ASTVผู้จัดการรายวัน –จี้รัฐบาล “มาร์ค”เพิกถอนมติอัปยศ “28 ต.ค.51” ซึ่งเสี่ยงเป็นข้อผูกมัดว่าไทยรับแผนที่ 1:200,000 ของกัมพูชาที่จะส่งผลให้เสียดินแดนมหาศาล ทนายฯ ชี้มติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีผลแบ่งแยกราชอาณาจักรชัดเจน หาก ส.ส.นำเข้าประชุมวาระต่อไป เท่ากับปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วย ด้านส.ว.ระบุ ไทยเสียค่าโง่ครั้งที่ 2 ให้เขมรตั้งแต่หลงลงนามเอ็มโอยู ปี 43 เสนอตั้ง คกก.อิสระ ระดมสมองทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหา พร้อมยกระดับ คกก.ชายแดน เป็นปัญหาระดับชาติ เพิ่มประสิทธิภาพกรมสนธิสัญญา ก่อนสายเกินแก้ ด้าน“ปราโมทย์” เชื่อยังพอมีทางแก้ไข แนะยึดหลักก.ม.ระหว่างปท. อัดผู้นำปท.-ทหาร เขลา จนทำไทยเสียอธิปไตย
จากที่ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เปิดเผยหลักฐานต่อ “ASTVผู้จัดการรายวัน”ถึงเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมร่วมสมัยสามัญนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ในสมัยที่นายสมพงศ์ อมรวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ เป็นเอกสาร
“กรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาตลอดแนว ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและกลไกอื่นๆ”
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดยสอดแทรกแผนที่ฉบับ 1:200,000 ของกัมพูชาเป็นเอกสารในการประชุม ซึ่งได้มีมติเห็นชอบกรอบการเจรจาฯ ด้วยคะแนนเสียง 409 เสียงต่อ 7 เสียง ซึ่ง ม.ล.วัลย์วิภา ระบุว่ากัมพูชาอาจใช้เป็นข้ออ้างว่า ประเทศไทยยอมรับแผนที่ฉบับ1:200,000 และนำมาสู่การเสียดินแดนจำนวนมหาศาล
**10 โมงยื่น นส.นายกฯถอนมติอัปยศ
วานนี้(11 ต.ค.)ม.ล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า มติที่ผ่านจากที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ถือว่าเป็นการทำเกินอำนาจอธิปไตยของประชาชน เพราะอาจเป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับกัมพูชา ดังนั้น ในเวลา 10.00 น.วันนี้(12 ต.ค.)ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จากนั้นจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ยกเลิกเพิกถอนมติดังกล่าว เพื่อไม่ให้เข้าสู่การพิจารณาในกระบวนการต่อไป
“ขอย้ำอีกทีว่าประเทศไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับนี้ เพราะเรายึดหลักสันปันน้ำ เป็นหลักเขตแดนของประเทศไทย การใช้แผนที่ 1:200,000 เป็นเอกสารกรอบการเจรจาฯ จะทำให้เราสุ่มเสี่ยงต่อการต้องเสียดินแดน เป็นลักษณะเดียวกับที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.ชี้มูลว่าการทำเอกสารความร่วมมือ หรือ Joint Communique ที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะอาจทำให้ไทยเสียดินแดนนั่นเอง”
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ขอเรียกร้องรัฐบาลว่าอย่ากีดกันการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย ส่วนผู้ที่โจมตีว่าการเคลื่อนไหวเรื่องเขาพระวิหารเป็นเรื่องชาตินิยมนั้น สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังมีปัญหาเรื่องการจัดการความรู้ จึงเกิดความสับสนวุ่นวาย และประณามกัน ซึ่งผู้มีอำนาจควรลุกขึ้นมาพูดความจริง เพราะสิ่งที่ออกมาพูดในวันนี้ล้วนเป็นข้อมูลใหม่ที่อาจทำให้ประเทศไทยต้องเสียอธิปไตยเพิ่มเติม ไม่ใช่เรื่องการเรียกร้องปราสาทเขาพระวิหารคืน
**ส.ส.เสี่ยงปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ
ด้าน นายวีรา ชัยฤทธิ์ไชย ทนายความ ซึ่งจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกฯ พร้อม ม.ล.วัลย์วิภาด้วยนั้น กล่าวว่า มติที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ถือเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 เนื่องจากมีผลต่อการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้มติดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจำนวนมาก แต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเลย ทั้งที่ควรมีการจัดทำร่างมติให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกันก่อน
“เมื่อมติที่ประชุมสภาฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การผลักดันให้มติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้าสู่การประชุมวาระต่อไป ก็ต้องถือว่าสมาชิกสภาฯ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วย ดังนั้น จึงควรเพิกถอนมติดังกล่าวเสีย” นาวีรากล่าว
**ส.ว.ระบุเหตมาจากMOUยุคชวน
ขณะเดียวกัน วานนี้ (11 ต.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการ ได้ร่วมสนทนาในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน โดยมี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีการกล่าวรัฐบาลไทยยอมรับแผนที่ 1:200,000 เรียบร้อยแล้ว อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2551 ในขณะนั้นมีการประชุมร่วมสมัยสามัญนิติบัญญัติของ ส.ส.และส.ว. เกี่ยวกับกรอบการเจรจาปักปันเขตแดน ก่อนที่รัฐบาลจะนำข้อตกลงไทย-กัมพูชา เข้าสู่สภาในวันที่ 14 ต.ค.นี้
นายคำนูณกล่าวว่า คำพิพากษาศาลโลกที่ทำให้ไทยเสียปราสาทเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 มี2 ฉบับ คือสนธิสัญญา คศ.1904 และ 1907 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้น โดยแผนที่ของฝรั่งเศสแอนเน็กซ์วัน เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ 1: 200,000 ซึ่งเป็นการกำหนดเขตแดนเขาพระวิหาร ยึดสันปันน้ำตลอดแนวชายแดน โดยแผนที่ทั้งหมดมี 11 แผ่น แต่ในขณะนั้นไทยมีความรู้เรื่องแผนที่น้อยจึงเป็นจุดอ่อน ข้อบกพร่องของไทย ที่ไม่เคยเห็นปัญหาและไม่เคยทักท้วง ก่อนขึ้นศาลโลกเมื่อปี 2505 จนศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นความเจ็บปวดของคนไทยทั้งชาติมาถึงทุกวันนี้
นายคำนูณกล่าวต่อว่า จากนั้นมาจึงเริ่มมีการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2542 ในสมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โดยการเจรจามีการบรรลุข้อตกลง ที่เรียกว่า บักทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ว่าด้วยการสำรวจจัดทำเขตแดนทางบกหรือMou ปี2000 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา หรือ JBC เพื่อพิสูจน์ซากเขตแดน ซึ่งทั้งหมด 73 หลัก ไม่รวมปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อเหตุการณ์ตรึงเครียดมากขึ้นเมื่อปี 2550-2551 จึงมีการเสนอกรอบการเจรจาขึ้นมา 2 กรอบ โดยหนึ่งในกรอบนั้นมีแผนแม่บทหรือTOR ปี 2546 ซึ่งเป็นยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จนมาถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเรื่อยมาถึงรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช
“ผมคิดว่าทั้งหมดทั้งปวงต้นเหตุปัญหามาตั้งแต่ Mou ปี 2543 ยุคของนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาล ที่ไปลงนาม Mou เรื่องนี้ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ข้อมูล Mou ปี 43 คือแผนที่ 1: 200,000 รวมแผนที่แอนเน็กซ์วัน และรวมถึงแผนที่ปี 2505 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจง เป็นมติ ครม.ปี 43 ยอมรับการใช้แผนที่ดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเป็นที่มาของกฎหมายปิดปากครั้งที่ 2 หรือเสียค่าโง่ครั้งที่ 2” นายคำนูณกล่าว
**เสนอตั้งคณะกรรมการอิสระ
ส.ว.สรรหากล่าวต่อว่า 28 ต.ค.51 รัฐสภาได้มีการประชุมและได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการประชุมลับและมีการลงมติเห็นด้วย 409 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง งดออกเสียง 1 ส่วนกรอบที่ 2 คือ แผนที่ 1: 200,000 มีมติเห็นด้วย 406 เสียง ไม่เห็นด้วย 8 และงดออกเสียง 2 เสียง ทั้งนี้ เสียงที่เห็นด้วย คือ รัฐบาลประชาธิปัตย์และนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาอนุมัติคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา ได้มีการประชุม 3 ครั้ง พร้อมกับแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวมาด้วย ซึ่งไม่ใช่ร่างจริง จึงมีเสียงคัดค้านกันมากรวมทั้งตน เกรงว่าจะไปตกลงตามนี้ จึงมีการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการของสภาพิจารณา ยังไม่มีการลงมติในข้อตกลงนี้ แต่ขณะนี้ไปไกลกว่าข้อตกลงดังกล่าวที่ทำให้ไทยเสียดินแดนโดยไม่ชอบ
ดังนั้น ตนคิดว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา โดยนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือกันเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงยกระดับคณะกรรมการชายแดนขึ้นมาเป็นปัญหาระดับชาติ ให้พ้นมือกระทรวงการต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพกรมสนธิสัญญา ยกระดับงานพระวิหารเป็นโต๊ะเจรจาขึ้นมา เพราะเรื่องนี้ตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาใหญ่มากในอนาคต ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็เชื่อว่ากัมพูชาจะต้องนำประเด็นเขตแดนพระวิหารเข้าสู่การเจรจาระดับพหุพาคี ของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งอาจจนำกลับขึ้นไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข
ด้าน นายปราโมทย์กล่าวว่า ตนคิดว่ายังมีทางแก้ไข โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้รัฐสภาจะทำตามลำพังไม่ได้ ต้องให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ขณะเดียวกัน ตนก็มีความเป็นห่วงข้อเสนอของ ส.ว.คำนูณ โดยเกรงว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็จะไหม้ เพราะไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำตามที่เสนอหรือไม่ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความเขลาของผู้นำและกลไกรัฐ รวมถึงผู้นำทางทหาร ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนนักธุรกิจการค้าที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ซึ่งเป็นการทำลายอธิปไตยของไทย
จากที่ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เปิดเผยหลักฐานต่อ “ASTVผู้จัดการรายวัน”ถึงเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมร่วมสมัยสามัญนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ในสมัยที่นายสมพงศ์ อมรวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ เป็นเอกสาร
“กรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาตลอดแนว ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและกลไกอื่นๆ”
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดยสอดแทรกแผนที่ฉบับ 1:200,000 ของกัมพูชาเป็นเอกสารในการประชุม ซึ่งได้มีมติเห็นชอบกรอบการเจรจาฯ ด้วยคะแนนเสียง 409 เสียงต่อ 7 เสียง ซึ่ง ม.ล.วัลย์วิภา ระบุว่ากัมพูชาอาจใช้เป็นข้ออ้างว่า ประเทศไทยยอมรับแผนที่ฉบับ1:200,000 และนำมาสู่การเสียดินแดนจำนวนมหาศาล
**10 โมงยื่น นส.นายกฯถอนมติอัปยศ
วานนี้(11 ต.ค.)ม.ล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า มติที่ผ่านจากที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ถือว่าเป็นการทำเกินอำนาจอธิปไตยของประชาชน เพราะอาจเป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับกัมพูชา ดังนั้น ในเวลา 10.00 น.วันนี้(12 ต.ค.)ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จากนั้นจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ยกเลิกเพิกถอนมติดังกล่าว เพื่อไม่ให้เข้าสู่การพิจารณาในกระบวนการต่อไป
“ขอย้ำอีกทีว่าประเทศไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับนี้ เพราะเรายึดหลักสันปันน้ำ เป็นหลักเขตแดนของประเทศไทย การใช้แผนที่ 1:200,000 เป็นเอกสารกรอบการเจรจาฯ จะทำให้เราสุ่มเสี่ยงต่อการต้องเสียดินแดน เป็นลักษณะเดียวกับที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.ชี้มูลว่าการทำเอกสารความร่วมมือ หรือ Joint Communique ที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะอาจทำให้ไทยเสียดินแดนนั่นเอง”
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ขอเรียกร้องรัฐบาลว่าอย่ากีดกันการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย ส่วนผู้ที่โจมตีว่าการเคลื่อนไหวเรื่องเขาพระวิหารเป็นเรื่องชาตินิยมนั้น สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังมีปัญหาเรื่องการจัดการความรู้ จึงเกิดความสับสนวุ่นวาย และประณามกัน ซึ่งผู้มีอำนาจควรลุกขึ้นมาพูดความจริง เพราะสิ่งที่ออกมาพูดในวันนี้ล้วนเป็นข้อมูลใหม่ที่อาจทำให้ประเทศไทยต้องเสียอธิปไตยเพิ่มเติม ไม่ใช่เรื่องการเรียกร้องปราสาทเขาพระวิหารคืน
**ส.ส.เสี่ยงปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ
ด้าน นายวีรา ชัยฤทธิ์ไชย ทนายความ ซึ่งจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกฯ พร้อม ม.ล.วัลย์วิภาด้วยนั้น กล่าวว่า มติที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ถือเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 เนื่องจากมีผลต่อการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้มติดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจำนวนมาก แต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเลย ทั้งที่ควรมีการจัดทำร่างมติให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกันก่อน
“เมื่อมติที่ประชุมสภาฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การผลักดันให้มติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้าสู่การประชุมวาระต่อไป ก็ต้องถือว่าสมาชิกสภาฯ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วย ดังนั้น จึงควรเพิกถอนมติดังกล่าวเสีย” นาวีรากล่าว
**ส.ว.ระบุเหตมาจากMOUยุคชวน
ขณะเดียวกัน วานนี้ (11 ต.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการ ได้ร่วมสนทนาในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน โดยมี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีการกล่าวรัฐบาลไทยยอมรับแผนที่ 1:200,000 เรียบร้อยแล้ว อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2551 ในขณะนั้นมีการประชุมร่วมสมัยสามัญนิติบัญญัติของ ส.ส.และส.ว. เกี่ยวกับกรอบการเจรจาปักปันเขตแดน ก่อนที่รัฐบาลจะนำข้อตกลงไทย-กัมพูชา เข้าสู่สภาในวันที่ 14 ต.ค.นี้
นายคำนูณกล่าวว่า คำพิพากษาศาลโลกที่ทำให้ไทยเสียปราสาทเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 มี2 ฉบับ คือสนธิสัญญา คศ.1904 และ 1907 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้น โดยแผนที่ของฝรั่งเศสแอนเน็กซ์วัน เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ 1: 200,000 ซึ่งเป็นการกำหนดเขตแดนเขาพระวิหาร ยึดสันปันน้ำตลอดแนวชายแดน โดยแผนที่ทั้งหมดมี 11 แผ่น แต่ในขณะนั้นไทยมีความรู้เรื่องแผนที่น้อยจึงเป็นจุดอ่อน ข้อบกพร่องของไทย ที่ไม่เคยเห็นปัญหาและไม่เคยทักท้วง ก่อนขึ้นศาลโลกเมื่อปี 2505 จนศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นความเจ็บปวดของคนไทยทั้งชาติมาถึงทุกวันนี้
นายคำนูณกล่าวต่อว่า จากนั้นมาจึงเริ่มมีการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2542 ในสมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โดยการเจรจามีการบรรลุข้อตกลง ที่เรียกว่า บักทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ว่าด้วยการสำรวจจัดทำเขตแดนทางบกหรือMou ปี2000 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา หรือ JBC เพื่อพิสูจน์ซากเขตแดน ซึ่งทั้งหมด 73 หลัก ไม่รวมปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อเหตุการณ์ตรึงเครียดมากขึ้นเมื่อปี 2550-2551 จึงมีการเสนอกรอบการเจรจาขึ้นมา 2 กรอบ โดยหนึ่งในกรอบนั้นมีแผนแม่บทหรือTOR ปี 2546 ซึ่งเป็นยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จนมาถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเรื่อยมาถึงรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช
“ผมคิดว่าทั้งหมดทั้งปวงต้นเหตุปัญหามาตั้งแต่ Mou ปี 2543 ยุคของนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาล ที่ไปลงนาม Mou เรื่องนี้ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ข้อมูล Mou ปี 43 คือแผนที่ 1: 200,000 รวมแผนที่แอนเน็กซ์วัน และรวมถึงแผนที่ปี 2505 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจง เป็นมติ ครม.ปี 43 ยอมรับการใช้แผนที่ดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเป็นที่มาของกฎหมายปิดปากครั้งที่ 2 หรือเสียค่าโง่ครั้งที่ 2” นายคำนูณกล่าว
**เสนอตั้งคณะกรรมการอิสระ
ส.ว.สรรหากล่าวต่อว่า 28 ต.ค.51 รัฐสภาได้มีการประชุมและได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการประชุมลับและมีการลงมติเห็นด้วย 409 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง งดออกเสียง 1 ส่วนกรอบที่ 2 คือ แผนที่ 1: 200,000 มีมติเห็นด้วย 406 เสียง ไม่เห็นด้วย 8 และงดออกเสียง 2 เสียง ทั้งนี้ เสียงที่เห็นด้วย คือ รัฐบาลประชาธิปัตย์และนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาอนุมัติคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา ได้มีการประชุม 3 ครั้ง พร้อมกับแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวมาด้วย ซึ่งไม่ใช่ร่างจริง จึงมีเสียงคัดค้านกันมากรวมทั้งตน เกรงว่าจะไปตกลงตามนี้ จึงมีการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการของสภาพิจารณา ยังไม่มีการลงมติในข้อตกลงนี้ แต่ขณะนี้ไปไกลกว่าข้อตกลงดังกล่าวที่ทำให้ไทยเสียดินแดนโดยไม่ชอบ
ดังนั้น ตนคิดว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา โดยนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือกันเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงยกระดับคณะกรรมการชายแดนขึ้นมาเป็นปัญหาระดับชาติ ให้พ้นมือกระทรวงการต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพกรมสนธิสัญญา ยกระดับงานพระวิหารเป็นโต๊ะเจรจาขึ้นมา เพราะเรื่องนี้ตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาใหญ่มากในอนาคต ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็เชื่อว่ากัมพูชาจะต้องนำประเด็นเขตแดนพระวิหารเข้าสู่การเจรจาระดับพหุพาคี ของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งอาจจนำกลับขึ้นไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข
ด้าน นายปราโมทย์กล่าวว่า ตนคิดว่ายังมีทางแก้ไข โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้รัฐสภาจะทำตามลำพังไม่ได้ ต้องให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ขณะเดียวกัน ตนก็มีความเป็นห่วงข้อเสนอของ ส.ว.คำนูณ โดยเกรงว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็จะไหม้ เพราะไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำตามที่เสนอหรือไม่ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความเขลาของผู้นำและกลไกรัฐ รวมถึงผู้นำทางทหาร ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนนักธุรกิจการค้าที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ซึ่งเป็นการทำลายอธิปไตยของไทย