ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.เผยยอดหนี้สาธารณะสิ้นเดือนกรกฏาคมมีจำนวน 3.98 ล้านล้านบาท คิดเป็น 45.35% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.5 แสนล้าน ระบุสาเหตุหลักเป็นหนี้ที่รัฐกู้ตรงเพิ่ม 1.2 แสนล้าน
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยถึงยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ว่ามีจำนวน 3,984,377 ล้านบาท หรือ 45.35% ของ GDP โดยยอดหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,589,542 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,090,998 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 204,817 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 99,020 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 152,806 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 122,627 ล้านบาท และ 38,006 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1,072 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 122,627 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากรัฐบาลได้ทำการออกพันธบัตรรัฐบาลสำหรับนักลงทุนประเภทสถาบัน และออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 35,000 ล้านบาท และ 30,000 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร ไปทยอยชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้เป็น Bridge Financing วงเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมิถุนายนได้ดำเนินการออกพันธบัตรไปแล้ว จำนวน 21,000 ล้านบาท โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2552 และรัฐบาลได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ภายใต้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อสมทบเงินคงคลัง
ยอดหนี้สาธารณะยังแยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 379,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.53 และหนี้ในประเทศ 3,604,850 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.47 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,538,308 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.80 และหนี้ระยะสั้น 446,069 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.20 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยถึงยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ว่ามีจำนวน 3,984,377 ล้านบาท หรือ 45.35% ของ GDP โดยยอดหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,589,542 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,090,998 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 204,817 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 99,020 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 152,806 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 122,627 ล้านบาท และ 38,006 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1,072 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 122,627 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากรัฐบาลได้ทำการออกพันธบัตรรัฐบาลสำหรับนักลงทุนประเภทสถาบัน และออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 35,000 ล้านบาท และ 30,000 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร ไปทยอยชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้เป็น Bridge Financing วงเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมิถุนายนได้ดำเนินการออกพันธบัตรไปแล้ว จำนวน 21,000 ล้านบาท โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2552 และรัฐบาลได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ภายใต้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อสมทบเงินคงคลัง
ยอดหนี้สาธารณะยังแยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 379,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.53 และหนี้ในประเทศ 3,604,850 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.47 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,538,308 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.80 และหนี้ระยะสั้น 446,069 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.20 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง