ASTVผู้จัดการรายวัน - ตำรวจส่งคำให้การ "ราเกซ" ปฏิเสธคดีทุจริตปล่อยกู้บีบีซี อัยการตั้งคณะทำงานเตรียมฟ้องด่วน ก่อนศาลอาญากรุงเทพใต้นัดฟังคำพิพากษาอุทธรณ์คดีเสี่ยตั้ว "เกริกเกียรติ" 11 พ.ย.นี้ "ลุงชัย" อ้างช่วงบีบีซีล้ม "เนวิน" แค่ลูกกระจ๊อก ธปท.เผยบีบีซีมีทั้งหมด 29 คดี 4.5 หมื่นล้าน ผงะคดีแรก "ซิตี้เทรดดิ้ง" ขอกู้เงินจากบีบีซีถึง 500 ครั้ง! ป้องอดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติไม่ผิด "กอร์ปศักดิ์" เชื่อ "ราเกซ" มีข้อมูลนักการเมือง พร้อมห่วง "ราเกซ" ตายเข้าทาง นช.ดูไบนำไปเป็นข้ออ้างเมืองไทยไม่ปลอดภัย
วานนี้ (2 พ.ย.) เวลา 15.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษาธนาคาร กรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ร่วมกับพวกกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ กรณีอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทซิตี้ เทรดดิ้ง ฯ จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต พร้อมคณะได้นำสำนวนการสอบสวนพยานเพิ่มเติมของนายราเกซ เกี่ยวกับคำแปลของล่ามที่สอบถามนายราเกซ และแพทย์ผู้ตรวจอาการป่วยนายราเกซ ประมาณ 90 แผ่น ซึ่งคดีดังกล่าวนายราเกซ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307 ,308 ,311 และ315 มาส่งมอบให้นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมเป็นคำให้การปฏิเสธของนายราเกซ ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ และคำแปลภาษาไทย ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ล่ามภาษาอังกฤษของกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งรายงานการตรวจสุขภาพของนายราเกซ ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจระบุว่า ขณะนายราเกซให้การมีสติและสุขภาพดี แต่มีอาการอ่อนล้าที่แขน และขาบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวนยังไม่ได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่ล่ามคนดังกล่าว ว่า ได้รับมอบหมายให้เป็นล่ามทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ตนจึงให้พนักงานสอบสวนไปสอบปากคำเจ้าหน้าที่ล่ามคนดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ตนได้แต่งตั้งรองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจ อัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กับคณะรวม 5 คนเป็น คณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจสอบรายละเอียด ทั้งกระบวนการการสอบคำให้การผู้ต้องหา การสอบสวนพยานเพิ่มเติม 2 ปาก และกระบวนการขั้นตอนการแจ้งสิทธิกับผู้ต้องหาในการมีทนายความ ว่าครบถ้วนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ หากยังดำเนินการไม่ครบถ้วนอัยการก็ต้องแจ้งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการ เพราะไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบเรื่องสิทธิของผู้ต้องหา ขณะที่คดีนี้มีมูลค่าความเสียหายจำนวนมากจึงไม่อยากให้เกิดข้อบกพร่อง อีกทั้งจะต้องนำสำนวนเดิมที่สั่งฟ้องนายราเกซ ซึ่งมีการยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติกับพวกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งมีพยานบุคคลถึง 94 ปาก มาพิจารณา เพื่อดูว่าพยานปากใดที่ให้การเกี่ยวกับนายราเกซว่ากระทำผิดอย่างใด และพยานเบิกความในศาลอย่างใด เพื่อนำรายละเอียดไปบรรยายฟ้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีน้ำหนักพอที่จะให้ศาลพิพากษาลงโทษได้ โดยการยื่นฟ้องนายราเกซ ไม่จำเป็นต้องรอฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ จะนัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีนี้ในส่วนของนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี.กับพวก ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี ปรับ 2,264 ล้านบาท ฐานปล่อยเงินกู้ จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต ในวันที่ 11 พ.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
"สำหรับการบรรยายฟ้องนายราเกซ อัยการจะระบุถึงพฤติการณ์ขอนายราเกซ ที่หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการประกันตัวด้วย ส่วนคดีปล่อยกู้ธนาคาร บีบีซี.โดยทุจริตอีก 20 สำนวนที่นายราเกซ เป็นผู้ต้องหานั้น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ ผมได้สรุปรายละเอียดของคดีให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดทราบ เพื่อจะแจ้งรายละเอียดคดีเหล่านั้นให้ทางการแคนาดารับทราบตามมารยารของการขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ก่อนที่อัยการไทยจะยื่นฟ้องนายราเกซกับความผิดทั้ง 20 คดีต่อไป ขอยืนยันว่า จะไม่ปล่อยให้คดีขาดอายุความอย่างแน่นอน"อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กล่าว
ถามว่าหากนายราเกซ ให้การซัดทอดจะสามารถดำเนินคดีนักการเมืองกลุ่ม 16 ได้อีกหรือไม่ นายเศกสรรค์ กล่าวว่า การยื่นฟ้องคดีขณะนี้ก็เป็นไปตามที่พยานหลักฐานปรากฏในสำนวนเท่านั้น นายราเกซ จะให้การในชั้นศาลพาดพิงถึงบุคคลใดหรือไม่ก็เป็นเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
**ตรวจอาหาร "ราเกซ" สกัดยาพิษ
ส่วนบรรยากาศหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่คุมขังนายราเกซ สักเสนา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้ามีญาติผู้ต้องขังเดินทางมาลงทะเบียนเยี่ยมญาติของตัวเองจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการเปิดให้เยี่ยมวันแรกของสัปดาห์ โดยช่วงเช้ามียังไม่พบว่ามีญาตินายราเกซ เข้าเยี่ยม มีเพียงคนสนิทที่เคยติดตามเข้าพบ ซึ่งทางเรือนจำได้จัดเตรียมสถานที่ให้ญาตินายราเกซ เข้าเยี่ยมบริเวณชั้นล่างซึ่งเป็นห้องสมุด ตึกผู้บัญชาการเรือนจำ พร้อมกับติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูแลความเรียบร้อยตามมุมต่าง รวมถึงมีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลนายราเกซ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังได้มีการสั่งกำชับให้ดูแลเรื่องอาหารที่นำเข้ามาเยี่ยมซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ว่าอาหารที่นำมาจากญาติหรือคนสนิท เพราะเกรงว่าจะมีการใส่สารพิษปนเข้ามาด้วย
ต่อมาเวลาประมาณ 12.00 น.นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ รักษาการผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้เดินทางมายังเรือนจำภายหลังเดินทางเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับเปิดเผยว่า การดูแลนายราเกซ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น โดยทางเรือนจำได้มีกฎระเบียบเข้มงวดในการตรวจสอบผู้ที่จะเข้าพบนายราเกซ พร้อมกันนี้ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีนักโทษชั้นดีคอยอยู่ดูแลให้ความช่วยเหลือ 2 คน คนหนึ่งเป็นแพทย์อายุรกรรม มีความเชี่ยวชาญในด้านอายุรกรรมและคอยให้การช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับนายราเกซ ในเวลากลางคืน โดยนักโทษรายนี้ได้วิเคราะห์สาเหตุโรคของนายราเกซ ให้ฟังว่าเกิดจากนายราเกซ เคยเส้นเลือดในสมองซีกขวาแตก ส่งผลให้แขนซ้ายและขาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งขณะนี้ทางเรือนจำกำลังประสานหาแพทย์ที่ชำนาญการด้านประสาทวิทยาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ให้เข้ามาช่วยดูแลเกี่ยวกับระบบประสาทของนายราเกซ ส่วนอีกรายได้เลือกนักโทษที่มีร่างกายกำยำเพื่อคอยให้ความช่วยเหลือหากนายราเกซ ต้องการเคลื่อนไหวร่างกาย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคดีของนายราเกซที่มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าควรให้ ดีเอสไอรับมาเป็นคดีพิเศษว่า จะให้เจ้าหน้าที่เสนอมาว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไร หรือไม่ ที่ดำเนินการอยู่
**มีอีกกว่า 100 ล้านซุกที่อังกฤษ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ในฐานะอดีตรองอัยการสูงสุด กล่าวถึงคดีนายราเกซว่า ตนเคยเป็นหนึ่งในคณะทำงานกรณีดังกล่าว ซึ่งขณะนั้นนายราเกซ ได้ต่อสู้โดยอ้างว่าหากกลับมาจะไม่ปลอดภัย และเรือนจำของไทย อาจไม่ได้มาตรฐาน แต่ทางการไทยก็ยืนยันมาตรฐานราชทัณฑ์ และรับรองความปลอดภัย เขาจึงส่งตัวกลับมา และถือเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำตามการรับรอง ซึ่งเขาก็อาจจะส่งคนมาตรวจเยี่ยมได้ ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง รองอัยการสูงสุดนั้น ได้มีการประสานไปยังรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อขอให้อายัดเงินจำนวน 1,500 ล้านบาทไว้ ซึ่งรัฐบาลสวิสฯ ก็ให้ความร่วมมือ และอัยการยังได้แนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องแพ่ง จนท้ายที่สุดจึงชนะคดีและได้เงินคืนมา อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินอยู่ในอีกหลายแห่งเช่น อังกฤษที่ยังเหลือกว่าร้อยล้าน ซึ่งคงต้องรอให้คดีอาญาสิ้นสุดก่อน จึงจะดำเนินการได้
ส่วนจะมีนักการเมืองเกี่ยวข้องด้วยเยอะหรือไม่ นายประพันธ์ขอตั้งข้อสังเกตว่าเราไม่ได้มีกฎหมายเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ที่สามารถต่อรองข้อหาเพื่อกันไว้เป็นพยานได้ หากมีก็จะเป็นประโยชน์มากกว่านี้
**อดีต หน.กลุ่ม 16 อ้างสลายไปแล้ว
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.ยุติธรรม ในฐานะอดีตประธานกลุ่ม 16 กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่า มีอดีตนักการเมืองในกลุ่ม16ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในคดีของนายราเกซ ที่ยักยอกเงินแบงก์บีบีซี ว่า ยอมรับว่าตนเป็นหัวหน้ากลุ่ม16 แต่ ภายหลังมีการรวมกลุ่มมีอยู่ 23 คน โดยกลุ่ม16 ได้สลายกลุ่มไปหลาย10 ปีแล้ว แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวก็ยังมีความผูกพันกันเหมือนเดิม
"เหตุการณ์ในช่วงนั้น ผมก็ไม่ทราบจริงๆว่ามีใครไปทำอะไรกันบ้าง เพราะเป็นเรื่องของส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี หากผลการสอบสวนในคดีนี้พบหลักฐาน ข้อมูล เชิงลึกพาดพิงไปถึงใคร ก็ขอให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม" นายสมพงษ์กล่าว
ส่วนที่มีการให้ไปย้อนดูคำอภิปรายของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งอภิปรายในสภาในเรื่องคดีบีบีซีนั้นนายสมพงษ์ กล่าวว่า จะต้องไปดูคำอภิปรายดังกล่าวอีกครั้ง เพราะเท่าที่ทราบนายสุเทพไม่ได้ระบุถึงใคร เพียงพูดถึงกลุ่ม 16 เท่านั้น แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ คงไม่มีผลกระทบอะไรกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใด อีกทั้งนายรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
**"ลุงชัย" อ้างเนวินแค่ ส.ส.ต๊อกต๋อย
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ระบุว่านายเนวิน ชิดชอบ เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดียักยอกทรัพย์แบงก์บีบีซี ว่า จะเกี่ยวอะไร เพราะในวันนั้นนายเนวิน เป็นเพียงผู้แทน “ต๊อกต๋อย”เท่านั้น ไม่มีบทบาทอะไร แค่อภิปรายในสภาเท่านั้นไม่มีบทบาทอะไรในการกู้เงิน เรื่องการกู้นั้นตนก็เคยกู้ แต่ก็ใช้หมดแล้ว ส่วนที่มีระบุว่ากลุ่ม 16 เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น ก็ต้องดูว่ากลุ่ม 16 มี ส.ส. 16 คน และใครเป็นหัวหน้า
"ตอนนี้สื่อสงสารมันมาก ก็เลยเขียนใส่มันเยอะ ความจริงไม่มีส่วนได้เสีย สื่อสงสารมันบ้าง ตอนนั้นก็มีคนอยู่ในกลุ่มเยอะแยะ เช่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุชาติ ตันเจริญ สรอรรถ กลิ่นประทุม วราเทพ รัตนากร ที่เขาพูดๆกันตอนนั้น" นายชัยกล่าว
**ธปท.เผยคดีแรกกู้บีบีซี 500 ครั้ง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า อัยการได้ยื่นฟ้องคดีทุจริตบีบีซีทั้งสิ้น 29 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 4.5 หมื่นล้านบาท โดย 23 คดี ธปท.เป็นผู้แจ้งความเอง ซึ่งมี 4 คดีธปท.ได้กล่าวโทษชื่อนายราเกซด้วย ส่วนที่เหลืออีก 6 คดี ทางบีบีซีเป็นผู้แจ้งความ ดังนั้นคดีทั้งหมดของบีบีซีจะต้องมีการฟ้องร้องศาลก่อนเดือนก.ค.ปี 54 เพราะการกระทำผิดครั้งสุดท้ายของคดีบีบีซีในช่วงกลางปี 39 และไม่เช่นนั้นอาจทำให้คดีบางคดีขาดอายุความได้
“คดีบีบีซีอยู่ในศาลชั้นต้น 15 คดี และศาลอุทธรณ์ 14 คดี ซึ่งคดีเหล่านี้ได้ฟ้องร้องบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไปก่อนหน้านี้และมีนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการของบีบีซีเป็นจำเลยทุกคดี แต่เมื่อจับตัวนายราเกซกลับมาดำเนินคดีในไทย คดีบีบีซีทั้งหมดมีประมาณ 20 คดีที่โยงและมีชื่อนายราเกซ เบื้องต้นจะประเดิมคดีแรกเป็นบริษัทซิตี้เทรดดิ้ง ที่มีการกู้เงิน 500 ครั้ง และบางการกระทำก็ขาดอายุความไปแล้ว แต่โดยรวมเฉพาะคดีนี้จะหมดอายุความในเดือนก.ค.ปีหน้า จึงมั่นใจว่าจะสามารถเอาผิดได้”
ทั้งนี้ ในคดีบีบีซีดังกล่าวได้ติดตามทรัพย์สินที่อายัดในประเทศไทยมาได้มีทั้งที่ดิน อาคารสิ่งปลูกสร้าง บัญชีเงินฝากในสถาบันการเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ยานพาหนะ และหุ้นประมาณ 100 รายการ ขณะที่ทรัพย์สินในต่างประเทศที่ยึดและนำเข้าประเทศมาแล้ว 1,500 ล้านบาท และอายัดที่สวิส อังกฤษ และเกิร์นซีย์ (Guernsey) อีกประมาณ 25 ล้านเหรียญดอลลาร์ และขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ฝรั่งเศล รัสเซีย จีน สาธารณรัฐเชก และประเทศอื่นๆ เพื่อตรวจสอบและติดตามอีก 300 ล้านเหรียญ ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้เป็นเพียงการอายัดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้โอนหรือโยกย้ายกรรมสิทธิ์และเมื่อศาลชี้ขาดคดีถึงจะสิ้นสุด
อย่างไรก็ตาม คดีบีบีซีที่เกิดขึ้นมีบุคคลเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งนอกเหนือจากนายราเกซแล้วยังมีชาวต่างชาติที่เป็นนักค้าอาวุธเกี่ยวข้องด้วย แต่เอาผิดยาก เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าเข้ามากระทำความผิดในประเทศไทยเลย จึงไม่รู้ว่าจะเอาผิดอย่างไร ขณะเดียวกันลักษณะการฉ้อโกงในขณะนี้ต่างกับอดีต คือ บุคคลหรือองค์กรมีความโลภมากขึ้นโดยเห็นได้ชัดในต่างประเทศที่มีการลงทุนในรูปแบบเสี่ยง ทำให้ตัวเองได้ผลตอบแทนสูงแทน ดังนั้น ในฐานะผู้ดูแลสถาบันการเงินจึงย้ำเสมอให้สถาบันการเงินต้องมีเงินทุนเพียงพอรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วย
**ป้องอดีตผู้ว่าฯ ไม่ได้ร่วมทำผิด
นายชาญชัย กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดปัญหาบีบีซี ธปท.มีระบบการตรวจสอบสถาบันการเงินปีละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจละเอียดถึงระดับสาขาด้วย แต่ในปัจจุบันมีการตรวจสอบปีละครั้ง เพื่อลดงานบ้างอย่าง เพื่อดูแลงานอื่นมากขึ้น ส่วนที่จะประเมินว่าผู้ว่าการธปท.ในสมัยนั้นหละหลวมไม่ได้ เนื่องจากการฉ้อโกงมีโทษทางอาญา ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ร่วมกระทำและเมื่อบริหารธนาคารพาณิชย์จนเจ๊งเป็นเรื่องที่ธปท.ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของผู้บริหารสถาบันการเงินในขณะนั้นเป็นผู้ดูแล แต่ขณะนี้เมื่อเปลี่ยนกฎหมายดูแลสถาบันการเงินใหม่ ธปท.จะเข้าไปดูแลมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงิน ประชาชน และผู้ถือหุ้นได้ทันท่วงที
สำหรับคดีฉ้อโกงในบีบีซีในช่วงแรกๆ นายราเกซเข้าไปที่ปรึกษานายเกริกเกียรติก่อน หลังจากนั้นนายราเกซก็อนุมัติสินเชื่อโดยใช้ชื่อบุคคลอื่น และตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้ทำธุรกิจอะไร แต่มาขอเงินกู้ ซึ่งบริษัทเช่นนี้มีทั้งที่ตั้งในประเทศและต่างประเทศ และนายราเกซเองไปนั่งเป็นกรรมการ ซึ่งบางช่วงกลายเป็นผู้ถือหุ้นและหายไป นอกจากนี้ที่สำคัญ คือให้เงินกู้โดยหลักประกันตีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะในกรณีบริษัทซิตี้เทรดดิ้งที่ให้กู้ 1,000 ล้านบาท แต่มีหลักประกันที่ดินค้ำประกันตีราคา 700-800 ล้านบาท แต่เมื่อธปท.เข้าไปตรวจสอบหลักประกันเหลือเพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น ถือเป็นกลโกงในขณะนั้น
**"กอร์ป" ห่วง "ราเกซ" ตายเอื้อแม้ว
วานนี้ (2 ต.ค.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ โพสต์ข้อความในเว็บไซต์ส่วนตัว ระบุว่า สิ่งที่นายราเกซได้ดำเนินการไป ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับใคร แบบไหน อย่างไร นายราเกซน่าจะมีหลักฐานเก็บไว้มากพอสมควร น่าจับตามองข้อต่อสู้คดีของนายราเกซ ว่าจะมีเนื้อหาทำให้ใครนั่งไม่ติดบ้าง สำคัญที่สุดสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในขณะนี้คือ อย่าให้มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับนายราเกซเป็นอันขาด เพราะจะทำให้บรรดาผู้ที่หลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ ใช้เป็นข้ออ้างในการขอลี้ภัยทางการเมืองได้ เรียกว่าเข้าทางรุมกินโต๊ะกันเลยทีเดียว.
วานนี้ (2 พ.ย.) เวลา 15.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษาธนาคาร กรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ร่วมกับพวกกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ กรณีอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทซิตี้ เทรดดิ้ง ฯ จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต พร้อมคณะได้นำสำนวนการสอบสวนพยานเพิ่มเติมของนายราเกซ เกี่ยวกับคำแปลของล่ามที่สอบถามนายราเกซ และแพทย์ผู้ตรวจอาการป่วยนายราเกซ ประมาณ 90 แผ่น ซึ่งคดีดังกล่าวนายราเกซ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307 ,308 ,311 และ315 มาส่งมอบให้นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมเป็นคำให้การปฏิเสธของนายราเกซ ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ และคำแปลภาษาไทย ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ล่ามภาษาอังกฤษของกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งรายงานการตรวจสุขภาพของนายราเกซ ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจระบุว่า ขณะนายราเกซให้การมีสติและสุขภาพดี แต่มีอาการอ่อนล้าที่แขน และขาบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวนยังไม่ได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่ล่ามคนดังกล่าว ว่า ได้รับมอบหมายให้เป็นล่ามทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ตนจึงให้พนักงานสอบสวนไปสอบปากคำเจ้าหน้าที่ล่ามคนดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ตนได้แต่งตั้งรองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจ อัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กับคณะรวม 5 คนเป็น คณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจสอบรายละเอียด ทั้งกระบวนการการสอบคำให้การผู้ต้องหา การสอบสวนพยานเพิ่มเติม 2 ปาก และกระบวนการขั้นตอนการแจ้งสิทธิกับผู้ต้องหาในการมีทนายความ ว่าครบถ้วนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ หากยังดำเนินการไม่ครบถ้วนอัยการก็ต้องแจ้งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการ เพราะไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบเรื่องสิทธิของผู้ต้องหา ขณะที่คดีนี้มีมูลค่าความเสียหายจำนวนมากจึงไม่อยากให้เกิดข้อบกพร่อง อีกทั้งจะต้องนำสำนวนเดิมที่สั่งฟ้องนายราเกซ ซึ่งมีการยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติกับพวกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งมีพยานบุคคลถึง 94 ปาก มาพิจารณา เพื่อดูว่าพยานปากใดที่ให้การเกี่ยวกับนายราเกซว่ากระทำผิดอย่างใด และพยานเบิกความในศาลอย่างใด เพื่อนำรายละเอียดไปบรรยายฟ้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีน้ำหนักพอที่จะให้ศาลพิพากษาลงโทษได้ โดยการยื่นฟ้องนายราเกซ ไม่จำเป็นต้องรอฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ จะนัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีนี้ในส่วนของนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี.กับพวก ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี ปรับ 2,264 ล้านบาท ฐานปล่อยเงินกู้ จำนวน 1,657 ล้านบาทโดยทุจริต ในวันที่ 11 พ.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
"สำหรับการบรรยายฟ้องนายราเกซ อัยการจะระบุถึงพฤติการณ์ขอนายราเกซ ที่หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการประกันตัวด้วย ส่วนคดีปล่อยกู้ธนาคาร บีบีซี.โดยทุจริตอีก 20 สำนวนที่นายราเกซ เป็นผู้ต้องหานั้น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ ผมได้สรุปรายละเอียดของคดีให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดทราบ เพื่อจะแจ้งรายละเอียดคดีเหล่านั้นให้ทางการแคนาดารับทราบตามมารยารของการขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ก่อนที่อัยการไทยจะยื่นฟ้องนายราเกซกับความผิดทั้ง 20 คดีต่อไป ขอยืนยันว่า จะไม่ปล่อยให้คดีขาดอายุความอย่างแน่นอน"อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ กล่าว
ถามว่าหากนายราเกซ ให้การซัดทอดจะสามารถดำเนินคดีนักการเมืองกลุ่ม 16 ได้อีกหรือไม่ นายเศกสรรค์ กล่าวว่า การยื่นฟ้องคดีขณะนี้ก็เป็นไปตามที่พยานหลักฐานปรากฏในสำนวนเท่านั้น นายราเกซ จะให้การในชั้นศาลพาดพิงถึงบุคคลใดหรือไม่ก็เป็นเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
**ตรวจอาหาร "ราเกซ" สกัดยาพิษ
ส่วนบรรยากาศหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่คุมขังนายราเกซ สักเสนา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้ามีญาติผู้ต้องขังเดินทางมาลงทะเบียนเยี่ยมญาติของตัวเองจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการเปิดให้เยี่ยมวันแรกของสัปดาห์ โดยช่วงเช้ามียังไม่พบว่ามีญาตินายราเกซ เข้าเยี่ยม มีเพียงคนสนิทที่เคยติดตามเข้าพบ ซึ่งทางเรือนจำได้จัดเตรียมสถานที่ให้ญาตินายราเกซ เข้าเยี่ยมบริเวณชั้นล่างซึ่งเป็นห้องสมุด ตึกผู้บัญชาการเรือนจำ พร้อมกับติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูแลความเรียบร้อยตามมุมต่าง รวมถึงมีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลนายราเกซ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังได้มีการสั่งกำชับให้ดูแลเรื่องอาหารที่นำเข้ามาเยี่ยมซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ว่าอาหารที่นำมาจากญาติหรือคนสนิท เพราะเกรงว่าจะมีการใส่สารพิษปนเข้ามาด้วย
ต่อมาเวลาประมาณ 12.00 น.นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ รักษาการผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้เดินทางมายังเรือนจำภายหลังเดินทางเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับเปิดเผยว่า การดูแลนายราเกซ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น โดยทางเรือนจำได้มีกฎระเบียบเข้มงวดในการตรวจสอบผู้ที่จะเข้าพบนายราเกซ พร้อมกันนี้ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีนักโทษชั้นดีคอยอยู่ดูแลให้ความช่วยเหลือ 2 คน คนหนึ่งเป็นแพทย์อายุรกรรม มีความเชี่ยวชาญในด้านอายุรกรรมและคอยให้การช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับนายราเกซ ในเวลากลางคืน โดยนักโทษรายนี้ได้วิเคราะห์สาเหตุโรคของนายราเกซ ให้ฟังว่าเกิดจากนายราเกซ เคยเส้นเลือดในสมองซีกขวาแตก ส่งผลให้แขนซ้ายและขาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งขณะนี้ทางเรือนจำกำลังประสานหาแพทย์ที่ชำนาญการด้านประสาทวิทยาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ให้เข้ามาช่วยดูแลเกี่ยวกับระบบประสาทของนายราเกซ ส่วนอีกรายได้เลือกนักโทษที่มีร่างกายกำยำเพื่อคอยให้ความช่วยเหลือหากนายราเกซ ต้องการเคลื่อนไหวร่างกาย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคดีของนายราเกซที่มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าควรให้ ดีเอสไอรับมาเป็นคดีพิเศษว่า จะให้เจ้าหน้าที่เสนอมาว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไร หรือไม่ ที่ดำเนินการอยู่
**มีอีกกว่า 100 ล้านซุกที่อังกฤษ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ในฐานะอดีตรองอัยการสูงสุด กล่าวถึงคดีนายราเกซว่า ตนเคยเป็นหนึ่งในคณะทำงานกรณีดังกล่าว ซึ่งขณะนั้นนายราเกซ ได้ต่อสู้โดยอ้างว่าหากกลับมาจะไม่ปลอดภัย และเรือนจำของไทย อาจไม่ได้มาตรฐาน แต่ทางการไทยก็ยืนยันมาตรฐานราชทัณฑ์ และรับรองความปลอดภัย เขาจึงส่งตัวกลับมา และถือเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำตามการรับรอง ซึ่งเขาก็อาจจะส่งคนมาตรวจเยี่ยมได้ ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง รองอัยการสูงสุดนั้น ได้มีการประสานไปยังรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อขอให้อายัดเงินจำนวน 1,500 ล้านบาทไว้ ซึ่งรัฐบาลสวิสฯ ก็ให้ความร่วมมือ และอัยการยังได้แนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องแพ่ง จนท้ายที่สุดจึงชนะคดีและได้เงินคืนมา อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินอยู่ในอีกหลายแห่งเช่น อังกฤษที่ยังเหลือกว่าร้อยล้าน ซึ่งคงต้องรอให้คดีอาญาสิ้นสุดก่อน จึงจะดำเนินการได้
ส่วนจะมีนักการเมืองเกี่ยวข้องด้วยเยอะหรือไม่ นายประพันธ์ขอตั้งข้อสังเกตว่าเราไม่ได้มีกฎหมายเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ที่สามารถต่อรองข้อหาเพื่อกันไว้เป็นพยานได้ หากมีก็จะเป็นประโยชน์มากกว่านี้
**อดีต หน.กลุ่ม 16 อ้างสลายไปแล้ว
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.ยุติธรรม ในฐานะอดีตประธานกลุ่ม 16 กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่า มีอดีตนักการเมืองในกลุ่ม16ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในคดีของนายราเกซ ที่ยักยอกเงินแบงก์บีบีซี ว่า ยอมรับว่าตนเป็นหัวหน้ากลุ่ม16 แต่ ภายหลังมีการรวมกลุ่มมีอยู่ 23 คน โดยกลุ่ม16 ได้สลายกลุ่มไปหลาย10 ปีแล้ว แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวก็ยังมีความผูกพันกันเหมือนเดิม
"เหตุการณ์ในช่วงนั้น ผมก็ไม่ทราบจริงๆว่ามีใครไปทำอะไรกันบ้าง เพราะเป็นเรื่องของส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี หากผลการสอบสวนในคดีนี้พบหลักฐาน ข้อมูล เชิงลึกพาดพิงไปถึงใคร ก็ขอให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม" นายสมพงษ์กล่าว
ส่วนที่มีการให้ไปย้อนดูคำอภิปรายของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งอภิปรายในสภาในเรื่องคดีบีบีซีนั้นนายสมพงษ์ กล่าวว่า จะต้องไปดูคำอภิปรายดังกล่าวอีกครั้ง เพราะเท่าที่ทราบนายสุเทพไม่ได้ระบุถึงใคร เพียงพูดถึงกลุ่ม 16 เท่านั้น แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ คงไม่มีผลกระทบอะไรกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใด อีกทั้งนายรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
**"ลุงชัย" อ้างเนวินแค่ ส.ส.ต๊อกต๋อย
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ระบุว่านายเนวิน ชิดชอบ เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดียักยอกทรัพย์แบงก์บีบีซี ว่า จะเกี่ยวอะไร เพราะในวันนั้นนายเนวิน เป็นเพียงผู้แทน “ต๊อกต๋อย”เท่านั้น ไม่มีบทบาทอะไร แค่อภิปรายในสภาเท่านั้นไม่มีบทบาทอะไรในการกู้เงิน เรื่องการกู้นั้นตนก็เคยกู้ แต่ก็ใช้หมดแล้ว ส่วนที่มีระบุว่ากลุ่ม 16 เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น ก็ต้องดูว่ากลุ่ม 16 มี ส.ส. 16 คน และใครเป็นหัวหน้า
"ตอนนี้สื่อสงสารมันมาก ก็เลยเขียนใส่มันเยอะ ความจริงไม่มีส่วนได้เสีย สื่อสงสารมันบ้าง ตอนนั้นก็มีคนอยู่ในกลุ่มเยอะแยะ เช่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุชาติ ตันเจริญ สรอรรถ กลิ่นประทุม วราเทพ รัตนากร ที่เขาพูดๆกันตอนนั้น" นายชัยกล่าว
**ธปท.เผยคดีแรกกู้บีบีซี 500 ครั้ง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า อัยการได้ยื่นฟ้องคดีทุจริตบีบีซีทั้งสิ้น 29 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 4.5 หมื่นล้านบาท โดย 23 คดี ธปท.เป็นผู้แจ้งความเอง ซึ่งมี 4 คดีธปท.ได้กล่าวโทษชื่อนายราเกซด้วย ส่วนที่เหลืออีก 6 คดี ทางบีบีซีเป็นผู้แจ้งความ ดังนั้นคดีทั้งหมดของบีบีซีจะต้องมีการฟ้องร้องศาลก่อนเดือนก.ค.ปี 54 เพราะการกระทำผิดครั้งสุดท้ายของคดีบีบีซีในช่วงกลางปี 39 และไม่เช่นนั้นอาจทำให้คดีบางคดีขาดอายุความได้
“คดีบีบีซีอยู่ในศาลชั้นต้น 15 คดี และศาลอุทธรณ์ 14 คดี ซึ่งคดีเหล่านี้ได้ฟ้องร้องบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไปก่อนหน้านี้และมีนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการของบีบีซีเป็นจำเลยทุกคดี แต่เมื่อจับตัวนายราเกซกลับมาดำเนินคดีในไทย คดีบีบีซีทั้งหมดมีประมาณ 20 คดีที่โยงและมีชื่อนายราเกซ เบื้องต้นจะประเดิมคดีแรกเป็นบริษัทซิตี้เทรดดิ้ง ที่มีการกู้เงิน 500 ครั้ง และบางการกระทำก็ขาดอายุความไปแล้ว แต่โดยรวมเฉพาะคดีนี้จะหมดอายุความในเดือนก.ค.ปีหน้า จึงมั่นใจว่าจะสามารถเอาผิดได้”
ทั้งนี้ ในคดีบีบีซีดังกล่าวได้ติดตามทรัพย์สินที่อายัดในประเทศไทยมาได้มีทั้งที่ดิน อาคารสิ่งปลูกสร้าง บัญชีเงินฝากในสถาบันการเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ยานพาหนะ และหุ้นประมาณ 100 รายการ ขณะที่ทรัพย์สินในต่างประเทศที่ยึดและนำเข้าประเทศมาแล้ว 1,500 ล้านบาท และอายัดที่สวิส อังกฤษ และเกิร์นซีย์ (Guernsey) อีกประมาณ 25 ล้านเหรียญดอลลาร์ และขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ฝรั่งเศล รัสเซีย จีน สาธารณรัฐเชก และประเทศอื่นๆ เพื่อตรวจสอบและติดตามอีก 300 ล้านเหรียญ ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้เป็นเพียงการอายัดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้โอนหรือโยกย้ายกรรมสิทธิ์และเมื่อศาลชี้ขาดคดีถึงจะสิ้นสุด
อย่างไรก็ตาม คดีบีบีซีที่เกิดขึ้นมีบุคคลเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งนอกเหนือจากนายราเกซแล้วยังมีชาวต่างชาติที่เป็นนักค้าอาวุธเกี่ยวข้องด้วย แต่เอาผิดยาก เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าเข้ามากระทำความผิดในประเทศไทยเลย จึงไม่รู้ว่าจะเอาผิดอย่างไร ขณะเดียวกันลักษณะการฉ้อโกงในขณะนี้ต่างกับอดีต คือ บุคคลหรือองค์กรมีความโลภมากขึ้นโดยเห็นได้ชัดในต่างประเทศที่มีการลงทุนในรูปแบบเสี่ยง ทำให้ตัวเองได้ผลตอบแทนสูงแทน ดังนั้น ในฐานะผู้ดูแลสถาบันการเงินจึงย้ำเสมอให้สถาบันการเงินต้องมีเงินทุนเพียงพอรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วย
**ป้องอดีตผู้ว่าฯ ไม่ได้ร่วมทำผิด
นายชาญชัย กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดปัญหาบีบีซี ธปท.มีระบบการตรวจสอบสถาบันการเงินปีละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจละเอียดถึงระดับสาขาด้วย แต่ในปัจจุบันมีการตรวจสอบปีละครั้ง เพื่อลดงานบ้างอย่าง เพื่อดูแลงานอื่นมากขึ้น ส่วนที่จะประเมินว่าผู้ว่าการธปท.ในสมัยนั้นหละหลวมไม่ได้ เนื่องจากการฉ้อโกงมีโทษทางอาญา ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ร่วมกระทำและเมื่อบริหารธนาคารพาณิชย์จนเจ๊งเป็นเรื่องที่ธปท.ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของผู้บริหารสถาบันการเงินในขณะนั้นเป็นผู้ดูแล แต่ขณะนี้เมื่อเปลี่ยนกฎหมายดูแลสถาบันการเงินใหม่ ธปท.จะเข้าไปดูแลมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงิน ประชาชน และผู้ถือหุ้นได้ทันท่วงที
สำหรับคดีฉ้อโกงในบีบีซีในช่วงแรกๆ นายราเกซเข้าไปที่ปรึกษานายเกริกเกียรติก่อน หลังจากนั้นนายราเกซก็อนุมัติสินเชื่อโดยใช้ชื่อบุคคลอื่น และตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้ทำธุรกิจอะไร แต่มาขอเงินกู้ ซึ่งบริษัทเช่นนี้มีทั้งที่ตั้งในประเทศและต่างประเทศ และนายราเกซเองไปนั่งเป็นกรรมการ ซึ่งบางช่วงกลายเป็นผู้ถือหุ้นและหายไป นอกจากนี้ที่สำคัญ คือให้เงินกู้โดยหลักประกันตีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะในกรณีบริษัทซิตี้เทรดดิ้งที่ให้กู้ 1,000 ล้านบาท แต่มีหลักประกันที่ดินค้ำประกันตีราคา 700-800 ล้านบาท แต่เมื่อธปท.เข้าไปตรวจสอบหลักประกันเหลือเพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น ถือเป็นกลโกงในขณะนั้น
**"กอร์ป" ห่วง "ราเกซ" ตายเอื้อแม้ว
วานนี้ (2 ต.ค.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ โพสต์ข้อความในเว็บไซต์ส่วนตัว ระบุว่า สิ่งที่นายราเกซได้ดำเนินการไป ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับใคร แบบไหน อย่างไร นายราเกซน่าจะมีหลักฐานเก็บไว้มากพอสมควร น่าจับตามองข้อต่อสู้คดีของนายราเกซ ว่าจะมีเนื้อหาทำให้ใครนั่งไม่ติดบ้าง สำคัญที่สุดสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในขณะนี้คือ อย่าให้มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับนายราเกซเป็นอันขาด เพราะจะทำให้บรรดาผู้ที่หลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ ใช้เป็นข้ออ้างในการขอลี้ภัยทางการเมืองได้ เรียกว่าเข้าทางรุมกินโต๊ะกันเลยทีเดียว.