ASTVผู้จัดการรายวัน-ไทยพร้อมจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 วันที่ 23-25 ต.ค.นี้ เตรียมติดตามความคืบหน้าการผลักดันอาเซียนเป็น AEC หลังสมาชิกทำตามแผนได้แค่ 63.53% พร้อมวางแผนดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียน และเชิญกลุ่มยานยนต์จับเข่าคุยรัฐมนตรีวางแผนทำงานร่วมกันหลังประสบผลสำเร็จในกลุ่มสิ่งทอ ด้าน"พรทิวา" รอเซ็นความร่วมมืออาเซียน-จีน 2 ฉบับ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค.2552 ณ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยก่อนหน้าการประชุมระดับผู้นำจะมีการประชุมในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 2 มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยและประธานในการประชุม
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะมีการติดตามการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Scorecard ที่อาเซียนได้จัดทำขึ้นเพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551-31 ก.ค.2552 อาเซียนมีมาตรการที่ต้องดำเนินการ 84 มาตรการ แต่สามารถทำได้เพียง 54 มาตรการ คิดเป็นความสำเร็จของการปฏิบัติตามพันธกรณี 63.53% ของแผนงานที่กำหนด จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่ยังไม่เป็นไปตามแผน และจะมีการรายงานให้ผู้นำอาเซียนรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ด้วย
ขณะเดียวกันจะมีการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อการดำเนินงานไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำแผนงานประชาสัมพันธ์ (Communication Plan) ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในภูมิภาค โดยในส่วนของไทยได้เสนอโครงการเครือข่ายเยาวชนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Plus Youth Network Program) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในกรอบบวก 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนเหล่านี้ในการก้าวเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต
นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับภาคเอกชนอาเซียน (Public-Private Sector Policy Dialogue) เพื่อเป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนส.ค.2552 ได้มีการจัดประชุมในลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
โดยมุ่งเน้นในสาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งประสบผลสำเร็จและได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากภาคเอกชน และในการประชุมครั้งนี้ จะมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชิญประธานสมาพันธ์ยานยนต์อาเซียน และสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน และ 2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีน
สำหรับสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน จะเป็นการจัดตั้งกลไกการประชุมระหว่างหัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ประสานประเด็นด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงแลกเปลี่ยนมุมมองและความร่วมมือในการพัฒนาการจัดเก็บฐานข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในระบบอัตโนมัติ และแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นด้านระบบทรัพย์สินทางปัญญาสากล
ส่วนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีน จะครอบคลุมเนื้อหาและความร่วมมือทางวิชาการที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลก ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรอง รวมถึงให้มีความร่วมมือทางวิชาการและเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากร ตลอดจนจัดตั้งกลไกการดำเนินงาน ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค.2552 ณ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยก่อนหน้าการประชุมระดับผู้นำจะมีการประชุมในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 2 มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยและประธานในการประชุม
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะมีการติดตามการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Scorecard ที่อาเซียนได้จัดทำขึ้นเพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551-31 ก.ค.2552 อาเซียนมีมาตรการที่ต้องดำเนินการ 84 มาตรการ แต่สามารถทำได้เพียง 54 มาตรการ คิดเป็นความสำเร็จของการปฏิบัติตามพันธกรณี 63.53% ของแผนงานที่กำหนด จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่ยังไม่เป็นไปตามแผน และจะมีการรายงานให้ผู้นำอาเซียนรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ด้วย
ขณะเดียวกันจะมีการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อการดำเนินงานไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำแผนงานประชาสัมพันธ์ (Communication Plan) ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในภูมิภาค โดยในส่วนของไทยได้เสนอโครงการเครือข่ายเยาวชนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Plus Youth Network Program) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในกรอบบวก 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนเหล่านี้ในการก้าวเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต
นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับภาคเอกชนอาเซียน (Public-Private Sector Policy Dialogue) เพื่อเป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนส.ค.2552 ได้มีการจัดประชุมในลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
โดยมุ่งเน้นในสาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งประสบผลสำเร็จและได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากภาคเอกชน และในการประชุมครั้งนี้ จะมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชิญประธานสมาพันธ์ยานยนต์อาเซียน และสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน และ 2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีน
สำหรับสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนและจีน จะเป็นการจัดตั้งกลไกการประชุมระหว่างหัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ประสานประเด็นด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงแลกเปลี่ยนมุมมองและความร่วมมือในการพัฒนาการจัดเก็บฐานข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในระบบอัตโนมัติ และแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นด้านระบบทรัพย์สินทางปัญญาสากล
ส่วนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีน จะครอบคลุมเนื้อหาและความร่วมมือทางวิชาการที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลก ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรอง รวมถึงให้มีความร่วมมือทางวิชาการและเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากร ตลอดจนจัดตั้งกลไกการดำเนินงาน ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ