหรัฐฯนั้นต้องการให้ปากีสถานช่วยเหลือเป็นตัวกลางในการยุติสงครามความขัดแย้งในปากีสถานและอัฟกานิสถานในเวลานี้ โดยเกลี้ยกล่อมให้พวกตอลิบานยอมเข้าสู่การเจรจาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้พวกเขาได้เข้าร่วมอยู่ในการเมืองกระแสหลักของอัฟกานิสถาน
“แผนการจริงๆ นั้นไม่ได้ต้องการกำจัดใครคนไหนทั้งสิ้น แต่เพื่อการขุดรากถอนโคนกองบัญชาการของกลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างเซาท์วาซิริสถาน (South Waziristan) และนอร์ทวาซิริสถาน (North Waziristan) [ทั้งสองเขตนี้ต่างเป็นพื้นที่ชาวชนเผ่าในปากีสถาน] ซึ่งกำลังเป็นต้นตอก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพอย่างมหาศาลในทั่วทั้งภูมิภาคตั้งแต่ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อินเดีย ไปจนถึงอิรัก” เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงของปากีสถานที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงอิสลามาบัดผู้หนึ่ง บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้ระบุชื่อ
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เปิดเผยเอกสารลับมากจำนวนหนึ่งแก่เอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มต่างๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับอัลกออิดะห์ มีพฤติการณ์อย่างไรบ้างทั้งในเรื่องการปล้นชิงที่ตกเป็นข่าวเกรียวกราว, การลอบสังหาร, และกิจกรรมอื่นๆ โดยทำงานกันในลักษณะเป็นเครือข่ายที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จากนอร์ทวาซิริสถานไปจนถึงนครมุมไบ(บอมเบย์)ในอินเดีย ทั้งนี้ที่เมืองท่าใหญ่ของอินเดียแห่งนี้เอง พวกหัวรุนแรงที่โยงใยกับปากีสถานจำนวน 10 คนได้ก่อเหตุโจมตีครั้งใหญ่ในปีที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 150 คน
ไม่มีใครเชื่อว่าปากีสถานจะเป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง จนทำให้สหรัฐฯสามารถเล่นงานไบตุลเลาะห์ได้แบบถึงตัว แต่ทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการแลกเปลี่ยนแผนที่อันละเอียดลออของพื้นที่บริเวณเขตวาซิริสถานที่เครื่องบินไร้นักบินเข้าไปโจมตีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อมุ่งเด็ดชีพไบตุลเลาะห์ ซึ่งถูกตั้งค่าหัวเอาไว้ 5 ล้านดอลลาร์
เวลานี้ในกรุงอิสลามาบัด เมืองหลวงของปากีสถาน มีการจัดตั้งเครือข่ายขึ้นมาเครือข่ายหนึ่ง ประกอบไปด้วยนายตำรวจระดับอาวุโสของปากีสถานหลายต่อหลายคน แล้วยังมีพวกเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองที่มีภูมิหลังเป็นทหารมาก่อน ตลอดจนมีสมาชิกหลายคนจากประชาคมข่าวกรองอเมริกัน เครือข่ายนี้ขณะนี้พบปะกันทุกๆ วันเพื่อปรึกษาหารือกันถึงเป้าหมายต่างๆ รวมทั้งประเมินผลลัพธ์ของการโจมตีที่ได้ดำเนินการไป
เมื่อวันอังคาร(11) เครื่องบินไร้นักบินจำนวนหนึ่งได้ออกปฏิบัติการโดยอาศัยข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายปากีสถาน เป้าหมายคือเล่นงาน มาอัสคาร์(Maaskar) ศูนย์ฝึกอบรมพวกหัวรุนแรงที่ดำเนินการโดยพวกหัวรุนแรงชาวอาหรับ ในพื้นที่คานิกูราม (Kaniguram) ของเซาท์วาซิริสถาน ทั้งนี้มีรายงานว่ามีผู้ถูกสังหารไปหลายๆ คนทีเดียวจากการโจมตีคราวนี้
ตอนเช้าวันเดียวกันนั้นเอง พวกหัวรุนแรงก็ได้เปิดการโจมตีด้วยจรวดอย่างดุเดือดที่เมืองเปชาวาร์ (Peshawar) เมืองเอกของแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province หรือ NWFP) ตามรายงานข่าวระบุว่ามีการยิงจรวดสิบกว่าลูก สังหารพลเรือนตายไป 2 คน แต่การโจมตีคราวนี้ดูออกจะเปะปะไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน บ่งบอกให้เห็นถึงความสิ้นคิดในส่วนของพวกหัวรุนแรง เมื่อต้องเผชิญกับการถูกโจมตีเล่นงานจากเครื่องบินไร้นักบิน
ในวันอังคาร(11)อีกเช่นกัน พวกหัวรุนแรงยังได้เข้าทำลายโรงเรียน 10 แห่ง และศูนย์สาธารณสุขอีก 1 แห่ง ในตำบลบูเนอร์(Buner) เขตมาลาคันด์ (Malakand Division) เหตุร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นขณะที่รัฐบาลอ้างว่าทุกสิ่งทุกอย่างกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้วในพื้นที่ ดีร์(Dir) และ สวัต (Swat) ของ NWFP รวมทั้งในบูเนอร์ด้วย
อย่างไรก็ดี แม้จะเกิดการโจมตีของพวกหัวรุนแรงในวันอังคาร ก็ดูเหมือนว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงของฝ่ายรัฐบาลปากีสถาน สามารถทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่เสถียรภาพได้แล้ว หลังจากที่เมื่อสองสามเดือนก่อนพวกตอลิบานทำท่าจะกำลังรุกคืบมุ่งสู่เมืองหลวงอิสลามาบัด
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของปากีสถานผู้นี้นบอกอีกว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ต้องถือว่ายอดเยี่ยมมากสำหรับฝ่ายรัฐบาล ในเมื่อพวกตอลิบานต้องยอมทิ้งบริเวณที่พวกเขาขนานนามว่า เป็นแคว้นเจ้าอิสลาม (emirate) ไม่ว่าจะเป็นเขตบาจาอูร์ (Bajaur Agency), โมห์มันด์ (Mohmand Agency), และ สวัต ขณะเดียวกันพวกเขาเองก็ยังต้องคอยหลบหนีอยู่ในบริเวณพื้นที่เขตนอร์ทวาซิริสถาน และเซาท์วาซินิสถาน สถานการณ์จะยิ่งดีกว่านี้อีก ถ้าหากสิ่งต่างๆ กลับขึ้นสู่ปกติในอัฟกานิสถาน เนื่องจาก สิ่งนี้ [การก่อเหตุของพวกหัวรุนแรงในปากีสถาน] เป็นการล้นทะลักออกมาของสงครามอัฟกานิสถานนั่นเอง”
พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ประกาศเมื่อวันอังคาร(11)ว่า กองทหารของพันธมิตรจะเป็นผู้ชนะในสงครามคราวนี้ ทว่าเขาก็ย้ำอีกครั้งว่าเขายังคงเปิดกว้างสำหรับการเจรจาปรองดองกับพวกผู้ก่อความไม่สงบระดับล่างๆ
“ผมจะมีความอบอุ่นใจอย่างที่สุดมอบให้แก่นักรบและหัวหน้านักรบระดับล่างๆ ซึ่งตัดสินใจที่จะหวนกลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองของชาวอัฟกัน ภายใต้รัฐธรรมนูญของชาวอัฟกัน” แมคคริสตัลกล่าว ขณะที่เรื่องการทำความปรองดองกับพวกผู้นำหัวรุนแรงระดับสูงนั้น แมคคริสตัลบอกว่า “เรื่องอย่างนั้นเห็นชัดเจนว่าต้องขึ้นอยู่กับ [ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน]”
ตัวคาร์ไซก็ได้กล่าวแสดงเจตนารมณ์ของเขาต่อสาธารณชนในวันอังคาร โดยบอกว่าเขาจะเพิ่มขนาดกองกำลังทหารตำรวจของอัฟกานิสถานขึ้นไปอีกเท่าตัว และผลักดันให้มีการเจรจาสันติภาพกับพวกตอลิบาน หากเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง ในการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนนี้
ขณะเดียวกัน ในการประชุมสภาชนเผ่า (shura) ของพวกตอลิบานอัฟกานิสถาน ซึ่งเชื่อกันว่ากระทำกันแถวๆ เมืองเกวตตา (Quetta) ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ทางผู้นำตอลิบาน มุลลาห์ โอมาร์(Mullah Omar) ได้เรียกร้องให้สภาชนเผ่าเข้าแทรกแซงเพื่อพิทักษ์คุ้มครองทรัพย์สินอันสำคัญยิ่งของพวกหัวรุนแรงที่อยู่ในเซาท์วาซิริสถาน ทั้งนี้ไม่ว่าไบตุลเลาะห์จะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว โดยจุดมุ่งหมายของการแทรกแซงก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการต่อสู้ขัดแย้งกันเองระหว่างกลุ่มต่างๆ ใน เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน
การประชุมสภาชนเผ่าคราวนี้ ผู้เข้าร่วมมีทั้ง มุลลาห์ บราดาร์ (Mullah Bradar) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของตอลิบานในอัฟกานิสถาน, มุลลาห์ ฮะซัน เราะห์มานี (Mullah Hasan Rahmani) ผู้ช่วยคนสนิทของมุลลาห์ โอมาร์ ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าการจังหวัดกันดาฮาร์ ในอัฟกานิสถาน ระหว่างที่ตอลิบานปกครองอัฟกานิสถานในตอนปลายทศวรรษ 1990, ตลอดจนบุคคลสำคัญยิ่งคนอื่นๆ ของพวกตอลิบานอัฟกัน ซึ่งมาจากเผ่ากันดาฮารี (Kandahari)
ถ้าหากสภาชนเผ่านี้ตัดสินใจที่จะแต่งตั้งหัวหน้าใหญ่ตอลิบานปากีสถาน ที่เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว ซึ่งตรงกันข้ามกับไบตุลเลาะห์ที่เป็นคนแข็งกร้าวและไม่ยอมประนีประนอมแล้ว เส้นทางไปสู่การปิดเกมในภูมิภาคแถบนี้ก็จะมีความราบรื่นยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com