นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ครม.มีมติตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการฯดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกปี 2529 สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ระเบียบมาตลอด จนปี 2544 ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ก็ไม่ได้มีการประชุมเลย แต่จะใช้วิธีให้คนนอกเข้ามาทำโดยไม่ใช้กลไกของราชการ โดยมีการแก้ระเบียบ 2 ครั้ง แม้แต่ยุค นายสมัคร สุนทรเวล และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ ก็ไม่ได้ประชุมเลย
นายสาทิตย์ กล่าวว่าพอมาถึงรัฐบาลชุดนี้ กรมประชาสัมพันธ์ก็เสนอให้ตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้ลดส่วนราชการประจำลง แล้วให้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้ามา ซึ่งเมื่อผ่าน ครม.แล้ว จะต้องไปผ่านคณะกรรมการอนุบัญญัติเพื่อบังคับใช้ และขั้นตอนต่อไปก็เสนอชื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยคาดว่าปลายเดือนพ.ย.น่าจะตั้งคณะกรรมการฯเสร็จและจะประชุมเพื่อรองรับการจัดงานวันที่ 5 ธันวาคม ที่จะเป็นงานแรกของคณะกรรมการชุดนี้
คณะกรรมการฯชุดนี้มีหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์ เรื่องการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและนอกประเทศ แล้วเสนอแนะแนวทางให้นายกฯและ ครม. เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน ซึ่งการตั้งคณะกรรมการฯในช่วงนี้จึงเหมาะพอดีที่จำเป็นต้องชี้แจงกับต่างประเทศ เพราะสถานการณ์ในช่วงนี้เราถูกรุมทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์จะต้องทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในยุคที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลใช้ยุทธศาสตร์ สงครามข่าวสาร จากข้างนอกและข้างในเข้ามาจะมีการเพิ่มความเข้มแข็งอย่างไร นายสาทิตย์ กล่าวว่า ยุคนี้สู้ด้วยการส่งข่าวสารให้ประชาชนได้รับรู้ โดยฝ่ายรัฐบาลจะต้องมีข่าวสาร ที่ถูกต้องให้ประชาชน ส่วนอีกฝ่ายก็พยายามส่งข่าวที่เป็นลบของรัฐบาลแต่เป็นบวกกับเขาอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องมีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ
นี้ไม่ใช่เรื่องของการยกเครื่องหรือไม่ยกเครื่อง แต่ว่ามันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ต้องประเมินเป็นระยะว่าช่วงนี้ต้องประเมินว่าข้อมูลข่าวสารใดที่เป็นลบ ข้อมูลใด ที่เป็นบวกก็ต้องพยายามสื่อสารไปยังประชาชน ส่วนกลไกก็ใช้ทุกกลไกที่จะใช้ได้
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่าในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการทำงานรัฐบาลจะแถลงผลงานโดยในวันนี้ (28 ต.ค.) จะประชุมวางกรอบกันว่าต้องรวบรวมเรื่องอะไรอย่างไร และดูว่าครบ 1 ปีมีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องรายงานประชาชน
นายสาทิตย์ กล่าวว่าพอมาถึงรัฐบาลชุดนี้ กรมประชาสัมพันธ์ก็เสนอให้ตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้ลดส่วนราชการประจำลง แล้วให้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้ามา ซึ่งเมื่อผ่าน ครม.แล้ว จะต้องไปผ่านคณะกรรมการอนุบัญญัติเพื่อบังคับใช้ และขั้นตอนต่อไปก็เสนอชื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยคาดว่าปลายเดือนพ.ย.น่าจะตั้งคณะกรรมการฯเสร็จและจะประชุมเพื่อรองรับการจัดงานวันที่ 5 ธันวาคม ที่จะเป็นงานแรกของคณะกรรมการชุดนี้
คณะกรรมการฯชุดนี้มีหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์ เรื่องการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและนอกประเทศ แล้วเสนอแนะแนวทางให้นายกฯและ ครม. เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน ซึ่งการตั้งคณะกรรมการฯในช่วงนี้จึงเหมาะพอดีที่จำเป็นต้องชี้แจงกับต่างประเทศ เพราะสถานการณ์ในช่วงนี้เราถูกรุมทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์จะต้องทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในยุคที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลใช้ยุทธศาสตร์ สงครามข่าวสาร จากข้างนอกและข้างในเข้ามาจะมีการเพิ่มความเข้มแข็งอย่างไร นายสาทิตย์ กล่าวว่า ยุคนี้สู้ด้วยการส่งข่าวสารให้ประชาชนได้รับรู้ โดยฝ่ายรัฐบาลจะต้องมีข่าวสาร ที่ถูกต้องให้ประชาชน ส่วนอีกฝ่ายก็พยายามส่งข่าวที่เป็นลบของรัฐบาลแต่เป็นบวกกับเขาอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องมีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ
นี้ไม่ใช่เรื่องของการยกเครื่องหรือไม่ยกเครื่อง แต่ว่ามันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ต้องประเมินเป็นระยะว่าช่วงนี้ต้องประเมินว่าข้อมูลข่าวสารใดที่เป็นลบ ข้อมูลใด ที่เป็นบวกก็ต้องพยายามสื่อสารไปยังประชาชน ส่วนกลไกก็ใช้ทุกกลไกที่จะใช้ได้
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่าในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการทำงานรัฐบาลจะแถลงผลงานโดยในวันนี้ (28 ต.ค.) จะประชุมวางกรอบกันว่าต้องรวบรวมเรื่องอะไรอย่างไร และดูว่าครบ 1 ปีมีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องรายงานประชาชน