“คุณหญิงแอ๋ว” หารือนายกรัฐมนตรีทบทวนเปิดเสรีลงทุนภายใต้ข้อตกลงอาเซียนที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการรายย่อย ชี้เปิดทางทุนต่างชาติกว้านซื้อที่ดิน ยึดครองอาชีพเพาะและขยายพันธุ์พืช
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วานนี้ (16 ต.ค.) คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้เข้าหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีปัญหาการเปิดเสรีการลงทุนที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อย ภายใต้กรอบข้อตกลงอาเซียน โดยคุณหญิงสุพัตรา ขอให้นายกฯ พิจารณาทบทวนเรื่องนี้ใหม่
เหตุผลที่เสนอเห็นควรทบทวนมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 52 ที่ให้คณะเจรจาของไทยยกเลิกข้อสงวนของประเทศไทย 3 รายการ คือ การทำประมงเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การทำป่าไม้จากการปลูกป่า และการทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช เนื่องเพราะ
1) จากการจัดประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ที่มีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นประธาน พบว่า กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งดูแลกิจการทั้ง 3 สาขา คัดค้านเรื่องนี้เช่นเดียวกับตัวแทนภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น กลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ รวมทั้งเครือข่ายขององค์กรชุมชนและภาคสังคม
2) ขณะที่ไทยขอยกเลิกข้อสงวนใน 3 สาขาการลงทุนดังกล่าว ประเทศในอาเซียน อื่น เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม กลับยังคงรักษาข้อสงวนของตน สถานะของการเจรจาเช่นนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะกำหนดจุดยืนทางนโยบายการลงทุนในเรื่องนี้ของตนเสียใหม่
และ 3) ขณะนี้สถานการณ์วิกฤติอาหารและพลังงานในระดับโลก ทำให้ระบบอาหารและการเกษตรจะมีความสำคัญมากขึ้นควรสงวนการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวเอาไว้สำหรับคนไทย
การหารือครั้งนี้ คุณหญิงสุพัตรา ยังเสนอให้นโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสงวนชั่วคราว 3 รายการข้างต้นไปไว้ในรายการอ่อนไหวหรือข้อยกเว้นทั่วไป โดยให้มีผลก่อนความตกลงเกี่ยวกับการจัดทำตารางข้อสงวนจะมีผลบังคับในปี 2553 และเร่งศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านและเร่งด่วนโดยหน่วยงานและสถาบันที่ไม่มีส่วนได้เสียกับการเจรจาหรือความตกลงที่จะเกิดขึ้น และการเจรจาต้องยึดหลักปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 190 อย่างเคร่งครัด เช่น ตารางการจัดทำข้อสงวนหรือรายการที่อ่อนไหวเพื่อขอความเห็นชอบต่อสภา
อนึ่ง คณะเจรจาของไทยภายใต้การนำของบีโอไอ กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศอาเซียน เพื่อยกเลิกข้องสงวนการลงทุนในสาขาการเกษตร ป่าไม้ และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 52 ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14
ความตกลงนี้จะให้สิทธินักลงทุนในอาเซียน และนักลงทุนนักลงทุนต่างชาติที่มีกิจการอยู่ในอาเซียนได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนตามหลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ คือได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนเจ้าของประเทศ ยกเว้นในสาขาที่ได้สงวนเอาไว้และสาขาที่อ่อนไหวหรือข้อยกเว้นทั่วไป
ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าว ทำให้ ศ.ระพี สาคริก ประธานมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และองค์กรภาคสังคม องค์กรชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการเช่น กลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ มากกว่า 60 กลุ่ม ยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุน เนื่องจากจะทำให้เกิดกระบวนการกว้านซื้อที่ดินและเช่าพื้นที่ทำการเกษตรโดยกลุ่มทุนจากต่างชาติ
กลุ่มทุนต่างชาติจะเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม รวมถึงการจดทรัพย์สินทางปัญญาจากสายพันธุ์พืช และขณะนี้ได้มีการผลักดันให้มีการแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เพื่อให้บริษัทสามารถได้สิทธิผูกขาดพันธุ์พืชได้ง่ายขึ้น และการเปิดเสรีการเพาะและขยายพันธุ์พืช ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุนขนาดใหญ่ข้ามชาติเข้ามายึดครองอาชีพและกิจการที่คนไทยได้พัฒนามาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วานนี้ (16 ต.ค.) คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้เข้าหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีปัญหาการเปิดเสรีการลงทุนที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อย ภายใต้กรอบข้อตกลงอาเซียน โดยคุณหญิงสุพัตรา ขอให้นายกฯ พิจารณาทบทวนเรื่องนี้ใหม่
เหตุผลที่เสนอเห็นควรทบทวนมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 52 ที่ให้คณะเจรจาของไทยยกเลิกข้อสงวนของประเทศไทย 3 รายการ คือ การทำประมงเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การทำป่าไม้จากการปลูกป่า และการทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช เนื่องเพราะ
1) จากการจัดประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ที่มีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นประธาน พบว่า กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งดูแลกิจการทั้ง 3 สาขา คัดค้านเรื่องนี้เช่นเดียวกับตัวแทนภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น กลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ รวมทั้งเครือข่ายขององค์กรชุมชนและภาคสังคม
2) ขณะที่ไทยขอยกเลิกข้อสงวนใน 3 สาขาการลงทุนดังกล่าว ประเทศในอาเซียน อื่น เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม กลับยังคงรักษาข้อสงวนของตน สถานะของการเจรจาเช่นนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะกำหนดจุดยืนทางนโยบายการลงทุนในเรื่องนี้ของตนเสียใหม่
และ 3) ขณะนี้สถานการณ์วิกฤติอาหารและพลังงานในระดับโลก ทำให้ระบบอาหารและการเกษตรจะมีความสำคัญมากขึ้นควรสงวนการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวเอาไว้สำหรับคนไทย
การหารือครั้งนี้ คุณหญิงสุพัตรา ยังเสนอให้นโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสงวนชั่วคราว 3 รายการข้างต้นไปไว้ในรายการอ่อนไหวหรือข้อยกเว้นทั่วไป โดยให้มีผลก่อนความตกลงเกี่ยวกับการจัดทำตารางข้อสงวนจะมีผลบังคับในปี 2553 และเร่งศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านและเร่งด่วนโดยหน่วยงานและสถาบันที่ไม่มีส่วนได้เสียกับการเจรจาหรือความตกลงที่จะเกิดขึ้น และการเจรจาต้องยึดหลักปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 190 อย่างเคร่งครัด เช่น ตารางการจัดทำข้อสงวนหรือรายการที่อ่อนไหวเพื่อขอความเห็นชอบต่อสภา
อนึ่ง คณะเจรจาของไทยภายใต้การนำของบีโอไอ กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศอาเซียน เพื่อยกเลิกข้องสงวนการลงทุนในสาขาการเกษตร ป่าไม้ และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 52 ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14
ความตกลงนี้จะให้สิทธินักลงทุนในอาเซียน และนักลงทุนนักลงทุนต่างชาติที่มีกิจการอยู่ในอาเซียนได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนตามหลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ คือได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนเจ้าของประเทศ ยกเว้นในสาขาที่ได้สงวนเอาไว้และสาขาที่อ่อนไหวหรือข้อยกเว้นทั่วไป
ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าว ทำให้ ศ.ระพี สาคริก ประธานมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และองค์กรภาคสังคม องค์กรชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการเช่น กลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ มากกว่า 60 กลุ่ม ยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุน เนื่องจากจะทำให้เกิดกระบวนการกว้านซื้อที่ดินและเช่าพื้นที่ทำการเกษตรโดยกลุ่มทุนจากต่างชาติ
กลุ่มทุนต่างชาติจะเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม รวมถึงการจดทรัพย์สินทางปัญญาจากสายพันธุ์พืช และขณะนี้ได้มีการผลักดันให้มีการแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เพื่อให้บริษัทสามารถได้สิทธิผูกขาดพันธุ์พืชได้ง่ายขึ้น และการเปิดเสรีการเพาะและขยายพันธุ์พืช ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุนขนาดใหญ่ข้ามชาติเข้ามายึดครองอาชีพและกิจการที่คนไทยได้พัฒนามาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ