ASTVผู้จัดการรายวัน – ศาลแขวงดุสิต นัดฟังคำพิพากษาคดีกรมควบคุมมลพิษ ฟ้องกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านก๊วน “พี่ชายสุวัจน์-วัฒนา” ฐานฉ้อโกงที่ดินและฉ้อโกงสัญญา เรียกค่าเสียหายคืนรัฐ 2 หมื่นล้าน วันนี้ (1 ต.ค.)
เวลา 10.00 น. วันนี้ (1ต.ค.) ศาลแขวงดุสิต นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 254/2547 คดีความอาญาระหว่างกรมควบคุมมลพิษ โจทก์ กับกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 19 คน ในความผิดฐานฉ้อโกง เรียกค่าเสียหายคืนรัฐ 2 .2 หมื่นล้านบาท
นายสุประวัติ ใจสมุทร ประธานบริษัทสุประวัติอินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลแตนท์ จำกัด หัวหน้าทีมทนายโจทก์ ฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จสิ้นและยื่นแถลงการณ์ปิดคดี ทราบว่านายสมชาย เลิศวิริยจิตต์ ทนายจำเลยที่ 4, 5 และ 7
ได้ยื่นคำร้องขอวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นในประเด็นที่อ้างว่าโจทก์เป็นหน่วยงานราชการแต่ได้ว่าจ้างทนายความเอกชนดำเนินคดี โดยไม่ใช้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายสุประวัติ กล่าวว่า ตนเองได้ยื่นคำคัดค้านไปยังศาลว่าคำร้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 24 ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นที่ต้องขอเสียก่อนหรือไม่ระหว่างพิจารณาคดีเป็นอย่างช้าที่สุด ขณะที่คดีนี้ศาลนัดสืบพยายนโจทก์และจำเลยจนหมดสิ้นกระทั่งศาลนัดฟังคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี
และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องในฐานะเป็นผู้เสียหาย ตามป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28(2) และศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องตามป.วิ.อาญา มาตรา 162(1) การที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายแต่งตั้งทนายยื่นฟ้องเองจึงชอบด้วยหลักกฎหมายทุกประการ ซึ่งคำขอให้ชี้ขาดในประเด็นข้อกฎหมายนี้ คาดว่าศาลจะมีคำสั่งในวันนัดฟังคำพิพากษา
คดีดังกล่าวโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2547 คดีนี้ แยกข้อหาร่วมกันฉ้อโกงใน 2 ส่วน คือ 1) ฉ้อโกงสัญญาก่อสร้างโครงการ โดยปกปิดข้อความจริงว่าบริษัทผู้ชำนาญการบำบัดน้ำเสียของประเทศอังกฤษ คือ บริษัทนอร์ธเวสต์ฯ ว่ายังร่วมอยู่ในกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี ทั้งที่รู้ดีว่า บริษัทดังกล่าวได้ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจก่อนวันทำสัญญา
จึงเป็นเหตุให้กรมควบคุมมลพิษหลงเชื่อยอมเข้าทำสัญญาเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2540 มูลค่าสัญญาประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท
2) ฉ้อโกงที่ดินที่ตั้งโครงการคลองด่าน จำเลยโดยมีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นตัวการผู้รวบรวมที่ดินจากชาวบ้าน ต.คลองด่าน ร่วมกับกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งรู้ดีว่าที่ดินที่ไปรวบรวมกว้านซื้อเป็นที่ดินสงวนหวงห้ามสำหรับเทขยะของราชการ เมื่อกว้านซื้อเสร็จก็นำไปออกโฉนด โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ที่ดิน,
เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใต้อำนาจของนายวัฒนา รมช.มหาดไทย ในขณะเกิดเหตุ แล้วนำโฉนดไปขายให้กับกรมควบคุมมลพิษ รวมเนื้อที่ 1,903 ไร่ มูลค่าประมาณ 2 พันล้านบาท โดยปกปิดที่มาของที่ดิน
สำหรับรายชื่อจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 19 ประกอบด้วย 1) กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี 2) บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 3) นายพิษณุ ชวนะนันท์ 4) บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง 5) นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ พี่ชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 6) บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) 7) นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล 8) บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 9) นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล 10) บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์
11) นายรอยอิศราพร ชุตาภา (ในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 10 และในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 16 และในฐานะส่วนตัว) 12) บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ 13) นายชาลี ชุตาภา 14) นายประพาส ตีระสงกรานต์ 15) นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ 16) บริษัทปาล์ม บีช ดีเวลลอปเม้นท์ 17) นางบุญศรี ปิ่นขยัน 18) นายกว๊อกวา โอเยง 19) นายวัฒนา อัศวเหม
เวลา 10.00 น. วันนี้ (1ต.ค.) ศาลแขวงดุสิต นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 254/2547 คดีความอาญาระหว่างกรมควบคุมมลพิษ โจทก์ กับกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 19 คน ในความผิดฐานฉ้อโกง เรียกค่าเสียหายคืนรัฐ 2 .2 หมื่นล้านบาท
นายสุประวัติ ใจสมุทร ประธานบริษัทสุประวัติอินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลแตนท์ จำกัด หัวหน้าทีมทนายโจทก์ ฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จสิ้นและยื่นแถลงการณ์ปิดคดี ทราบว่านายสมชาย เลิศวิริยจิตต์ ทนายจำเลยที่ 4, 5 และ 7
ได้ยื่นคำร้องขอวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นในประเด็นที่อ้างว่าโจทก์เป็นหน่วยงานราชการแต่ได้ว่าจ้างทนายความเอกชนดำเนินคดี โดยไม่ใช้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายสุประวัติ กล่าวว่า ตนเองได้ยื่นคำคัดค้านไปยังศาลว่าคำร้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 24 ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นที่ต้องขอเสียก่อนหรือไม่ระหว่างพิจารณาคดีเป็นอย่างช้าที่สุด ขณะที่คดีนี้ศาลนัดสืบพยายนโจทก์และจำเลยจนหมดสิ้นกระทั่งศาลนัดฟังคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี
และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องในฐานะเป็นผู้เสียหาย ตามป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28(2) และศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องตามป.วิ.อาญา มาตรา 162(1) การที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายแต่งตั้งทนายยื่นฟ้องเองจึงชอบด้วยหลักกฎหมายทุกประการ ซึ่งคำขอให้ชี้ขาดในประเด็นข้อกฎหมายนี้ คาดว่าศาลจะมีคำสั่งในวันนัดฟังคำพิพากษา
คดีดังกล่าวโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2547 คดีนี้ แยกข้อหาร่วมกันฉ้อโกงใน 2 ส่วน คือ 1) ฉ้อโกงสัญญาก่อสร้างโครงการ โดยปกปิดข้อความจริงว่าบริษัทผู้ชำนาญการบำบัดน้ำเสียของประเทศอังกฤษ คือ บริษัทนอร์ธเวสต์ฯ ว่ายังร่วมอยู่ในกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี ทั้งที่รู้ดีว่า บริษัทดังกล่าวได้ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจก่อนวันทำสัญญา
จึงเป็นเหตุให้กรมควบคุมมลพิษหลงเชื่อยอมเข้าทำสัญญาเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2540 มูลค่าสัญญาประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท
2) ฉ้อโกงที่ดินที่ตั้งโครงการคลองด่าน จำเลยโดยมีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นตัวการผู้รวบรวมที่ดินจากชาวบ้าน ต.คลองด่าน ร่วมกับกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งรู้ดีว่าที่ดินที่ไปรวบรวมกว้านซื้อเป็นที่ดินสงวนหวงห้ามสำหรับเทขยะของราชการ เมื่อกว้านซื้อเสร็จก็นำไปออกโฉนด โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ที่ดิน,
เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใต้อำนาจของนายวัฒนา รมช.มหาดไทย ในขณะเกิดเหตุ แล้วนำโฉนดไปขายให้กับกรมควบคุมมลพิษ รวมเนื้อที่ 1,903 ไร่ มูลค่าประมาณ 2 พันล้านบาท โดยปกปิดที่มาของที่ดิน
สำหรับรายชื่อจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 19 ประกอบด้วย 1) กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี 2) บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 3) นายพิษณุ ชวนะนันท์ 4) บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง 5) นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ พี่ชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 6) บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) 7) นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล 8) บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 9) นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล 10) บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์
11) นายรอยอิศราพร ชุตาภา (ในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 10 และในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 16 และในฐานะส่วนตัว) 12) บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ 13) นายชาลี ชุตาภา 14) นายประพาส ตีระสงกรานต์ 15) นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ 16) บริษัทปาล์ม บีช ดีเวลลอปเม้นท์ 17) นางบุญศรี ปิ่นขยัน 18) นายกว๊อกวา โอเยง 19) นายวัฒนา อัศวเหม