ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์สั่งประหารชีวิต “ชลอ เกิดเทศ” อุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ ฐานเป็นตัวการสนับสนุนให้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน เจ้าตัวน้ำตาคลอเบ้า สีหน้าเศร้าหมอง พูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือยอมรับคำตัดสิน โดยไร้เงาลูก-เมียร่วมฟังคำพิพากษา เจ้าหน้าที่คุมตัวส่งเข้าแดนประหารทันที
วานนี้ (15 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.45 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 704 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา คดีอุ้มฆ่าแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชร “สันติมณี” ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ, พ.ต.ท.พันศักดิ์ มงคลศิลป์ อดีตสว.สส. สภ.อ.เมือง ปราจีนบุรี (ขณะนั้น), จ.ส.ต.ยงค์ กล่ำนาค อดีตผบ.หมู่ สภ.อ.เมืองปราจีนบุรี (เสียชีวิต) , ด.ต.สมนึก เวชศรี อดีตผบ.หมู่ สภ.อ.สระแก้ว, นายวีระชัย พลทิแสง, นายนิคม หรือป๊อด มนต์ศิริ, นายสำราญ แจ่มจำรัส หรือฉายา พงษ์ ปากกว้าง ,นายสมหมาย พุดเทศ (เสียชีวิต) ,และนายสุภาพ ช่างสาย (เสียชีวิต) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-9ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน, เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าโดยมิชอบ, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ และความผิดอื่นรวม 9 ข้อหา
โจทก์ฟ้องเมื่อที่ 28 พ.ย. 37 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างเช้าวันที่ 2 ก.ค. - 1 ส.ค. 2537 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนหาเพชรและทรัพย์สินมีค่าของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อับดุลอาซิซ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง อดีตคนงานไทยที่เข้าไปทำงาน ได้ลักเพชรและนำเข้ามาในประเทศไทย ได้สืบสวนแล้วเชื่อว่านายสันติ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง รู้ว่าเพชรอยู่ที่ใด แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ออกหมายเรียกตัวนายสันติมาสอบสวน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 5-9 ลักพาตัว นางดาราวดี และด.ช.เสรี ภรรยาและบุตรชายของนายสันติไปจากบ้านพักในหมู่บ้านมัณทณา ย่านตลิ่งชัน และนำตัวไปกักขังไว้ที่บังกะโล “กวีวิลล่า” อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี แล้วใช้ของแข็งตีที่ศีรษะ และร่างกายของทั้งสองหลายแห่งจนถึงแก่ความตาย ก่อนจะลักทรัพย์สิน รวมมูลค่า 560,000 บาทไป จากนั้นนำร่างผู้ตายทิ้งไว้ในรถยนต์เบนซ์ของนางดาราวดี แล้วขับรถมาจอดทิ้งไว้ที่ทางเข้าหมู่บ้านริมบึง ถ.มิตรภาพ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ชนเพื่ออำพรางคดีว่าถึงแก่ความตาย เพราะอุบัติเหตุเพื่อปกปิดความผิดของพวกจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.45 ให้จำคุกตลอดชีวิต พล.ต.ท.ชลอ จำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ฯ และให้จำคุกตลอดชีวิต จำเลยอีก 3 คนคือ พ.ต.ท.พันศักดิ์ จำเลยที่ 2 , นายนิคม จำเลยที่ 6 และนายสำราญ จำเลยที่ 7 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ ให้จำคุก จ.ส.ต.ยงค์ จำเลยที่ 3 เป็นเวลา 4 ปี ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ส่วนจำเลยที่ 4 ด.ต.สมนึก พิพากษายกฟ้องส่วน นายวีระชัย จำเลยที่ 5 และนายสมหมาย จำเลยที่ 8 ให้จำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน ฐานร่วมกันสนับสนุนให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมขอให้เพิ่มโทษ ขณะที่จำเลยที่ 1, 2, 6 และ 7 อุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ได้กระทำผิด
ต่อมาวันที่ 3 มี.ค. 49 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1, 2, 6 และ 7 ฟังไม่ขึ้นเชื่อว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดจริงตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานเป็นตัวการสนับสนุนฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไต่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อาญา ม. 83 ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และมีความผิดฐานเป็นตัวการสนับสนุนกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาแก้ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 สถานเดียว ส่วนจำเลยที่ 2, 6 และ 7 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกตลอดชีวิตฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ
จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาเพียงคนเดียวผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุมิใช่ถูกฆาตกรรม ส่วนอัยการและนายสันติโจทก์ร่วมไม่มีพยานเห็นจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นกักขังหน่วงเหนี่ยวและเรียกค่าไถ่ผู้ตายทั้งสอง และคำให้การของ พ.ต.ท.พันศักดิ์ มงคลศิลป์ จำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนที่ให้การรับสารภาพไม่ได้เป็นไปโดยความสมัครใจ จึงเป็นคำให้การซัดทอดไม่สามารถรับฟังได้ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องด้วย
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ค.37 เวลา 08.00 น. จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 5-8 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายทั้งสอง ขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านย่านตลิ่งชันไปกักขังที่ กวีวิลล่า จ.สระแก้ว แล้ว จำเลยที่ 2, 6 และ 7 ได้ร่วมกันเรียกค่าไถ่จากโจทก์ร่วม ได้เงินไป 2.5 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2537 เวลา 02.00 น.ได้พบผู้ตายทั้งสองภายในรถยนต์ซึ่งถูกเฉี่ยวชนที่ถนนมิตรภาพ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์มีแพทย์ผู้ชันสูตรรวมทั้งผู้ที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุรถยนต์ เบิกความไปในทำนองเดียวกันว่า มีเพียงกันชนด้านหน้าขวาที่ถูกเชี่ยวชนจนห้อยลงมา นับว่าเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ส่วนภายในรถก็ไม่ได้เกิดความเสียหาย สภาพศพนางดาราวดี นั่งก้มหัวประชิดเข่า ส่วน ด.ช.เสรี สภาพนอนหงายที่เบาะซ้ายด้านข้างไม่มีอวัยวะใดกระแทกกับรถ ทั้งตำแหน่งที่รถบรรทุกพุ่งชนก็มาในทิศทางเดียวไม่ได้วิ่งสวนทาง ที่จะมีเรียกปะทะมากหากเกิดการเฉี่ยวชน จึงไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตได้ และจากผลการชันสูตรศพนางดาราวดี พบว่ามีบาดแผล 7 แห่ง ที่กะโหลกบวมช้ำ เลือดคลั่งในสมอง ผิวหนังฉีก ถลอกช้ำกระดูกหักหลายแห่งเช่นเดียวกับ ด.ช.เสรี ที่มีบาดแผล 3 แห่งซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าทั้งสองเสียชีวิตเนื่องจากสมองบวมเฉียบพลัน ไม่น่าจะเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อยได้ ส่วนแผลทื่กกหูของนางดาราวดี คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้ทดลองนำผู้หญิงซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับนางดาราวดีไปนั่งที่เบาะคนขับ และให้พยายามนำศรีษะด้านขวาไปแตะที่แกนพวกมาลัยว่าจะทำให้เกิดบาดแผลได้หรือไม่ ปรากฏว่าหญิงคนดังกล่าวไม่สามารถนำศีรษะเข้าไปใต้แกนพวงมาลัยได้ ที่จำเลยที่ 1 อ้างความเห็นของ พล.ต.ต.ทัศนะ สุวรรณจูฑะ อดีต ผบก.นิติเวชตำรวจ เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 37 ว่าผู้ตายทั้งสองตายด้วยอุบัติเหตุไม่ใช่การฆาตกรรม และแผลที่กกหูเกิดจากอุบัติเหตุ จึงไม่อาจรับฟังได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีนำหนักมั่นคงแน่นหนารับฟังได้ว่า การเสียชีวิตขอผู้ตาย ทั้งเกิดจากการฆาตกรรมด้วยของแข็งไม่มีคม โดยจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันกระทำผิดตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
นอกจากนี้โจทก์ยังมีพยานหลักฐานซึ่งเป็นคำให้การของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนและรายงานการใช้โทรศัพท์มือถือของจำเลยที่ 1 และ 2 โดยจำเลยที่ 2 ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าชุดสืบสวนติดตามหาเพชรที่หายไป โดยจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้จำเลยที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามหาตัวนายสันติ โจทก์ร่วม แต่ไม่พบกระทั่งจำเลยที่ 1 ทราบข่าวของโจทก์ร่วมจึงให้จำเลยที่ 2 กับพวก ไปจับตัวผู้ตายทั้งสองมากักขัง และจำเลยที่ 1 ยังสั่งให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ไปเรียกค่าไถ่เพื่อเป็นการตบตาในการจับตัวผู้ตายทั้งสอง เพื่อให้โจทก์ร่วมออกมาเพื่อที่จะได้นำตัวไปซักถามเรื่องการซื้อขายเพชร แต่เมื่อไม่เป็นไปตามแผนและจำเลยที่ เกรงว่านายสันติ โจทก์ร่วมจะไปร้องเรียนกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย (ขณะนั้น) จึงสั่งให้จำเลยที่ 2 กับพวกฆ่าผู้ตายทั้งสอง และเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 37 เวลา 10.00 น. จำเลยที่ 1 ได้โทรศัพท์มาสอบถามจำเลยที่ 2 ว่าเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 2 ตอบว่าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นการให้การเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับตนไม่ได้เป็นการซัดทอดจำเลยที่ 1 และยังให้รายละเอียดซึ่งยากที่พนักงานสอบสวนจะจัดทำขึ้นเอง ขณะที่จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีการโต้แย้ง ประเด็นดังกล่าว ฎีกาที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาอ้างนั้นไม่อาจรับฟังได้ ศาลจึงนำคำให้การของจำเลยที่ 2 มารับฟังประกอบกับพยานแวดล้อมอื่นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น มาลงโทษจำเลยที่ 1
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า แม้จะได้รับแต่งตั้งให้ติดตามหาเพชร ซึ่งก็ได้ติดตามหาเพชรของกลางคืนแล้วบางส่วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนหาเพชรอีก จึงไม่มีความผิดตาม ป.อาญา ม.157 ศาลฎีกาเห็นว่าในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาเพชร จำเลยที่ 1 ได้เคยทำหนังสือถึงอุปทูตประเทศซาอุดิอาระเบีย ว่าจะติดตามหาเพชรบูลไดมอนด์ เพชรประจำตระกูลเจ้าชายไฟซาร์ล คืนมาให้ได้ภายใน 15 วัน หลังจากที่นำเพชรส่วนแรกคืนไปแล้ว จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 ยังคงติดตามหาเพชรอยู่ โดยสั่งการให้จำเลยที่ 2 กับพวกจับกุมตัวผู้ตายเพื่อหวังให้ได้ตัวโจทก์ร่วมมาซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องเพชร ขณะที่นายสันติ โจทก์ร่วมก็เคยเบิกความว่า ก่อนที่ผู้ตายทั้งสองจะถูกจับตัวไป จำเลยที่ 1 เคยจับตัวโจทก์ร่วมไปซักถาม ซึ่งโจทก์ร่วมเคยบอกไปแล้วว่าได้ขายเพชรทั้งหมดไปแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยไม่มีน้ำหนัก สาระเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้ จึงพิพากษายืน ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 สถานเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการฟังคำพิพากษาวันนี้มีเพื่อนอดีตนายตำรวจรุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.ชลอ และอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาประมาณ 100 คน เดินทางมาฟังคำพิพากษา แต่ไม่ปรากฏว่า นางมิเชล เกิดเทศ ภรรยาชาวออสเตรเลียร่วมทั้งบุตร เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วย
ด้านนายปรอย พุ่มหมัน ทนายความของ พล.ต.ท.ชลอ กล่าวว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์แล้ว ทางคดีไม่อาจดำเนินการใดได้อีก คงมีเพียงการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้เมื่อคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งจะต้องดำเนินการผ่านกระทรวงยุติธรรม แต่ผลจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของ พระราชอำนาจที่จะทรงวินิจฉัย โดยที่ผ่านมาพล.ต.ท.ชลอ ยังไม่ได้หารือกับตนในเรื่องการยื่นฎีกา แต่หลังจากนี้จะหารือกันอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับ พ.ต.ท.พันศักดิ์ จำเลยที่ 2 นายนิคม จำเลยที่ 6 และนายสำราญ จำเลยที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกตลอดชีวิต ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาซึ่งเป็นโทษหนักสุด ส่วน จ.ส.ต.ยงค์ จำเลยที่ 3 ได้เสียชีวิตขณะอุทธรณ์คดีให้จำหน่ายออกจากสารบบความ นายวีระชัย จำเลยที่ 5 และนายสมหมาย จำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือนนั้นได้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์คดี ซึ่งอัยการโจทก์-จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คดีทำให้คดีของจำเลยที่ 5 และ 8 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และ ด.ต.สมนึก จำเลยที่ 4 ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีจึงถึงที่สุด
ด้านนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะดูแลเรือนจำกลางคลองเปรมและเรือนจำกลางบางขวาง เปิดเผยว่า ในส่วนของเรือนจำเมื่อคดีสิ้นสุดเด็ดขาดและศาลตัดสินประหารชีวิต จะต้องย้าย พล.ต.ท.ชลอ ที่คุมขังอยู่เรือนจำกลางคลองเปรมไปไว้ที่แดน 2 หรือแดนประหาร เรือนจำกลางบางขวางทันที โดยเจ้าหน้าที่จะคุมตัว พล.ต.ท.ชลอ จากศาลฎีกาไปที่เรือนจำกลางบางขวางเลย จากนั้น พล.ต.ท.ชลอมีสิทธิยื่นเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษภายใน 60 วัน ซึ่งปกติผู้ต้องหาจะเป็นผู้เขียนฎีกาด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ สุดแต่พระองค์จะโปรดเกล้าฯ ลงมา
วานนี้ (15 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.45 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 704 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา คดีอุ้มฆ่าแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชร “สันติมณี” ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ, พ.ต.ท.พันศักดิ์ มงคลศิลป์ อดีตสว.สส. สภ.อ.เมือง ปราจีนบุรี (ขณะนั้น), จ.ส.ต.ยงค์ กล่ำนาค อดีตผบ.หมู่ สภ.อ.เมืองปราจีนบุรี (เสียชีวิต) , ด.ต.สมนึก เวชศรี อดีตผบ.หมู่ สภ.อ.สระแก้ว, นายวีระชัย พลทิแสง, นายนิคม หรือป๊อด มนต์ศิริ, นายสำราญ แจ่มจำรัส หรือฉายา พงษ์ ปากกว้าง ,นายสมหมาย พุดเทศ (เสียชีวิต) ,และนายสุภาพ ช่างสาย (เสียชีวิต) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-9ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน, เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าโดยมิชอบ, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ และความผิดอื่นรวม 9 ข้อหา
โจทก์ฟ้องเมื่อที่ 28 พ.ย. 37 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างเช้าวันที่ 2 ก.ค. - 1 ส.ค. 2537 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนหาเพชรและทรัพย์สินมีค่าของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อับดุลอาซิซ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง อดีตคนงานไทยที่เข้าไปทำงาน ได้ลักเพชรและนำเข้ามาในประเทศไทย ได้สืบสวนแล้วเชื่อว่านายสันติ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง รู้ว่าเพชรอยู่ที่ใด แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ออกหมายเรียกตัวนายสันติมาสอบสวน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 5-9 ลักพาตัว นางดาราวดี และด.ช.เสรี ภรรยาและบุตรชายของนายสันติไปจากบ้านพักในหมู่บ้านมัณทณา ย่านตลิ่งชัน และนำตัวไปกักขังไว้ที่บังกะโล “กวีวิลล่า” อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี แล้วใช้ของแข็งตีที่ศีรษะ และร่างกายของทั้งสองหลายแห่งจนถึงแก่ความตาย ก่อนจะลักทรัพย์สิน รวมมูลค่า 560,000 บาทไป จากนั้นนำร่างผู้ตายทิ้งไว้ในรถยนต์เบนซ์ของนางดาราวดี แล้วขับรถมาจอดทิ้งไว้ที่ทางเข้าหมู่บ้านริมบึง ถ.มิตรภาพ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ชนเพื่ออำพรางคดีว่าถึงแก่ความตาย เพราะอุบัติเหตุเพื่อปกปิดความผิดของพวกจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.45 ให้จำคุกตลอดชีวิต พล.ต.ท.ชลอ จำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ฯ และให้จำคุกตลอดชีวิต จำเลยอีก 3 คนคือ พ.ต.ท.พันศักดิ์ จำเลยที่ 2 , นายนิคม จำเลยที่ 6 และนายสำราญ จำเลยที่ 7 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ ให้จำคุก จ.ส.ต.ยงค์ จำเลยที่ 3 เป็นเวลา 4 ปี ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ส่วนจำเลยที่ 4 ด.ต.สมนึก พิพากษายกฟ้องส่วน นายวีระชัย จำเลยที่ 5 และนายสมหมาย จำเลยที่ 8 ให้จำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน ฐานร่วมกันสนับสนุนให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมขอให้เพิ่มโทษ ขณะที่จำเลยที่ 1, 2, 6 และ 7 อุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ได้กระทำผิด
ต่อมาวันที่ 3 มี.ค. 49 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1, 2, 6 และ 7 ฟังไม่ขึ้นเชื่อว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดจริงตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานเป็นตัวการสนับสนุนฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไต่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อาญา ม. 83 ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และมีความผิดฐานเป็นตัวการสนับสนุนกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาแก้ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 สถานเดียว ส่วนจำเลยที่ 2, 6 และ 7 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกตลอดชีวิตฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ
จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาเพียงคนเดียวผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุมิใช่ถูกฆาตกรรม ส่วนอัยการและนายสันติโจทก์ร่วมไม่มีพยานเห็นจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นกักขังหน่วงเหนี่ยวและเรียกค่าไถ่ผู้ตายทั้งสอง และคำให้การของ พ.ต.ท.พันศักดิ์ มงคลศิลป์ จำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนที่ให้การรับสารภาพไม่ได้เป็นไปโดยความสมัครใจ จึงเป็นคำให้การซัดทอดไม่สามารถรับฟังได้ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องด้วย
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ค.37 เวลา 08.00 น. จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 5-8 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายทั้งสอง ขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านย่านตลิ่งชันไปกักขังที่ กวีวิลล่า จ.สระแก้ว แล้ว จำเลยที่ 2, 6 และ 7 ได้ร่วมกันเรียกค่าไถ่จากโจทก์ร่วม ได้เงินไป 2.5 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2537 เวลา 02.00 น.ได้พบผู้ตายทั้งสองภายในรถยนต์ซึ่งถูกเฉี่ยวชนที่ถนนมิตรภาพ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์มีแพทย์ผู้ชันสูตรรวมทั้งผู้ที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุรถยนต์ เบิกความไปในทำนองเดียวกันว่า มีเพียงกันชนด้านหน้าขวาที่ถูกเชี่ยวชนจนห้อยลงมา นับว่าเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ส่วนภายในรถก็ไม่ได้เกิดความเสียหาย สภาพศพนางดาราวดี นั่งก้มหัวประชิดเข่า ส่วน ด.ช.เสรี สภาพนอนหงายที่เบาะซ้ายด้านข้างไม่มีอวัยวะใดกระแทกกับรถ ทั้งตำแหน่งที่รถบรรทุกพุ่งชนก็มาในทิศทางเดียวไม่ได้วิ่งสวนทาง ที่จะมีเรียกปะทะมากหากเกิดการเฉี่ยวชน จึงไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตได้ และจากผลการชันสูตรศพนางดาราวดี พบว่ามีบาดแผล 7 แห่ง ที่กะโหลกบวมช้ำ เลือดคลั่งในสมอง ผิวหนังฉีก ถลอกช้ำกระดูกหักหลายแห่งเช่นเดียวกับ ด.ช.เสรี ที่มีบาดแผล 3 แห่งซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าทั้งสองเสียชีวิตเนื่องจากสมองบวมเฉียบพลัน ไม่น่าจะเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อยได้ ส่วนแผลทื่กกหูของนางดาราวดี คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้ทดลองนำผู้หญิงซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับนางดาราวดีไปนั่งที่เบาะคนขับ และให้พยายามนำศรีษะด้านขวาไปแตะที่แกนพวกมาลัยว่าจะทำให้เกิดบาดแผลได้หรือไม่ ปรากฏว่าหญิงคนดังกล่าวไม่สามารถนำศีรษะเข้าไปใต้แกนพวงมาลัยได้ ที่จำเลยที่ 1 อ้างความเห็นของ พล.ต.ต.ทัศนะ สุวรรณจูฑะ อดีต ผบก.นิติเวชตำรวจ เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 37 ว่าผู้ตายทั้งสองตายด้วยอุบัติเหตุไม่ใช่การฆาตกรรม และแผลที่กกหูเกิดจากอุบัติเหตุ จึงไม่อาจรับฟังได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีนำหนักมั่นคงแน่นหนารับฟังได้ว่า การเสียชีวิตขอผู้ตาย ทั้งเกิดจากการฆาตกรรมด้วยของแข็งไม่มีคม โดยจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันกระทำผิดตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
นอกจากนี้โจทก์ยังมีพยานหลักฐานซึ่งเป็นคำให้การของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนและรายงานการใช้โทรศัพท์มือถือของจำเลยที่ 1 และ 2 โดยจำเลยที่ 2 ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าชุดสืบสวนติดตามหาเพชรที่หายไป โดยจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้จำเลยที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามหาตัวนายสันติ โจทก์ร่วม แต่ไม่พบกระทั่งจำเลยที่ 1 ทราบข่าวของโจทก์ร่วมจึงให้จำเลยที่ 2 กับพวก ไปจับตัวผู้ตายทั้งสองมากักขัง และจำเลยที่ 1 ยังสั่งให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ไปเรียกค่าไถ่เพื่อเป็นการตบตาในการจับตัวผู้ตายทั้งสอง เพื่อให้โจทก์ร่วมออกมาเพื่อที่จะได้นำตัวไปซักถามเรื่องการซื้อขายเพชร แต่เมื่อไม่เป็นไปตามแผนและจำเลยที่ เกรงว่านายสันติ โจทก์ร่วมจะไปร้องเรียนกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย (ขณะนั้น) จึงสั่งให้จำเลยที่ 2 กับพวกฆ่าผู้ตายทั้งสอง และเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 37 เวลา 10.00 น. จำเลยที่ 1 ได้โทรศัพท์มาสอบถามจำเลยที่ 2 ว่าเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 2 ตอบว่าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นการให้การเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับตนไม่ได้เป็นการซัดทอดจำเลยที่ 1 และยังให้รายละเอียดซึ่งยากที่พนักงานสอบสวนจะจัดทำขึ้นเอง ขณะที่จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีการโต้แย้ง ประเด็นดังกล่าว ฎีกาที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาอ้างนั้นไม่อาจรับฟังได้ ศาลจึงนำคำให้การของจำเลยที่ 2 มารับฟังประกอบกับพยานแวดล้อมอื่นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น มาลงโทษจำเลยที่ 1
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า แม้จะได้รับแต่งตั้งให้ติดตามหาเพชร ซึ่งก็ได้ติดตามหาเพชรของกลางคืนแล้วบางส่วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนหาเพชรอีก จึงไม่มีความผิดตาม ป.อาญา ม.157 ศาลฎีกาเห็นว่าในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาเพชร จำเลยที่ 1 ได้เคยทำหนังสือถึงอุปทูตประเทศซาอุดิอาระเบีย ว่าจะติดตามหาเพชรบูลไดมอนด์ เพชรประจำตระกูลเจ้าชายไฟซาร์ล คืนมาให้ได้ภายใน 15 วัน หลังจากที่นำเพชรส่วนแรกคืนไปแล้ว จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 ยังคงติดตามหาเพชรอยู่ โดยสั่งการให้จำเลยที่ 2 กับพวกจับกุมตัวผู้ตายเพื่อหวังให้ได้ตัวโจทก์ร่วมมาซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องเพชร ขณะที่นายสันติ โจทก์ร่วมก็เคยเบิกความว่า ก่อนที่ผู้ตายทั้งสองจะถูกจับตัวไป จำเลยที่ 1 เคยจับตัวโจทก์ร่วมไปซักถาม ซึ่งโจทก์ร่วมเคยบอกไปแล้วว่าได้ขายเพชรทั้งหมดไปแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยไม่มีน้ำหนัก สาระเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้ จึงพิพากษายืน ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 สถานเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการฟังคำพิพากษาวันนี้มีเพื่อนอดีตนายตำรวจรุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.ชลอ และอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาประมาณ 100 คน เดินทางมาฟังคำพิพากษา แต่ไม่ปรากฏว่า นางมิเชล เกิดเทศ ภรรยาชาวออสเตรเลียร่วมทั้งบุตร เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วย
ด้านนายปรอย พุ่มหมัน ทนายความของ พล.ต.ท.ชลอ กล่าวว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์แล้ว ทางคดีไม่อาจดำเนินการใดได้อีก คงมีเพียงการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้เมื่อคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งจะต้องดำเนินการผ่านกระทรวงยุติธรรม แต่ผลจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของ พระราชอำนาจที่จะทรงวินิจฉัย โดยที่ผ่านมาพล.ต.ท.ชลอ ยังไม่ได้หารือกับตนในเรื่องการยื่นฎีกา แต่หลังจากนี้จะหารือกันอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับ พ.ต.ท.พันศักดิ์ จำเลยที่ 2 นายนิคม จำเลยที่ 6 และนายสำราญ จำเลยที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกตลอดชีวิต ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาซึ่งเป็นโทษหนักสุด ส่วน จ.ส.ต.ยงค์ จำเลยที่ 3 ได้เสียชีวิตขณะอุทธรณ์คดีให้จำหน่ายออกจากสารบบความ นายวีระชัย จำเลยที่ 5 และนายสมหมาย จำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือนนั้นได้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์คดี ซึ่งอัยการโจทก์-จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คดีทำให้คดีของจำเลยที่ 5 และ 8 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และ ด.ต.สมนึก จำเลยที่ 4 ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีจึงถึงที่สุด
ด้านนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะดูแลเรือนจำกลางคลองเปรมและเรือนจำกลางบางขวาง เปิดเผยว่า ในส่วนของเรือนจำเมื่อคดีสิ้นสุดเด็ดขาดและศาลตัดสินประหารชีวิต จะต้องย้าย พล.ต.ท.ชลอ ที่คุมขังอยู่เรือนจำกลางคลองเปรมไปไว้ที่แดน 2 หรือแดนประหาร เรือนจำกลางบางขวางทันที โดยเจ้าหน้าที่จะคุมตัว พล.ต.ท.ชลอ จากศาลฎีกาไปที่เรือนจำกลางบางขวางเลย จากนั้น พล.ต.ท.ชลอมีสิทธิยื่นเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษภายใน 60 วัน ซึ่งปกติผู้ต้องหาจะเป็นผู้เขียนฎีกาด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ สุดแต่พระองค์จะโปรดเกล้าฯ ลงมา