บรรยากาศการลงทุนในช่วงนี้ยังดูอึมครึม เพราะนักลงทุนต่างกังวลเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงทางการเมืองที่ดูเหมือนจะไม่จบลงง่ายๆ จนทำให้หลายคนไม่กล้าลงทุน เพราะกลัวความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้นในวันนี้ดิฉันขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาทำความรู้จักกับความเสี่ยงของการลงทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตการลงทุนในอนาคตของเราค่ะ
ความเสี่ยงในการลงทุนคืออะไร
ในทางทฤษฎีแล้ว ความเสี่ยงในการลงทุน คือ ภาวะที่นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหวัง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนี้อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวังก็ได้ แต่ในความเป็นจริงดิฉันคิดว่านักลงทุนทุกคนคงจะกลัวที่จะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าที่ตนคาดหวังไว้ แน่นอน
ความเสี่ยงจากการลงทุนมีอะไรบ้าง
1. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายในของสินทรัพย์ที่เราลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทที่เราลงทุน ความเสี่ยงจากกระแสนิยมบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
2. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ, ปัญหาทางการเมือง, ภัยพิบัติต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติและการก่อการร้าย เป็นต้น
วิธีการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน
วิธีการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนที่ดีวิธีหนึ่ง ก็คือ การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการกระจายความเสี่ยงนี้ไม่ใช่การหว่านเงินแบบกระจายๆ ลงในสินทรัพย์หลายๆ ชนิด แต่จำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์แต่ละชนิด เพื่อที่เราจะสามารถคัดเลือกสินทรัพย์เพื่อการลงทุนของเราได้อย่างเหมาะสม
สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน
นอกจากสินทรัพย์พื้นฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมลงทุน อาทิ หุ้นสามัญ, พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนแล้ว เรายังมีสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน (Alternative assets) อาทิ
1. การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ผ่านตลาดล่วงหน้า เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกโดยเฉพาะสินค้าเกษตรนั้นคาดการณ์ได้ไม่ยากเพราะราคาเคลื่อนไหวตามฤดูกาลการผลิตและฤดูกาลบริโภค ทั้งนี้หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจการลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.afet.or.th
2. อสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาและสภาพคล่อง รวมถึงการลงทุนในภาวะฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็งกำไรมากจนเกินไป
3. การลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้น หุ้นกู้ และพันธบัตร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พอร์ตของเรามีผลตอบแทนและความเสี่ยง 2 ทาง คือ ภาวะตลาดทุนในต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
4. การลงทุนในของสะสม (Collectibles) เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ ภาพเขียน เหรียญที่ระลึก แสตมป์ ฯลฯ ซึ่งการลงทุนในประเภทนี้อาจให้ผลตอบแทนในรูปส่วนต่างของราคาที่สูงมาก แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องการแยกแยะของจริง-ของปลอม และการประเมินมูลค่าที่แท้จริงในการตัดสินใจลงทุน
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจยิ่งรู้สึกกลัวความเสี่ยงมากขึ้น เพราะแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุนก็ยังมีความเสี่ยงหลายด้าน ทำให้หลายท่านตัดสินใจทนอยู่กับการฝากเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ เพราะไม่ต้องการเสี่ยงอะไรเลย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจทำเช่นนั้น ลองมาดูความเสี่ยงของการไม่ยอมลงทุนเสี่ยงกันก่อนค่ะ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่วางแผนเกษียณอายุโดยการเก็บสะสมเงินอยู่ในธนาคารตลอดระยะเวลาทำงานหลายสิบปี แม้พวกเขาเหล่านั้นจะมีเงินเก็บออมไว้ใช้ โดยไม่ขาดทุนหรือสูญหาย แต่การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยดอกเบี้ยเงินฝากนั้นอาจไม่เพียงพอ ยิ่งถ้าหากคนผู้นั้นไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แต่มีอายุยืนเป็นของแถมแล้วล่ะก็ ยิ่งเป็นความเสี่ยงที่น่ากังวล ที่สำคัญเมื่อถึงเวลานั้นการแก้ไขปัญหานี้อาจทำได้ยาก ดังนั้นอย่ากลัวการลงทุนเพราะความเสี่ยง เพราะคุณอาจมีชีวิตที่เสี่ยงกว่าถ้าไม่ลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุนคืออะไร
ในทางทฤษฎีแล้ว ความเสี่ยงในการลงทุน คือ ภาวะที่นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหวัง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนี้อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวังก็ได้ แต่ในความเป็นจริงดิฉันคิดว่านักลงทุนทุกคนคงจะกลัวที่จะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าที่ตนคาดหวังไว้ แน่นอน
ความเสี่ยงจากการลงทุนมีอะไรบ้าง
1. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายในของสินทรัพย์ที่เราลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทที่เราลงทุน ความเสี่ยงจากกระแสนิยมบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
2. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ, ปัญหาทางการเมือง, ภัยพิบัติต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติและการก่อการร้าย เป็นต้น
วิธีการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน
วิธีการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนที่ดีวิธีหนึ่ง ก็คือ การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการกระจายความเสี่ยงนี้ไม่ใช่การหว่านเงินแบบกระจายๆ ลงในสินทรัพย์หลายๆ ชนิด แต่จำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์แต่ละชนิด เพื่อที่เราจะสามารถคัดเลือกสินทรัพย์เพื่อการลงทุนของเราได้อย่างเหมาะสม
สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน
นอกจากสินทรัพย์พื้นฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมลงทุน อาทิ หุ้นสามัญ, พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนแล้ว เรายังมีสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน (Alternative assets) อาทิ
1. การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ผ่านตลาดล่วงหน้า เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกโดยเฉพาะสินค้าเกษตรนั้นคาดการณ์ได้ไม่ยากเพราะราคาเคลื่อนไหวตามฤดูกาลการผลิตและฤดูกาลบริโภค ทั้งนี้หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจการลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.afet.or.th
2. อสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาและสภาพคล่อง รวมถึงการลงทุนในภาวะฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็งกำไรมากจนเกินไป
3. การลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้น หุ้นกู้ และพันธบัตร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พอร์ตของเรามีผลตอบแทนและความเสี่ยง 2 ทาง คือ ภาวะตลาดทุนในต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
4. การลงทุนในของสะสม (Collectibles) เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ ภาพเขียน เหรียญที่ระลึก แสตมป์ ฯลฯ ซึ่งการลงทุนในประเภทนี้อาจให้ผลตอบแทนในรูปส่วนต่างของราคาที่สูงมาก แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องการแยกแยะของจริง-ของปลอม และการประเมินมูลค่าที่แท้จริงในการตัดสินใจลงทุน
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจยิ่งรู้สึกกลัวความเสี่ยงมากขึ้น เพราะแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุนก็ยังมีความเสี่ยงหลายด้าน ทำให้หลายท่านตัดสินใจทนอยู่กับการฝากเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ เพราะไม่ต้องการเสี่ยงอะไรเลย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจทำเช่นนั้น ลองมาดูความเสี่ยงของการไม่ยอมลงทุนเสี่ยงกันก่อนค่ะ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่วางแผนเกษียณอายุโดยการเก็บสะสมเงินอยู่ในธนาคารตลอดระยะเวลาทำงานหลายสิบปี แม้พวกเขาเหล่านั้นจะมีเงินเก็บออมไว้ใช้ โดยไม่ขาดทุนหรือสูญหาย แต่การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยดอกเบี้ยเงินฝากนั้นอาจไม่เพียงพอ ยิ่งถ้าหากคนผู้นั้นไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แต่มีอายุยืนเป็นของแถมแล้วล่ะก็ ยิ่งเป็นความเสี่ยงที่น่ากังวล ที่สำคัญเมื่อถึงเวลานั้นการแก้ไขปัญหานี้อาจทำได้ยาก ดังนั้นอย่ากลัวการลงทุนเพราะความเสี่ยง เพราะคุณอาจมีชีวิตที่เสี่ยงกว่าถ้าไม่ลงทุน