แล้วปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พยายามจะให้เรื่องมันจบไปโดยเร็วที่สุด ก็ไม่สามารถทำได้ แต่กลับบานปลาย
หลังจากนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) แต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นรักษาการ ผบ.ตร.
ก็ส่งผลให้ต่อจากนี้ อภิสิทธิ์ จะต้องกลับมาสาละวนแก้ปัญหาที่เป็นผลพวงจากเรื่อง ผบ.ตร.อีกครั้ง
เรื่องแรกคือการตัดสินใจตั้ง “เลขาธิการนายกรัฐมนตรี” คนใหม่ มาแทนนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ ที่ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง และสั่งทีมงานหน้าห้องเก็บของออกจากตึกไทยคู่ฟ้า ตั้งแต่เมื่อ 30 กันยายน ที่ผ่านมา ทว่า อภิสิทธิ์ กลับเพิ่งเปิดปากยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ได้อนุมัติหนังสือลาออกของนิพนธ์ เรียบร้อยแล้ว
ด้วยระยะเวลา 6 วัน นับแต่ได้รับหนังสือลาออกและปรากฏเป็นข่าวต่อสื่อมวลชน แต่นายกรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาของนิพนธ์ กลับเพิ่งยอมรับเรื่องนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ความพยายามต่อสาย-เคลียร์ใจกับนิพนธ์ ของอภิสิทธิ์ ทำไม่สำเร็จในช่วง 6 วันที่ผ่านมา
แม้จะเจรจาเกลี้ยกล่อมและเสนอตำแหน่งประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีให้เพื่อขอให้นิพนธ์ ยังมีบทบาทในการช่วยงานการเมืองในทำเนียบรัฐบาลให้กับอภิสิทธิ์
รวมถึงดึงผู้ใหญ่ในพรรคที่นิพนธ์เคารพนับถืออย่าง นายชวน หลีกภัย มาช่วยอีกแรง ทั้งโทรศัพท์และส่งคนไปส่งสารการเมือง เพื่อขอพบนิพนธ์ เป็นการส่วนตัว แต่อดีตเลขาธิการนายกฯคนนี้ ซึ่งบัดนี้เหลือตำแหน่งการเมืองแค่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
หลบฉากเก็บตัวเงียบ และปิดรับการติดต่อทุกรูปแบบจากคนในปชป. โดยใช้บ้านพักจังหวัดอยุธยาฯ เป็นสถานที่ปลีกวิเวก พร้อมคนรู้ใจไม่กี่คน ทำให้ทุกสายที่โทรถึงนิพนธ์ กลายเป็น
MissCall จำนวนมากในโทรศัพท์มือถือลับของนิพนธ์
สุดท้าย ความพยายามของแกนนำปชป. ที่ต้องการไม่ให้ภาพความขัดแย้งของสามขุนพลประชาธิปัตย์ “อภิสิทธิ์-นิพนธ์-สุเทพ” ลุกลามออกไปทำไม่สำเร็จ
อภิสิทธิ์ก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน นั่นคือการสยบความปั่นป่วนภายในปชป. ที่กำลังมีบางกลุ่มการเมืองต้องการสร้างกระแสให้มีการปรับครม. ควบคู่ไปกับการหาคนมาทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ หรือ “นายกฯน้อย” ให้กับเขา
แม้จะมีคำยืนยันจากอภิสิทธิ์แล้วว่า จะไม่มีการปรับ ครม.โดยโยกนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ออกจากรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นเลขาธิการนายกฯ เพื่อทำให้เกิดการปรับครม.
แต่ก็ใช่ว่า เก้าอี้นายกฯน้อย จะหาคนมาแทนนิพนธ์ได้ง่ายเสียเมื่อไหร่
เหตุเพราะตำแหน่งนี้ต้องมีคุณสมบัติพิเศษไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะกับการเป็น “นักประสานทางการเมือง” ที่ต้องมีความเจนจัดและบารมีพอสมควรในการยอมรับของนักการเมืองทุกพรรค และข้าราชการทุกกระทรวง บนข้อจำกัดที่ต้องไม่ใช่ ส.ส.และไม่ทำให้เกิดการปรับครม. ตามมา
จึงทำให้ตัวเลือกของอภิสิทธิ์ มีไม่มากนักในการหาคนมาเป็นเลขาฯคู่ใจ อันคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 วันนี้ แต่จะไม่มีชื่อของ ส.ส.ปชป. ที่แนบแน่นกับอภิสิทธิ์ ทั้ง ศิริโชค โสภา และ จุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก แน่นอน
ส่วนตัวเต็งอันดับ 1 ที่ ส.ส.และรมต.ในกลุ่มอภิสิทธิ์เชียร์คือนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็เจอปัญหาแรงต้านจากส.ส.ขอพรรค ที่ไม่ชอบบทบาทของอภิรักษ์ ตั้งแต่สมัยเป็นผู้ว่าฯกทม. โดยอ้างเหตุว่า อภิรักษ์ มีบารมีไม่มากพอ อีกทั้งมีคดีความในเรื่องคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ อาจไม่เป็นผลดีต่ออภิสิทธิ์ หากให้มานั่งทำงานหน้าห้อง
แนวทางที่เหลือ คือ เสนอให้ดึงคนนอกมารับตำแหน่งแทน
จึงต้องรอดูการประชุม ส.ส.ประชาธิปัตย์ในวันอังคารที่ 6 ตุลาคมนี้ ซึ่งคาดว่าคงถกเรื่องนี้กันหนัก แม้จะเป็นอำนาจที่อภิสิทธิ์ ตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องฟังความเห็นใคร แต่ในยามที่อภิสิทธิ์ กำลังเสียกำลังพลรอบข้าง หลังเกิดปัญหาขึ้นกับนิพนธ์ จึงทำให้ทุกเสียงในปชป. มีความหมายกับอภิสิทธิ์ อย่างยิ่งในตอนนี้
เรื่องที่สอง คือการเตรียมนัดประชุมก.ต.ช. เพื่อให้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น ก.ต.ช.คนใหม่แทน นายปิยะพันธ์ นิมมานเหมินทร์ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ หนึ่งเดียวใน ก.ต.ช.ที่ยืนเคียงข้างอภิสิทธิ์ ในการผลักดัน พล.ต.อ.ปทีป ขึ้นเป็น ผบ.ตร. มาตลอด ที่ล่าสุดโบกมือลาจากกรรมการ ก.ต.ช. ตามหลัง พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์ อดีตรอง ผบ.ตร. ที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ จนทำให้อภิสิทธิ์ ไม่เหลือขุมกำลังใน ก.ต.ช.อีกต่อไปแล้ว
ที่ต้องจับตาดูว่า คนที่จะเป็น ก.ต.ช.คนใหม่แทนปิยะพันธ์ คือใคร และหากมีการเรียกประชุม ก.ต.ช.แล้ว มีวาระแค่เลือก ก.ต.ช.คนใหม่โดยไม่มีการหารือเรื่อง ผบ.ตร.ก็คงทำให้อภิสิทธิ์ต้องตอบคำถามสังคมอีกครั้งว่า
ไฉนเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติเสียที ?
แต่ปัญหาเรื่องขุมกำลังใน ก.ต.ช.นั้น อภิสิทธิ์ คงไม่สนใจอะไรอีกแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่า อภิสิทธิ์ คงให้ พล.ต.อ.ปทีป รักษาการ ผบ.ตร.ไปเรื่อยๆ จนกว่าอภิสิทธิ์จะมั่นใจว่าคุมเสียงในก.ต.ช.ได้แล้ว ถึงค่อยเรียกประชุมก.ต.ช. เพื่อลงมติให้พล.ต.อ.ปทีป เป็นผบ.ตร.เต็มตัว
อย่างไรก็ดี ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณการเมืองหลายอย่างบ่งชี้ว่า เสียงใน ก.ต.ช.เริ่มไม่นิ่งอีกแล้ว จากเดิมที่ ก.ต.ช.ส่วนใหญ่แพคกำลังกันต้าน อภิสิทธิ์ จนทำให้การผลักดัน “บิ๊กทีป” สองครั้งสองหนทำไม่สำเร็จ แต่ล่าสุด กลับพบว่า ก.ต.ช. อย่างนาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กลับบอกว่า พร้อมพูดคุยกับ อภิสิทธิ์ เพื่อให้ปัญหาเรื่อง ผบ.ตร.จบโดยเร็ว เพราะยามนี้ท่าทีความในใจเรื่อง ผบ.ตร.ได้เปลี่ยนไปแล้ว
อันตีความได้ว่า เป็นไปได้ที่ ชวรัตน์ ซึ่งคุมอีกหนึ่งเสียงก.ต.ช.คือ นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่เป็น ก.ต.ช.โดยตำแหน่ง ซึ่งประกาศชัดเจนตั้งแต่วินาทีแรกที่เดินเข้ากระทรวงมหาดไทย เพื่อรับตำแหน่งปลัดมท.ว่า
“เรื่องก.ต.ช.ก็แล้วแต่ท่านชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท.1 ท่านว่าอย่างไร ผมก็ว่าอย่างนั้น”
อาจเปลี่ยนข้างมาอยู่กับอภิสิทธิ์แล้ว เพราะได้ “ข้อมูลใหม่” ในเรื่องตำแหน่ง ผบ.ตร.
ประเมินว่า ช่วงหลังภูมิใจไทย และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรค สมประโยชน์กับอภิสิทธิ์ หลายเรื่อง จนอาจทำให้ท่าทีของภูมิใจไทย ในการตั้ง ผบ.ตร.เปลี่ยนไป
ทั้งกรณีที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน มูลค่า 63,000 ล้านบาท หรือการเห็นชอบร่วมกัน ในเรื่องการทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากรัฐสภารับหลักการในวาระที่ 1 อันเป็นแนวคิดที่ภูมิใจไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่สุดท้าย เนวิน และภูมิใจไทย ก็ยอมถอยมาหนึ่งก้าวเห็น ด้วยกับการทำประชามติเพราะเห็นแล้วว่า
การทำประชามติ คือหลักประกันที่ดีที่สุดในการทำให้รัฐบาลมีความมั่นคง และจะอยู่ได้อย่างสบายๆ ไปอีกอย่างน้อย 9 เดือนถึง 1 ปี ในช่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เป็น 9 เดือนซึ่งถือว่ายาวนานพอที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคสร้างความแข็งแกร่งก่อนศึกเลือกตั้งจะมาถึง จนเป็นความเห็นชอบร่วมกันของที่ประชุมวงกาแฟบ้านพิษณุโลก เมื่อช่วงค่ำวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา
กระนั้นก็ตาม สุภาษิตฝรั่งเศส ที่ ชวรัตน์ ชอบยกมากล่าวอ้างที่ว่า
“เห็นนกนางนวลบินมา อย่าคิดว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว”
ก็น่าจะนำมาใช้กับกรณีท่าทีของชวรัตน์ ในเรื่องนี้ได้ว่า อย่าเพิ่งวางใจ เนวิน-ชวรัตน์ จนกว่ามติ ก.ต.ช.จะออกมา !
หลังจากนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) แต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นรักษาการ ผบ.ตร.
ก็ส่งผลให้ต่อจากนี้ อภิสิทธิ์ จะต้องกลับมาสาละวนแก้ปัญหาที่เป็นผลพวงจากเรื่อง ผบ.ตร.อีกครั้ง
เรื่องแรกคือการตัดสินใจตั้ง “เลขาธิการนายกรัฐมนตรี” คนใหม่ มาแทนนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ ที่ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง และสั่งทีมงานหน้าห้องเก็บของออกจากตึกไทยคู่ฟ้า ตั้งแต่เมื่อ 30 กันยายน ที่ผ่านมา ทว่า อภิสิทธิ์ กลับเพิ่งเปิดปากยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ได้อนุมัติหนังสือลาออกของนิพนธ์ เรียบร้อยแล้ว
ด้วยระยะเวลา 6 วัน นับแต่ได้รับหนังสือลาออกและปรากฏเป็นข่าวต่อสื่อมวลชน แต่นายกรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาของนิพนธ์ กลับเพิ่งยอมรับเรื่องนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ความพยายามต่อสาย-เคลียร์ใจกับนิพนธ์ ของอภิสิทธิ์ ทำไม่สำเร็จในช่วง 6 วันที่ผ่านมา
แม้จะเจรจาเกลี้ยกล่อมและเสนอตำแหน่งประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีให้เพื่อขอให้นิพนธ์ ยังมีบทบาทในการช่วยงานการเมืองในทำเนียบรัฐบาลให้กับอภิสิทธิ์
รวมถึงดึงผู้ใหญ่ในพรรคที่นิพนธ์เคารพนับถืออย่าง นายชวน หลีกภัย มาช่วยอีกแรง ทั้งโทรศัพท์และส่งคนไปส่งสารการเมือง เพื่อขอพบนิพนธ์ เป็นการส่วนตัว แต่อดีตเลขาธิการนายกฯคนนี้ ซึ่งบัดนี้เหลือตำแหน่งการเมืองแค่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
หลบฉากเก็บตัวเงียบ และปิดรับการติดต่อทุกรูปแบบจากคนในปชป. โดยใช้บ้านพักจังหวัดอยุธยาฯ เป็นสถานที่ปลีกวิเวก พร้อมคนรู้ใจไม่กี่คน ทำให้ทุกสายที่โทรถึงนิพนธ์ กลายเป็น
MissCall จำนวนมากในโทรศัพท์มือถือลับของนิพนธ์
สุดท้าย ความพยายามของแกนนำปชป. ที่ต้องการไม่ให้ภาพความขัดแย้งของสามขุนพลประชาธิปัตย์ “อภิสิทธิ์-นิพนธ์-สุเทพ” ลุกลามออกไปทำไม่สำเร็จ
อภิสิทธิ์ก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน นั่นคือการสยบความปั่นป่วนภายในปชป. ที่กำลังมีบางกลุ่มการเมืองต้องการสร้างกระแสให้มีการปรับครม. ควบคู่ไปกับการหาคนมาทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ หรือ “นายกฯน้อย” ให้กับเขา
แม้จะมีคำยืนยันจากอภิสิทธิ์แล้วว่า จะไม่มีการปรับ ครม.โดยโยกนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ออกจากรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นเลขาธิการนายกฯ เพื่อทำให้เกิดการปรับครม.
แต่ก็ใช่ว่า เก้าอี้นายกฯน้อย จะหาคนมาแทนนิพนธ์ได้ง่ายเสียเมื่อไหร่
เหตุเพราะตำแหน่งนี้ต้องมีคุณสมบัติพิเศษไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะกับการเป็น “นักประสานทางการเมือง” ที่ต้องมีความเจนจัดและบารมีพอสมควรในการยอมรับของนักการเมืองทุกพรรค และข้าราชการทุกกระทรวง บนข้อจำกัดที่ต้องไม่ใช่ ส.ส.และไม่ทำให้เกิดการปรับครม. ตามมา
จึงทำให้ตัวเลือกของอภิสิทธิ์ มีไม่มากนักในการหาคนมาเป็นเลขาฯคู่ใจ อันคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 วันนี้ แต่จะไม่มีชื่อของ ส.ส.ปชป. ที่แนบแน่นกับอภิสิทธิ์ ทั้ง ศิริโชค โสภา และ จุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก แน่นอน
ส่วนตัวเต็งอันดับ 1 ที่ ส.ส.และรมต.ในกลุ่มอภิสิทธิ์เชียร์คือนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็เจอปัญหาแรงต้านจากส.ส.ขอพรรค ที่ไม่ชอบบทบาทของอภิรักษ์ ตั้งแต่สมัยเป็นผู้ว่าฯกทม. โดยอ้างเหตุว่า อภิรักษ์ มีบารมีไม่มากพอ อีกทั้งมีคดีความในเรื่องคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ อาจไม่เป็นผลดีต่ออภิสิทธิ์ หากให้มานั่งทำงานหน้าห้อง
แนวทางที่เหลือ คือ เสนอให้ดึงคนนอกมารับตำแหน่งแทน
จึงต้องรอดูการประชุม ส.ส.ประชาธิปัตย์ในวันอังคารที่ 6 ตุลาคมนี้ ซึ่งคาดว่าคงถกเรื่องนี้กันหนัก แม้จะเป็นอำนาจที่อภิสิทธิ์ ตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องฟังความเห็นใคร แต่ในยามที่อภิสิทธิ์ กำลังเสียกำลังพลรอบข้าง หลังเกิดปัญหาขึ้นกับนิพนธ์ จึงทำให้ทุกเสียงในปชป. มีความหมายกับอภิสิทธิ์ อย่างยิ่งในตอนนี้
เรื่องที่สอง คือการเตรียมนัดประชุมก.ต.ช. เพื่อให้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น ก.ต.ช.คนใหม่แทน นายปิยะพันธ์ นิมมานเหมินทร์ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ หนึ่งเดียวใน ก.ต.ช.ที่ยืนเคียงข้างอภิสิทธิ์ ในการผลักดัน พล.ต.อ.ปทีป ขึ้นเป็น ผบ.ตร. มาตลอด ที่ล่าสุดโบกมือลาจากกรรมการ ก.ต.ช. ตามหลัง พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์ อดีตรอง ผบ.ตร. ที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ จนทำให้อภิสิทธิ์ ไม่เหลือขุมกำลังใน ก.ต.ช.อีกต่อไปแล้ว
ที่ต้องจับตาดูว่า คนที่จะเป็น ก.ต.ช.คนใหม่แทนปิยะพันธ์ คือใคร และหากมีการเรียกประชุม ก.ต.ช.แล้ว มีวาระแค่เลือก ก.ต.ช.คนใหม่โดยไม่มีการหารือเรื่อง ผบ.ตร.ก็คงทำให้อภิสิทธิ์ต้องตอบคำถามสังคมอีกครั้งว่า
ไฉนเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติเสียที ?
แต่ปัญหาเรื่องขุมกำลังใน ก.ต.ช.นั้น อภิสิทธิ์ คงไม่สนใจอะไรอีกแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่า อภิสิทธิ์ คงให้ พล.ต.อ.ปทีป รักษาการ ผบ.ตร.ไปเรื่อยๆ จนกว่าอภิสิทธิ์จะมั่นใจว่าคุมเสียงในก.ต.ช.ได้แล้ว ถึงค่อยเรียกประชุมก.ต.ช. เพื่อลงมติให้พล.ต.อ.ปทีป เป็นผบ.ตร.เต็มตัว
อย่างไรก็ดี ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณการเมืองหลายอย่างบ่งชี้ว่า เสียงใน ก.ต.ช.เริ่มไม่นิ่งอีกแล้ว จากเดิมที่ ก.ต.ช.ส่วนใหญ่แพคกำลังกันต้าน อภิสิทธิ์ จนทำให้การผลักดัน “บิ๊กทีป” สองครั้งสองหนทำไม่สำเร็จ แต่ล่าสุด กลับพบว่า ก.ต.ช. อย่างนาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กลับบอกว่า พร้อมพูดคุยกับ อภิสิทธิ์ เพื่อให้ปัญหาเรื่อง ผบ.ตร.จบโดยเร็ว เพราะยามนี้ท่าทีความในใจเรื่อง ผบ.ตร.ได้เปลี่ยนไปแล้ว
อันตีความได้ว่า เป็นไปได้ที่ ชวรัตน์ ซึ่งคุมอีกหนึ่งเสียงก.ต.ช.คือ นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่เป็น ก.ต.ช.โดยตำแหน่ง ซึ่งประกาศชัดเจนตั้งแต่วินาทีแรกที่เดินเข้ากระทรวงมหาดไทย เพื่อรับตำแหน่งปลัดมท.ว่า
“เรื่องก.ต.ช.ก็แล้วแต่ท่านชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท.1 ท่านว่าอย่างไร ผมก็ว่าอย่างนั้น”
อาจเปลี่ยนข้างมาอยู่กับอภิสิทธิ์แล้ว เพราะได้ “ข้อมูลใหม่” ในเรื่องตำแหน่ง ผบ.ตร.
ประเมินว่า ช่วงหลังภูมิใจไทย และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรค สมประโยชน์กับอภิสิทธิ์ หลายเรื่อง จนอาจทำให้ท่าทีของภูมิใจไทย ในการตั้ง ผบ.ตร.เปลี่ยนไป
ทั้งกรณีที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน มูลค่า 63,000 ล้านบาท หรือการเห็นชอบร่วมกัน ในเรื่องการทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากรัฐสภารับหลักการในวาระที่ 1 อันเป็นแนวคิดที่ภูมิใจไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่สุดท้าย เนวิน และภูมิใจไทย ก็ยอมถอยมาหนึ่งก้าวเห็น ด้วยกับการทำประชามติเพราะเห็นแล้วว่า
การทำประชามติ คือหลักประกันที่ดีที่สุดในการทำให้รัฐบาลมีความมั่นคง และจะอยู่ได้อย่างสบายๆ ไปอีกอย่างน้อย 9 เดือนถึง 1 ปี ในช่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เป็น 9 เดือนซึ่งถือว่ายาวนานพอที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคสร้างความแข็งแกร่งก่อนศึกเลือกตั้งจะมาถึง จนเป็นความเห็นชอบร่วมกันของที่ประชุมวงกาแฟบ้านพิษณุโลก เมื่อช่วงค่ำวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา
กระนั้นก็ตาม สุภาษิตฝรั่งเศส ที่ ชวรัตน์ ชอบยกมากล่าวอ้างที่ว่า
“เห็นนกนางนวลบินมา อย่าคิดว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว”
ก็น่าจะนำมาใช้กับกรณีท่าทีของชวรัตน์ ในเรื่องนี้ได้ว่า อย่าเพิ่งวางใจ เนวิน-ชวรัตน์ จนกว่ามติ ก.ต.ช.จะออกมา !