กลุ่มเอเชียตะวันออกที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิก ASEAN 10 ประเทศกับอีก 3 ประเทศสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ควรจะรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มการค้าเสรี เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวในอัตราสูง แต่ทว่ายังมีการร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ไม่มากเท่าที่ควรในปัจจุบัน ขณะเดียวกันประเทศสมาชิก ASEAN ต้องพึ่งตลาดสหรัฐฯ และยุโรปอย่างมาก นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังไม่มีเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่เหมือนกับทวีปอเมริกาและยุโรป ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองด้านการค้าและการลงทุนที่เข้มแข็งเพียงพอ การที่ไม่มีการรวมกลุ่มเกิดขึ้นจากอุปสรรคภายในเอเชียตะวันออกเองเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากปาฐกถาล่าสุดของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community : EAC) ทำให้เริ่มมีความหวังขึ้นมาว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเขตการค้าเสรีของประเทศในเอเชียตะวันออกขึ้นได้
อันที่จริงแนวคิดเรื่องการรวมตัวในเอเชียตะวันออกมีมานานแล้ว โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ดร. มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด ได้เสนอแนวคิดนี้ไว้ในปี 2534 ด้วยการให้ประเทศสมาชิก ASEAN 6 ประเทศ (ขณะนั้น ASEAN ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) และอีก 3 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic Community: EAEC) ซึ่งในขณะนั้นประเทศยุโรปได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มการค้ามานานแล้ว และกำลังจะพัฒนาไปเป็นประชาคมยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน และจะรวมประเทศยุโรปตะวันออกเข้ามาเป็นสมาชิกด้วยทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะที่ในทวีปอเมริกาก็กำลังมีการเจรจาระหว่าง สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ที่จะรวมตัวกันตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA จัดตั้งสำเร็จในปี 2537) ดังนั้น ถ้าประเทศในเอเชียตะวันออกรวมตัวกันจะได้มีอำนาจต่อรองกับเขตการค้าเสรียุโรป และสหรัฐฯได้ ข้อเสนอในการจัดตั้ง EAEC ในขณะนั้นไม่มีอะไรมากกว่าการตั้งเขตการค้าเสรีโดยการลดอุปสรรคทางการค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกและส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนให้มีความร่วมมือด้านอื่นๆ แต่ไม่ได้ไปไกลถึงการใช้เงินสกุลเดียวกันและเป็น Common Market ที่มีอัตราภาษีศุลกากรเท่ากันหมดสำหรับสินค้าประเภทเดียวกันเหมือนเขตการค้าเสรีของยุโรป
เพราะเหตุใดจึงไม่เกิด EAEC เหมือนกับเขตการค้าเสรีของยุโรปและอเมริกาตั้งแต่ตอนนั้น ข้อเสนอของ ดร. มหาเธร์ ไม่ได้รับการตอบสนอง เพราะจีนและญี่ปุ่นมีความเห็นขัดแย้งกัน โดยจีนต้องการที่จะรวมกลุ่มการค้าโดยรวมสมาชิก ASEAN กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN+3) ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการเพิ่มอีก 3 ประเทศคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เข้ามาด้วย นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า การที่ญี่ปุ่นทำเช่นนี้เพราะต้องการที่จะลดอิทธิพลของจีน และได้รับแรงกดดันจากสหรัฐฯ ที่ไม่อยากให้มีการตั้งกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ในเอเชีย ถึงปัจจุบันก็นับเป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ไม่สามารถจัดตั้ง EAEC ได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม จากปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือ นายยูคิโอ ฮาโตยามา (Yukio Hatoyama) ที่สหประชาชาติเมื่อ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทำให้เริ่มมีความหวังว่าการรวมตัวของเอเชียตะวันออกจะเกิดขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง โดย นรม.ฮาโตยามา กล่าวในตอนท้ายของปาฐกถาว่า อยากให้มีการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกหรือ EAC ซึ่งรวมถึงเขตการค้าเสรี ความร่วมมือด้านการเงิน พลังงาน ปัญหาสภาพแวดล้อม ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Disaster Relief) และอื่นๆ ขึ้นมา
ปาฐกถานี้ ทำให้ผมและคนที่สนใจติดตามการรวมกลุ่มและจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก หรือ EAEC มาหลายปี เริ่มมีความหวังว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จริง เพราะที่ผ่านมาแนวทางของญี่ปุ่นเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีนี้มาเกือบ 20ปี ขณะที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะ ASEAN เห็นด้วยกับแนวทางนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้จากปัญหาในการจัดตั้ง EAEC ทำให้ ASEAN ต้องเจรจาทวิภาคีกับคู่เจรจา คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แยกกันต่างหาก
ผมอยากชี้ว่า ถึงแม้จะใช้คำว่าประชาคมทั้งในเรื่องของ EAEC และ EAC ทว่าคำว่าประชาคมจะมีความหมายกว้างมาก โดยมากมักจะรวมเรื่องอื่นๆเข้าไปด้วย เช่น การใช้ภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน การให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี การใช้เงินตราสกุลเดียวกัน และแม้กระทั่งการใช้นโยบายการคลังร่วมกัน เช่นในกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโร (EURO ZONE) ซึ่งผมคิดว่าเราคงไม่สามารถทำถึงขนาดนั้นได้ เราคงทำได้ในขอบเขตของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน รวมไปถึงให้มีการเปิดเสรีระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทย เพราะจะทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกพึ่งพึงกันมากขึ้น และลดการพึ่งพึงตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อไทยในระยะยาว
bunluasak.p@cimbthai.com
อันที่จริงแนวคิดเรื่องการรวมตัวในเอเชียตะวันออกมีมานานแล้ว โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ดร. มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด ได้เสนอแนวคิดนี้ไว้ในปี 2534 ด้วยการให้ประเทศสมาชิก ASEAN 6 ประเทศ (ขณะนั้น ASEAN ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) และอีก 3 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic Community: EAEC) ซึ่งในขณะนั้นประเทศยุโรปได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มการค้ามานานแล้ว และกำลังจะพัฒนาไปเป็นประชาคมยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน และจะรวมประเทศยุโรปตะวันออกเข้ามาเป็นสมาชิกด้วยทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะที่ในทวีปอเมริกาก็กำลังมีการเจรจาระหว่าง สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ที่จะรวมตัวกันตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA จัดตั้งสำเร็จในปี 2537) ดังนั้น ถ้าประเทศในเอเชียตะวันออกรวมตัวกันจะได้มีอำนาจต่อรองกับเขตการค้าเสรียุโรป และสหรัฐฯได้ ข้อเสนอในการจัดตั้ง EAEC ในขณะนั้นไม่มีอะไรมากกว่าการตั้งเขตการค้าเสรีโดยการลดอุปสรรคทางการค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกและส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนให้มีความร่วมมือด้านอื่นๆ แต่ไม่ได้ไปไกลถึงการใช้เงินสกุลเดียวกันและเป็น Common Market ที่มีอัตราภาษีศุลกากรเท่ากันหมดสำหรับสินค้าประเภทเดียวกันเหมือนเขตการค้าเสรีของยุโรป
เพราะเหตุใดจึงไม่เกิด EAEC เหมือนกับเขตการค้าเสรีของยุโรปและอเมริกาตั้งแต่ตอนนั้น ข้อเสนอของ ดร. มหาเธร์ ไม่ได้รับการตอบสนอง เพราะจีนและญี่ปุ่นมีความเห็นขัดแย้งกัน โดยจีนต้องการที่จะรวมกลุ่มการค้าโดยรวมสมาชิก ASEAN กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN+3) ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการเพิ่มอีก 3 ประเทศคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เข้ามาด้วย นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า การที่ญี่ปุ่นทำเช่นนี้เพราะต้องการที่จะลดอิทธิพลของจีน และได้รับแรงกดดันจากสหรัฐฯ ที่ไม่อยากให้มีการตั้งกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ในเอเชีย ถึงปัจจุบันก็นับเป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ไม่สามารถจัดตั้ง EAEC ได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม จากปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือ นายยูคิโอ ฮาโตยามา (Yukio Hatoyama) ที่สหประชาชาติเมื่อ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทำให้เริ่มมีความหวังว่าการรวมตัวของเอเชียตะวันออกจะเกิดขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง โดย นรม.ฮาโตยามา กล่าวในตอนท้ายของปาฐกถาว่า อยากให้มีการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกหรือ EAC ซึ่งรวมถึงเขตการค้าเสรี ความร่วมมือด้านการเงิน พลังงาน ปัญหาสภาพแวดล้อม ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Disaster Relief) และอื่นๆ ขึ้นมา
ปาฐกถานี้ ทำให้ผมและคนที่สนใจติดตามการรวมกลุ่มและจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก หรือ EAEC มาหลายปี เริ่มมีความหวังว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จริง เพราะที่ผ่านมาแนวทางของญี่ปุ่นเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีนี้มาเกือบ 20ปี ขณะที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะ ASEAN เห็นด้วยกับแนวทางนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้จากปัญหาในการจัดตั้ง EAEC ทำให้ ASEAN ต้องเจรจาทวิภาคีกับคู่เจรจา คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แยกกันต่างหาก
ผมอยากชี้ว่า ถึงแม้จะใช้คำว่าประชาคมทั้งในเรื่องของ EAEC และ EAC ทว่าคำว่าประชาคมจะมีความหมายกว้างมาก โดยมากมักจะรวมเรื่องอื่นๆเข้าไปด้วย เช่น การใช้ภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน การให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี การใช้เงินตราสกุลเดียวกัน และแม้กระทั่งการใช้นโยบายการคลังร่วมกัน เช่นในกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโร (EURO ZONE) ซึ่งผมคิดว่าเราคงไม่สามารถทำถึงขนาดนั้นได้ เราคงทำได้ในขอบเขตของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน รวมไปถึงให้มีการเปิดเสรีระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทย เพราะจะทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกพึ่งพึงกันมากขึ้น และลดการพึ่งพึงตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อไทยในระยะยาว
bunluasak.p@cimbthai.com