เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเขียนบทความถึง การรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออก ให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic Community: EAEC) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความคิดริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 หรือ 18 ปีก่อน แต่ด้วยความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกด้วยกัน คือระหว่างจีนและญี่ปุ่น ทำให้การรวมกลุ่มนี้ยังไม่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามจากท่าทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ทำให้เริ่มเห็นโอกาสที่จะเกิด EAEC สูงมาก คำถามต่อไปคือจะทำให้ EAEC เป็นจริงได้เร็วที่สุดได้อย่างไร เพราะยิ่งมีการรวมกลุ่มเร็วเพียงใดก็จะยิ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเร็วเท่านั้น
โดยทั่วไปการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจมักจะประกอบไปด้วย เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) และการเปิดเสรีด้านการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมาก และยังอาจจะไปไกลถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน รวมถึงการให้ประชาชนในประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปมาระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีเช่นที่สหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามเราคงไม่หวังไปถึงขั้นว่า EAEC จะไปไกลถึงขั้นเหมือนสหภาพยุโรป
ผมขอเสนอแนวทางที่อาจจะช่วยทำให้การเจรจารวมกลุ่มเป็น EAEC สามารถตกลงกันได้เร็ว โดยควรเริ่มจากข้อตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ระหว่าง ASEAN กับคู่เจรจาต่างๆ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และเริ่มจากเรื่องง่ายคือการเปิดเสรีการค้า ไปสู่เรื่องที่ยากขึ้นไป ไม่ควรที่จะเจรจาหลายๆเรื่องพร้อมกัน เพราะถ้าไม่สามารถที่จะตกลงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็อาจจะทำให้การเจรจาทั้งหมดล้มเหลวได้
ในกระบวนการเจรจา ควรเริ่มจากเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีและเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องตกลงกันยากเช่นการเปิดเสรีการลงทุน โดยเฉพาะการเปิดเสรีการลงทุนในภาคสถาบันการเงินและโทรคมนาคมที่เป็นเรื่องอ่อนไหว และประเทศ ASEAN ส่วนใหญ่ (ยกเว้นสิงคโปร์) จะไม่ยอมตกลงในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้การเจรจาหยุดชะงัก
นอกจากนั้น การจัดตั้ง EAEC ควรเริ่มจากการเจรจาทวิภาคีของ ASEAN กับอีก 3 ประเทศคู่เจรจา คือ ASEAN-ญี่ปุ่น ASEAN-จีน และ ASEAN-เกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาทั้ง 3 นี้จะเน้นการเปิดเสรีการค้าเป็นสำคัญ ผมคิดว่าควรเริ่มจากจุดนี้ เพราะการตกลงระหว่าง ASEAN กับอีก 3 ประเทศดังกล่าวจะเป็นข้อตกลงที่ประเทศคู่เจรจาให้สิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่สุดแก่ประเทศอื่นในการเจรจากรอบ EAEC แม้ว่าจะไม่มีการตกลงเปิดเสรีระหว่าง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ด้วยกันเองก็ตาม
การที่ผมมีความเห็นเช่นนี้เพราะว่า ในการตกลงเปิดเสรีการค้าและการลงทุน มีหลักการของประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์อย่างยิ่ง (Most-favoured-nation: MFN) ซึ่งมีหลักการอยู่ว่า ถ้าประเทศคู่สัญญาให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศสมาชิกหนึ่ง ประเทศสมาชิกอื่นๆจะต้องได้รับผลประโยชน์ด้วย ดังนั้นถ้ามีการเจรจาในกรอบ EAEC แล้ว ข้อตกลงทวิภาคีต่างๆที่ ASEAN ให้สิทธิประโยชน์กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ (ซึ่งทั้งหมดต่างก็อยู่ในกรอบ EAEC ด้วยกัน) สิทธิประโยชน์นั้นก็จะให้กับประเทศสมาชิกอื่นใน EAEC ด้วยเช่นกัน เช่น ASEAN-จีน เมื่อ ASEAN ให้สิทธิประโยชน์แก่จีน ASEAN ก็จะต้องให้สิทธิดังกล่าวแก่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่อยู่ใน EAEC ด้วยเช่นเดียวกัน ทำนองเดียวกันสิทธิประโยชน์ที่ ASEAN ให้กับญี่ปุ่นในการตกลง ASEAN-ญี่ปุ่น ASEAN ก็ต้องให้เกาหลีใต้และจีนด้วย ขณะที่สิทธิประโยชน์ที่ ASEAN ให้เกาหลีใต้จากการตกลง ASEAN-เกาหลีใต้ ASEAN ก็ต้องให้จีนและญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน
ประเด็นสำคัญ คือ ข้อตกลงที่ ASEAN ทำกับ 3 ประเทศคู่เจรจาดังกล่าวไม่เหมือนกัน บางเรื่อง ASEAN ให้ประเทศหนึ่งมากกว่าประเทศอื่น ทว่าเมื่อมี EAEC ASEAN ก็ต้องให้ประเทศอื่นเหมือนกัน เช่น ASEAN ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ 3,000 ซีซีขึ้นไปแก่ญี่ปุ่น ASAEN ก็ต้องให้จีนและเกาหลีใต้ด้วย และ ASEAN ลดภาษีนำเข้าผักผลไม้ให้กับจีน ก็ต้องให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วย ดังนั้นในที่สุด ข้อตกลง EAEC จะเป็นการรวมเงื่อนไขที่ดีที่สุดที่ประเทศ ASEAN ตกลงกับ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของ EAEC โดยสิทธิประโยชน์ที่จะตกลงให้ซึ่งกันและกันจะไม่น้อยไปกว่านี้ แต่จะมีการเจรจาให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากจุดนี้ไปในอนาคต
ถ้าเริ่มเจรจาจากด้านการค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลดภาษีและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้า เช่น แหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) จะทำให้เจรจาได้ง่ายขึ้น เรื่องอื่นๆที่ตกลงกันได้ยาก เช่น การเปิดเสรีการลงทุนและภาคบริการ ควรจะเจรจาในอนาคตต่อไปหลังจากสร้างข้อตกลงการค้าเสรีสำเร็จแล้ว เพื่อไม่ให้การเจรจาหยุดชะงักลง
ผมคิดว่าถ้าเราเริ่มที่จุดนี้ เราก็จะสามารถสร้าง EAEC ได้เร็วกว่าการเจรจาโดยรวมทุกเรื่องพร้อมๆ กัน เรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอย่างเดียวที่ผมกล่าวมาดูเสมือนง่าย แต่ก็ยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องทำความตกลงและศึกษากันอีกมาก เช่น กรณี Rules of Origin ที่มีรายละเอียดต่างกันในข้อตกลงของASEAN กับอีก 3 ประเทศ จะปรับให้เข้าหากันอย่างไร อย่างไรก็ตาม แม้จะยังมีเรื่องที่ต้องทำกันอีกมาก แต่ก็คงไม่สุดวิสัยที่เราจะทำถ้ามีความตั้งใจจริงในการจัดตั้ง EAEC
bunluasak.p@cimbthai.com
โดยทั่วไปการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจมักจะประกอบไปด้วย เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) และการเปิดเสรีด้านการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมาก และยังอาจจะไปไกลถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน รวมถึงการให้ประชาชนในประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปมาระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีเช่นที่สหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามเราคงไม่หวังไปถึงขั้นว่า EAEC จะไปไกลถึงขั้นเหมือนสหภาพยุโรป
ผมขอเสนอแนวทางที่อาจจะช่วยทำให้การเจรจารวมกลุ่มเป็น EAEC สามารถตกลงกันได้เร็ว โดยควรเริ่มจากข้อตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ระหว่าง ASEAN กับคู่เจรจาต่างๆ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และเริ่มจากเรื่องง่ายคือการเปิดเสรีการค้า ไปสู่เรื่องที่ยากขึ้นไป ไม่ควรที่จะเจรจาหลายๆเรื่องพร้อมกัน เพราะถ้าไม่สามารถที่จะตกลงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็อาจจะทำให้การเจรจาทั้งหมดล้มเหลวได้
ในกระบวนการเจรจา ควรเริ่มจากเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีและเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องตกลงกันยากเช่นการเปิดเสรีการลงทุน โดยเฉพาะการเปิดเสรีการลงทุนในภาคสถาบันการเงินและโทรคมนาคมที่เป็นเรื่องอ่อนไหว และประเทศ ASEAN ส่วนใหญ่ (ยกเว้นสิงคโปร์) จะไม่ยอมตกลงในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้การเจรจาหยุดชะงัก
นอกจากนั้น การจัดตั้ง EAEC ควรเริ่มจากการเจรจาทวิภาคีของ ASEAN กับอีก 3 ประเทศคู่เจรจา คือ ASEAN-ญี่ปุ่น ASEAN-จีน และ ASEAN-เกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาทั้ง 3 นี้จะเน้นการเปิดเสรีการค้าเป็นสำคัญ ผมคิดว่าควรเริ่มจากจุดนี้ เพราะการตกลงระหว่าง ASEAN กับอีก 3 ประเทศดังกล่าวจะเป็นข้อตกลงที่ประเทศคู่เจรจาให้สิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่สุดแก่ประเทศอื่นในการเจรจากรอบ EAEC แม้ว่าจะไม่มีการตกลงเปิดเสรีระหว่าง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ด้วยกันเองก็ตาม
การที่ผมมีความเห็นเช่นนี้เพราะว่า ในการตกลงเปิดเสรีการค้าและการลงทุน มีหลักการของประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์อย่างยิ่ง (Most-favoured-nation: MFN) ซึ่งมีหลักการอยู่ว่า ถ้าประเทศคู่สัญญาให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศสมาชิกหนึ่ง ประเทศสมาชิกอื่นๆจะต้องได้รับผลประโยชน์ด้วย ดังนั้นถ้ามีการเจรจาในกรอบ EAEC แล้ว ข้อตกลงทวิภาคีต่างๆที่ ASEAN ให้สิทธิประโยชน์กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ (ซึ่งทั้งหมดต่างก็อยู่ในกรอบ EAEC ด้วยกัน) สิทธิประโยชน์นั้นก็จะให้กับประเทศสมาชิกอื่นใน EAEC ด้วยเช่นกัน เช่น ASEAN-จีน เมื่อ ASEAN ให้สิทธิประโยชน์แก่จีน ASEAN ก็จะต้องให้สิทธิดังกล่าวแก่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่อยู่ใน EAEC ด้วยเช่นเดียวกัน ทำนองเดียวกันสิทธิประโยชน์ที่ ASEAN ให้กับญี่ปุ่นในการตกลง ASEAN-ญี่ปุ่น ASEAN ก็ต้องให้เกาหลีใต้และจีนด้วย ขณะที่สิทธิประโยชน์ที่ ASEAN ให้เกาหลีใต้จากการตกลง ASEAN-เกาหลีใต้ ASEAN ก็ต้องให้จีนและญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน
ประเด็นสำคัญ คือ ข้อตกลงที่ ASEAN ทำกับ 3 ประเทศคู่เจรจาดังกล่าวไม่เหมือนกัน บางเรื่อง ASEAN ให้ประเทศหนึ่งมากกว่าประเทศอื่น ทว่าเมื่อมี EAEC ASEAN ก็ต้องให้ประเทศอื่นเหมือนกัน เช่น ASEAN ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ 3,000 ซีซีขึ้นไปแก่ญี่ปุ่น ASAEN ก็ต้องให้จีนและเกาหลีใต้ด้วย และ ASEAN ลดภาษีนำเข้าผักผลไม้ให้กับจีน ก็ต้องให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วย ดังนั้นในที่สุด ข้อตกลง EAEC จะเป็นการรวมเงื่อนไขที่ดีที่สุดที่ประเทศ ASEAN ตกลงกับ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของ EAEC โดยสิทธิประโยชน์ที่จะตกลงให้ซึ่งกันและกันจะไม่น้อยไปกว่านี้ แต่จะมีการเจรจาให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากจุดนี้ไปในอนาคต
ถ้าเริ่มเจรจาจากด้านการค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลดภาษีและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้า เช่น แหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) จะทำให้เจรจาได้ง่ายขึ้น เรื่องอื่นๆที่ตกลงกันได้ยาก เช่น การเปิดเสรีการลงทุนและภาคบริการ ควรจะเจรจาในอนาคตต่อไปหลังจากสร้างข้อตกลงการค้าเสรีสำเร็จแล้ว เพื่อไม่ให้การเจรจาหยุดชะงักลง
ผมคิดว่าถ้าเราเริ่มที่จุดนี้ เราก็จะสามารถสร้าง EAEC ได้เร็วกว่าการเจรจาโดยรวมทุกเรื่องพร้อมๆ กัน เรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอย่างเดียวที่ผมกล่าวมาดูเสมือนง่าย แต่ก็ยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องทำความตกลงและศึกษากันอีกมาก เช่น กรณี Rules of Origin ที่มีรายละเอียดต่างกันในข้อตกลงของASEAN กับอีก 3 ประเทศ จะปรับให้เข้าหากันอย่างไร อย่างไรก็ตาม แม้จะยังมีเรื่องที่ต้องทำกันอีกมาก แต่ก็คงไม่สุดวิสัยที่เราจะทำถ้ามีความตั้งใจจริงในการจัดตั้ง EAEC
bunluasak.p@cimbthai.com