เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ธนาคารกลางแห่งประเทศออสเตรเลีย ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash rate) จากร้อยละ 3.0 เป็น 3.25 การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียนี้ได้ให้เหตุผลพอสรุปประเด็นสำคัญๆ คือ 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของออสเตรเลียอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน มีผลให้การค้าขายของออสเตรเลียมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 2) ภาวะเศรษฐกิจของออสเตรเลียปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาด ความเชื่อมั่นฟื้นตัวและการลงทุนในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ใน 1-2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะขยายตัวใกล้เคียงกับระดับที่ควรจะเป็น 3) การว่างงานไม่ได้เป็นปัญหาดังที่คาด ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดเงินตลาดทุนมีการปรับตัวในทางที่ดี และ 4) อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งประเทศออสเตรเลียมีเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระหว่างร้อยละ 2-3 ทางการออสเตรเลียได้กล่าวว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและช่วยรักษาให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมายในระยะต่อไป
สิ่งที่เป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป ก็คือ วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่ได้เริ่มแล้วหรือ? และธนาคารกลางของประเทศอื่นๆในโลกรวมถึงประเทศไทยต้องปรับตามด้วยไหม? ผมขอกล่าวถึงกรอบในการประเมินทิศทางของอัตราดอกเบี้ยง่ายๆ ที่ผมได้เขียนถึงไปแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 คือ 1) ดูอัตราเงินเฟ้อ 2) ดู Output Gap (GDP – ผลผลิตศักยภาพ) 3) ดูความไม่สมดุลในภาคส่วนต่างๆของระบบเศรษฐกิจ และ 4) ที่สำคัญคือ นโยบายการเงินต้องมองไปข้างหน้า ซึ่งหากดูจากการประมาณการของ IMF (World Economic Outlook ตุลาคม 2552) ในตารางข้างล่าง สำหรับประเทศออสเตรเลียจะเห็นได้ว่าเมื่อมองไปข้างหน้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2554 จะขยายตัวเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยค่าเฉลี่ยของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจเป็นวิธีง่ายๆวิธีหนึ่งที่จะบอกถึงผลผลิตศักยภาพได้ ซึ่งหากประเมินตามนี้พบว่า Output Gap ของออสเตรเลียได้เริ่มแคบลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้เร่งขึ้นจนมีแนวโน้มใกล้เคียงกับเป้าหมายของนโยบายการเงินและภาคส่วนต่างๆไม่มีปัญหาใดๆ จึงเป็นเหตุผลให้ทางการออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจประเทศออสเตรเลียนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกรณีที่ค่อนข้างพิเศษ เนื่องจากออสเตรเลียมีการค้าขายใกล้ชิดกับประเทศจีน โดยประเทศออสเตรเลียมีมูลค่าการค้า (ส่งออกและนำเข้า) กับประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของการค้าทั้งหมดของออสเตรเลีย การที่เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่จึงเป็นประโยชน์ต่อภาคการค้าและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศออสเตรเลีย
สำหรับประเทศอื่นๆ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและปัญหาของภาคส่วนอื่นๆในประเทศนั้นๆ จากข้อมูลการประมาณการของ IMF สำหรับประเทศสำคัญอื่นๆในตารางจะเห็นได้ว่า หากดูจากการประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ สำหรับประเทศสหรัฐฯและประเทศอังกฤษในช่วงระยะ 2-3 ปีจากนี้ แม้การขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาบ้าง แต่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะไม่เป็นตัวกดดันมากนักและยิ่งหากปัญหาทางด้านสถาบันการเงินยังคงเป็นประเด็นที่ต้องกังวลอยู่แล้ว คงจะยังไม่เห็นถึงแรงกดดันที่มีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศสหรัฐฯและประเทศอังกฤษในระยะอันใกล้นี้ ในขณะเดียวกัน เมื่อดูการประมาณการสำหรับประเทศจีนและเกาหลีใต้ อาจเริ่มเห็นแรงกดดันบ้าง หากไม่มีความไม่สมดุลเกิดขึ้นในภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆที่เป็นเหตุให้ต้องคงอัตราดอกเบี้ย การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสองประเทศนี้คงเกิดขึ้นก่อนสหรัฐฯและอังกฤษ สำหรับประเทศไทย การประมาณการของ IMF ในช่วงปี 2552-2554 พบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาแต่อัตราเงินเฟ้อยังเร่งตัวไม่มากนัก คงอีกสักพักที่อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มขยับหากไม่มีปัญหาในภาคส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจ ถามว่าวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นเริ่มที่ออสเตรเลียหรือ? คำตอบคงจะยังด่วนสรุปไม่ได้เพราะการที่ประเทศออสเตรเลียมีภาคการค้าที่เชื่อมโยงกับประเทศจีนมากและมีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าส่งออกหลักนั้น เมื่อเศรษฐกิจจีนและประเทศคู่ค้าดีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจออสเตรเลียจึงมีความชัดเจน ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ คงต้องดูเป็นกรณีๆไปครับ
สิ่งที่เป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป ก็คือ วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่ได้เริ่มแล้วหรือ? และธนาคารกลางของประเทศอื่นๆในโลกรวมถึงประเทศไทยต้องปรับตามด้วยไหม? ผมขอกล่าวถึงกรอบในการประเมินทิศทางของอัตราดอกเบี้ยง่ายๆ ที่ผมได้เขียนถึงไปแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 คือ 1) ดูอัตราเงินเฟ้อ 2) ดู Output Gap (GDP – ผลผลิตศักยภาพ) 3) ดูความไม่สมดุลในภาคส่วนต่างๆของระบบเศรษฐกิจ และ 4) ที่สำคัญคือ นโยบายการเงินต้องมองไปข้างหน้า ซึ่งหากดูจากการประมาณการของ IMF (World Economic Outlook ตุลาคม 2552) ในตารางข้างล่าง สำหรับประเทศออสเตรเลียจะเห็นได้ว่าเมื่อมองไปข้างหน้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2554 จะขยายตัวเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยค่าเฉลี่ยของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจเป็นวิธีง่ายๆวิธีหนึ่งที่จะบอกถึงผลผลิตศักยภาพได้ ซึ่งหากประเมินตามนี้พบว่า Output Gap ของออสเตรเลียได้เริ่มแคบลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้เร่งขึ้นจนมีแนวโน้มใกล้เคียงกับเป้าหมายของนโยบายการเงินและภาคส่วนต่างๆไม่มีปัญหาใดๆ จึงเป็นเหตุผลให้ทางการออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจประเทศออสเตรเลียนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกรณีที่ค่อนข้างพิเศษ เนื่องจากออสเตรเลียมีการค้าขายใกล้ชิดกับประเทศจีน โดยประเทศออสเตรเลียมีมูลค่าการค้า (ส่งออกและนำเข้า) กับประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของการค้าทั้งหมดของออสเตรเลีย การที่เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่จึงเป็นประโยชน์ต่อภาคการค้าและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศออสเตรเลีย
สำหรับประเทศอื่นๆ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและปัญหาของภาคส่วนอื่นๆในประเทศนั้นๆ จากข้อมูลการประมาณการของ IMF สำหรับประเทศสำคัญอื่นๆในตารางจะเห็นได้ว่า หากดูจากการประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ สำหรับประเทศสหรัฐฯและประเทศอังกฤษในช่วงระยะ 2-3 ปีจากนี้ แม้การขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาบ้าง แต่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะไม่เป็นตัวกดดันมากนักและยิ่งหากปัญหาทางด้านสถาบันการเงินยังคงเป็นประเด็นที่ต้องกังวลอยู่แล้ว คงจะยังไม่เห็นถึงแรงกดดันที่มีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศสหรัฐฯและประเทศอังกฤษในระยะอันใกล้นี้ ในขณะเดียวกัน เมื่อดูการประมาณการสำหรับประเทศจีนและเกาหลีใต้ อาจเริ่มเห็นแรงกดดันบ้าง หากไม่มีความไม่สมดุลเกิดขึ้นในภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆที่เป็นเหตุให้ต้องคงอัตราดอกเบี้ย การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสองประเทศนี้คงเกิดขึ้นก่อนสหรัฐฯและอังกฤษ สำหรับประเทศไทย การประมาณการของ IMF ในช่วงปี 2552-2554 พบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาแต่อัตราเงินเฟ้อยังเร่งตัวไม่มากนัก คงอีกสักพักที่อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มขยับหากไม่มีปัญหาในภาคส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจ ถามว่าวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นเริ่มที่ออสเตรเลียหรือ? คำตอบคงจะยังด่วนสรุปไม่ได้เพราะการที่ประเทศออสเตรเลียมีภาคการค้าที่เชื่อมโยงกับประเทศจีนมากและมีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าส่งออกหลักนั้น เมื่อเศรษฐกิจจีนและประเทศคู่ค้าดีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจออสเตรเลียจึงมีความชัดเจน ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ คงต้องดูเป็นกรณีๆไปครับ