ASTVผู้จัดการรายวัน - ยอดจองบอนด์ออมทรัพย์แบงก์ชาติแค่ครึ่งวันทะลัก 9 หมื่นล้าน เผย 6.3 หมื่นล้านหรือ 70% สนใจอายุยาว 7 ปี เปิดขายไม่อั้น ชาวบ้านโวยมั่วภาษี ขณะที่บรรยากาศต่างจังหวัดคึกคักกว่ากรุงเทพ เหตุคนที่พลาดบอนด์ไทยเข้มแข็งรุมซื้อ นายแบงก์เสียงแตกกระทบสภาพคล่อง
วานนี้ (3 ก.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นที่ 1 มี อายุ 4 ปี จ่ายอัตราคงที่ร้อยละ 3.5 ส่วนพันธบัตรอายุ 7 ปี จะจ่ายแบบขั้นบันได ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ปี ที่ 3-4 ดอกเบี้ย ร้อยละ 4 ปีที่ 5-6 ดอกเบี้ย ร้อยละ 5 และปีที่ 7 ดอกเบี้ยร้อยละ 6 จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ธนาคารที่จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ซีไอเอ็มบีไทย ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต นครหลวงไทย และยูโอบี โดยเปิดขายในวันที่ 3 , 4 และ 7 ก.ย.นี้
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. เปิดเผยว่า ตัวแทนธนาคารพาณิชย์ได้รายงานยอดจองพันธบัตรออมทรัพย์ของธปท.ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ณ ช่วง 12.00 น.ของวันแรกที่เปิดขาย (3ก.ย.) โดยแบ่งเป็นสัดส่วนพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 7 ปี 70% หรือประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท และที่เหลืออีก 2.7 หมื่นล้านบาท หรือ30%เป็นพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 4 ปี
“การเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ฯ ในวันแรกเร็วกว่าที่เราคาดไว้ แต่แง่ปริมาณช่วงครึ่งวันแรก 9 หมื่นล้านบาทไม่แตกต่างกับที่เราคาดการณ์ไว้ โดยส่วนใหญ่เป็นการโยกเงินจากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มาลงทุนส่วนนี้ แต่เชื่อว่าการออกขายพันธบัตรดังกล่าวเป็นดูดซับสภาพคล่องเข้ามา และสุดท้ายเราผลักเงินเหล่านั้นออกไปสู่ระบบเพื่อรองรับการใช้เครื่องมือทางการเงินของเรา ทำให้สภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินไม่ได้ลดลงไปเลย”นางผ่องเพ็ญกล่าว
สาเหตุที่คนทั่วไปสนใจเข้ามาซื้อพันธบัตรดังกล่าวจำนวนมาก เนื่องจาก การเปิดขายในครั้งนี้ธปท.ไม่ได้จำกัดปริมาณการซื้อ ซึ่งสามารถซื้อพันธบัตรได้ตามความต้องการและไม่จำกัดอายุที่ซื้อ ประกอบกับตัวแทนธนาคารพาณิชย์ที่เปิดให้ซื้อทั้ง 10 แห่ง มีการอำนวยความสะดวกเต็มที่ คือ ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้ามารับบัตรคิวและซื้อพันธบัตรได้ทันที ฉะนั้น ธปท.จะไม่ปิดก่อนกำหนด แต่จะเปิดขายพันธบัตรฯ ล็อตนี้ในวันที่ 4 ก.ย.และ 7 ก.ย.นี้ต่อไป
สำหรับกรณีที่มีบุคคลทั่วไปเข้าไปร้องเรียนว่าธนาคารพาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมนั้น นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ผู้ที่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของธปท.จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ โดยเป็นเงินที่ได้รับจากครบกำหนดพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติเพื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรของธปท.ในครั้งนี้ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินประมาณ 10-20 บาทต่อรายการ
ผู้ซื้อพันธบัตรจะต้องจ่ายภาษี ณ วันที่จ่ายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งธปท.จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยปีละ 2 งวด คือ วันที่ 3 มี.ค.และ 3 ก.ย.ของทุกปี จนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร อย่างไรก็ตาม พันธบัตรอายุ 4 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.5%ต่อปี พันธบัตรอายุ 7 ปีนั้น เป็นการขยับในลักษณะขั้นบันได ปีที่1-2 อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ปีที่ 3-4 อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ปีที่ 5-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายเพิ่มเป็น 6% ต่อปี หรือตลอดอายุพันธบัตร ดังนั้นพันธบัตรอายุ 7 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.2%
"อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ธปท.ได้บวกภาษีไปให้แล้ว" นางผ่องเพ็ญให้สัมภาษณ์ในลักษณะยกเว้นภาษี ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงไม่มีการยกเว้นภาษีผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นางผ่องเพ็ญให้ข้อมูลแต่ห้ามเขียนข่าว ในทำนอง ธปท.จะดูแลภาษีให้ผู้ที่ซื้อพันธบัตร ดอกเบี้ย 3.5% และ 4.2% เป็นดอกเบี้ยสุทธิ
***ชาวบ้านโวยแบงก์ชาติมั่วภาษี
พันธบัตรออมทรัพย์ล็อตดังกล่าวต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนการฝากเงิน และลงทุนในพันธบัตรอื่นๆ กล่าวคือผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 4 ปีก่อนภาษีคือ 3.5% หลังหักภาษีอยู่ที่ 2.975% ส่วนอายุ 7 ปี ก่อนหักภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 4.2% หลังหักภาษีจะอยู่ที่ 3.58%
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เจ้าหน้าที่แบงก์พาณิชย์ยอมรับว่ามีลูกค้าสอบถามประเด็นภาษีมากที่สุด โดยวานนี้ (3 ก.ย.) ประชาชนที่สนใจซื้อพันธบัตรได้โทรศัพท์ไปยังกองบรรณาธิการ "ASTVผู้จัดการรายวัน" โดยอ้างว่าธนาคารพาณิชย์แจ้งว่าต้องจ่ายภาษี แต่พอโทรศัพท์ไปที่แบงก์ชาติ เจ้าหน้าที่ฯ ไม่ให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
"ผู้บริหารไม่ยอมพูดให้ชัด คงหวังตีกินให้คนสนใจซื้อมากๆ ผมคิดว่าจะรอบอนด์ไทยเข้มแข็งดีกว่า" นักลงทุนรายหนึ่งโวย
***ตจว.คึกคักเหตุพลาดไทยเข้มแข็ง
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตรัง ได้ออกไปสำรวจบรรยากาศการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์วันแรกที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีลูกค้ามาสั่งจองล่วงหน้าจำนวนกว่า 20 ราย
น.ส.ชุติมา จริงจิตร รองผู้จัดการบริการลูกค้า ธนาคารกรุงไทย สาขาทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง เปิดเผยว่า การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ วันแรก มีประชาชนให้ความสนใจหาซื้อเป็นจำนวนมากกว่าวันแรกที่เปิดจำหน่ายพันธบัตรไทยเข้มแข็งใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอาจเนื่องจากประชาชนที่พลาดโอกาสในการซื้อพันธบัตรไทยเข้มแข็ง เมื่อทราบข่าวการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เข้ามาสั่งจองไว้ล่วงหน้ากว่า 20 ราย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้แก่ประชาชนในจังหวัดตรังครั้งนี้ ไม่มีการจำกัดวงเงิน ดังนั้น ประชาชนจึงสามารถซื้อพันธบัตรได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ซึ่งถือเป็นการออมทรัพย์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกผลตอบแทนที่ดีกว่า
***แบงก์ขัดคอกระทบสภาพคล่อง
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) เปิดเผยว่า ประชาชนให้ความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท.ให้ไว้อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การเปิดจำหน่ายพันธบัตรของ ธปท. จะไม่กระทบต่อสภาพคล่องในระบบของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากสภาพคล่องทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่ในระดับสูง แต่การแข่งขันเพื่อระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่ที่บริหารจัดการเงินฝากของธนาคารแต่ละแห่งเป็นสำคัญ ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงไทยเองก็มีการปรับระยะเงินฝากให้ยาวขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทยจำหน่ายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาท ส่วนธนาคารทหารไทย ยอดจำหน่ายพันธบัตร 4 ปี ประมาณ 2,909 ล้านบาท จำนวน 1,243 คน และ 7 ปี ประมาณ 4,400 ล้านบาท จำนวน 1,500 คน และธนาคารกสิกรไทย สาขาพหลโยธิน มีประชาชนกว่า 10 คน มารอซื้อพันธบัตรโดยผู้ที่มาถึงคนแรก มาตั้งแต่ เวลา 04.00 น. ทั้งนี้ ธนาคารได้มีการแจกบัตรคิวให้แก่ประชาชน ในเวลา 08.00 น. และเริ่มจำหน่ายพันธบัตร ตั้งแต่เวลา 08.30 น.
ขณะที่นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เชื่อว่าจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธนาคารทั้งระบบที่จะต้องถูกดึงสภาพคล่องออกไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะจำนวนเงินฝากที่จะไหลออกไปเพื่อซื้อพันธบัตรที่คาดว่าจะเท่ากับการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยเข้มแข็งที่ผ่านมาที่ประมาณ 70-80% ในส่วนเงินฝากของธนาคารเองก็มองว่าจะไหลออกประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อซื้อพันธบัตร
"มีประชาชนเข้ามารอซื้อพันธบัตรตั้งแต่ 07.00 น. ซึ่งเมื่อถึงในเวลา 11.20 น. ธนาคารจำหน่ายพันธบัตรได้ 13,900 ล้านบาท และเมื่อถึงเวลาปิดทำการ ธนาคารสามารถจำหน่ายพันธบัตรทั้ง 4ปี และ 7 ปี ได้ 12,045 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นพันธบัตรอายุ 4 ปี จำนวน 3,957 ล้านบาท พันธบัตรอายุ 7 ปี จำนวน 8,087 ล้านบาท"
ด้านธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ซึ่งนางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง กล่าวว่า การจองซื้อพันธบัตร ธปท.ในช่วงเช้าไม่ค่อยมีความคึกคักมาก เนื่องจากก่อนวันเปิดจำหน่ายได้มีสถานีวิทยุบางรายประชาสัมพันธ์ว่าการซื้อพันธบัตรครั้งนี้ลูกค้าสามารถโทรศัพท์ไปจองกับพนักงานของธนาคารได้ก่อน จึงทำให้จำนวนลูกค้าในช่วงเปิดจำหน่ายมีไม่มากนัก แต่รวมแล้วมียอดทั้งหมด 23,507.92 ล้านบาท จำนวน 9,010 ราย เป็นอายุ 4 ปี มูลค่า 8,744.39 ล้านบาท จำนวน3,977 ราย ส่วนพันธบัตร อายุ 7 ปี มูลค่า 14,763.53 ล้านบาท จำนวน 5,033 ราย.
วานนี้ (3 ก.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นที่ 1 มี อายุ 4 ปี จ่ายอัตราคงที่ร้อยละ 3.5 ส่วนพันธบัตรอายุ 7 ปี จะจ่ายแบบขั้นบันได ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ปี ที่ 3-4 ดอกเบี้ย ร้อยละ 4 ปีที่ 5-6 ดอกเบี้ย ร้อยละ 5 และปีที่ 7 ดอกเบี้ยร้อยละ 6 จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ธนาคารที่จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ซีไอเอ็มบีไทย ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต นครหลวงไทย และยูโอบี โดยเปิดขายในวันที่ 3 , 4 และ 7 ก.ย.นี้
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. เปิดเผยว่า ตัวแทนธนาคารพาณิชย์ได้รายงานยอดจองพันธบัตรออมทรัพย์ของธปท.ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ณ ช่วง 12.00 น.ของวันแรกที่เปิดขาย (3ก.ย.) โดยแบ่งเป็นสัดส่วนพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 7 ปี 70% หรือประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท และที่เหลืออีก 2.7 หมื่นล้านบาท หรือ30%เป็นพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 4 ปี
“การเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ฯ ในวันแรกเร็วกว่าที่เราคาดไว้ แต่แง่ปริมาณช่วงครึ่งวันแรก 9 หมื่นล้านบาทไม่แตกต่างกับที่เราคาดการณ์ไว้ โดยส่วนใหญ่เป็นการโยกเงินจากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มาลงทุนส่วนนี้ แต่เชื่อว่าการออกขายพันธบัตรดังกล่าวเป็นดูดซับสภาพคล่องเข้ามา และสุดท้ายเราผลักเงินเหล่านั้นออกไปสู่ระบบเพื่อรองรับการใช้เครื่องมือทางการเงินของเรา ทำให้สภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินไม่ได้ลดลงไปเลย”นางผ่องเพ็ญกล่าว
สาเหตุที่คนทั่วไปสนใจเข้ามาซื้อพันธบัตรดังกล่าวจำนวนมาก เนื่องจาก การเปิดขายในครั้งนี้ธปท.ไม่ได้จำกัดปริมาณการซื้อ ซึ่งสามารถซื้อพันธบัตรได้ตามความต้องการและไม่จำกัดอายุที่ซื้อ ประกอบกับตัวแทนธนาคารพาณิชย์ที่เปิดให้ซื้อทั้ง 10 แห่ง มีการอำนวยความสะดวกเต็มที่ คือ ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้ามารับบัตรคิวและซื้อพันธบัตรได้ทันที ฉะนั้น ธปท.จะไม่ปิดก่อนกำหนด แต่จะเปิดขายพันธบัตรฯ ล็อตนี้ในวันที่ 4 ก.ย.และ 7 ก.ย.นี้ต่อไป
สำหรับกรณีที่มีบุคคลทั่วไปเข้าไปร้องเรียนว่าธนาคารพาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมนั้น นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ผู้ที่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของธปท.จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ โดยเป็นเงินที่ได้รับจากครบกำหนดพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติเพื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรของธปท.ในครั้งนี้ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินประมาณ 10-20 บาทต่อรายการ
ผู้ซื้อพันธบัตรจะต้องจ่ายภาษี ณ วันที่จ่ายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งธปท.จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยปีละ 2 งวด คือ วันที่ 3 มี.ค.และ 3 ก.ย.ของทุกปี จนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร อย่างไรก็ตาม พันธบัตรอายุ 4 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.5%ต่อปี พันธบัตรอายุ 7 ปีนั้น เป็นการขยับในลักษณะขั้นบันได ปีที่1-2 อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ปีที่ 3-4 อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ปีที่ 5-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายเพิ่มเป็น 6% ต่อปี หรือตลอดอายุพันธบัตร ดังนั้นพันธบัตรอายุ 7 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.2%
"อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ธปท.ได้บวกภาษีไปให้แล้ว" นางผ่องเพ็ญให้สัมภาษณ์ในลักษณะยกเว้นภาษี ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงไม่มีการยกเว้นภาษีผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นางผ่องเพ็ญให้ข้อมูลแต่ห้ามเขียนข่าว ในทำนอง ธปท.จะดูแลภาษีให้ผู้ที่ซื้อพันธบัตร ดอกเบี้ย 3.5% และ 4.2% เป็นดอกเบี้ยสุทธิ
***ชาวบ้านโวยแบงก์ชาติมั่วภาษี
พันธบัตรออมทรัพย์ล็อตดังกล่าวต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนการฝากเงิน และลงทุนในพันธบัตรอื่นๆ กล่าวคือผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 4 ปีก่อนภาษีคือ 3.5% หลังหักภาษีอยู่ที่ 2.975% ส่วนอายุ 7 ปี ก่อนหักภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 4.2% หลังหักภาษีจะอยู่ที่ 3.58%
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เจ้าหน้าที่แบงก์พาณิชย์ยอมรับว่ามีลูกค้าสอบถามประเด็นภาษีมากที่สุด โดยวานนี้ (3 ก.ย.) ประชาชนที่สนใจซื้อพันธบัตรได้โทรศัพท์ไปยังกองบรรณาธิการ "ASTVผู้จัดการรายวัน" โดยอ้างว่าธนาคารพาณิชย์แจ้งว่าต้องจ่ายภาษี แต่พอโทรศัพท์ไปที่แบงก์ชาติ เจ้าหน้าที่ฯ ไม่ให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
"ผู้บริหารไม่ยอมพูดให้ชัด คงหวังตีกินให้คนสนใจซื้อมากๆ ผมคิดว่าจะรอบอนด์ไทยเข้มแข็งดีกว่า" นักลงทุนรายหนึ่งโวย
***ตจว.คึกคักเหตุพลาดไทยเข้มแข็ง
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตรัง ได้ออกไปสำรวจบรรยากาศการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์วันแรกที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีลูกค้ามาสั่งจองล่วงหน้าจำนวนกว่า 20 ราย
น.ส.ชุติมา จริงจิตร รองผู้จัดการบริการลูกค้า ธนาคารกรุงไทย สาขาทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง เปิดเผยว่า การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ วันแรก มีประชาชนให้ความสนใจหาซื้อเป็นจำนวนมากกว่าวันแรกที่เปิดจำหน่ายพันธบัตรไทยเข้มแข็งใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอาจเนื่องจากประชาชนที่พลาดโอกาสในการซื้อพันธบัตรไทยเข้มแข็ง เมื่อทราบข่าวการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เข้ามาสั่งจองไว้ล่วงหน้ากว่า 20 ราย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้แก่ประชาชนในจังหวัดตรังครั้งนี้ ไม่มีการจำกัดวงเงิน ดังนั้น ประชาชนจึงสามารถซื้อพันธบัตรได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ซึ่งถือเป็นการออมทรัพย์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกผลตอบแทนที่ดีกว่า
***แบงก์ขัดคอกระทบสภาพคล่อง
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) เปิดเผยว่า ประชาชนให้ความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท.ให้ไว้อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การเปิดจำหน่ายพันธบัตรของ ธปท. จะไม่กระทบต่อสภาพคล่องในระบบของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากสภาพคล่องทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่ในระดับสูง แต่การแข่งขันเพื่อระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่ที่บริหารจัดการเงินฝากของธนาคารแต่ละแห่งเป็นสำคัญ ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงไทยเองก็มีการปรับระยะเงินฝากให้ยาวขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทยจำหน่ายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาท ส่วนธนาคารทหารไทย ยอดจำหน่ายพันธบัตร 4 ปี ประมาณ 2,909 ล้านบาท จำนวน 1,243 คน และ 7 ปี ประมาณ 4,400 ล้านบาท จำนวน 1,500 คน และธนาคารกสิกรไทย สาขาพหลโยธิน มีประชาชนกว่า 10 คน มารอซื้อพันธบัตรโดยผู้ที่มาถึงคนแรก มาตั้งแต่ เวลา 04.00 น. ทั้งนี้ ธนาคารได้มีการแจกบัตรคิวให้แก่ประชาชน ในเวลา 08.00 น. และเริ่มจำหน่ายพันธบัตร ตั้งแต่เวลา 08.30 น.
ขณะที่นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เชื่อว่าจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธนาคารทั้งระบบที่จะต้องถูกดึงสภาพคล่องออกไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะจำนวนเงินฝากที่จะไหลออกไปเพื่อซื้อพันธบัตรที่คาดว่าจะเท่ากับการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยเข้มแข็งที่ผ่านมาที่ประมาณ 70-80% ในส่วนเงินฝากของธนาคารเองก็มองว่าจะไหลออกประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อซื้อพันธบัตร
"มีประชาชนเข้ามารอซื้อพันธบัตรตั้งแต่ 07.00 น. ซึ่งเมื่อถึงในเวลา 11.20 น. ธนาคารจำหน่ายพันธบัตรได้ 13,900 ล้านบาท และเมื่อถึงเวลาปิดทำการ ธนาคารสามารถจำหน่ายพันธบัตรทั้ง 4ปี และ 7 ปี ได้ 12,045 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นพันธบัตรอายุ 4 ปี จำนวน 3,957 ล้านบาท พันธบัตรอายุ 7 ปี จำนวน 8,087 ล้านบาท"
ด้านธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ซึ่งนางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง กล่าวว่า การจองซื้อพันธบัตร ธปท.ในช่วงเช้าไม่ค่อยมีความคึกคักมาก เนื่องจากก่อนวันเปิดจำหน่ายได้มีสถานีวิทยุบางรายประชาสัมพันธ์ว่าการซื้อพันธบัตรครั้งนี้ลูกค้าสามารถโทรศัพท์ไปจองกับพนักงานของธนาคารได้ก่อน จึงทำให้จำนวนลูกค้าในช่วงเปิดจำหน่ายมีไม่มากนัก แต่รวมแล้วมียอดทั้งหมด 23,507.92 ล้านบาท จำนวน 9,010 ราย เป็นอายุ 4 ปี มูลค่า 8,744.39 ล้านบาท จำนวน3,977 ราย ส่วนพันธบัตร อายุ 7 ปี มูลค่า 14,763.53 ล้านบาท จำนวน 5,033 ราย.