นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบนโยบายและระเบียบสำนักรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน รูปแบบโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา โดยโครงการนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาการจัดการกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างยั่งยืน เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรกับหน่วยงานของรัฐในการบุกรุกที่ดิน
ทั้งนี้หลักคิดโฉนดชุมชนคือที่ดินยังเป็นของรัฐ แล้วให้กรรมสิทธิ์กับชุมชน เพื่อให้อยู่อาศัยหรือทำกิน โดยคุ้มครองให้ทำเกษตรกรรม โดยระเบียบนี้จะมีคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ในสำนักนายกรัฐมนตรี และมีหน้าที่ในการพิจารณาที่ดินของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ต้องอนุญาตให้ตามกฎหมายก่อน แล้วให้สิทธิ์ชุมชนไปทำกินและคณะกรรมการต้องประเมินความเข้มแข็งของชุมชนนั้นๆ และให้สิทธิ์ไม่เกิน 30 ปี และจะมีการประเมินทุก 30 ปี โดยจะมีเงื่อนไขเรื่อง สิ่งแวดล้อม เรื่องการปลูกต้นไม้ ถ้ามีการละเมิดสิทธิ์ก็จะเอาโฉนดชุมชนนั้นกลับมาเป็นของรัฐได้ ราษฎรที่ได้รับสิทธิ์ทำกินตามโฉนดชุมชนนี้ จะเอาเอกสารสิทธิ์ ไปจำนอง จำนำใดๆ มิได้ เพราะที่ดินยังเป็นของรัฐอยู่
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้ หากผ่านความเห็น ของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จะมีพื้นที่นำร่องทั้งหมด 30 ที่ทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกภาค ซึ่งคณะกรรมการจะไปประเมินเพื่อออกโฉนดชุมชน หลังจาก ออกโฉนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ต่อไปจะมีการยกร่างเป็นกฎหมาย โดยจะตั้งกรรมการขึ้นมายกร่างกฎหมายต่อไป คงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ระเบียบฯฉบับนี้ก็ผ่านการรับฟังความเห็นมาทุกภูมิภาคแล้ว เชื่อว่านโยบายจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรกับหน่วยงานของรัฐได้ หลังจากนี้ชุมชนใดตั้งชุมชนไม่ต่ำกว่า 3 ปี ก็สามารถมาขอออกโฉนดชุมชนได้ โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้ประเมิน ส่วนการให้สิทธิ์ชุมชนก็ต้องให้ทั้งพื้นที่แล้วชุมชนจะจัดสรรให้ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ทั้งหมดที่จะทำจะเป็นที่ที่เขาไม่มีเอกสารสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว เช่น อาจเป็นพื้นที่ ที่ชาวบ้านเข้าไปอาศัยในพื้นที่ของป่าสงวน แล้วมีการอ้างสิทธิ์ว่าอยู่มาก่อน ก็มีข้อถกเถียงที่หาทางออกไม่ได้ ก็จะใช้รูปแบบโฉนดชุมชนเข้าไปแก้ปัญหา
สำหรับคณะกรรมการมีอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วยฝ่ายนโนบาย ข้าราชการประจำ ซึ่งจะเป็นปลัดกระทรวงที่ดูแลพื้นที่ตามกฎหมาย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย และ ฝ่ายที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมาจากภาคประชาชน กรรมการชุดนี้จะตั้งเป็นสำนักงานอยู่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะนำรองโครงการก่อนในพื้นที่ 30 แห่ง ประมาณ 1 หมื่นไร่ ส่วนพื้นที่จริงๆ ทั้งประเทศมีประมาณแสนไร่
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พื้นที่นำร่อง ในภาคเหนือ จำนวน 13 จังหวัด อาทิ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น ภาคอีสาน 9 จังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ เป็นต้น ภาคใต้ 10 จังหวัด พัทลุง ตรัง ชุมพร เป็นต้น ภาคกลาง อาทิ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ทั้งนี้หลักคิดโฉนดชุมชนคือที่ดินยังเป็นของรัฐ แล้วให้กรรมสิทธิ์กับชุมชน เพื่อให้อยู่อาศัยหรือทำกิน โดยคุ้มครองให้ทำเกษตรกรรม โดยระเบียบนี้จะมีคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ในสำนักนายกรัฐมนตรี และมีหน้าที่ในการพิจารณาที่ดินของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ต้องอนุญาตให้ตามกฎหมายก่อน แล้วให้สิทธิ์ชุมชนไปทำกินและคณะกรรมการต้องประเมินความเข้มแข็งของชุมชนนั้นๆ และให้สิทธิ์ไม่เกิน 30 ปี และจะมีการประเมินทุก 30 ปี โดยจะมีเงื่อนไขเรื่อง สิ่งแวดล้อม เรื่องการปลูกต้นไม้ ถ้ามีการละเมิดสิทธิ์ก็จะเอาโฉนดชุมชนนั้นกลับมาเป็นของรัฐได้ ราษฎรที่ได้รับสิทธิ์ทำกินตามโฉนดชุมชนนี้ จะเอาเอกสารสิทธิ์ ไปจำนอง จำนำใดๆ มิได้ เพราะที่ดินยังเป็นของรัฐอยู่
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้ หากผ่านความเห็น ของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จะมีพื้นที่นำร่องทั้งหมด 30 ที่ทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกภาค ซึ่งคณะกรรมการจะไปประเมินเพื่อออกโฉนดชุมชน หลังจาก ออกโฉนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ต่อไปจะมีการยกร่างเป็นกฎหมาย โดยจะตั้งกรรมการขึ้นมายกร่างกฎหมายต่อไป คงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ระเบียบฯฉบับนี้ก็ผ่านการรับฟังความเห็นมาทุกภูมิภาคแล้ว เชื่อว่านโยบายจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรกับหน่วยงานของรัฐได้ หลังจากนี้ชุมชนใดตั้งชุมชนไม่ต่ำกว่า 3 ปี ก็สามารถมาขอออกโฉนดชุมชนได้ โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้ประเมิน ส่วนการให้สิทธิ์ชุมชนก็ต้องให้ทั้งพื้นที่แล้วชุมชนจะจัดสรรให้ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ทั้งหมดที่จะทำจะเป็นที่ที่เขาไม่มีเอกสารสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว เช่น อาจเป็นพื้นที่ ที่ชาวบ้านเข้าไปอาศัยในพื้นที่ของป่าสงวน แล้วมีการอ้างสิทธิ์ว่าอยู่มาก่อน ก็มีข้อถกเถียงที่หาทางออกไม่ได้ ก็จะใช้รูปแบบโฉนดชุมชนเข้าไปแก้ปัญหา
สำหรับคณะกรรมการมีอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วยฝ่ายนโนบาย ข้าราชการประจำ ซึ่งจะเป็นปลัดกระทรวงที่ดูแลพื้นที่ตามกฎหมาย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย และ ฝ่ายที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมาจากภาคประชาชน กรรมการชุดนี้จะตั้งเป็นสำนักงานอยู่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะนำรองโครงการก่อนในพื้นที่ 30 แห่ง ประมาณ 1 หมื่นไร่ ส่วนพื้นที่จริงๆ ทั้งประเทศมีประมาณแสนไร่
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พื้นที่นำร่อง ในภาคเหนือ จำนวน 13 จังหวัด อาทิ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น ภาคอีสาน 9 จังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ เป็นต้น ภาคใต้ 10 จังหวัด พัทลุง ตรัง ชุมพร เป็นต้น ภาคกลาง อาทิ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น