ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานสินเชื่อแบงก์ครึ่งปีแรกหดตัว 1.6 แสนล้าน หรือ 2.84% โดย "KTB-TISCO-KK"มียอดสินเชื่อเพิ่ม ขณะที่ "TMB-UOB-CIMBT"หดตัวมากสุด แต่หากเทียบระหว่างเดือนมิ.ย.52กับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วสินเชื่อเพิ่ม 1.61% และลดลงเล็กน้อย 0.02%เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 มีจำนวน 5,650,185 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,405 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.02 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.61 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 8,439 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ตามการเพิ่มของสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ จำนวน 12,542 และ 5,948 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ และกรุงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,642 และ 409 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 8,383 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.61 นำโดยธนาคารทหารไทย และนครหลวงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,712 และ 1,099 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต และกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,945 และ 483 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,461 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.28 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ยูโอบี และซีไอเอ็มบีไทย จำนวน 2,382 1,895 และ 703 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารสินเอเซีย เกียรตินาคิน และทิสโก้ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 2,269 635 และ 614 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากเทียบช่วง 6 เดือนแรกของปีสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 165,090.54 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.84 โดยมีธนาคารพาณิชย์เพียง 3 แห่งที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 ธนาคารทิสโก้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และธนาคารเกียรตินาคินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 ขณะที่ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อลดลงมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ ธนาคารทหารไทยลดลงร้อยละ 12.74 ธนาคารยูโอบีลดลงร้อยละ 12.21 และธนาคารซีไอเอ็มบีไทยร้อยละ 9.61
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนมิถุนายน 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,412,793 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 75,060 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.16 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.48 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,567 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 จากการเพิ่มของเงินฝากที่ธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย จำนวน 18,317 และ 13,173 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ มีเงินฝากลดลงจำนวน 20,417 และ 9,506 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า 44,910 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.94 โดยเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารธนชาต และทหารไทย จำนวน 22,101 และ 11,907 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และนครหลวงไทย มีเงินฝากลดลงใกล้เคียงกันจำนวน 5,750 และ 5,152 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้วจำนวน 31,718 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 5.47 จากการลดลงของเงินฝากแทบทั้งกลุ่ม ยกเว้นธนาคารเกียรตินาคิน ที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 2,651 ล้านบาท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 มีจำนวน 5,650,185 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,405 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.02 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.61 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 8,439 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ตามการเพิ่มของสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ จำนวน 12,542 และ 5,948 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ และกรุงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,642 และ 409 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 8,383 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.61 นำโดยธนาคารทหารไทย และนครหลวงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,712 และ 1,099 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต และกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,945 และ 483 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,461 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.28 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ยูโอบี และซีไอเอ็มบีไทย จำนวน 2,382 1,895 และ 703 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารสินเอเซีย เกียรตินาคิน และทิสโก้ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 2,269 635 และ 614 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากเทียบช่วง 6 เดือนแรกของปีสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 165,090.54 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.84 โดยมีธนาคารพาณิชย์เพียง 3 แห่งที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 ธนาคารทิสโก้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และธนาคารเกียรตินาคินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 ขณะที่ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อลดลงมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ ธนาคารทหารไทยลดลงร้อยละ 12.74 ธนาคารยูโอบีลดลงร้อยละ 12.21 และธนาคารซีไอเอ็มบีไทยร้อยละ 9.61
ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนมิถุนายน 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,412,793 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 75,060 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.16 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.48 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,567 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 จากการเพิ่มของเงินฝากที่ธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย จำนวน 18,317 และ 13,173 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ มีเงินฝากลดลงจำนวน 20,417 และ 9,506 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า 44,910 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.94 โดยเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารธนชาต และทหารไทย จำนวน 22,101 และ 11,907 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และนครหลวงไทย มีเงินฝากลดลงใกล้เคียงกันจำนวน 5,750 และ 5,152 ล้านบาท ตามลำดับ
และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้วจำนวน 31,718 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 5.47 จากการลดลงของเงินฝากแทบทั้งกลุ่ม ยกเว้นธนาคารเกียรตินาคิน ที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 2,651 ล้านบาท