ASTVผู้จัดการรายวัน - “พรทิวา”เตรียมถกฟิลิปปินส์เจรจาขอชดเชยโควตาข้าวเวทีสุดยอดผู้นำอาเซียน หลังเบี้ยวไม่ยอมลดภาษี ยื่นคำขาดต้องได้ 3.6 แสนตัน ไม่ใช่แค่ 5 หมื่นตัน และต้องภาษี 0% ขู่หากไม่ยอมไทยอาจเป็นเด็กดื้อเบี้ยวให้สัตยาบันเปิดเสรีการค้าสินค้าบ้าง “นันทวัลย์”เผยอาเซียนเตรียมหารือผลักดันสมาชิกทำตามแผนการไปสู่ AEC เหตุทำตามเป้าได้แค่ 73.8% พร้อมดึงกลุ่มยานยนต์อาเซียนหารือกับรัฐมนตรีวางแผนทำงานร่วมกัน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (อาเซียน ซัมมิต) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค. ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม จะมีการหารือทวิภาคีกับฟิลิปปินส์ เพื่อหาข้อสรุปประเด็นการชดเชยการลดภาษีสินค้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) หลังจากที่ฟิลิปปินส์ได้นำข้าวเข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง และจะคงภาษีสูงถึง 40% ไปจนถึงปี 2557 และลดเหลือ 35% ในปี 2558 ทำให้ไทยยอมรับไม่ได้ และได้เตรียมที่จะเจรจาขอชดเชยในการหารือครั้งนี้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาฟิลิปปินส์ได้เสนอชดเชยการชะลอเปิดเสรีข้าวให้กับไทย โดยเสนอให้โควตาส่งออกข้าว 5 หมื่นตันภาษี 0% ให้กับไทย แต่ไทยยังไม่เห็นด้วย และต้องการให้ฟิลิปปินส์เพิ่มโควตาให้เป็น 3.6 แสนตัน ภาษี 0% ซึ่งเป็นปริมาณที่คิดเฉลี่ยการส่งออกข้าวไทยไปฟิลิปปินส์ย้อนหลัง 3 ปี
“คงต้องหารือกันว่าจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร หากฟิลิปปินส์ไม่ลดภาษีข้าวภายใต้อาฟตา ก็ต้องมีการชดเชยให้ไทย แต่ที่เสนอมาเบื้องต้น 5 หมื่นตันนั้น ยังยอมรับไม่ได้ และจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับรัฐบาลก่อนว่าจะมีท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร เพราะเป็นผลประโยชน์ของประเทศไทย”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หากฟิลิปปินส์ไม่ยอมชดเชยให้กับไทยตามที่เสนอขอไป ไทยก็จะไม่ให้สัตยาบันในพิธีสารความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ที่ขณะนี้เหลือเพียง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและอินโดนีเซีย ที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ซึ่งจะทำให้การเปิดเสรีการค้าสินค้าของไทยต้องชะลอออกไป และกระทบกับการเปิดเสรีในภาพรวมของอาเซียนด้วย
ซึ่งทางออกน่าจะมี 2 แนวทาง คือ ฟิลิปปินส์ต้องชดเชยให้ไทยตามความเหมาะสม และต้องปรับลดอัตราภาษีสุดท้ายของข้าวลงมาอยู่ที่ 20-25% ซึ่งเป็นอัตราที่ไทยน่าจะยอมรับได้
สำหรับฟิลิปปินส์ เป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ยังไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงการเปิดเสรีอาฟตา ได้ยื่นข้อเสนอตารางการลดภาษี โดยจะคงอัตราภาษีสินค้าข้าวที่ 40% ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2557 และลดลงเหลือ 35% ในปี 2558 แต่ไทยไม่สามารถรับได้ เพราะอัตราภาษีสุดท้ายยังสูงกว่าอาเซียนอื่น ที่จัดสินค้าข้าวไว้ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง อย่างมาเลเซีย จะลดภาษีข้าวเหลือ 20% ในปี 2553ส่วนอินโดนีเซีย จะลดเหลือ 25% และลดภาษีน้ำตาล ลดจาก 30-40% เป็น 5-10% ในปี 2558
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ รัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) จะมีการติดตามการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC Scorecard ที่อาเซียนได้จัดทำขึ้นเพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551-31 ก.ค.2552 อาเซียนมีมาตรการที่ต้องดำเนินการ 103 มาตรการ แต่สามารถทำได้ 76 มาตรการ คิดเป็นความสำเร็จของการปฏิบัติตามพันธกรณี 73.8% ของแผนงานที่กำหนด จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่ยังไม่เป็นไปตามแผน และจะมีการรายงานให้ผู้นำอาเซียนรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียนและสั่งการให้สมาชิกเร่งปฏิบัติตามแผนงาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการหารือกับภาคเอกชนอาเซียน โดยในการประชุมครั้งนี้จะมุ่งเน้นการหารือพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจะเชิญประธานสมาพันธ์ยานยนต์อาเซียน และสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมยานยนต์ระหว่างสมาชิกอาเซียนหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ได้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือในด้านการผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม นางพรทิวาในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน และ 2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีนด้วย
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (อาเซียน ซัมมิต) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค. ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม จะมีการหารือทวิภาคีกับฟิลิปปินส์ เพื่อหาข้อสรุปประเด็นการชดเชยการลดภาษีสินค้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) หลังจากที่ฟิลิปปินส์ได้นำข้าวเข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง และจะคงภาษีสูงถึง 40% ไปจนถึงปี 2557 และลดเหลือ 35% ในปี 2558 ทำให้ไทยยอมรับไม่ได้ และได้เตรียมที่จะเจรจาขอชดเชยในการหารือครั้งนี้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาฟิลิปปินส์ได้เสนอชดเชยการชะลอเปิดเสรีข้าวให้กับไทย โดยเสนอให้โควตาส่งออกข้าว 5 หมื่นตันภาษี 0% ให้กับไทย แต่ไทยยังไม่เห็นด้วย และต้องการให้ฟิลิปปินส์เพิ่มโควตาให้เป็น 3.6 แสนตัน ภาษี 0% ซึ่งเป็นปริมาณที่คิดเฉลี่ยการส่งออกข้าวไทยไปฟิลิปปินส์ย้อนหลัง 3 ปี
“คงต้องหารือกันว่าจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร หากฟิลิปปินส์ไม่ลดภาษีข้าวภายใต้อาฟตา ก็ต้องมีการชดเชยให้ไทย แต่ที่เสนอมาเบื้องต้น 5 หมื่นตันนั้น ยังยอมรับไม่ได้ และจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับรัฐบาลก่อนว่าจะมีท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร เพราะเป็นผลประโยชน์ของประเทศไทย”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หากฟิลิปปินส์ไม่ยอมชดเชยให้กับไทยตามที่เสนอขอไป ไทยก็จะไม่ให้สัตยาบันในพิธีสารความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ที่ขณะนี้เหลือเพียง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและอินโดนีเซีย ที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ซึ่งจะทำให้การเปิดเสรีการค้าสินค้าของไทยต้องชะลอออกไป และกระทบกับการเปิดเสรีในภาพรวมของอาเซียนด้วย
ซึ่งทางออกน่าจะมี 2 แนวทาง คือ ฟิลิปปินส์ต้องชดเชยให้ไทยตามความเหมาะสม และต้องปรับลดอัตราภาษีสุดท้ายของข้าวลงมาอยู่ที่ 20-25% ซึ่งเป็นอัตราที่ไทยน่าจะยอมรับได้
สำหรับฟิลิปปินส์ เป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ยังไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงการเปิดเสรีอาฟตา ได้ยื่นข้อเสนอตารางการลดภาษี โดยจะคงอัตราภาษีสินค้าข้าวที่ 40% ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2557 และลดลงเหลือ 35% ในปี 2558 แต่ไทยไม่สามารถรับได้ เพราะอัตราภาษีสุดท้ายยังสูงกว่าอาเซียนอื่น ที่จัดสินค้าข้าวไว้ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง อย่างมาเลเซีย จะลดภาษีข้าวเหลือ 20% ในปี 2553ส่วนอินโดนีเซีย จะลดเหลือ 25% และลดภาษีน้ำตาล ลดจาก 30-40% เป็น 5-10% ในปี 2558
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ รัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) จะมีการติดตามการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC Scorecard ที่อาเซียนได้จัดทำขึ้นเพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551-31 ก.ค.2552 อาเซียนมีมาตรการที่ต้องดำเนินการ 103 มาตรการ แต่สามารถทำได้ 76 มาตรการ คิดเป็นความสำเร็จของการปฏิบัติตามพันธกรณี 73.8% ของแผนงานที่กำหนด จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่ยังไม่เป็นไปตามแผน และจะมีการรายงานให้ผู้นำอาเซียนรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียนและสั่งการให้สมาชิกเร่งปฏิบัติตามแผนงาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการหารือกับภาคเอกชนอาเซียน โดยในการประชุมครั้งนี้จะมุ่งเน้นการหารือพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจะเชิญประธานสมาพันธ์ยานยนต์อาเซียน และสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมยานยนต์ระหว่างสมาชิกอาเซียนหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ได้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือในด้านการผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม นางพรทิวาในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน และ 2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีนด้วย