วานนี้( 15 ก.ค.)ที่โรงแรมสยามซิตี้ มีการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา ( ฉบับที่... พ.ศ. ....ความผิดฐานหมิ่นประมาท ) จัดโดยสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติโดย รศ.ดร.ทวีเกรียติ มีนะกนิษฐ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าสื่อมีหน้าที่ทำความจริงให้ปรากฏต่อสังคมให้รับรู้ ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาการถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท ซึ่งตรงนี้จะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลและให้สาธารณชนได้ประโยชน์ ยกตัวอย่างมีสื่อมวลชนไปตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีแต่กลับถูกฟ้องกลับซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดปัญหา ถ้ากฎหมายยังมีช่องโหว่ก็จะกระทบต่อการทำงานของสื่อมวลชนที่ตรวจสอบบุคคลสาธารณะ ทั้งนี้บุคคลสาธารณะต้องมีความอดทนที่จะโดนตรวจสอบและสามารถแยกแยะได้ ปัจจุบันมีการฟ้องกลับกันมากกลายเป็นว่ากฎหมายได้ถูกบิดเบือนไป
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ กล่าวว่า สื่อต้องมีความเป็นอิสระในการนำเสนอข้อมูลต่างๆต่อสังคม แต่ที่สื่อถูกฟ้องหมิ่นประมาทผู้ฟ้องมีเจตนาทำให้สื่อทำงานได้ยากขึ้น สื่อทำงานตรวจสอบวิจารณ์การทำงานของนักการเมือง แต่นักการเมืองยังโกหกประชาชนนี้คือความจริงในสังคมไทย ทั้งนี้คดีหมิ่นประมาทที่ตนถูกฟ้องจะเป็นนักการเมือง ซึ่งประชาชนในสังคมไทยเหมือนถูกอบรมว่านักการเมืองเป็นผู้มีอำนาจ แต่แท้จริงแล้วในระบอบประชาธิปไตยมีหน้าที่ในการปกครองและดูแลประชาชน แต่กลับทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น โดยสื่อมวลชนที่ไปวิจารณ์การทำงานก็ถูกฟ้องร้องเพียงเพราะว่าสื่อจะได้ทำงานได้ยากขึ้น ทั้งนี้กรณีที่ตนเคยไปขึ้นศาลฎีกา ศาลเคยพิพากษาว่าการวิพากษ์บุคคลสาธารณะสามารถกระทำได้เพราะอยู่ในฐานะสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตามนักการเมือง ข้าราชการ ตำรวจ มีช่องทางที่จะแก้ไขข้อวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยการออกแถลงข่าวว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอไม่เป็นความจริง แต่ไม่เลือกที่จะทำกลับเลือกที่จะฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อมวลชนแทน เพื่อสร้างความกลัวให้กับสื่อมวลชนที่ไปตรวจสอบหรือวิจารณ์การทำงานของคนเหล่านั้น
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่ากฎหมายของไทยเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องหมิ่นประมาทกันง่ายมาก ซึ่งคดีหมิ่นประมาทอาจจะไม่ใช่โทษที่แรง แต่ตนมองว่าจะเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุซึ่งในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะมีการฟ้องร้องกันบ่อยขึ้น ตรงนี้เป็นปัญหาว่าจะมีกลไกอย่างไรที่จะไม่จบตรงที่มีการฟ้องร้องขึ้นศาลกันมากครั้ง ทั้งนี้ในฐานะสื่อมวลชนก็ได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามก็เกิดปัญหาที่ว่าในทางประมวลกฎหมายอาญามิได้รับรองการกระทำดังกล่าวไว้ เรื่องนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะต้องดูเจตนาของการนำเสนอข่าวว่ามีเจตนาอย่างไร
ด้าน นายโทนี เมนเดล นักกฎหมายองค์การ article 19 กล่าวว่า การถูกฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทในทางอาญาถือว่าเป็นโทษที่แรงเกินไป แต่ถ้าเป็นคดีทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายน่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตามประเทศไทยรวมถึงประเทศส่วนใหญ่คงยังไม่พร้อมที่จะยกเลิก ซึ่งทางองค์การกฎหมายเห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงมากกว่าที่จะเป็นหน้าที่ของจำเลย และเห็นว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ควรมีโทษถึงติดคุก เหตุผลคือการแสดงออกทางความคิดถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจุดนี้จะทำให้ประชาชนหวาดกลัวในการแสดงออกทางความคิด ยกตัวอย่างคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ( ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ) ถูกลงโทษจำคุกทั้ง 2 ดคีเป็นเวลารวม 2 ปีครึ่ง ตนคิดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความรู้สึกทางการเมืองมากกว่า ซึ่งคนไทยขณะนี้มีความรู้สึกทางการเมืองค่อนข้างแรง ตรงจุดนี้เห็นว่าการวิจารณ์การเมืองในประเทศไทยจะไม่ส่งผลดีในระยะยาวต่อการเมืองไทย ถ้าการฟ้องร้องหมิ่นประมาทมีผลกับการได้รับโทษทางอาญา อย่างไรก็ตามกฎหมายทางอาญาควรถูกแยกออกจากการเมืองเพราะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกันมากเกินไป
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ กล่าวว่า สื่อต้องมีความเป็นอิสระในการนำเสนอข้อมูลต่างๆต่อสังคม แต่ที่สื่อถูกฟ้องหมิ่นประมาทผู้ฟ้องมีเจตนาทำให้สื่อทำงานได้ยากขึ้น สื่อทำงานตรวจสอบวิจารณ์การทำงานของนักการเมือง แต่นักการเมืองยังโกหกประชาชนนี้คือความจริงในสังคมไทย ทั้งนี้คดีหมิ่นประมาทที่ตนถูกฟ้องจะเป็นนักการเมือง ซึ่งประชาชนในสังคมไทยเหมือนถูกอบรมว่านักการเมืองเป็นผู้มีอำนาจ แต่แท้จริงแล้วในระบอบประชาธิปไตยมีหน้าที่ในการปกครองและดูแลประชาชน แต่กลับทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น โดยสื่อมวลชนที่ไปวิจารณ์การทำงานก็ถูกฟ้องร้องเพียงเพราะว่าสื่อจะได้ทำงานได้ยากขึ้น ทั้งนี้กรณีที่ตนเคยไปขึ้นศาลฎีกา ศาลเคยพิพากษาว่าการวิพากษ์บุคคลสาธารณะสามารถกระทำได้เพราะอยู่ในฐานะสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตามนักการเมือง ข้าราชการ ตำรวจ มีช่องทางที่จะแก้ไขข้อวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยการออกแถลงข่าวว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอไม่เป็นความจริง แต่ไม่เลือกที่จะทำกลับเลือกที่จะฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อมวลชนแทน เพื่อสร้างความกลัวให้กับสื่อมวลชนที่ไปตรวจสอบหรือวิจารณ์การทำงานของคนเหล่านั้น
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่ากฎหมายของไทยเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องหมิ่นประมาทกันง่ายมาก ซึ่งคดีหมิ่นประมาทอาจจะไม่ใช่โทษที่แรง แต่ตนมองว่าจะเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุซึ่งในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะมีการฟ้องร้องกันบ่อยขึ้น ตรงนี้เป็นปัญหาว่าจะมีกลไกอย่างไรที่จะไม่จบตรงที่มีการฟ้องร้องขึ้นศาลกันมากครั้ง ทั้งนี้ในฐานะสื่อมวลชนก็ได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามก็เกิดปัญหาที่ว่าในทางประมวลกฎหมายอาญามิได้รับรองการกระทำดังกล่าวไว้ เรื่องนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะต้องดูเจตนาของการนำเสนอข่าวว่ามีเจตนาอย่างไร
ด้าน นายโทนี เมนเดล นักกฎหมายองค์การ article 19 กล่าวว่า การถูกฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทในทางอาญาถือว่าเป็นโทษที่แรงเกินไป แต่ถ้าเป็นคดีทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายน่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตามประเทศไทยรวมถึงประเทศส่วนใหญ่คงยังไม่พร้อมที่จะยกเลิก ซึ่งทางองค์การกฎหมายเห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงมากกว่าที่จะเป็นหน้าที่ของจำเลย และเห็นว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ควรมีโทษถึงติดคุก เหตุผลคือการแสดงออกทางความคิดถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจุดนี้จะทำให้ประชาชนหวาดกลัวในการแสดงออกทางความคิด ยกตัวอย่างคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ( ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ) ถูกลงโทษจำคุกทั้ง 2 ดคีเป็นเวลารวม 2 ปีครึ่ง ตนคิดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความรู้สึกทางการเมืองมากกว่า ซึ่งคนไทยขณะนี้มีความรู้สึกทางการเมืองค่อนข้างแรง ตรงจุดนี้เห็นว่าการวิจารณ์การเมืองในประเทศไทยจะไม่ส่งผลดีในระยะยาวต่อการเมืองไทย ถ้าการฟ้องร้องหมิ่นประมาทมีผลกับการได้รับโทษทางอาญา อย่างไรก็ตามกฎหมายทางอาญาควรถูกแยกออกจากการเมืองเพราะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกันมากเกินไป