ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์กรุงศรีฯพักซื้อพอร์ต รอขั้นตอนควบรวมกิจการจีอี แคปปิตอลเสร็จภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ระบุจะช่วยดันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยเพิ่มเป็น 42% จากเดิมที่อยู่ในระดับ 36% พร้อมรุกธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ ตั้งเป้าปีนี้โต 50%
นางเยาวลักษณ์ พูลทอง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า การเข้าไปซื้อธุรกิจรายย่อยของธนาคารในระยะเวลาที่เหลือของปี 2552 นี้คงจะยังไม่เห็น เนื่องจากในตอนนี้ธนาคารอยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการกับจีอี แคปปิตอล กรุ๊ปอยู่ ซึ่งเชื่อว่าภายในไตรมาส 4 ของปีนี้จะแล้วเสร็จ
“ปีนี้คงยังไม่ซื้อพอร์ตสินเชื่อเพิ่ม แต่ในปีหน้าถ้ามีโอกาสเข้าไปซื้อก็จะทำ ซึ่งเราบอกไม่ได้ว่าจะซื้อใคร เมื่อไหร่ ราคาจะเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้เลย มันขึ้นอยู่กับโอกาส ถ้ามีคนขายแล้วเราเล็งเห็นว่าถ้าซื้อเข้ามาแล้วจะส่งผลดีต่อธนาคารเราก็จะทำ สำหรับฐานสินเชื่อรายย่อยของธนาคารปัจจุบันอยู่ที่ 36% ซึ่งถ้ารวมซื้อจีอีแล้วจะส่งผลให้สัดส่วนรายย่อยขึ้นไปเป็น 42% หรือ 2.3 แสนล้านบาท”นางเยาวลักษณ์ กล่าว
ด้านนายกฤษณ์ จันทโนทก ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายประกันภัยธนพัทธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลประกอบการด้านการขายประกันผ่านสาขาธนาคาร(แบงก์แอสชัวรันส์) ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีเบี้ยรวม 3.5 พันล้านบาท จากเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้ว่าสิ้นปีจะมีเบี้ยรวม 4 พันล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 50% ซึ่งคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะไตรมาส 4 จะเป็นช่วงที่ยอดขายประกันจะสูงอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะทำได้ประมาณ 500 ล้านบาท จากปี 2551 ที่ผ่านมาธนาคารมีเบี้ยรวม 3 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) แบงก์แอสชัวรันส์ในอันดับ 5 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งธนาคารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้สนใจอันดับมาร์เก็ตแชร์ เพียงแต่มุ่งเน้นการสร้างขนาดสินทรัพย์ของธนาคารว่าควรอยู่ในระดับเดียวกับตัวเลขอันดับแบงก์แอสชัวรันส์ของตลาดโดยรวม
สำหรับสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่าน 580 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็น 95% อีก 3% เป็นการขายผ่านโทรศัพท์ (เทเลมาร์เก็ตติ้ง) ที่เหลือเป็นช่องทางอื่นๆ จากจำนวนบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรขายผ่านสาขามี 3 ราย คือ เอเอซีพี ศรีอยุธยาประกันภัย และเอไอเอ โดยแบบประกันชีวิตมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 70-75% ของเบี้ยรับรวม ที่เหลือเป็นประกันวินาศภัย
ส่วนแนวโน้มภาพรวมตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ทั้งระบบในปี 2553 คาดว่าจะเติบโตรวมประมาณ 10-15% ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาตั้งเป้าหมายเติบโต 40-50% หรือมีเบี้ยรับรวมที่ 5.5 พันล้านบาท สูงกว่าทั้งระบบ โดยธนาคารจะเน้นนโยบายด้านบริการในแต่ละผลิตภัณฑ์มากกว่าลงไปแข่งขันทางด้านราคา เพราะการแข่งด้านราคาเบี้ยประกันจะทำให้ไม่มีคุณภาพ
ล่าสุดธนาคารกรุงศรีอยุธยาขายประกันภัยในกลุ่ม “พร้อม” 3 แบบ คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลคือกรุงศรีพีเอพร้อม ประกันภัยรถยนต์คือกรุงศรีออโต้พร้อม 3+ และประกันมะเร็งที่เป็นกรุงศรีแคนเซอร์พร้อม ซึ่งในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ ประกันอุบัติเหตุและประกันภัยรถยนต์สามารถทำเบี้ยรวมกัน 72 ล้านบาท แยกเป็น ประกันอุบัติเหตุ 45 ล้านบาทขายได้ 1.5 แสนกล่อง และประกันรถยนต์ 27 ล้านบาทขายได้ 5 พันกล่อง ส่วนประกันมะเร็งที่เป็นกรุงศรีแคนเซอร์พร้อมตั้งเป้าหมายว่าสิ้นปีนี้จะสามารถขายได้ทั้งสิ้น 1 หมื่นกล่อง จากเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ว่าทั้งปีนี้จะสามารถขายผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 แบบผ่านสาขาธนาคารไว้ที่ 2 แสนกล่อง
นางเยาวลักษณ์ พูลทอง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า การเข้าไปซื้อธุรกิจรายย่อยของธนาคารในระยะเวลาที่เหลือของปี 2552 นี้คงจะยังไม่เห็น เนื่องจากในตอนนี้ธนาคารอยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการกับจีอี แคปปิตอล กรุ๊ปอยู่ ซึ่งเชื่อว่าภายในไตรมาส 4 ของปีนี้จะแล้วเสร็จ
“ปีนี้คงยังไม่ซื้อพอร์ตสินเชื่อเพิ่ม แต่ในปีหน้าถ้ามีโอกาสเข้าไปซื้อก็จะทำ ซึ่งเราบอกไม่ได้ว่าจะซื้อใคร เมื่อไหร่ ราคาจะเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้เลย มันขึ้นอยู่กับโอกาส ถ้ามีคนขายแล้วเราเล็งเห็นว่าถ้าซื้อเข้ามาแล้วจะส่งผลดีต่อธนาคารเราก็จะทำ สำหรับฐานสินเชื่อรายย่อยของธนาคารปัจจุบันอยู่ที่ 36% ซึ่งถ้ารวมซื้อจีอีแล้วจะส่งผลให้สัดส่วนรายย่อยขึ้นไปเป็น 42% หรือ 2.3 แสนล้านบาท”นางเยาวลักษณ์ กล่าว
ด้านนายกฤษณ์ จันทโนทก ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายประกันภัยธนพัทธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลประกอบการด้านการขายประกันผ่านสาขาธนาคาร(แบงก์แอสชัวรันส์) ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีเบี้ยรวม 3.5 พันล้านบาท จากเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้ว่าสิ้นปีจะมีเบี้ยรวม 4 พันล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 50% ซึ่งคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะไตรมาส 4 จะเป็นช่วงที่ยอดขายประกันจะสูงอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะทำได้ประมาณ 500 ล้านบาท จากปี 2551 ที่ผ่านมาธนาคารมีเบี้ยรวม 3 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) แบงก์แอสชัวรันส์ในอันดับ 5 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งธนาคารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้สนใจอันดับมาร์เก็ตแชร์ เพียงแต่มุ่งเน้นการสร้างขนาดสินทรัพย์ของธนาคารว่าควรอยู่ในระดับเดียวกับตัวเลขอันดับแบงก์แอสชัวรันส์ของตลาดโดยรวม
สำหรับสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่าน 580 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็น 95% อีก 3% เป็นการขายผ่านโทรศัพท์ (เทเลมาร์เก็ตติ้ง) ที่เหลือเป็นช่องทางอื่นๆ จากจำนวนบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรขายผ่านสาขามี 3 ราย คือ เอเอซีพี ศรีอยุธยาประกันภัย และเอไอเอ โดยแบบประกันชีวิตมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 70-75% ของเบี้ยรับรวม ที่เหลือเป็นประกันวินาศภัย
ส่วนแนวโน้มภาพรวมตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ทั้งระบบในปี 2553 คาดว่าจะเติบโตรวมประมาณ 10-15% ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาตั้งเป้าหมายเติบโต 40-50% หรือมีเบี้ยรับรวมที่ 5.5 พันล้านบาท สูงกว่าทั้งระบบ โดยธนาคารจะเน้นนโยบายด้านบริการในแต่ละผลิตภัณฑ์มากกว่าลงไปแข่งขันทางด้านราคา เพราะการแข่งด้านราคาเบี้ยประกันจะทำให้ไม่มีคุณภาพ
ล่าสุดธนาคารกรุงศรีอยุธยาขายประกันภัยในกลุ่ม “พร้อม” 3 แบบ คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลคือกรุงศรีพีเอพร้อม ประกันภัยรถยนต์คือกรุงศรีออโต้พร้อม 3+ และประกันมะเร็งที่เป็นกรุงศรีแคนเซอร์พร้อม ซึ่งในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ ประกันอุบัติเหตุและประกันภัยรถยนต์สามารถทำเบี้ยรวมกัน 72 ล้านบาท แยกเป็น ประกันอุบัติเหตุ 45 ล้านบาทขายได้ 1.5 แสนกล่อง และประกันรถยนต์ 27 ล้านบาทขายได้ 5 พันกล่อง ส่วนประกันมะเร็งที่เป็นกรุงศรีแคนเซอร์พร้อมตั้งเป้าหมายว่าสิ้นปีนี้จะสามารถขายได้ทั้งสิ้น 1 หมื่นกล่อง จากเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ว่าทั้งปีนี้จะสามารถขายผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 แบบผ่านสาขาธนาคารไว้ที่ 2 แสนกล่อง