xs
xsm
sm
md
lg

108 – 1009 เรื่องเล่าอนุพันธ์:“เลือกออปชั่นอย่างไร ให้ได้เงินไม่น้อย แต่เสียเงินไม่มาก”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คงจะเป็นข้อสงสัยของนักลงทุนหลายๆ ท่านว่า ออปชั่นที่มีให้เลือกซื้อขายหลากหลาย Series ในตลาดนั้น ควรเลือก Series ไหนดี บางท่านอาจมีความเข้าใจเรื่องกลยุทธ์ในการจับคู่ออปชั่นเพื่อทำ Spread แล้ว เช่น Bull Call, Bear Call, Bull Put และ Bear Put Spread แต่ยังหาวิธีจับคู่ Strike Price (ราคาใช้สิทธิ) ไม่ได้ว่า Series ไหนน่าจะนำมาจับคู่กัน ดังนั้นสัปดาห์นี้ ดิฉันขอนำเสนอโปรแกรมช่วยหา Series ที่ตรงกับความต้องการของท่าน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ TFEX ได้สร้างไว้เมื่อตอนเปิดซื้อขายออปชั่นแรกๆ อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้มีข้อจำกัดคือ จะแนะนำโดยใช้ราคาทางทฤษฎี (ตามที่ TFEX อธิบายไว้ในโปรแกรมนี้) แต่ในชีวิตจริง เราอาจจะไม่ได้ซื้อ/ขายที่ราคานั้นได้ ดังนั้น ดิฉันจึงนำกลยุทธ์ที่ โปรแกรมของ TFEX แนะนำมาเทียบกับราคา (Premium) ที่เกิดขึ้นจริงในตลาดวันนั้น เพื่อพิจารณาว่าเราจะเลือก กลยุทธ์ใดเพื่อให้เวลาที่ตัดสินใจถูกทางแล้ว (คาดว่าจะตลาดจะขึ้น แล้วขึ้นจริง หรือ คาดว่าตลาดจะลง แล้วลงจริง) ได้เงินไม่น้อย และถ้าตัดสินใจผิดทาง ก็ควรจะเสียเงินไม่มากด้วย

ก่อนอื่นถ้าเราต้องการตัดสินใจเลือกออปชั่นในเบื้องต้นเราอาจจะเลือกตัวที่มีคนนิยมซื้อขายกันก่อน นั่นคือ ออปชั่นที่มีอายุคงเหลือสั้นที่สุด หรือ Series ที่มีเดือนใกล้ที่สุด จากภาพตัวอย่างที่ 1 นักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2552 หากท่านยังไม่มีกรอบดัชนีในใจว่าจะขึ้นไปแค่ไหน แต่คาดว่าต้องขึ้นแรงแน่นอน ท่านอาจจะเลือก Long Call Options ตามที่โปรแกรมแนะนำ (โปรแกรมจะแนะนำกลยุทธ์เฉพาะ ออปชั่นเท่านั้นนะคะ) ว่าควรเป็น Strike Price (ราคาใช้สิทธิ) ที่เท่าไร หรือถ้าคาดว่าตลาดจะขึ้นเล็กน้อย (Sideways up) ท่านอาจจะเลือก Short Put Options ตามราคาใช้สิทธิที่โปรแกรมแนะนำก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าหากท่านมีกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีในใจ และคิดว่าตลาดน่าจะขึ้นแรงพอสมควร (แต่ไม่แน่ใจว่าจะผิดทางหรือไม่) โปรแกรมจะให้ท่านระบุดัชนีเป้าหมาย และจุดระงับผลขาดทุน แล้วจึงแนะนำกลยุทธ์ที่เป็นการลงทุนในตลาดขาขึ้นให้ท่านดังภาพตัวอย่างที่ 1 นี้

เนื่องจากสิ่งที่เครื่องมือแนะนำจะเป็น Premium ทางทฤษฎี ดังนั้นถ้าอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในตลาด จะได้ราคา Premium ดังตาราง เมื่อคิดกำไรสูงสุด, ขาดทุนสูงสุด และจุดคุ้มทุนแต่ละกลยุทธ์แล้วจะเป็นดังนี้

และถ้าท่านใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้นนี้ แต่เปลี่ยนมุมมองเป็นขาลงบ้าง โปรแกรมจะแนะนำกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้ และเมื่อแทนค่า Premium จริงที่เกิดขึ้นในตลาด ณ วันนั้น (29 กันยายน 2552) แล้ว จะทำให้ได้กำไรสูงสุด, ขาดทุนสูงสุด และจุดคุ้มทุนแต่ละกลยุทธ์ดังตารางนี้

จากตารางจะเห็นว่า หากต้องการผลตอบแทนแบบ High Risk , High Return ควรเลือกกลยุทธ์ 1 – 2 แต่หากรับความเสี่ยงได้จำกัด และยินดีรับผลตอบแทนจำกัดเช่นกัน ควรเลือกกลยุทธ์ 3 – 4

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการนำเสนอ เพื่อให้ท่านได้ลองพิจารณาตามความเหมาะสม และมุมมองต่อทิศทางตลาดของแต่ละท่านเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งกำไร/ขาดทุน ต้องขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ตลาดที่ถูกต้องหรือไม่ด้วยนะคะ หากท่านใดสนใจโปรแกรมช่วยเลือกออปชั่นตามที่ดิฉันอธิบายนี้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ website ของ บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) ที่ www.poems.in.th ได้นะคะ

ถ้าท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการเสริมความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ท่านสามารถลงทะเบียนอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ของบมจ. หลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) ได้ที่ www.poems.in.th หรือสอบถามโดยตรงกับดิฉัน (ณภัทร์ ภัทรานิตฐ์ ผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจอนุพันธ์) โดยส่งคำถามของท่าน มาที่ Futures@phillip.co.th ค่ะ
กำลังโหลดความคิดเห็น