รอยเตอร์-หนังสือพิมพ์รายวัน “ดิ อินดิเพนเดนต์” ของอังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (6) ระบุว่ากลุ่มรัฐอาหรับบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ได้เปิดการหารือแบบลับๆกับรัสเซีย, จีน, ญี่ปุ่น, และฝรั่งเศส เพื่อหาทางนำระบบ “ตะกร้าเงิน” ที่ประกอบด้วยเงินตราหลายๆ สกุล มาใช้เป็นตัวกลางสำหรับซื้อขายน้ำมัน แทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงสกุลเดียวอย่างในปัจจุบัน โดยที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงกันในระยะเวลา 9 ปี อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหลายประเทศต่างพร้อมใจกันออกมาปฏิเสธรายงานนี้
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงทันที หลังจากที่รายงานชิ้นดังกล่าวซึ่งเขียนโดย รอเบิร์ต ฟิสก์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสวัย 63 ปีชาวอังกฤษประจำภูมิภาคตะวันออกกลางของดิ อินดิเพนเดนต์ ถูกนำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยมีการอ้างแหล่งข่าวหลายแหล่งซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยในกลุ่มรัฐอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย และแหล่งข่าวหลายรายจากแวดวงธนาคารของจีนในฮ่องกง
ฟิสก์ระบุว่า การหารือลับซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อที่จะนำเอาระบบตะกร้าเงินอันประกอบไปด้วย เงินเยนของญี่ปุ่น, เงินหยวนของจีน, เงินยูโร, และเงินตราสกุลใหม่ซึ่งรัฐอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซียมีแผนจะนำมาใช้ร่วมกันภายในปี 2010, รวมทั้ง ทองคำ, มาใช้ในการซื้อขายน้ำมันดิบแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 9 ปี
รายงานข่าวบอกว่า บรรดารัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางของทั้ง รัสเซีย, จีน, ญี่ปุ่น, บราซิล, และฝรั่งเศส รวมทั้ง ประเทศสมาชิกกลุ่มรัฐอาหรับซึ่งเรียกตัวเองว่าสภาความร่วมมือแห่งอ่าว (จีซีซี) 6 ประเทศ คือ ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คูเวต, กาตาร์, บาห์เรน, และโอมาน ได้จัดการประชุมแบบลับๆ ขึ้นหลายครั้งแล้ว และประเทศเหล่านี้ก็กำลังทำงานร่วมกันเพื่อหาทางบรรลุแผนการนี้ ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกอีกต่อไป
รายงานชิ้นนี้ระบุว่า ทางการสหรัฐฯ ทราบดีว่า มีการประชุมแบบลับๆเช่นนี้เกิดขึ้นจริง และถึงแม้ว่าสหรัฐฯเอง ยังไม่สามารถล่วงรู้ถึงรายละเอียดของการประชุมที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต่อสู้กับ “แผนสมคบคิดอันร้ายกาจ” ของประเทศต่างๆ ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มูฮัมหมัด อัล ยัสเซอร์ ประธานธนาคารกลางซาอุดีอาระเบียได้ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวแล้วโดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เช่นเดียวกับดมิตรี ปันกิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซีย ซึ่งออกมายืนยันว่า ไม่เคยมีการหารือแบบลับๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นตามที่ดิ อินดิเพนเดนต์รายงาน
นอกจากนั้น คาริม ฌูดี รัฐมนตรีคลังของแอลจีเรีย ได้ออกมาให้สัมภาษณ์โดยระบุว่า บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันจำเป็นต้องทำให้รายได้ของตนมีเสถียรภาพ แต่ยังไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่การซื้อขายน้ำมันจะต้องมีการกำหนดหน่วยค่าเงินให้แตกต่างออกไป
ประเด็นเรื่องการยกเลิกไม่ให้การซื้อขายน้ำมันต้องผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯนี้ ได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นครั้งคราวในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ขณะที่เริ่มตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน รัฐบาลอิหร่านก็ได้พยายามให้มีการตกลงชำระเงินค่าน้ำมันส่วนใหญ่ที่ตนส่งออก ในสกุลเงินยูโรและเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่บรรดานักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวนี้ คงจะไม่มีทางเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
เดวิด มัวร์ นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จากธนาคารคอมมอนเวลธ์ของออสเตรเลียกล่าวว่า " ผมไม่คิดว่าเราจะได้เห็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนใดๆ เกิดขึ้นจากการหารือแบบลับๆ นี้ เนื่องจากถึงแม้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่าลง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าสินค้าโภคภัณฑ์จะมีราคาต่ำไปด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์กลับเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูงกว่าด้วยซ้ำไป"
ด้านโจนาธาน คาเวนัฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินจาก เวสต์แพ็ค แบงกิ้ง คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลีย ออกมาเปิดเผยที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารในนครซิดนีย์เมื่อวานนี้โดยกล่าวว่า " ข่าวนี้ดูจะเหมือนจะเป็นเรื่องในระยะยาว ซึ่งยังมีขวากหนามสำคัญต้องฟันฝ่าอีกมากกว่าจะบรรลุผล โดยอุปสรรคที่สำคัญที่สุดก็คือการที่จีนจะต้องยอมให้ค่าเงินหยวนของตนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวก็ยังถือเป็นข่าวที่ไม่เป็นผลดีกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ตลาดและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะชาติในเอเชียเท่านั้น กำลังมองหาหนทางสร้างความหลากหลายในระบบ แทนการผูกติดกับเงินดอลลาร์เพียงอย่างเดียว"
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงทันที หลังจากที่รายงานชิ้นดังกล่าวซึ่งเขียนโดย รอเบิร์ต ฟิสก์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสวัย 63 ปีชาวอังกฤษประจำภูมิภาคตะวันออกกลางของดิ อินดิเพนเดนต์ ถูกนำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยมีการอ้างแหล่งข่าวหลายแหล่งซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยในกลุ่มรัฐอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย และแหล่งข่าวหลายรายจากแวดวงธนาคารของจีนในฮ่องกง
ฟิสก์ระบุว่า การหารือลับซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อที่จะนำเอาระบบตะกร้าเงินอันประกอบไปด้วย เงินเยนของญี่ปุ่น, เงินหยวนของจีน, เงินยูโร, และเงินตราสกุลใหม่ซึ่งรัฐอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซียมีแผนจะนำมาใช้ร่วมกันภายในปี 2010, รวมทั้ง ทองคำ, มาใช้ในการซื้อขายน้ำมันดิบแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 9 ปี
รายงานข่าวบอกว่า บรรดารัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางของทั้ง รัสเซีย, จีน, ญี่ปุ่น, บราซิล, และฝรั่งเศส รวมทั้ง ประเทศสมาชิกกลุ่มรัฐอาหรับซึ่งเรียกตัวเองว่าสภาความร่วมมือแห่งอ่าว (จีซีซี) 6 ประเทศ คือ ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คูเวต, กาตาร์, บาห์เรน, และโอมาน ได้จัดการประชุมแบบลับๆ ขึ้นหลายครั้งแล้ว และประเทศเหล่านี้ก็กำลังทำงานร่วมกันเพื่อหาทางบรรลุแผนการนี้ ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกอีกต่อไป
รายงานชิ้นนี้ระบุว่า ทางการสหรัฐฯ ทราบดีว่า มีการประชุมแบบลับๆเช่นนี้เกิดขึ้นจริง และถึงแม้ว่าสหรัฐฯเอง ยังไม่สามารถล่วงรู้ถึงรายละเอียดของการประชุมที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต่อสู้กับ “แผนสมคบคิดอันร้ายกาจ” ของประเทศต่างๆ ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มูฮัมหมัด อัล ยัสเซอร์ ประธานธนาคารกลางซาอุดีอาระเบียได้ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวแล้วโดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เช่นเดียวกับดมิตรี ปันกิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซีย ซึ่งออกมายืนยันว่า ไม่เคยมีการหารือแบบลับๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นตามที่ดิ อินดิเพนเดนต์รายงาน
นอกจากนั้น คาริม ฌูดี รัฐมนตรีคลังของแอลจีเรีย ได้ออกมาให้สัมภาษณ์โดยระบุว่า บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันจำเป็นต้องทำให้รายได้ของตนมีเสถียรภาพ แต่ยังไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่การซื้อขายน้ำมันจะต้องมีการกำหนดหน่วยค่าเงินให้แตกต่างออกไป
ประเด็นเรื่องการยกเลิกไม่ให้การซื้อขายน้ำมันต้องผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯนี้ ได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นครั้งคราวในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ขณะที่เริ่มตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน รัฐบาลอิหร่านก็ได้พยายามให้มีการตกลงชำระเงินค่าน้ำมันส่วนใหญ่ที่ตนส่งออก ในสกุลเงินยูโรและเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่บรรดานักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวนี้ คงจะไม่มีทางเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
เดวิด มัวร์ นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จากธนาคารคอมมอนเวลธ์ของออสเตรเลียกล่าวว่า " ผมไม่คิดว่าเราจะได้เห็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนใดๆ เกิดขึ้นจากการหารือแบบลับๆ นี้ เนื่องจากถึงแม้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่าลง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าสินค้าโภคภัณฑ์จะมีราคาต่ำไปด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์กลับเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูงกว่าด้วยซ้ำไป"
ด้านโจนาธาน คาเวนัฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินจาก เวสต์แพ็ค แบงกิ้ง คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลีย ออกมาเปิดเผยที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารในนครซิดนีย์เมื่อวานนี้โดยกล่าวว่า " ข่าวนี้ดูจะเหมือนจะเป็นเรื่องในระยะยาว ซึ่งยังมีขวากหนามสำคัญต้องฟันฝ่าอีกมากกว่าจะบรรลุผล โดยอุปสรรคที่สำคัญที่สุดก็คือการที่จีนจะต้องยอมให้ค่าเงินหยวนของตนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวก็ยังถือเป็นข่าวที่ไม่เป็นผลดีกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ตลาดและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะชาติในเอเชียเท่านั้น กำลังมองหาหนทางสร้างความหลากหลายในระบบ แทนการผูกติดกับเงินดอลลาร์เพียงอย่างเดียว"