เมื่อเช้าวานนี้ (18 ต.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ถึงการแก้ไขปัญหาภาคใต้ว่า ก็ครบกำหนดที่จะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องของการต่ออายุพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ตัดสินใจอนุมัติให้ต่ออายุการใช้พ.ร.ก.ไปอีก 3 เดือน ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 20 ต.ค. และต่อเนื่องไปอีก 3 เดือน แต่ว่าการต่อครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือว่ามีการปรับปรุง
ข้อแรกคือ มีการไปทบทวนในเรื่องของขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎอัยการศึก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ พ.ร.ก.ให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใดก็ตาม ที่มีการใช้อำนาจตามกฎหมายเหล่านี้ในการเรียก หรือเชิญตัว หรือออกหมาย ก็จะต้องมีบันทึกอย่างชัดเจนว่า ใคร เจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นผู้ออก เมื่อไร อย่างไร เพื่อจะได้มีการตรวจสอบได้
ประการที่ 2 การใช้กฎหมายพิเศษซึ่งมีความจำเป็นและได้ผลในการทำให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวขึ้น มีข้อเสียในเรื่องของข้อครหาว่ามีการใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ในอดีตก็มีกระบวนการที่เราเปิดโอกาสให้หลาย ๆ ฝ่ายสามารถร้องเรียน กรณีที่คิดว่าถูกละเมิดสิทธิ์ แต่ว่าปัญหาก็คือการร้องเรียนนั้นจะกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ และบางครั้งประชาชนก็ไม่มั่นใจว่าการร้องเรียนนั้น เมื่อร้องเรียนไปแล้วจะสามารถได้รับการติดตามมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าเรื่องอยู่ในหน่วยซึ่งมีการปฏิบัติงานเสียเอง บางทีก็มีความไม่มั่นใจ
"ผมก็อยากจะเรียนว่าคณะรัฐมนตรี ก็เห็นชอบว่าต่อไปนี้จะมีคณะกรรมการระดับที่เป็นรัฐมนตรี คือรัฐมนตรี 2 ท่าน ที่ผมมอบหมายคือ รัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กับรัฐมนตรี ถาวร เสนเนียม ก็จะเข้ามาเป็นผู้ดูในภาพรวม และก็ติดตามในเรื่องราวเหล่านี้ ขณะเดียวกันท่านรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำเหล่าทัพ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ก็ได้เข้าไปติดตามในเรื่องของโครงการการพัฒนาอย่างใกล้ชิด และก็พร้อมที่จะติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในแนวทางที่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล” นายกฯกล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือว่ารัฐบาลมีแนวคิดว่าจะเริ่มต้นในการที่จะผ่อนคลายการใช้อำนาจพิเศษ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเริ่มทำก่อนก็คือว่าในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมมีการประกาศกฎอัยการศึกอยู่ ไม่ได้มีการประกาศ พ.ร.ก. ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนโดยการยกเลิกกฎอัยการศึก และเอากฎหมายความมั่นคง เข้าไปใช้แทน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่นำร่องของการใช้กฎหมายความมั่นคงในการแก้ไข ปัญหาในลักษณะนี้ ซึ่งถ้าหากว่าได้ผลดี ต่อไปเราก็จะสามารถนำเอากฎหมายความมั่นคงไปใช้แทน อาจจะเป็นกฎอัยการศึก หรือจะเป็น พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ข้อแรกคือ มีการไปทบทวนในเรื่องของขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎอัยการศึก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ พ.ร.ก.ให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใดก็ตาม ที่มีการใช้อำนาจตามกฎหมายเหล่านี้ในการเรียก หรือเชิญตัว หรือออกหมาย ก็จะต้องมีบันทึกอย่างชัดเจนว่า ใคร เจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นผู้ออก เมื่อไร อย่างไร เพื่อจะได้มีการตรวจสอบได้
ประการที่ 2 การใช้กฎหมายพิเศษซึ่งมีความจำเป็นและได้ผลในการทำให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวขึ้น มีข้อเสียในเรื่องของข้อครหาว่ามีการใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ในอดีตก็มีกระบวนการที่เราเปิดโอกาสให้หลาย ๆ ฝ่ายสามารถร้องเรียน กรณีที่คิดว่าถูกละเมิดสิทธิ์ แต่ว่าปัญหาก็คือการร้องเรียนนั้นจะกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ และบางครั้งประชาชนก็ไม่มั่นใจว่าการร้องเรียนนั้น เมื่อร้องเรียนไปแล้วจะสามารถได้รับการติดตามมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าเรื่องอยู่ในหน่วยซึ่งมีการปฏิบัติงานเสียเอง บางทีก็มีความไม่มั่นใจ
"ผมก็อยากจะเรียนว่าคณะรัฐมนตรี ก็เห็นชอบว่าต่อไปนี้จะมีคณะกรรมการระดับที่เป็นรัฐมนตรี คือรัฐมนตรี 2 ท่าน ที่ผมมอบหมายคือ รัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กับรัฐมนตรี ถาวร เสนเนียม ก็จะเข้ามาเป็นผู้ดูในภาพรวม และก็ติดตามในเรื่องราวเหล่านี้ ขณะเดียวกันท่านรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำเหล่าทัพ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ก็ได้เข้าไปติดตามในเรื่องของโครงการการพัฒนาอย่างใกล้ชิด และก็พร้อมที่จะติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในแนวทางที่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล” นายกฯกล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือว่ารัฐบาลมีแนวคิดว่าจะเริ่มต้นในการที่จะผ่อนคลายการใช้อำนาจพิเศษ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเริ่มทำก่อนก็คือว่าในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมมีการประกาศกฎอัยการศึกอยู่ ไม่ได้มีการประกาศ พ.ร.ก. ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนโดยการยกเลิกกฎอัยการศึก และเอากฎหมายความมั่นคง เข้าไปใช้แทน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่นำร่องของการใช้กฎหมายความมั่นคงในการแก้ไข ปัญหาในลักษณะนี้ ซึ่งถ้าหากว่าได้ผลดี ต่อไปเราก็จะสามารถนำเอากฎหมายความมั่นคงไปใช้แทน อาจจะเป็นกฎอัยการศึก หรือจะเป็น พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป