นายมีชัย วีระไวทยะ ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับชุมชน ที่กำกับสำนักงานชุมชนพอเพียง (สพช.) แถลงภายหลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชีวะ นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 38 คน เมื่อต้นเดือนกันยายนนี้ว่า ตนไม่ขอวิจารณ์ปัญหาในอดีต แต่จะขอความร่วมมือ โดยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการทำงานกับนโยบายที่มีประโยชน์ต่อประชาชนเจ้าของภาษี แต่ยอมรับว่า ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากการทำประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน เช่น โครงการตู้น้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ จะขอระงับไว้ก่อน เนื่องจากพบว่า บางอย่างยังมีราคาที่สูงเกินไป ขณะที่โครงการในลักษณะนี้มียื่นเข้ามาเพียง 2% เท่านั้น
จะมีการตรวจสอบไม่ให้มีการซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักร แต่หากจำเป็นจะให้ส่วนกลางเป็นผู้ตั้งราคากลางขึ้นมาและประกาศในเวปไซด์ของสำนักงาน ชุมชนพอเพียง เป็นการซื้อสินค้าในราคารับประกัน เหมือนกับการการันตีเครื่องจักรชนิดนั้นว่ามีราคาเหมาะสม หากไปปล่อยให้จัดซื้อเองจะกลายเป็นว่าไปรับซื้อสินค้าย้อมแมว
นายมีชัย กล่าวถึงการเข้าดำเนินการกับปัญหาทุจริตในโครงการที่ผ่านมา ว่า บางโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว จะเข้าไปนำออกมาจากอ้อยที่เข้าปากช้างแล้ว ก็คงลำบาก แต่ตนจะส่งคนเข้าไปดูเพื่อตรวจสอบ เหมือนกับการทายา เช่น หากพื้นที่ใดมีปัญหาที่ส่อไปในทางทุจริตก็จะทายาแดงเตือนไว้ว่าโปร่งระวังพื้นที่นี้ ส่วนบางโครงการที่ชาวบ้านไม่ยินดีที่จะใช้ ตนก็พร้อมที่จะลงไปดูด้วยตัวเอง ว่าจะเอากันอย่างไรไปดูถึงกับว่าโครงการนี้ใครไปซื้อ ใครนำมาขาย
หากพบว่ามีคนทุจริต ในช่วงที่ผมเป็นประธานฯ แม้จะมีชื่อว่าเป็นญาติ พี่น้องนายชัย วีระไวทยะ ก็ต้องแจ้งจับ และผมก็ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง แต่จะต้องดูว่าใครหวังดีหรือหวังร้ายกับเราอย่างไร ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดจะนำเข้าสู่คณะกรรมการฯ ผมก็คาดหวังว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุดนายมีชัยตอบ เมื่อถูกคำถามเรื่องหากยังถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง
นายมีชัย ยอมรับว่า คณะกรรมการ 38 คน และนโยบายใหม่จะปรับปรุง โดยให้มีการประชาชนสัมพันธ์ที่จริงจัง สร้างความร่วมมือ สร้างความเป็นเจ้าของ ติดตามประเมินผลและมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ โดยดึงคนจากทังภาครัฐวิสาหกิจ เอกชน ศาสนา รวมทั้งภาครัฐจากทหารและราชการอื่น ๆเข้ามา ร่วมดำเนินการ เพราะโครงการนี้เป็นปรัชญาที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่าไปคิดว่าเป็นของราชการทั้งหมด เพราะเป็นโครงการของผู้เสียภาษี ส่วนงบประมาณดำเนินการจากปี 52 และงบเอสเอ็มแอล รวม 18,215 ล้านบาท มีงบปี 2553 จำนวน 3,018 ล้านบาท
นอกจากนี้ จากการหารือกับรัฐวิสากิจหลายแห่ง เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบที่จะใส่เงินเข้าไปยังชุมชน 84 ตำบล หรือ 1,000 หมู่บ้าน เนื่องจากมีโครงการเกี่ยวกับกองทุนพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน 300 ล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนอย่างบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ก็พร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุน เงิน 4 ล้านบาท โดยจะทุ่มเงิน 5 แสนบาทต่อ 1 ชุมชน เป็นต้น โดยกรอบดังกล่าวประชาชน 1 ชุมชนอาจจะได้รับเงินจากโครงการ 1 ล้านบาท และยังสามารถได้รับการช่วยเหลือจากรัฐวิสาหกิจควบคู่กันไป 2-3 แสนบาท และวันหนึ่งภาครัฐอาจไม่จำเป็นต้องใส่เงินเข้าไปยังชุมชน ควบคู่กับการให้สิทธิพิเศษของกระทรวงการคลังที่จะหักภาษีหรือลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุน เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีแนวคิดในการดันการส่งเสริมวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ใน โครงการชุมนุมพอเพียงด้วย
ประธาน สพช. กล่าวว่า กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานฯ ที่จะมาแทน นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ที่ขอลาออกนั้น ยังอยู่ในขั้นดำเนินการเชื่อว่าจะสามารถแต่งตั้งได้ในเร็ว ๆนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้ง 38 คน เช่น นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่ปรึกษา นางจุรี วิจิตรวาทการ ประธานศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม นิด้า เป็นรองประธานกรรมการฯ มีกรรมการเช่น พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผบ.หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ,พล.ท.พิเชษฐ์ วสัยจร แม่ทัพภาค 4 ,นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กก.ผจก.บมจ.ปตท. ,น.ส.ปฐมา จันทรักษ์ กก.ผจก.บมจ.ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) รวมทั้ง นายกฯสมาคมสื่อ เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่แคนิเดต ผอ.ชุมชนพอเพียงคนใหม่ คาดว่า จะเป็น นายปราโมช รัฐวินิจ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
จะมีการตรวจสอบไม่ให้มีการซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักร แต่หากจำเป็นจะให้ส่วนกลางเป็นผู้ตั้งราคากลางขึ้นมาและประกาศในเวปไซด์ของสำนักงาน ชุมชนพอเพียง เป็นการซื้อสินค้าในราคารับประกัน เหมือนกับการการันตีเครื่องจักรชนิดนั้นว่ามีราคาเหมาะสม หากไปปล่อยให้จัดซื้อเองจะกลายเป็นว่าไปรับซื้อสินค้าย้อมแมว
นายมีชัย กล่าวถึงการเข้าดำเนินการกับปัญหาทุจริตในโครงการที่ผ่านมา ว่า บางโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว จะเข้าไปนำออกมาจากอ้อยที่เข้าปากช้างแล้ว ก็คงลำบาก แต่ตนจะส่งคนเข้าไปดูเพื่อตรวจสอบ เหมือนกับการทายา เช่น หากพื้นที่ใดมีปัญหาที่ส่อไปในทางทุจริตก็จะทายาแดงเตือนไว้ว่าโปร่งระวังพื้นที่นี้ ส่วนบางโครงการที่ชาวบ้านไม่ยินดีที่จะใช้ ตนก็พร้อมที่จะลงไปดูด้วยตัวเอง ว่าจะเอากันอย่างไรไปดูถึงกับว่าโครงการนี้ใครไปซื้อ ใครนำมาขาย
หากพบว่ามีคนทุจริต ในช่วงที่ผมเป็นประธานฯ แม้จะมีชื่อว่าเป็นญาติ พี่น้องนายชัย วีระไวทยะ ก็ต้องแจ้งจับ และผมก็ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง แต่จะต้องดูว่าใครหวังดีหรือหวังร้ายกับเราอย่างไร ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดจะนำเข้าสู่คณะกรรมการฯ ผมก็คาดหวังว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุดนายมีชัยตอบ เมื่อถูกคำถามเรื่องหากยังถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง
นายมีชัย ยอมรับว่า คณะกรรมการ 38 คน และนโยบายใหม่จะปรับปรุง โดยให้มีการประชาชนสัมพันธ์ที่จริงจัง สร้างความร่วมมือ สร้างความเป็นเจ้าของ ติดตามประเมินผลและมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ โดยดึงคนจากทังภาครัฐวิสาหกิจ เอกชน ศาสนา รวมทั้งภาครัฐจากทหารและราชการอื่น ๆเข้ามา ร่วมดำเนินการ เพราะโครงการนี้เป็นปรัชญาที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่าไปคิดว่าเป็นของราชการทั้งหมด เพราะเป็นโครงการของผู้เสียภาษี ส่วนงบประมาณดำเนินการจากปี 52 และงบเอสเอ็มแอล รวม 18,215 ล้านบาท มีงบปี 2553 จำนวน 3,018 ล้านบาท
นอกจากนี้ จากการหารือกับรัฐวิสากิจหลายแห่ง เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบที่จะใส่เงินเข้าไปยังชุมชน 84 ตำบล หรือ 1,000 หมู่บ้าน เนื่องจากมีโครงการเกี่ยวกับกองทุนพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน 300 ล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนอย่างบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ก็พร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุน เงิน 4 ล้านบาท โดยจะทุ่มเงิน 5 แสนบาทต่อ 1 ชุมชน เป็นต้น โดยกรอบดังกล่าวประชาชน 1 ชุมชนอาจจะได้รับเงินจากโครงการ 1 ล้านบาท และยังสามารถได้รับการช่วยเหลือจากรัฐวิสาหกิจควบคู่กันไป 2-3 แสนบาท และวันหนึ่งภาครัฐอาจไม่จำเป็นต้องใส่เงินเข้าไปยังชุมชน ควบคู่กับการให้สิทธิพิเศษของกระทรวงการคลังที่จะหักภาษีหรือลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุน เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีแนวคิดในการดันการส่งเสริมวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ใน โครงการชุมนุมพอเพียงด้วย
ประธาน สพช. กล่าวว่า กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานฯ ที่จะมาแทน นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ที่ขอลาออกนั้น ยังอยู่ในขั้นดำเนินการเชื่อว่าจะสามารถแต่งตั้งได้ในเร็ว ๆนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้ง 38 คน เช่น นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่ปรึกษา นางจุรี วิจิตรวาทการ ประธานศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม นิด้า เป็นรองประธานกรรมการฯ มีกรรมการเช่น พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผบ.หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ,พล.ท.พิเชษฐ์ วสัยจร แม่ทัพภาค 4 ,นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กก.ผจก.บมจ.ปตท. ,น.ส.ปฐมา จันทรักษ์ กก.ผจก.บมจ.ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) รวมทั้ง นายกฯสมาคมสื่อ เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่แคนิเดต ผอ.ชุมชนพอเพียงคนใหม่ คาดว่า จะเป็น นายปราโมช รัฐวินิจ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์