นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินงานกิจการ 67 โครงการนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดยืนอุทธรณ์และขอเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวคาดว่าอย่างเร็วจะยื่นได้ภายในวันนี้ (2 ต.ค.)และอย่างช้าอาจเป็นวันที่ 5 ต.ค.เนื่องจากต้องมีการดูในรายละเอียดให้ถูกต้อง
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้เร่งรัด การยื่นคำอุทธรณ์ฯภายใน 1-2 วันเพราะยิ่งช้าก็จะยิ่งทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเพิ่มไปอีก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อัยการที่มอบหมายกำลังรวบรวมรายละเอียดอยู่เดิมเดิมตั้งใจจะยื่นวันที่ 1 ต.ค.แต่มีรายละเอียดต่างๆ ที่จะต้องตรวจทานให้รอบคอบก่อนก็จะเร่งให้เร็วเพราะหากพ้นวันที่ 2 ต.ค.ไปแล้วจะติดเสาร์-อาทิตย์อย่างช้าจะเป็นวันจันทร์
“เราคงจะต้องยื่นอุทธรณ์โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนในมาบตาพุดเป็นการลงทุนบนพื้นฐานที่จะต้องลดมลพิษก่อนแล้วลงทุนเพียง 80% ของแผนที่ลดมลพิษเท่านั้น และโครงการจำนวนหนึ่งเป็นการลงทุนเพื่อทำให้มลพิษดีขึ้นและที่ผ่านมาก็ได้ทำตามระเบียบกฏหมายทุกๆ อย่าง”นายสรยุทธ์กล่าว
การยื่นอุทธรณ์คงจะครอบคลุมทั้ง 76 โครงการตามคำสั่งศาลฯที่สั่งระงับการดำเนินงานใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาในที่สุด ซึ่งตามหลักแล้วผู้เป็นจำเลยเป็น 8 หน่วยงานจึงเป็นหน้าที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ฯและหากให้เอกชนยื่นอุทธรณ์เป็นรายๆ ไปก็จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายไปอีกและตามหลักกฏหมายแล้วคำสั่งศาลก็จะไม่มีการแยกการขอเพิกถอนซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงต่อนายกรัฐมนตรีแล้วซึ่งท่านก็เข้าใจ
******โต้ยื่นอุทธรณ์ไม่ได้ไร้มนุษยธรรม
สำหรับกรณีที่กลุ่มเคลื่อนไหวระบุว่าการยื่นอุทธรณ์ว่าเป็นผู้ไร้มนุษยธรรมนั้นเรื่องนี้เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนในเมื่อกลุ่มชุมชนไม่เห็นด้วยในการลงทุนหรือไม่มั่นใจในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมก็สามารถไปพึ่งศาลฯได้ ขณะที่นักลงทุนหากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวได้ดำเนินมาตามระเบียบกฏหมายเป็นอย่างดีก็ย่อมพึ่งพิงศาลฯได้เช่นกัน
******ปตท.รอคำสั่งก.อุตฯ ก่อนหยุด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า กรณีคำสังศาลปกครองฯ ให้ระงับ 76 โครงการนั้น ปตท.ยังคงดำเนินโครงการในนิคมฯมาบตาพุดอยู่เนื่องจากคำสั่งศาลเป็นการฟ้อง8 หน่วยงานรัฐโดยคงจะต้องให้หน่วยงานรัฐแจ้งกับเอกชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว โดย 76 โครงการมีมูลค่าประมาณ 2.9 แสนล้านบาทส่วนที่เป็นโครงการของปตท. 25 โครงการมูลค่า 1.2-1.3 แสนล้านบาท
“หากได้รับแจ้งมาว่าจะให้ทำอย่างไรนั้นจะหารือกับเอกชนอื่นๆทั้งปูนซิเมนต์ไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือส.อ.ท.ถึงแนวทางดำเนินการต่อไป หากต้องชะลอการลงทุนจะกระทบต่อนักลงทุน สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ ผู้รับเหมา เราไม่ควรจะหยุดการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสิ้นชิงเพราะประเทศจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปการ เน้นด้านเทคโนโลยี พวกนี้ก็ต้องใช้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งสิ้น เอกชนคงไม่คิดที่จะฟ้องในขณะนี้ แต่หากมีการสั่งชะลอหรือหยุดลงทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มีใครรับผิดชอบ ก็ต้องพึ่งกระบวนการของศาล แต่ผมยังเชื่อว่าเมืองไทยยังน่าจะมีทางออกที่ดี”นายประเสิรฐกล่าว
ทั้งนี้ ผลกระทบปีนี้คงไม่มีเพราะส่วนใหญ่โครงการจะแล้วเสร็จปลายปีแต่จะเห็นผลในปี 2553-2554ดังนั้นควรจะต้องมีทางออกร่วมกันได้ ซึ่งหากท้ายสุดให้เบรกการลงทุนทั้งหมดก็จะมีผลกระทบกับโครงการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโรโฟร์ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่รัฐกำหนดซึ่งเป็นการลดมลภาวะทางอากาศที่จะบังคับในปี 2555 ได้
*****ปตท.แย้มอาจขอทุเลาบังคับคดี
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่การเงินบมจ.ปตท. กล่าวว่า โรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ดำเนินการไปแล้ว 60% ต้นปีน่าจะแล้วเสร็จหากต้องชะลอออกไปจะส่งผลกระทบกับโครงการต่อเนื่องคือโอเลฟินส์แคกเกอร์ ของพีทีที เคมิคอล และจะกระทบกับแอลพีจีก็จะต้องนำเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่ง ปตท.คงจะต้องดูว่าจะทำอย่างไรซึ่งอาจจะหารือกับเอกชนที่ได้รับผลกระทบหาทางออก เช่นการขอทุเลาบังคับคดีเพราะได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาล แต่คงจะรอการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนจึงจะดำเนินการให้สอดคล้องไปพร้อมๆ กัน
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่บ.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า บริษัทมี 2 โครงการที่อยู่ใน 76 โครงการซึ่งขณะนี้บริษัทฯกำลังรอหนังสือจากหน่วยงานรัฐว่าจะดำเนินงานเกี่ยวกับคำสั่งศาลฯอย่างไรหากมีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการก็จะทำหนังสือไปที่กระทรวงพลังงานเพื่อขอให้เลื่อนการบังคับใช้น้ำมันมาตรฐานยูโรโฟร์ออกไปเพราะปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด 1-2 เดือนจะต้องตอกเสาเข็มและแผนต้องเสร็จธ.ค. 54
“สัปดาห์หน้าจะหารือกับผู้ประกอบการโรงกลั่นอื่นๆ เพื่อฟังความเห็นเรื่องนี้ก่อนทำหนังสือไปยังกระทรวงพลังงาน ส่วนผลกระทบยังไม่ได้ประเมิน เวียดนามเองมีการกระตุ้นลงทุนขณะที่ไทยเกิดแบบนี้จะทำให้นักลงทุนอ่อนไหวอยากให้จบโดยเร็ว”
****นักลงทุนผวาไทยปิดประตูลงทุน
แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ย้ำว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติและผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศต่างสอบถามเข้ามาเพราะมีความสับสนต่อนโยบายการลงทุนของไทยอย่างมากตั้งแต่กรณีที่นายกกอร์ปศักดิ์ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อหลายครั้งว่าไทยควรจะหันมาทบทวนการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเหล็กต้นน้ำว่าจำเป็นหรือไม่ และพยายามชี้นำว่าไทยควรจะก้าวไปในอุตสาหกรรมบริการ ท่องเที่ยว จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งระงับดำเนิน 76 โครงการทำให้เกิดคำถามว่าไทยจะปิดประตูลงทุนภาคอุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะปิโตรเคมีและเหล็กหรือไม่ ซึ่งคำถามเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เอกชนเองก็ตอบไม่ได้
“ครม.เศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้ตีกลับแผนที่ส.อ.ท.สนับสนุนคือโครงการนำร่องนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์หรืออีโค-ทาวน์ที่ระยอง ทั้งที่การเสนอต้องการที่จะทำให้เห็นถึงความร่วมมือทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าด้วยกันแต่กลับให้เหตุผลเพียงคณะกรรมการมีความเทอะทะไป”แหล่งข่าวกล่าว
***โบรกฯ เชื่อต่างชาติยังไม่ทิ้งหุ้น
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า คำสั่งศาลปกครองกลางได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ หลังจากที่ผ่านมารัฐบาลพยายามชักชวนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างประเทศที่ชะลอลงทุนในไทยจะหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน เนื่องจากประเทศแถบเพื่อนบ้านมีแรงจูงใจนักลงทุนต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และมาเลเซีย ได้จัดพื้นที่สนับสนุนการลงทุนโดยจะไม่เก็บภาษีเป็นเวลา 10 ปี และไม่จำกัดจำนวนประชากรที่จะเข้าไปทำงาน และมาเลเซียประกาศจะดึงดูดเม็ดเงินลงจากประเทศตะวันออกกลางเข้าไปลงทุน เป็นต้น
สำหรับโครงการที่ผ่านการอนุมัติแล้วแต่ไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ จะส่งผลกระทบเรื่องแผนการจ้างงาน แผนการตลาด การขยายธุรกิจต้องหยุดชะงักทั้งหมด เพราะมูลค่าการลงทุนในมาบตาพุดนับเป็นเงินมหาศาล รวมทั้งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกนอกประเทศ จากบริษัทคนไทยที่มีฐานะการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และทำให้ไทยสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย เวียดนาม ที่กำลังเร่งส่งเสริมการลงทุนในประเทศส่วนผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น ได้สะท้อนไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน 52 ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลง ซึ่งเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศจะค่อยปรับตัวลดลง
นายไพบูลย์ นลิทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ทิสโก้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวได้เพิ่มความเสี่ยงจากเดิมที่มีอยู่มากแล้ว แต่เท่าที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความตระหนกต่อข่าวดังกล่าวอย่างไร เพราะเชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่ลงตัว รวมทั้งยังเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศจะยังไม่ขายหุ้นออกมาในระยะสั้นๆ นี้ เพราะตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติยังมีกำไรจากการลงทุนในหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่ศาลฯระงับการลงทุนโครงการในมาบตาพุดอาจจะกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าการคุ้มครองของศาลจะเป็นอย่างไร และหลังมีการยื่นอุทธรณ์แล้วผลจะเป็นอย่างไร
**เตือนนายกฯ เคยพูด 'ศก.แบบชุมชน'
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า แม้ตามกฎหมายจะให้ 8 ผู้ประกอบการ ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ภายใน 30 ถือว่าเป็นคน ที่ไม่มีคุณธรรมจริยธรรมในหัวใจ เพราะพี่น้องมาบตาพุดได้ยื่นคัดค้านเรื่องนี้ ต่อศาลมาแล้วถึงสองศาล ซึ่งศาลแรก(ศาลปกครองระยอง)ได้ประกาศให้มาบตาพุด เป็นเขตุควบคุมมลพิษและยื่นต่อศาลที่สอง(ศาลปกครองกลาง)เพราะเห็นว่าจะมีการขยายโรงงานถึง 76 โครงการ โดยที่ปัญหาเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นหากปล่อยให้เพิ่มโรงงาน ก็จะเป็นการเพิ่มมลพิษเข้าไปอีก
ทั้งนี้ ได้เข้าพบที่ ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 18 ก.ย.52 นายกฯบอกชัดเจนว่า 1.ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะหน่วยงานราชการไม่ได้บังคับใช้กฎหมาย 2.ต้องดำเนินตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 แต่ติดขัดที่ยังหาคำนิยามคำว่า รุนแรงไม่ได้ ดังนั้นจะต้องไปหาขอบเขตุคำว่ารุนแรง ให้ได้ก่อนที่จะประกาศออกไป 3. รูปลักษณ์ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4.ต้องเอาโครงการทั้งหมด โดยดูที่ละโครงการ ว่า มีโครงการใดบ้างรุนแรง ไม่รุนแรง 5.ให้ตั้งกรรมการสามฝ่าย มีนายก ตัวแทนชาวบ้าน และนักวิชาการเพื่อศึกษาประเมินผลกระทบจากโครงการในมาบตาพุด
“ จนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นเมื่อไร ดังนั้นหากเป็นรัฐบาลแล้วไม่ดำเนินตามกรอบกฎหมายก็เป็นรัฐบาลที่ไม่ได้ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง วันนี้ เศรษฐกิจของชาติจะเสียหาย ตรงนี้ขอถามกลับ ว่า แล้วใครเสียหายเพราะช่างหลังๆในมาบตาพุดมีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนกลุ่มใหญ่ๆเพียงสองกลุ่ม คือ ปตท. กับกลุ่มปูนใหญ่
ดังนั้นหากไม่มีการลงทุนที่มาบตาพุด แล้วรัฐบาลให้เหตุผลในเชิงหลักวิชาการได้ว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นทำให้ชาติจะล่มสลาย หรือจะยากจนเหมือนเอธิโอเปียหรือไม่ ตนจะถือว่าจำเป็นต้องตั้งเพื่อความมั่งคั่งของประเทศ และจะไม่คัดค้านให้ทำตามรัฐธรรมนูญเลย “นายสุทธิกล่าว
นายวีระ ชมพันธุ์ รองประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ กล่าวว่า โครงการต่างๆ แม้จะได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ 24 ส.ค.50 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญ 50 จะมีผลใช้บังคับก็จริง แต่การอนุมัติโครงการทั้งหมด ได้อนุมัติหลังวันที่ 24 ส.ค.50 เพราะฉะนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550ใช้บังคับแล้วจึงต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 50 ก่อน
“เราไม่ได้ต่อต้านการก่อสร้างโรงงานหรือขัดขวางทางเจริญของประเทศ ที่ยื่นฟ้องเพียงเพราะต้องการให้ โครงการที่จะเกิดขึ้น เข้าศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้” นายวีระกล่าว.
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้เร่งรัด การยื่นคำอุทธรณ์ฯภายใน 1-2 วันเพราะยิ่งช้าก็จะยิ่งทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเพิ่มไปอีก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อัยการที่มอบหมายกำลังรวบรวมรายละเอียดอยู่เดิมเดิมตั้งใจจะยื่นวันที่ 1 ต.ค.แต่มีรายละเอียดต่างๆ ที่จะต้องตรวจทานให้รอบคอบก่อนก็จะเร่งให้เร็วเพราะหากพ้นวันที่ 2 ต.ค.ไปแล้วจะติดเสาร์-อาทิตย์อย่างช้าจะเป็นวันจันทร์
“เราคงจะต้องยื่นอุทธรณ์โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนในมาบตาพุดเป็นการลงทุนบนพื้นฐานที่จะต้องลดมลพิษก่อนแล้วลงทุนเพียง 80% ของแผนที่ลดมลพิษเท่านั้น และโครงการจำนวนหนึ่งเป็นการลงทุนเพื่อทำให้มลพิษดีขึ้นและที่ผ่านมาก็ได้ทำตามระเบียบกฏหมายทุกๆ อย่าง”นายสรยุทธ์กล่าว
การยื่นอุทธรณ์คงจะครอบคลุมทั้ง 76 โครงการตามคำสั่งศาลฯที่สั่งระงับการดำเนินงานใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาในที่สุด ซึ่งตามหลักแล้วผู้เป็นจำเลยเป็น 8 หน่วยงานจึงเป็นหน้าที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ฯและหากให้เอกชนยื่นอุทธรณ์เป็นรายๆ ไปก็จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายไปอีกและตามหลักกฏหมายแล้วคำสั่งศาลก็จะไม่มีการแยกการขอเพิกถอนซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงต่อนายกรัฐมนตรีแล้วซึ่งท่านก็เข้าใจ
******โต้ยื่นอุทธรณ์ไม่ได้ไร้มนุษยธรรม
สำหรับกรณีที่กลุ่มเคลื่อนไหวระบุว่าการยื่นอุทธรณ์ว่าเป็นผู้ไร้มนุษยธรรมนั้นเรื่องนี้เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนในเมื่อกลุ่มชุมชนไม่เห็นด้วยในการลงทุนหรือไม่มั่นใจในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมก็สามารถไปพึ่งศาลฯได้ ขณะที่นักลงทุนหากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวได้ดำเนินมาตามระเบียบกฏหมายเป็นอย่างดีก็ย่อมพึ่งพิงศาลฯได้เช่นกัน
******ปตท.รอคำสั่งก.อุตฯ ก่อนหยุด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า กรณีคำสังศาลปกครองฯ ให้ระงับ 76 โครงการนั้น ปตท.ยังคงดำเนินโครงการในนิคมฯมาบตาพุดอยู่เนื่องจากคำสั่งศาลเป็นการฟ้อง8 หน่วยงานรัฐโดยคงจะต้องให้หน่วยงานรัฐแจ้งกับเอกชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว โดย 76 โครงการมีมูลค่าประมาณ 2.9 แสนล้านบาทส่วนที่เป็นโครงการของปตท. 25 โครงการมูลค่า 1.2-1.3 แสนล้านบาท
“หากได้รับแจ้งมาว่าจะให้ทำอย่างไรนั้นจะหารือกับเอกชนอื่นๆทั้งปูนซิเมนต์ไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือส.อ.ท.ถึงแนวทางดำเนินการต่อไป หากต้องชะลอการลงทุนจะกระทบต่อนักลงทุน สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ ผู้รับเหมา เราไม่ควรจะหยุดการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสิ้นชิงเพราะประเทศจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปการ เน้นด้านเทคโนโลยี พวกนี้ก็ต้องใช้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งสิ้น เอกชนคงไม่คิดที่จะฟ้องในขณะนี้ แต่หากมีการสั่งชะลอหรือหยุดลงทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มีใครรับผิดชอบ ก็ต้องพึ่งกระบวนการของศาล แต่ผมยังเชื่อว่าเมืองไทยยังน่าจะมีทางออกที่ดี”นายประเสิรฐกล่าว
ทั้งนี้ ผลกระทบปีนี้คงไม่มีเพราะส่วนใหญ่โครงการจะแล้วเสร็จปลายปีแต่จะเห็นผลในปี 2553-2554ดังนั้นควรจะต้องมีทางออกร่วมกันได้ ซึ่งหากท้ายสุดให้เบรกการลงทุนทั้งหมดก็จะมีผลกระทบกับโครงการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโรโฟร์ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่รัฐกำหนดซึ่งเป็นการลดมลภาวะทางอากาศที่จะบังคับในปี 2555 ได้
*****ปตท.แย้มอาจขอทุเลาบังคับคดี
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่การเงินบมจ.ปตท. กล่าวว่า โรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ดำเนินการไปแล้ว 60% ต้นปีน่าจะแล้วเสร็จหากต้องชะลอออกไปจะส่งผลกระทบกับโครงการต่อเนื่องคือโอเลฟินส์แคกเกอร์ ของพีทีที เคมิคอล และจะกระทบกับแอลพีจีก็จะต้องนำเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่ง ปตท.คงจะต้องดูว่าจะทำอย่างไรซึ่งอาจจะหารือกับเอกชนที่ได้รับผลกระทบหาทางออก เช่นการขอทุเลาบังคับคดีเพราะได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาล แต่คงจะรอการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนจึงจะดำเนินการให้สอดคล้องไปพร้อมๆ กัน
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่บ.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า บริษัทมี 2 โครงการที่อยู่ใน 76 โครงการซึ่งขณะนี้บริษัทฯกำลังรอหนังสือจากหน่วยงานรัฐว่าจะดำเนินงานเกี่ยวกับคำสั่งศาลฯอย่างไรหากมีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการก็จะทำหนังสือไปที่กระทรวงพลังงานเพื่อขอให้เลื่อนการบังคับใช้น้ำมันมาตรฐานยูโรโฟร์ออกไปเพราะปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด 1-2 เดือนจะต้องตอกเสาเข็มและแผนต้องเสร็จธ.ค. 54
“สัปดาห์หน้าจะหารือกับผู้ประกอบการโรงกลั่นอื่นๆ เพื่อฟังความเห็นเรื่องนี้ก่อนทำหนังสือไปยังกระทรวงพลังงาน ส่วนผลกระทบยังไม่ได้ประเมิน เวียดนามเองมีการกระตุ้นลงทุนขณะที่ไทยเกิดแบบนี้จะทำให้นักลงทุนอ่อนไหวอยากให้จบโดยเร็ว”
****นักลงทุนผวาไทยปิดประตูลงทุน
แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ย้ำว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติและผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศต่างสอบถามเข้ามาเพราะมีความสับสนต่อนโยบายการลงทุนของไทยอย่างมากตั้งแต่กรณีที่นายกกอร์ปศักดิ์ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อหลายครั้งว่าไทยควรจะหันมาทบทวนการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเหล็กต้นน้ำว่าจำเป็นหรือไม่ และพยายามชี้นำว่าไทยควรจะก้าวไปในอุตสาหกรรมบริการ ท่องเที่ยว จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งระงับดำเนิน 76 โครงการทำให้เกิดคำถามว่าไทยจะปิดประตูลงทุนภาคอุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะปิโตรเคมีและเหล็กหรือไม่ ซึ่งคำถามเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เอกชนเองก็ตอบไม่ได้
“ครม.เศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้ตีกลับแผนที่ส.อ.ท.สนับสนุนคือโครงการนำร่องนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์หรืออีโค-ทาวน์ที่ระยอง ทั้งที่การเสนอต้องการที่จะทำให้เห็นถึงความร่วมมือทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าด้วยกันแต่กลับให้เหตุผลเพียงคณะกรรมการมีความเทอะทะไป”แหล่งข่าวกล่าว
***โบรกฯ เชื่อต่างชาติยังไม่ทิ้งหุ้น
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า คำสั่งศาลปกครองกลางได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ หลังจากที่ผ่านมารัฐบาลพยายามชักชวนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างประเทศที่ชะลอลงทุนในไทยจะหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน เนื่องจากประเทศแถบเพื่อนบ้านมีแรงจูงใจนักลงทุนต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และมาเลเซีย ได้จัดพื้นที่สนับสนุนการลงทุนโดยจะไม่เก็บภาษีเป็นเวลา 10 ปี และไม่จำกัดจำนวนประชากรที่จะเข้าไปทำงาน และมาเลเซียประกาศจะดึงดูดเม็ดเงินลงจากประเทศตะวันออกกลางเข้าไปลงทุน เป็นต้น
สำหรับโครงการที่ผ่านการอนุมัติแล้วแต่ไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ จะส่งผลกระทบเรื่องแผนการจ้างงาน แผนการตลาด การขยายธุรกิจต้องหยุดชะงักทั้งหมด เพราะมูลค่าการลงทุนในมาบตาพุดนับเป็นเงินมหาศาล รวมทั้งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกนอกประเทศ จากบริษัทคนไทยที่มีฐานะการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และทำให้ไทยสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย เวียดนาม ที่กำลังเร่งส่งเสริมการลงทุนในประเทศส่วนผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น ได้สะท้อนไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน 52 ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลง ซึ่งเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศจะค่อยปรับตัวลดลง
นายไพบูลย์ นลิทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ทิสโก้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวได้เพิ่มความเสี่ยงจากเดิมที่มีอยู่มากแล้ว แต่เท่าที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความตระหนกต่อข่าวดังกล่าวอย่างไร เพราะเชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่ลงตัว รวมทั้งยังเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศจะยังไม่ขายหุ้นออกมาในระยะสั้นๆ นี้ เพราะตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติยังมีกำไรจากการลงทุนในหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่ศาลฯระงับการลงทุนโครงการในมาบตาพุดอาจจะกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าการคุ้มครองของศาลจะเป็นอย่างไร และหลังมีการยื่นอุทธรณ์แล้วผลจะเป็นอย่างไร
**เตือนนายกฯ เคยพูด 'ศก.แบบชุมชน'
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า แม้ตามกฎหมายจะให้ 8 ผู้ประกอบการ ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ภายใน 30 ถือว่าเป็นคน ที่ไม่มีคุณธรรมจริยธรรมในหัวใจ เพราะพี่น้องมาบตาพุดได้ยื่นคัดค้านเรื่องนี้ ต่อศาลมาแล้วถึงสองศาล ซึ่งศาลแรก(ศาลปกครองระยอง)ได้ประกาศให้มาบตาพุด เป็นเขตุควบคุมมลพิษและยื่นต่อศาลที่สอง(ศาลปกครองกลาง)เพราะเห็นว่าจะมีการขยายโรงงานถึง 76 โครงการ โดยที่ปัญหาเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นหากปล่อยให้เพิ่มโรงงาน ก็จะเป็นการเพิ่มมลพิษเข้าไปอีก
ทั้งนี้ ได้เข้าพบที่ ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 18 ก.ย.52 นายกฯบอกชัดเจนว่า 1.ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะหน่วยงานราชการไม่ได้บังคับใช้กฎหมาย 2.ต้องดำเนินตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 แต่ติดขัดที่ยังหาคำนิยามคำว่า รุนแรงไม่ได้ ดังนั้นจะต้องไปหาขอบเขตุคำว่ารุนแรง ให้ได้ก่อนที่จะประกาศออกไป 3. รูปลักษณ์ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4.ต้องเอาโครงการทั้งหมด โดยดูที่ละโครงการ ว่า มีโครงการใดบ้างรุนแรง ไม่รุนแรง 5.ให้ตั้งกรรมการสามฝ่าย มีนายก ตัวแทนชาวบ้าน และนักวิชาการเพื่อศึกษาประเมินผลกระทบจากโครงการในมาบตาพุด
“ จนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นเมื่อไร ดังนั้นหากเป็นรัฐบาลแล้วไม่ดำเนินตามกรอบกฎหมายก็เป็นรัฐบาลที่ไม่ได้ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง วันนี้ เศรษฐกิจของชาติจะเสียหาย ตรงนี้ขอถามกลับ ว่า แล้วใครเสียหายเพราะช่างหลังๆในมาบตาพุดมีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนกลุ่มใหญ่ๆเพียงสองกลุ่ม คือ ปตท. กับกลุ่มปูนใหญ่
ดังนั้นหากไม่มีการลงทุนที่มาบตาพุด แล้วรัฐบาลให้เหตุผลในเชิงหลักวิชาการได้ว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นทำให้ชาติจะล่มสลาย หรือจะยากจนเหมือนเอธิโอเปียหรือไม่ ตนจะถือว่าจำเป็นต้องตั้งเพื่อความมั่งคั่งของประเทศ และจะไม่คัดค้านให้ทำตามรัฐธรรมนูญเลย “นายสุทธิกล่าว
นายวีระ ชมพันธุ์ รองประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ กล่าวว่า โครงการต่างๆ แม้จะได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ 24 ส.ค.50 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญ 50 จะมีผลใช้บังคับก็จริง แต่การอนุมัติโครงการทั้งหมด ได้อนุมัติหลังวันที่ 24 ส.ค.50 เพราะฉะนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550ใช้บังคับแล้วจึงต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 50 ก่อน
“เราไม่ได้ต่อต้านการก่อสร้างโรงงานหรือขัดขวางทางเจริญของประเทศ ที่ยื่นฟ้องเพียงเพราะต้องการให้ โครงการที่จะเกิดขึ้น เข้าศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้” นายวีระกล่าว.