ASTVผู้จัดการรายวัน- “กฟผ.”ปรับแผนผลิตไฟเร่งใช้น้ำมันเตาเดินเครื่องที่โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กระบี่ บางปะกง และราชบุรีหลังปตท.แจ้งจ่ายก๊าซฯแหล่งบงกชยาวไปถึง 19 ต.ค. ควักจ่ายเพิ่มอีก 700 ล้านบาทดันค่าไฟขยับ 2 สตางค์ต่อหน่วย
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลล่าสุดกรณี บมจ.ปตท.ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชปริมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันแก่ กฟผ. เนื่องจากซ่อมแซมท่อส่งก๊าซฯ อย่างฉุกเฉินนั้น ล่าสุดได้รับแจ้งว่าจะเริ่มจัดส่งก๊าซประมาณวันที่ 19 ตุลาคมนี้ หลังจากหยุดส่งเมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาทำให้กฟผ.ต้องปรับแผนการผลิตไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉิน โดยหันไปเดินเครื่องน้ำมันเตาแทน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กระบี่ บางปะกง และราชบุรี คาดว่าจะใช้น้ำมันเตาทดแทนประมาณ 82 ล้านลิตรหรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท
“ เดิมปตท.เองคิดว่าจะซ่อมเสร็จภายในวันเดียวแต่ปรากฏว่ามีปัญหาการซ่อมต้องใช้เวลาออกไปอีกทำให้กฟผ.จะสามารถรับก๊าซเต็มที่ตามปกติเพื่อเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้วันที่ 21 ต.ค. ระหว่างนี้จึงขอความร่วมมือจากประชาชนและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด เพื่อลดการใช้น้ำเตาผลิตไฟฟ้า เพราะต้นทุนสูงกว่าการใช้ก๊าซฯ”นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ปตท.หยุดจ่ายก๊าซฯเนื่องจากพบว่าท่อส่งก๊าซมีปัญหาต้องหยุดซ่อม โดยช่วงแรกแจ้งว่าจะหยุดซ่อมเพียงวันเดียว คือ วันที่ 10 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 06.00 -18.00 น. ภายหลังพบว่ามีปัญหาต้องใช้เวลานานถึงวันที่ 19 ต.ค. ซึ่งปริมาณน้ำมันเตาที่เพิ่มขึ้นทดแทนก๊าซนี้ ทำให้ กฟผ.มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 700 ล้านบาท หรือเท่ากับจะมีผลต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า 2 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งทาง กฟผ.แจ้งต่อกระทรวงพลังงานให้รับทราบแล้ว ส่วนจะนำมารวมอยู่ในค่าไฟฟ้างวดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) จะพิจารณา ซึ่งการจัดส่งก๊าซฯโดย ปตท.มีปัญหาตั้งแต่เดือน ส.ค.ทั้งก๊าซอ่าวไทยและก๊าซพม่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนั้นมีประมาณ 370 ล้านบาท ครั้งนี้อีก 700 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงถึงกรณีที่ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมากเกินไปมีสัดส่วนถึง 70 %โดยตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้ระยะยาว หรือพีดีพี ฉบับใหม่ มีการเสนอการกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจาก 70% เหลือ 54% ซึ่ง กฟผ.กำลังพิจารณาจะเสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าลำตะคองแบบสูบกลับเครื่องใหม่อีก 2 เครื่องกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมี 2 เครื่อง กำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ โดยหากก่อสร้างจะใช้วงเงินประมาณ 8,000 ล้านบาท จะมีข้อดีคือจะรองรับปัญหากรณีโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติหยุดฉุกเฉิน สามารถเดินโรงนี้ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาเรื่องความคุ้มค่าเพราะโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับจะเดินเครื่องได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลล่าสุดกรณี บมจ.ปตท.ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชปริมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันแก่ กฟผ. เนื่องจากซ่อมแซมท่อส่งก๊าซฯ อย่างฉุกเฉินนั้น ล่าสุดได้รับแจ้งว่าจะเริ่มจัดส่งก๊าซประมาณวันที่ 19 ตุลาคมนี้ หลังจากหยุดส่งเมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาทำให้กฟผ.ต้องปรับแผนการผลิตไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉิน โดยหันไปเดินเครื่องน้ำมันเตาแทน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กระบี่ บางปะกง และราชบุรี คาดว่าจะใช้น้ำมันเตาทดแทนประมาณ 82 ล้านลิตรหรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท
“ เดิมปตท.เองคิดว่าจะซ่อมเสร็จภายในวันเดียวแต่ปรากฏว่ามีปัญหาการซ่อมต้องใช้เวลาออกไปอีกทำให้กฟผ.จะสามารถรับก๊าซเต็มที่ตามปกติเพื่อเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้วันที่ 21 ต.ค. ระหว่างนี้จึงขอความร่วมมือจากประชาชนและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด เพื่อลดการใช้น้ำเตาผลิตไฟฟ้า เพราะต้นทุนสูงกว่าการใช้ก๊าซฯ”นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ปตท.หยุดจ่ายก๊าซฯเนื่องจากพบว่าท่อส่งก๊าซมีปัญหาต้องหยุดซ่อม โดยช่วงแรกแจ้งว่าจะหยุดซ่อมเพียงวันเดียว คือ วันที่ 10 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 06.00 -18.00 น. ภายหลังพบว่ามีปัญหาต้องใช้เวลานานถึงวันที่ 19 ต.ค. ซึ่งปริมาณน้ำมันเตาที่เพิ่มขึ้นทดแทนก๊าซนี้ ทำให้ กฟผ.มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 700 ล้านบาท หรือเท่ากับจะมีผลต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า 2 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งทาง กฟผ.แจ้งต่อกระทรวงพลังงานให้รับทราบแล้ว ส่วนจะนำมารวมอยู่ในค่าไฟฟ้างวดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) จะพิจารณา ซึ่งการจัดส่งก๊าซฯโดย ปตท.มีปัญหาตั้งแต่เดือน ส.ค.ทั้งก๊าซอ่าวไทยและก๊าซพม่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนั้นมีประมาณ 370 ล้านบาท ครั้งนี้อีก 700 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงถึงกรณีที่ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมากเกินไปมีสัดส่วนถึง 70 %โดยตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้ระยะยาว หรือพีดีพี ฉบับใหม่ มีการเสนอการกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจาก 70% เหลือ 54% ซึ่ง กฟผ.กำลังพิจารณาจะเสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าลำตะคองแบบสูบกลับเครื่องใหม่อีก 2 เครื่องกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมี 2 เครื่อง กำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ โดยหากก่อสร้างจะใช้วงเงินประมาณ 8,000 ล้านบาท จะมีข้อดีคือจะรองรับปัญหากรณีโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติหยุดฉุกเฉิน สามารถเดินโรงนี้ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาเรื่องความคุ้มค่าเพราะโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับจะเดินเครื่องได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน