ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ เงินฝากแบงก์ทั้งระบบเดือนกรกฎาคมลด 1.16 แสนล้าน เหตุผู้ฝากแห่ถอนซื้อพันธบัตร-กองทุน-หุ้นกู้ เฉพาะแบงก์ขนาดใหญ่ลด 4.8 หมื่นล้าน ด้านสินเชื่อยังลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน 5.7 หมื่นล้าน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,592,588 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 57,597 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.02 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.12 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 47,802 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.27 โดยเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดย ธนาคารกรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ จำนวน 14,934 และ 13,240 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารกรุงไทย และ กสิกรไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 10,552 และ 9,076 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 2,946 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.22 นำโดยธนาคารนครหลวงไทย และกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อลดลงจำนวน 4,838 และ 64 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต และทหารไทย มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,828 และ 127 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 6,850 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.32 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ซีไอเอ็มบีไทย ยูโอบี และ ทิสโก้ จำนวน 3,783 1,552 1,411 และ 944 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารสินเอเซีย และ เกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จำนวน 582 และ 259 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนกรกฎาคม 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,296,669 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 116,123 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.81 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ออมมีการโยกเงินออกจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล หุ้นกู้ของภาคเอกชน และกองทุนรวมต่างๆ ที่มีการเสนอขายออกมาเป็นจำนวนมากในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม เงินฝากในเดือนกรกฎาคมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.06 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลง 47,760 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.09 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ จำนวน 24,777 22,161 และ 12,288 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารกรุงไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 11,466 ล้านบาท
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า 35,676 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.40 จากการลดลงของเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทหารไทย และ นครหลวงไทย จำนวน 23,114 14,778 และ 2,451 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารธนชาต มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 4,666 ล้านบาท
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้วจำนวน 32,687 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 5.96 จากการลดลงของเงินฝากทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ที่เงินฝากลดลง 13,559 และ 8,000 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารสินเอเซีย ยูโอบี ทิสโก้ และ เกียรตินาคิน มีเงินฝากลดลงจำนวน 4,080 3,143 2,930 และ 974 ล้านบาท ตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,592,588 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 57,597 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.02 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.12 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 47,802 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.27 โดยเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดย ธนาคารกรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ จำนวน 14,934 และ 13,240 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารกรุงไทย และ กสิกรไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 10,552 และ 9,076 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 2,946 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.22 นำโดยธนาคารนครหลวงไทย และกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อลดลงจำนวน 4,838 และ 64 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต และทหารไทย มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,828 และ 127 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 6,850 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.32 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ซีไอเอ็มบีไทย ยูโอบี และ ทิสโก้ จำนวน 3,783 1,552 1,411 และ 944 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารสินเอเซีย และ เกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จำนวน 582 และ 259 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนกรกฎาคม 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,296,669 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 116,123 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.81 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ออมมีการโยกเงินออกจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล หุ้นกู้ของภาคเอกชน และกองทุนรวมต่างๆ ที่มีการเสนอขายออกมาเป็นจำนวนมากในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม เงินฝากในเดือนกรกฎาคมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.06 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลง 47,760 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.09 ตามการลดลงของเงินฝากธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ จำนวน 24,777 22,161 และ 12,288 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารกรุงไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 11,466 ล้านบาท
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า 35,676 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.40 จากการลดลงของเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทหารไทย และ นครหลวงไทย จำนวน 23,114 14,778 และ 2,451 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารธนชาต มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 4,666 ล้านบาท
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้วจำนวน 32,687 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 5.96 จากการลดลงของเงินฝากทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ที่เงินฝากลดลง 13,559 และ 8,000 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมาด้วยธนาคารสินเอเซีย ยูโอบี ทิสโก้ และ เกียรตินาคิน มีเงินฝากลดลงจำนวน 4,080 3,143 2,930 และ 974 ล้านบาท ตามลำดับ