ความร้อนแรงของตลาดหุ้นไทยขณะนี้ เป็นประเด็นที่ใครๆ ก็มักพูดถึง บ้างก็ว่าจะพุ่งขึ้นต่อตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว บ้างก็ว่าราคาหุ้นแพงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้นักลงทุนอย่างเราๆ ต้องกลับมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตการลงทุนในปีนี้ .... ไม่เป็นไรค่ะ บทความนี้มีคำตอบ
ดิฉันจะไม่ฟันธงว่าจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนดี เพราะผู้เขียนเองก็ยังลุ้นๆ อยู่ แต่มีเคล็ดลับเด็ดที่ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ก็เอาตัวรอดปลอดภัยได้ด้วย "กลยุทธ์บริหารพอร์ตลงทุน (Portfolio Management)"
การบริหารพอร์ตการลงทุน คือ การจัดการสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ทั้งหลายของนักลงทุนแต่ละราย เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการสร้างอัตราผลตอบแทน ซึ่งหลายท่านอาจกังวลว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพ จะทำได้อย่างไร ดิฉันมีวิธีง่ายๆ ในการบริหารพอร์ตการลงทุน ดังนี้ค่ะ ขั้นตอนแรกสำคัญที่สุด คือ กำหนดสไตล์การลงทุนของเรา โดยพิจารณาจากปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ ความเสี่ยงที่รับได้ และปัจจัยทางการเงินส่วนบุคคล ซึ่งแต่ละท่านจะมีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง คือ การจัดสรรเงินลงทุนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับสไตล์การลงทุน ซึ่งขั้นตอนนี้ ผู้ที่รู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย จะได้เปรียบ เพราะมีทางเลือกในการลงทุนที่มากกว่า และขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลและปรับปรุงพอร์ตการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากขั้นตอนการกำหนดสไตล์การลงทุน และการติดตามการลงทุนเป็นเรื่องเฉพาะตัว เราจึงมาคุยถึงการทำความรู้จักและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินกันดีกว่าค่ะ นอกจากสินทรัพย์พื้นฐานที่คนนิยมลงทุน (Traditional assets) อาทิ หุ้นสามัญ, พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนแล้ว เรายังมีสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative assets) อาทิ 1. สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกโดยเฉพาะสินค้าเกษตรนั้น เคลื่อนไหวตามฤดูกาลการผลิตและฤดูกาลบริโภค ทำให้ง่ายต่อการคาดการณ์ 2. อสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาและสภาพคล่อง 3. การลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้น, หุ้นกู้ และพันธบัตร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พอร์ตของเรามีผลตอบแทนและความเสี่ยง 2 ทาง คือ ภาวะตลาดทุนในต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน 4. ของสะสม (Collectibles) เช่น วัตถุโบราณ ภาพเขียน เหรียญ แสตมป์ ฯลฯ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนในรูปส่วนต่างของราคาที่สูงมาก แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องของจริง-ของปลอม และการประเมินมูลค่าที่แท้จริงในการตัดสินใจลงทุน
ในครั้งนี้ ดิฉันขอเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ท่านผู้อ่านค่ะ นั่นคือ "การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agriculture Futures Exchange of Thailand) หรือ AFET "ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าของสินค้าอ้างอิง 4 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ข้าวขาว 5% และมันสำปะหลังเส้น ซึ่งล้วนเป็นสินค้าเกษตรที่ไทยเราเป็นผู้ผลิตและแปรรูปรายใหญ่ของโลก โดย AFET ได้รวบรวมบทความ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนไว้ที่ http://www.afet.or.th/v081/thai/learning/article.php
แม้หลายคนจะกล่าวว่า การลงทุนใน AFET เป็นเรื่องใหม่และซับซ้อน แต่ดิฉันกลับคิดว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจ และคุ้มค่าแก่การศึกษา เพราะตลาดซื้อขายล่วงหน้านี้ มีสเน่ห์ตรงที่ นักลงทุนสามารถสร้างผลกำไร ได้ทั้งภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง เรียกได้ว่า เป็นตลาดที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยอาศัยกลยุทธ์ ดังนี้ค่ะ
ก่อนจากกัน ดิฉันขอแอบกระซิบว่า นักลงทุนที่เก่งๆ ใน AFET ยังมีอยู่ไม่มาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่ใหม่ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีของเรา เพราะบนเส้นทางสายนักลงทุนนี้ "รู้ก่อน เก่งกว่า คว้ากำไร"
ดิฉันจะไม่ฟันธงว่าจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนดี เพราะผู้เขียนเองก็ยังลุ้นๆ อยู่ แต่มีเคล็ดลับเด็ดที่ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ก็เอาตัวรอดปลอดภัยได้ด้วย "กลยุทธ์บริหารพอร์ตลงทุน (Portfolio Management)"
การบริหารพอร์ตการลงทุน คือ การจัดการสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ทั้งหลายของนักลงทุนแต่ละราย เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการสร้างอัตราผลตอบแทน ซึ่งหลายท่านอาจกังวลว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพ จะทำได้อย่างไร ดิฉันมีวิธีง่ายๆ ในการบริหารพอร์ตการลงทุน ดังนี้ค่ะ ขั้นตอนแรกสำคัญที่สุด คือ กำหนดสไตล์การลงทุนของเรา โดยพิจารณาจากปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ ความเสี่ยงที่รับได้ และปัจจัยทางการเงินส่วนบุคคล ซึ่งแต่ละท่านจะมีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง คือ การจัดสรรเงินลงทุนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับสไตล์การลงทุน ซึ่งขั้นตอนนี้ ผู้ที่รู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย จะได้เปรียบ เพราะมีทางเลือกในการลงทุนที่มากกว่า และขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลและปรับปรุงพอร์ตการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากขั้นตอนการกำหนดสไตล์การลงทุน และการติดตามการลงทุนเป็นเรื่องเฉพาะตัว เราจึงมาคุยถึงการทำความรู้จักและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินกันดีกว่าค่ะ นอกจากสินทรัพย์พื้นฐานที่คนนิยมลงทุน (Traditional assets) อาทิ หุ้นสามัญ, พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนแล้ว เรายังมีสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative assets) อาทิ 1. สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกโดยเฉพาะสินค้าเกษตรนั้น เคลื่อนไหวตามฤดูกาลการผลิตและฤดูกาลบริโภค ทำให้ง่ายต่อการคาดการณ์ 2. อสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาและสภาพคล่อง 3. การลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้น, หุ้นกู้ และพันธบัตร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พอร์ตของเรามีผลตอบแทนและความเสี่ยง 2 ทาง คือ ภาวะตลาดทุนในต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน 4. ของสะสม (Collectibles) เช่น วัตถุโบราณ ภาพเขียน เหรียญ แสตมป์ ฯลฯ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนในรูปส่วนต่างของราคาที่สูงมาก แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องของจริง-ของปลอม และการประเมินมูลค่าที่แท้จริงในการตัดสินใจลงทุน
ในครั้งนี้ ดิฉันขอเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ท่านผู้อ่านค่ะ นั่นคือ "การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agriculture Futures Exchange of Thailand) หรือ AFET "ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าของสินค้าอ้างอิง 4 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ข้าวขาว 5% และมันสำปะหลังเส้น ซึ่งล้วนเป็นสินค้าเกษตรที่ไทยเราเป็นผู้ผลิตและแปรรูปรายใหญ่ของโลก โดย AFET ได้รวบรวมบทความ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนไว้ที่ http://www.afet.or.th/v081/thai/learning/article.php
แม้หลายคนจะกล่าวว่า การลงทุนใน AFET เป็นเรื่องใหม่และซับซ้อน แต่ดิฉันกลับคิดว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจ และคุ้มค่าแก่การศึกษา เพราะตลาดซื้อขายล่วงหน้านี้ มีสเน่ห์ตรงที่ นักลงทุนสามารถสร้างผลกำไร ได้ทั้งภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง เรียกได้ว่า เป็นตลาดที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยอาศัยกลยุทธ์ ดังนี้ค่ะ
ก่อนจากกัน ดิฉันขอแอบกระซิบว่า นักลงทุนที่เก่งๆ ใน AFET ยังมีอยู่ไม่มาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่ใหม่ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีของเรา เพราะบนเส้นทางสายนักลงทุนนี้ "รู้ก่อน เก่งกว่า คว้ากำไร"