ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างรวดเร็ว โดยค่าเงินบาทแข็งขึ้นจากประมาณ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อต้นเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ 33.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.75 ทำให้เกิดคำถามว่าเหตุใดเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นและจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนานหรือไม่ การจะตอบคำถามนี้ได้ จะต้องเข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นว่าคืออะไร และเป็นปัจจัยชั่วคราวหรือถาวร
จากการวิเคราะห์ของสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า บางอย่างเป็นปัจจัยระยะสั้นและปานกลาง แต่ก็มีปัจจัยระยะยาวคือการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องนาน ผมขอแบ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 2 กลุ่มคือ ปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยในประเทศจะเป็นปัจจัยระยะปานกลาง ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศจะเป็นทั้งปัจจัยระยะสั้นและระยะยาว
ปัจจัยในประเทศที่สำคัญที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นคือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องของไทย ภายหลังวิกฤติการเงินในปี 2540/41 การลงทุนของประเทศชะลอตัวลงมาก การนำเข้าจึงขยายตัวในอัตราที่ต่ำ นอกจากนี้ผลของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังทำให้อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง การนำเข้าจึงชะลอตัวลงมากขึ้น โดยเมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมาการนำเข้าหดตัวลงอย่างมาก ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 ทุกปี (ยกเว้นปี 2547 เพียงปีเดียว ที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน) นอกจากนั้นแล้วหลังจากที่ประเทศไทยชำระหนี้ต่างประเทศจนเกือบหมดในปี 2546 จึงทำให้แทบไม่มีเงินทุนไหลออกเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศอีก ดังนั้น จึงมีแต่เงินไหลเข้าจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะปีนี้ ผลจากการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศและการนำเข้าลดลง ทำให้ 8 เดือนแรกของปี 2552 เรามีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 14,830.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 11,537.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 350
ในด้านปัจจัยต่างประเทศมี 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ และการปรับค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เกิดวิกฤติการเงินเหมือนหลายๆประเทศในโลก ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา เงินลงทุนสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 65,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในเดือนกันยายน ที่การลงทุนสุทธิจากต่างชาติสูงถึงประมาณ 23,000 ล้านบาท และยังมีเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สุทธิถึงประมาณ 10,000 ล้านบาท
ผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง บวกกับการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 111,008 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อปลายปี เป็น 131,756 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ว่าอุปสงค์ของเงินบาทมีมากกว่าอุปทาน จึงทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นและปานกลาง เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนอาจจะจบลงเมื่อใดก็ได้ ขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะลดลงหรือกลับมาเป็นการขาดดุลได้ในอนาคตเมื่ออุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและการขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเงินบาทจะหยุดแข็งค่าขึ้น เนื่องจากยังมีปัจจัยระยะยาวคือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะอ่อนค่าในระยะยาว
สาเหตุหลักที่ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลง มาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่ามหาศาลของสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก โดยประเทศเอเชียตะวันออกและประเทศส่งออกน้ำมันเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก ตรงข้ามกับสหรัฐฯ ที่ขาดดุลและมีหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนใกล้ถึงขีดจำกัด จึงมีแนวโน้มว่าการก่อหนี้ของสหรัฐฯโดยรวมจะชะลอลง ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายปี 2548 แม้ว่าการปรับตัวลดลงดังกล่าวหยุดลงชั่วคราวจากวิกฤติการเงินและการถดถอยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยง (Safe heaven) แต่เมื่อวิกฤติบรรเทาลงก็เริ่มมีเงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั่นเอง
ทิศทางการปรับลดลงของดอลลาร์สหรัฐฯเป็นแนวโน้มระยาว ซึ่งจะเป็นการปรับลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯและปรับสมดุลของเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้น ดังนั้น แม้ว่าปัจจัยระยะสั้นและปานกลางที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าจะหมดลง แต่ปัจจัยระยะยาวคือการอ่อนตัวของดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอยู่ ดังนั้น ผมจึงคาดว่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อไป และโอกาสที่ค่าเงินจะลดลงมีไม่มากนัก
bunluasak.p@cimbthai.com
จากการวิเคราะห์ของสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า บางอย่างเป็นปัจจัยระยะสั้นและปานกลาง แต่ก็มีปัจจัยระยะยาวคือการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องนาน ผมขอแบ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 2 กลุ่มคือ ปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยในประเทศจะเป็นปัจจัยระยะปานกลาง ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศจะเป็นทั้งปัจจัยระยะสั้นและระยะยาว
ปัจจัยในประเทศที่สำคัญที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นคือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องของไทย ภายหลังวิกฤติการเงินในปี 2540/41 การลงทุนของประเทศชะลอตัวลงมาก การนำเข้าจึงขยายตัวในอัตราที่ต่ำ นอกจากนี้ผลของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังทำให้อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง การนำเข้าจึงชะลอตัวลงมากขึ้น โดยเมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมาการนำเข้าหดตัวลงอย่างมาก ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 ทุกปี (ยกเว้นปี 2547 เพียงปีเดียว ที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน) นอกจากนั้นแล้วหลังจากที่ประเทศไทยชำระหนี้ต่างประเทศจนเกือบหมดในปี 2546 จึงทำให้แทบไม่มีเงินทุนไหลออกเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศอีก ดังนั้น จึงมีแต่เงินไหลเข้าจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะปีนี้ ผลจากการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศและการนำเข้าลดลง ทำให้ 8 เดือนแรกของปี 2552 เรามีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 14,830.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 11,537.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 350
ในด้านปัจจัยต่างประเทศมี 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ และการปรับค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เกิดวิกฤติการเงินเหมือนหลายๆประเทศในโลก ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา เงินลงทุนสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 65,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในเดือนกันยายน ที่การลงทุนสุทธิจากต่างชาติสูงถึงประมาณ 23,000 ล้านบาท และยังมีเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สุทธิถึงประมาณ 10,000 ล้านบาท
ผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง บวกกับการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 111,008 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อปลายปี เป็น 131,756 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ว่าอุปสงค์ของเงินบาทมีมากกว่าอุปทาน จึงทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นและปานกลาง เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนอาจจะจบลงเมื่อใดก็ได้ ขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะลดลงหรือกลับมาเป็นการขาดดุลได้ในอนาคตเมื่ออุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและการขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเงินบาทจะหยุดแข็งค่าขึ้น เนื่องจากยังมีปัจจัยระยะยาวคือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะอ่อนค่าในระยะยาว
สาเหตุหลักที่ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลง มาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่ามหาศาลของสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก โดยประเทศเอเชียตะวันออกและประเทศส่งออกน้ำมันเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก ตรงข้ามกับสหรัฐฯ ที่ขาดดุลและมีหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนใกล้ถึงขีดจำกัด จึงมีแนวโน้มว่าการก่อหนี้ของสหรัฐฯโดยรวมจะชะลอลง ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายปี 2548 แม้ว่าการปรับตัวลดลงดังกล่าวหยุดลงชั่วคราวจากวิกฤติการเงินและการถดถอยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยง (Safe heaven) แต่เมื่อวิกฤติบรรเทาลงก็เริ่มมีเงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั่นเอง
ทิศทางการปรับลดลงของดอลลาร์สหรัฐฯเป็นแนวโน้มระยาว ซึ่งจะเป็นการปรับลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯและปรับสมดุลของเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้น ดังนั้น แม้ว่าปัจจัยระยะสั้นและปานกลางที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าจะหมดลง แต่ปัจจัยระยะยาวคือการอ่อนตัวของดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอยู่ ดังนั้น ผมจึงคาดว่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อไป และโอกาสที่ค่าเงินจะลดลงมีไม่มากนัก
bunluasak.p@cimbthai.com