ASTV ผู้จัดการรายวัน – “จีเอ็ม” เชื่อมั่นโครงสร้างใหม่ ช่วยให้การตัดสินใจและดำเนินธุรกิจเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการกลับมาเติบโต โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เผยการเจรจาหาแหล่งเงินกู้ 1.5 หมื่นล้านบาท มีสัญาณเป็นบวก คาดมีข่าวดีเร็วๆ นี้ จากสถาบันการเงินในและต่างประเทศ และภายใน 18-24 เดือนนับจากนี้ จะเริ่มผลิตโครงการเครื่องยนต์ดีเซลและปิกอัพได้ พร้อมเรียกร้องความชัดเจนจากรัฐบาลไทย ในเรื่องนโยบายพลังงานทดแทน รวมถึงภาษีต่างๆ
นายนิค ไรลี่ย์ รองประธานบริหารจีเอ็ม และประธานจีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล โอปอเรชั่น หรือจีเอ็มไอโอ(GMIO) เปิดเผยว่า ภายหลังจากออกจากแผนฟื้นฟูธุรกิจ Chapter 11 ตามกฏหมายของสหรัฐอเมริกา จีเอ็มได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่จากเดิมมีทั้งหมด 4 ส่วน ลดเหลือเพียง 2 ส่วน คือ ตลาดอเมริกาเหนือดูแลโดยจีเอ็มที่สหรัฐอเมริกา และจีเอ็มไอโอที่ดูแลตลาดอื่นๆ ทั่วโลก รวมประเทศไทยด้วย
“นอกจากการปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 ส่วนธุรกิจ ในเรื่องของการบริหารจัดการยังได้ทำให้เกิดความกระชับรวดเร็ว โดยแต่ละส่วนสามารถตัดสินใจได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอจากทางดีทอรยต์จีเอ็ม คัมปะนี เพียงแต่ในส่วนทางวิศวกรรม หรือการผลิตยังต้องตัดสินใจร่วมกันอยู่”
ทั้งนี้การออกจากกฎหมายฟื้นฟูของสหรัฐฯ ภายในระยะเวลารวดเร็วเพียง 40 วัน จากเดิมคาดว่าจะเป็น 90 วัน ทำให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ของลูกค้า ซึ่งจีเอ็มพยายามที่จะเติบโตในส่วนของอาเซียน ที่มีไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค แต่จีเอ็มก็ยังคงให้ความสำคัญกับอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีศักยภาพในการขยายตัว และช่วยเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด
ยอดขายของจีเอ็มในภูมิภาคอาเซียนในปีนี้ ตกลงมาประมาณ 20% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก แต่แนวโน้มยอดขายแต่ละเดือนเริ่มปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าในปี 2010 จะสามารถกลับมารักษายอดขายไว้ได้เท่ากับปีที่ผ่านมา โดยตลาดในไทยตั้งเป้าจะรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ที่ประมาณ 3.5-4.0% เทียบกับปีที่แล้ว
นายไรลีย์เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทยแม้จะเลื่อนแผนบางโครงการออกไป แต่ยังคงจะแผนธุรกิจทุกอย่างไว้เช่นเดิม อย่างเช่นโครงการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และผลิตปิกอัพโมเดลใหม่ ซึ่งปัญหาไม่ใช่อยู่ที่เรื่องการหาแหล่งเงินมาลงทุนเท่านั้น แต่เป็นมีปัจจัยของตลาดที่ปัจจุบันตกลงไปมาก การเลื่อนแผนออกไปจึงถือว่าเหมาะสม
ส่วนการเจรจาหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินมูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อมาลงทุนในโครงการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และขึ้นไลน์ประกอบปิกอัพโมเดลใหม่ มีความคืบหน้าในด้านบวกมาก คาดว่าจะมีข่าวดีในเร็วๆ นี้ แต่ ไม่ใช่เป็นเงินที่มาจากสถาบันการเงินของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะมาจากแหล่งเงินนอกประเทศ และมีบางส่วนที่มาจากสถาบันการเงินเอกชนในไทย
“เรื่องการเจรจาเงินกู้จะต้องจบภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้สามารถเริ่มโครงการผลิตทั้งในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซล และปิกอัพโมเดลใหม่ได้ภายใน 18-24 เดือนนับจากนี้ไป”นายไรลีย์กล่าวและว่า
ในส่วนของรถยนต์พลังงานทางเลือก จีเอ็มมีความมุ่งมั่นที่จะแนะนำออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเทศไทยรัฐบาลมีความชัดเจนในเรื่องนี้พอสมควร ทั้งเรื่องรถยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และซีเอ็นจี แต่ในส่วนของรถยนต์ E85 ยังไม่สับสนอยู่ ดังนั้นจึงอยากให้จะให้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนตรงนี้ รวมถึงเรื่องการโครงสร้างภาษีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีนำเข้า หรือสรรพสามิต เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแตกต่าง และมีศักยภาพในการแข่งขันได้
นายนิค ไรลี่ย์ รองประธานบริหารจีเอ็ม และประธานจีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล โอปอเรชั่น หรือจีเอ็มไอโอ(GMIO) เปิดเผยว่า ภายหลังจากออกจากแผนฟื้นฟูธุรกิจ Chapter 11 ตามกฏหมายของสหรัฐอเมริกา จีเอ็มได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่จากเดิมมีทั้งหมด 4 ส่วน ลดเหลือเพียง 2 ส่วน คือ ตลาดอเมริกาเหนือดูแลโดยจีเอ็มที่สหรัฐอเมริกา และจีเอ็มไอโอที่ดูแลตลาดอื่นๆ ทั่วโลก รวมประเทศไทยด้วย
“นอกจากการปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 ส่วนธุรกิจ ในเรื่องของการบริหารจัดการยังได้ทำให้เกิดความกระชับรวดเร็ว โดยแต่ละส่วนสามารถตัดสินใจได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอจากทางดีทอรยต์จีเอ็ม คัมปะนี เพียงแต่ในส่วนทางวิศวกรรม หรือการผลิตยังต้องตัดสินใจร่วมกันอยู่”
ทั้งนี้การออกจากกฎหมายฟื้นฟูของสหรัฐฯ ภายในระยะเวลารวดเร็วเพียง 40 วัน จากเดิมคาดว่าจะเป็น 90 วัน ทำให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ของลูกค้า ซึ่งจีเอ็มพยายามที่จะเติบโตในส่วนของอาเซียน ที่มีไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค แต่จีเอ็มก็ยังคงให้ความสำคัญกับอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีศักยภาพในการขยายตัว และช่วยเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด
ยอดขายของจีเอ็มในภูมิภาคอาเซียนในปีนี้ ตกลงมาประมาณ 20% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก แต่แนวโน้มยอดขายแต่ละเดือนเริ่มปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าในปี 2010 จะสามารถกลับมารักษายอดขายไว้ได้เท่ากับปีที่ผ่านมา โดยตลาดในไทยตั้งเป้าจะรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ที่ประมาณ 3.5-4.0% เทียบกับปีที่แล้ว
นายไรลีย์เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทยแม้จะเลื่อนแผนบางโครงการออกไป แต่ยังคงจะแผนธุรกิจทุกอย่างไว้เช่นเดิม อย่างเช่นโครงการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และผลิตปิกอัพโมเดลใหม่ ซึ่งปัญหาไม่ใช่อยู่ที่เรื่องการหาแหล่งเงินมาลงทุนเท่านั้น แต่เป็นมีปัจจัยของตลาดที่ปัจจุบันตกลงไปมาก การเลื่อนแผนออกไปจึงถือว่าเหมาะสม
ส่วนการเจรจาหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินมูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อมาลงทุนในโครงการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และขึ้นไลน์ประกอบปิกอัพโมเดลใหม่ มีความคืบหน้าในด้านบวกมาก คาดว่าจะมีข่าวดีในเร็วๆ นี้ แต่ ไม่ใช่เป็นเงินที่มาจากสถาบันการเงินของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะมาจากแหล่งเงินนอกประเทศ และมีบางส่วนที่มาจากสถาบันการเงินเอกชนในไทย
“เรื่องการเจรจาเงินกู้จะต้องจบภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้สามารถเริ่มโครงการผลิตทั้งในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซล และปิกอัพโมเดลใหม่ได้ภายใน 18-24 เดือนนับจากนี้ไป”นายไรลีย์กล่าวและว่า
ในส่วนของรถยนต์พลังงานทางเลือก จีเอ็มมีความมุ่งมั่นที่จะแนะนำออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเทศไทยรัฐบาลมีความชัดเจนในเรื่องนี้พอสมควร ทั้งเรื่องรถยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และซีเอ็นจี แต่ในส่วนของรถยนต์ E85 ยังไม่สับสนอยู่ ดังนั้นจึงอยากให้จะให้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนตรงนี้ รวมถึงเรื่องการโครงสร้างภาษีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีนำเข้า หรือสรรพสามิต เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแตกต่าง และมีศักยภาพในการแข่งขันได้