ASTVผู้จัดการรายวัน - "มาร์ค" ลั่นประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข รธน. เชื่อถ้าไม่ทำประชามติแก้ไม่สำเร็จ มั่นใจได้รับความร่วมมือจากพรรคร่วมฯ เชื่อ 9 เดือนจบแน่ "เทือก" ปัดหักหลัง ย้ำพูดไว้อย่างไร ยังผลักดันเช่นเดิม รับ ปชป.ไม่พร้อมเลือกตั้งใหม่ รอแก้ความขัดแย้งและเศรษฐกิจให้สำเร็จก่อน ด้านวิปรัฐบาลเสียงแตกทำประชามติ โยนหารือ 3 ฝ่าย 1 ต.ค. อดีตกก.สมานฉันท์ฯ ปฏิเสธร่วมยกร่างแก้ไข รธน. แนะวุฒิสภาฯ เลิกยุ่ง เปิดทางคนนอกร่วมร่างฯ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การหารือร่วมกับวิป 3 ฝ่ายในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะมีขึ้นช่วงประชุมสภา ไม่วันที่ 30 ก.ย.ก็จะเป็นวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งแนวทางที่ตนจะเสนอต่อวิป 9 ฝ่ายก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าดีที่สุด คือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าทำประชามติก็จะชัดเจนดี จะได้ไม่มีข้อโต้แย้งไม่เช่นนั้นจะมีคำถามตลอดเวลาว่า สิ่งที่พวกเราทำกันอยู่ในสภามันเป็นความต้องการของประชาชนจริงหรือไม่
ส่วนที่พรรคภูมิใจไทยออกมาท้วงติงการทำประชามตินั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แล้วเราจะไปตัดสินแทนประชาชนได้อย่างไรว่าประเด็นไหนต้องถาม ประเด็นไหน ไม่ต้องทำ ตนคิดว่า การถามจะถาม 1 ประเด็นหรือถาม 6 ประเด็น ก็บริหารจัดการ ไม่ได้ยากกว่ากัน ฉะนั้นมันน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด คงจะไปพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
อย่างไรก็ตามตนเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาล เพราะถ้าเเราต้องการที่จะหาคำตอบในเรื่องนี้ ไม่น่าจะมีอะไรดีกว่าแนวทางนี้แล้ว เราถกเถียงกันเรื่องนี้ และขัดแย้งกันเรื่องนี้มา ตอนนี้ก็ 2 ปีแล้ว ถ้าไม่มีจุดที่เราไปหา จุดจบที่เป็นที่ยอมรับได้ก็จะถกเถียงกันไป ไม่จบ ไม่สิ้น และสุดท้ายก็ต้องให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ข้อเสนอที่ให้ทำประชามติทั้งก่อนและหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญเห็นด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ต้องทั้งก่อนและหลัง ตนคิดว่า ถ้าถามประชาชนทีหลัง คือหมายความว่า ให้เห็นชัดเจนว่า จะแก้อะไร อย่างไร มันดีที่สุด ก่อนหน้านี้ในปีที่แล้วเคยมีการพูดถึงกันในขณะนั้นว่า ให้ไปถามประชาชนว่าจะแก้หรือไม่แก้ มันเป็นคำถามซึ่งประชาชนตอบไม่ได้ หรือถ้าตอบได้ก็ไม่รู้ว่า แปลว่าอะไร เพราะถ้าตอบว่าแก้ก็ไม่รู้ว่าแก้เรื่องไหน ฉะนั้นก็เอาให้มันชัดไปเลย ว่าถ้าจะแก้อย่างนี้ ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ฉะนั้นง่ายที่สุดและน่าจะเป็นข้อยุติที่ทุกฝ่ายอมรับคือทำประชามติหลังจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว
***ชี้ถ้าไม่ให้ ปชช.มีส่วนร่วมทำไม่สำเร็จ
ส่วนที่มีการหยิบยกว่าการทำประชามติจะทำใล่าช้าและสิ้นเปลืองงบประมาณ นายกรรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนคิดว่ามันคุ้มค่าหากบ้านเมืองยังขัดแย้งอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นผลดีอะไรกับใคร สู้ทำกระบวนการนี้ให้มีความชัดเจนให้จบ และถ้าบอกว่า มันช้า ขอถามว่าที่ผ่านมาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเกิดความขัดแย้งในสังคม มาคราวนี้ก็มาแก้ความขัดแย้งให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย คือให้ประชาชนลงประชามติดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่าห่วงหรือไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสะดุดอีก เพราะนักการเมืองยังห่วงไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม นายอภิสิทธิ์ กล่าวยอมรับว่า ยังเป็นห่วงอยู่ แต่ยังเชื่อว่าเรามีบทเรียนมาแล้ว 2 ปีน่าจะเพียงพอที่ทำให้นักการเมือง ต้องรู้ว่า ถ้าไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจะทำอะไรไม่สำเร็จ และถ้าตั้งใจจะสมานฉันท์ ปรองดองจริงๆ และไม่ดึงประชาชนเข้ามาก็ทำไม่สำเร็จหรอก เมื่อถามต่อว่า จะคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ก็คงจะคุยพร้อมๆ กันไปเลย สะดวกดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าวุฒิสมาชิกและพรรคร่วมรัฐบาลไม่เอาประชามตินายกฯจะยืนยันแนวทางนี้ต่อไปใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนพูดตรงๆ ว่า ยังมองไม่เห็นว่า เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะเกิดวิกฤตอีกหรือเปล่า ฉะนั้นการทำประชามติตนไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรกับคิดว่า มันน่าจะได้ข้อยุติ
มีแต่คนพยายามมากล่าวหาผมว่า จะซื้อเวลาเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็กำหนดกระบวนการ อาจจะไม่เร็วเท่าที่บางคนอยากจะได้ แต่ชัดเจนและจบ ผมว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว
***คาดใช้เวลา 9 เดือนแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หากสมมุติว่าทุกพรรคร่วมมือกันร่างและพิจารณาในสภาฯ โดยหลักอาจจะประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้นถ้าทำประชามติก็จะใช้เวลาอีก 2-3 เดือน หากได้ข้อยุติว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็คงไม่แก้หลายประเด็นมากนักก็อีก 2-3 เดือนจบ รวมกันแล้วตนว่าไม่ถึง 9 เดือนหรอก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่ารัฐบาลของท่านจะแก้ไขได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ารัฐบาล ทำไม่ได้ ต้องอยู่ที่สภาฯ ซึ่งสภาฯจะต้องเป็นคนทำ แต่รัฐบาลกำหนดแนวทาง ไว้ให้หมดแล้วในข้อเสนอตรงนี้และจะสนับสนุนเต็มที่ แต่โดยระบบต้องอาศัยเสียงข้างมากของรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลไม่ได้มีเสียงข้างมากในรัฐสภา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ตั้งธงว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขชรัฐธรรมนูญ แต่พรรคฟังเสียงประชาชน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของพรรคก็เห็นด้วย ยินดีสนุบสนุนพร้อมที่จะลงชื่อในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ขอให้ถามเสียงส่วนใหญ่ของประเทศก่อน โดยการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เตรียมที่จะออกมา เคลื่อนไหว นายสุเทพ กล่าวว่าใครออกมาเคลื่อนไหวอย่างไรรัฐบาลก็ต้องพร้อมรับฟัง ไม่ว่าเห็นด้วยหรือคัดค้านแต่การแสดงออกซึ่งการเห็นด้วยหรือคัดค้าน ต้องอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ กติกาของบ้านเมืองต้องไม่มาสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น ในบ้านเมือง
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยคัดค้านการทำประชามตินั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ความเห็นอาจมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อประชุมกันแล้วได้ข้อสรุปก็เป็นสิ่งดี แต่อย่าเอาความคิดที่แตกต่างมาขยายผลให้ดูเป็นเรื่องของความขัดแย้ง และวันไหนที่นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมวิป 3 ฝ่าย แล้วตนเชื่อว่าวันนั้นจะเป็นวันที่ได้ข้อยุติ
***รับ ปชป.ไม่พร้อมเลือกตั้งใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลสบายใจได้อย่างว่าไม่หักหลังพรรคร่วมรัฐบาล นายสุเทพ ย้อนถามว่า หักหลังใคร สิ่งที่ตนพูดไว้อย่างไร ก็ยังจะผลักดันแนวทางนั้นอยู่ ตนไม่นิยมการหักหลัง และการที่พรรคภูมิใจไทย ออกมาบอกว่า พร้อมที่จะเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นเรื่องพรรคภูมิใจไทย แต่ถ้าถามพรรคประชาธิปัตย์ ตนก็จะบอกว่า ยังไม่พร้อม
ปัญหาของบ้านเมืองที่ยังไม่เรียบร้อย เมื่อวันที่เราตั้งใจเข้ามาเป็นรัฐบาล เราก็ตั้งใจที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอยู่ๆ สนุกสนานนึกอยากจะไป เลือกตั้งขึ้นมาทันทีทันควันไม่ทำงานที่ค้างคาให้สำเร็จก็คงไม่ถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์หากอยู่ครบเทอม จะแก้อะไรบ้าง นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่ครบเทอม แต่ประเด็นสำคัญเรื่องของรัฐธรรมนูญ ต้องทำให้เสร็จให้กระบวนการทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ความเห็นที่แตกต่างไม่ใช่ความเห็นที่แตกแยกอีกต่อไปให้บรรยากาศ ของการเมือง เอื้อต่อการปฎิบัติหรือประชาธิปไตยภาคปฏิบัติและถ้าบรรยากาศทางการเมือง เป็นแบบนี้ ไปหาเสียงก็ไปตีกันในสนามเลือกตั้งตรงนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย ต้องใช้เวลามาปรับคลื่นความคิดอันนี้ ถ้าส่วนไหนที่เห็นด้วยหรือไม่เรื่อง กฎเกณฑ์กติกาในกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ปรับปรุงแก้ไขไป อันนี้เป็นเรื่องใหญ่
เรื่องเศรษฐกิจที่ทางพรรคตั้งใจเข้ามาแก้ไข และขณะนี้ทีมเศรษฐกิจของ พรรคประชาธิปัตย์ รมว.คลังก็ผลักดันหลายเรื่องอาทิเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นทั้งในและนอกระบบ และถ้าประชาชนพ้นภาวะเดือดร้อนที่เกิดจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจไปได้ และมีความมั่นใจในแนวทางของระบอบประชาชาธิปไตย ตามกฎเกณฑ์ที่ได้ยอมรับกัน ถึงวันนั้นก็ไปเลือกตั้งได้
นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเลือกตั้งไม่มีปัญหา แต่ความพร้อม ที่กล่าวไปคือ ต้องทำใจให้พร้อมก่อน ใจที่พร้อมได้คือใจที่ทำหน้าของตัวเองที่เป็นรัฐบาลมาครบถ้วนตามที่ตั้งใจเอาไว้ เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เกรงว่า หากมีการเลือกตั้งในช่วงนี้อาจจะเป็นแพ้พรรคเพื่อไทยนั้น นายสุเทพกล่าวว่า เรื่องแพ้ชนะ ในการเลือกตั้งยังคาดไม่ได้ตอนนี้ จากนั้นนายสุเทพยังได้กล่าว ย้อนผู้สื่อข่าวคุณจดคำถามนี้ไว้ให้ดี เผื่อวันหลังจะมาถามใหม่
***ชินวรณ์หักคอวิปรัฐฯชูประชามติ
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาล แถลงภายหลังการประชุมว่า วิปรัฐบาลมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนุญตามมติของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯโดยเร่งด่วน และเห็นพ้องให้ทุกฝ่ายร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไข และกันข้อครหาว่าการแก้ไขครั้งนี้ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นจุดเริ่มต้นความสมานฉันท์
นอกจากนี้วิปรัฐบาลยังเห็นว่าควรให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ประธานสภาฯมีคำสั่งให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเป็นผู้ยกร่างดังกล่าว โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมดเข้าหารือกับวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค.นี้
นายชินวรณ์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลยังมีมติเห็นพ้องว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยผ่านประชามติ เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่สำคัญ และต้องครอบคลุมทุกหมู่เหล่า เปิดรับฟังความเห็นทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยจะมีการหารือขอองแกนนำรัฐบาลและวิป 3 ฝ่าย
ส่วนเรื่องเงื่อนไขเวลาที่หลายฝ่ายเป็นห่วงนั้น พรรคร่วมเห็นตรงกันว่า ไม่มีเจตนายื้อเวลา จะอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดที่ทุกฝ่ายยอมรับ เมื่อได้ข้อเสนอจาก ทุกฝ่ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวุฒิสภา รัฐบาลแล้ว หากทำประชามติก็ต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน ไม่เกิน 120 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าสรุปว่าวิปรัฐบาลเห็นตรงกันที่จะมีการทำประชามติ นายชินวรณ์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลมีความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องที่ดี แต่รายละเอียดจะหารือกันในวิป 3 ฝ่ายอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวขอให้ตัวแทนวิปจากพรรคภูมิใจไทยยืนยันว่าสนับสนุการทำประชามติ นางบพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เลย พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ตอบคำถาม แต่นายชินวรณ์ ชิงตอบแทนว่า เชื่อว่าทุกฝ่ายยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนเรื่องรายละเอียดต้องหารือกันก่อน
ส่วนที่นายกฯตั้งธงว่าอยากให้มีการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชินวรณ์ กล่าวว่า นายกฯในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงเรื่องการทำงานต้องมีความ เห็นพ้องต้องกัน ถึงต้องมีการหารือ 3 ฝ่ายก่อนที่จะมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กระบวนการเจรจาง่ายขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าการใช้งบประมาณในการทำประชามติถึง 2 พันล้านบาท จะคุ้มหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า การลงทุนเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นกติกาสูงสุด ถือว่าไม่แพงเลย เพราะของดีและมีคุณภาพไม่ได้มาฟรี
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าตกลงวิปรัฐบาลเสียงแตกใช่หรือไม่ นายชินวรณ์ เลี่ยงที่จะตอบคำถามดังกล่าว โดยเฉไฉว่า เวลาที่เราจะดำเนินการตามกระบวนการ ต้องรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งวิป 3 ฝ่าย ก็ยืนยันว่าต้องร่วมกันต่อสู้ไปสู่จุดหมายเดียว และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้
นพ.อลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวตอนท้าย การแถลงว่า พรรคเพื่อแผ่นดินได้มีการหารือภายในโดยมีมติว่าเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ต้องเป็นการทำประชามติหลังจากผ่านวาระ 2 ไปแล้ว ซึ่งเป็นมติเดียวกับพรรคภูมิใจไทย กับพรรคชาติไทยพัฒนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการแถลงผลการประชุมวิปรัฐบาลแล้วนั้น ตัวแทนวิปรัฐบาลและนายชินวรณ์ได้มีการหารือกัน หลังจากสื่อซักถามอย่างหนักถึงการทำประชามติ
***ชวรัตน์เชียร์ประชามติแก้ รธน.
ขณะที่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่าตนเห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะจะได้ทำแบบม้วนเดียวจบ แต่ต้องดูเป็นรายมาตรา เช่นมาตราเกี่ยวกับการเลือกตั้งก็สมควรทำประชามติ แต่มาตราใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน และทุกฝ่ายยอมรัรบได้เช่น การแก้ไข ม. 190 ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ส่วนจะทำให้การแก้ไขช้าหรือไม่ตนเห็นว่ายังดีกว่าไม่ทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเสียงบประมาณในการทำประชามติจะคุ้มค่าหรือไม่ นายขวรัตน์ กล่าวว่า ลงทุนครั้งเดียวให้มันจบๆ ไปเลย แต่การทำประชามติต้องดูให้ละเอียด ต้องดูหลายมาตรา เพราะใช้เงินแล้วต้องทำทีเดียวจบ ไม่ใช่ทำประชามติ ไม่กี่มาตราแล้วต้องมาทำใหม่อีก ส่วนข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาฯ หลังแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น ตนเห็นว่าการยุบสภาฯ ไม่ได้อยู่ที่การแก้รัฐธรรมนูญ รัฐบาล สามารถทำงานครบเทอมได้ ถ้ามีเทอม 4 ปี ก็ทำให้ครบเทอม ไม่จำเป็นต้องมีการ ยุบสภาฯกลางคัน เมื่อแก้รัฐธรรมนูญให้ดีแล้ว ก็ต้องให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
เมื่อถามว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามซื้อเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ขอตอบและไม่วิจารณ์เรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด จะทำให้พรรคร่วมไม่เป็นเอกภาพ เพราะเราเป็นพรรคร่วม ที่ดีอยู่แล้ว
***อดีต กก.สมานฉันท์ฯปัดร่วมยกร่าง
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า เมื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯหมดอายุแล้ว หากจะมีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญอีกตนจะไม่รับ เพราะภาระกิจของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไม่ได้มีหน้าที่ยกร่างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราทำหน้าที่ของเรา ก็คือเมื่อได้ไป ศึกษาแล้ว วันนี้คนที่จะตัดสินใจทางการเมืองก็คือรัฐบาลไม่ใช่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ และตนเห็นว่าวุฒิสภาควรเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับบุคคลอื่นได้เข้ามา ทำหน้าที่ หากจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา บุคคลภายนอกก็ควรจะมีโอกาสได้เข้ามาทำหน้าที่ และส.ส.เองก็ทำหน้าที่นี้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นวุฒิสภา
คู่ของความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ก็เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายวุฒิสภาไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใคร เพราะวุฒิฯต้องกลับมารักษาสถานะของตัวเอง และรักษาระยะห่างเพื่อความเป็นธรรมและเป็นที่พึ่งให้ประชาชน ซึ่งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต้องตกลงให้ได้ว่าจะแก้ด้วยวิธีใด และขอยืนยันว่า วันนี้ต้องมีพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. สรรหา อดีตคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ขอดูกรอบอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นก่อน หากยังเป็นชุดเดิม ซึ่งไม่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม คงไม่ขอร่วมด้วย ทางที่ดีควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมายกร่างอีก 1 ชุด โดยนำผู้เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน เข้ามายกร่างน่าจะเหมาะสมกว่า
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตคณะกรรมการสมานฉันท์ฯจากสัดส่วนนักวิชาการ กล่าวว่าไม่สามารถเข้าร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เพื่อยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะแนวทางดังกล่าวไม่ทำให้บ้านเมืองเกิดความสมานฉันท์ แต่เป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมือง เชื่อว่าหากรัฐบาลเดินหน้าแก้ไข บ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวายแน่นอน พร้อมเตือนไปยังวิป 3 ฝ่าย ให้อ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ให้ละเอียด เพราะอาจเข้าข่ายมีความผิดจนถูกถอดถอนได้
***พท.ดันแก้ 6 ประเด็นในร่างฯเดียว
นายวรวัจน์ เอื้อปภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคว่า พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนเดิมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นตามกรอบของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่ได้ศึกษาและเสนอร่างแก้ไขเพียงร่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือกับวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค. อย่างไรก็ตามเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้วิป 3 ฝ่ายไปหาข้อสรุป ดังนั้น เมื่อมติวิป 3 ฝ่ายมีข้อสรุปอย่างไรก็ควรดำเนินการไปตามนั้น
***เทพไทจี้ถามจุดยืนพรรคเพื่อไทย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้สังคมมีความเห็นพ้องในการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีเอกภาพและสามารถทำได้จริงโดยทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนแนวทางการทำประชามติของนายกรัฐมนตรี เพราะ จะเป็นข้อสรุปและอธิบายเหตุผลต่อสังคมได้ การถกเถียงและอ้างเหตุผลของแต่ละฝ่ายจะไม่สามารถยุติได้ถ้าไม่มีคำตอบจากประชาชน โดยผ่านการทำประชามติ แม้ว่าขั้นตอนการทำประชามติจะใช้เวลาระยะหนึ่งก็ตาม แต่เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมก็น่าจะอดทนได้
นายเทพไท กล่าวว่าที่พรรคเพื่อไทยคัดค้านการทำประชามตินั้น ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าจุดยืนเป็นอย่างไร เพราะสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยเสนอแนวคิดการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยเต็มที่
ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวในประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งเอาแค่เกมการเมืองหรือหวังผลแพ้ ชนะ เป็นหลัก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การหารือร่วมกับวิป 3 ฝ่ายในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะมีขึ้นช่วงประชุมสภา ไม่วันที่ 30 ก.ย.ก็จะเป็นวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งแนวทางที่ตนจะเสนอต่อวิป 9 ฝ่ายก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าดีที่สุด คือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าทำประชามติก็จะชัดเจนดี จะได้ไม่มีข้อโต้แย้งไม่เช่นนั้นจะมีคำถามตลอดเวลาว่า สิ่งที่พวกเราทำกันอยู่ในสภามันเป็นความต้องการของประชาชนจริงหรือไม่
ส่วนที่พรรคภูมิใจไทยออกมาท้วงติงการทำประชามตินั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แล้วเราจะไปตัดสินแทนประชาชนได้อย่างไรว่าประเด็นไหนต้องถาม ประเด็นไหน ไม่ต้องทำ ตนคิดว่า การถามจะถาม 1 ประเด็นหรือถาม 6 ประเด็น ก็บริหารจัดการ ไม่ได้ยากกว่ากัน ฉะนั้นมันน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด คงจะไปพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
อย่างไรก็ตามตนเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาล เพราะถ้าเเราต้องการที่จะหาคำตอบในเรื่องนี้ ไม่น่าจะมีอะไรดีกว่าแนวทางนี้แล้ว เราถกเถียงกันเรื่องนี้ และขัดแย้งกันเรื่องนี้มา ตอนนี้ก็ 2 ปีแล้ว ถ้าไม่มีจุดที่เราไปหา จุดจบที่เป็นที่ยอมรับได้ก็จะถกเถียงกันไป ไม่จบ ไม่สิ้น และสุดท้ายก็ต้องให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ข้อเสนอที่ให้ทำประชามติทั้งก่อนและหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญเห็นด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ต้องทั้งก่อนและหลัง ตนคิดว่า ถ้าถามประชาชนทีหลัง คือหมายความว่า ให้เห็นชัดเจนว่า จะแก้อะไร อย่างไร มันดีที่สุด ก่อนหน้านี้ในปีที่แล้วเคยมีการพูดถึงกันในขณะนั้นว่า ให้ไปถามประชาชนว่าจะแก้หรือไม่แก้ มันเป็นคำถามซึ่งประชาชนตอบไม่ได้ หรือถ้าตอบได้ก็ไม่รู้ว่า แปลว่าอะไร เพราะถ้าตอบว่าแก้ก็ไม่รู้ว่าแก้เรื่องไหน ฉะนั้นก็เอาให้มันชัดไปเลย ว่าถ้าจะแก้อย่างนี้ ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ฉะนั้นง่ายที่สุดและน่าจะเป็นข้อยุติที่ทุกฝ่ายอมรับคือทำประชามติหลังจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว
***ชี้ถ้าไม่ให้ ปชช.มีส่วนร่วมทำไม่สำเร็จ
ส่วนที่มีการหยิบยกว่าการทำประชามติจะทำใล่าช้าและสิ้นเปลืองงบประมาณ นายกรรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนคิดว่ามันคุ้มค่าหากบ้านเมืองยังขัดแย้งอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นผลดีอะไรกับใคร สู้ทำกระบวนการนี้ให้มีความชัดเจนให้จบ และถ้าบอกว่า มันช้า ขอถามว่าที่ผ่านมาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเกิดความขัดแย้งในสังคม มาคราวนี้ก็มาแก้ความขัดแย้งให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย คือให้ประชาชนลงประชามติดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่าห่วงหรือไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสะดุดอีก เพราะนักการเมืองยังห่วงไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม นายอภิสิทธิ์ กล่าวยอมรับว่า ยังเป็นห่วงอยู่ แต่ยังเชื่อว่าเรามีบทเรียนมาแล้ว 2 ปีน่าจะเพียงพอที่ทำให้นักการเมือง ต้องรู้ว่า ถ้าไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจะทำอะไรไม่สำเร็จ และถ้าตั้งใจจะสมานฉันท์ ปรองดองจริงๆ และไม่ดึงประชาชนเข้ามาก็ทำไม่สำเร็จหรอก เมื่อถามต่อว่า จะคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ก็คงจะคุยพร้อมๆ กันไปเลย สะดวกดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าวุฒิสมาชิกและพรรคร่วมรัฐบาลไม่เอาประชามตินายกฯจะยืนยันแนวทางนี้ต่อไปใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนพูดตรงๆ ว่า ยังมองไม่เห็นว่า เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะเกิดวิกฤตอีกหรือเปล่า ฉะนั้นการทำประชามติตนไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรกับคิดว่า มันน่าจะได้ข้อยุติ
มีแต่คนพยายามมากล่าวหาผมว่า จะซื้อเวลาเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็กำหนดกระบวนการ อาจจะไม่เร็วเท่าที่บางคนอยากจะได้ แต่ชัดเจนและจบ ผมว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว
***คาดใช้เวลา 9 เดือนแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หากสมมุติว่าทุกพรรคร่วมมือกันร่างและพิจารณาในสภาฯ โดยหลักอาจจะประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้นถ้าทำประชามติก็จะใช้เวลาอีก 2-3 เดือน หากได้ข้อยุติว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็คงไม่แก้หลายประเด็นมากนักก็อีก 2-3 เดือนจบ รวมกันแล้วตนว่าไม่ถึง 9 เดือนหรอก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่ารัฐบาลของท่านจะแก้ไขได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ารัฐบาล ทำไม่ได้ ต้องอยู่ที่สภาฯ ซึ่งสภาฯจะต้องเป็นคนทำ แต่รัฐบาลกำหนดแนวทาง ไว้ให้หมดแล้วในข้อเสนอตรงนี้และจะสนับสนุนเต็มที่ แต่โดยระบบต้องอาศัยเสียงข้างมากของรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลไม่ได้มีเสียงข้างมากในรัฐสภา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ตั้งธงว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขชรัฐธรรมนูญ แต่พรรคฟังเสียงประชาชน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของพรรคก็เห็นด้วย ยินดีสนุบสนุนพร้อมที่จะลงชื่อในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ขอให้ถามเสียงส่วนใหญ่ของประเทศก่อน โดยการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เตรียมที่จะออกมา เคลื่อนไหว นายสุเทพ กล่าวว่าใครออกมาเคลื่อนไหวอย่างไรรัฐบาลก็ต้องพร้อมรับฟัง ไม่ว่าเห็นด้วยหรือคัดค้านแต่การแสดงออกซึ่งการเห็นด้วยหรือคัดค้าน ต้องอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ กติกาของบ้านเมืองต้องไม่มาสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น ในบ้านเมือง
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยคัดค้านการทำประชามตินั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ความเห็นอาจมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อประชุมกันแล้วได้ข้อสรุปก็เป็นสิ่งดี แต่อย่าเอาความคิดที่แตกต่างมาขยายผลให้ดูเป็นเรื่องของความขัดแย้ง และวันไหนที่นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมวิป 3 ฝ่าย แล้วตนเชื่อว่าวันนั้นจะเป็นวันที่ได้ข้อยุติ
***รับ ปชป.ไม่พร้อมเลือกตั้งใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลสบายใจได้อย่างว่าไม่หักหลังพรรคร่วมรัฐบาล นายสุเทพ ย้อนถามว่า หักหลังใคร สิ่งที่ตนพูดไว้อย่างไร ก็ยังจะผลักดันแนวทางนั้นอยู่ ตนไม่นิยมการหักหลัง และการที่พรรคภูมิใจไทย ออกมาบอกว่า พร้อมที่จะเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นเรื่องพรรคภูมิใจไทย แต่ถ้าถามพรรคประชาธิปัตย์ ตนก็จะบอกว่า ยังไม่พร้อม
ปัญหาของบ้านเมืองที่ยังไม่เรียบร้อย เมื่อวันที่เราตั้งใจเข้ามาเป็นรัฐบาล เราก็ตั้งใจที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอยู่ๆ สนุกสนานนึกอยากจะไป เลือกตั้งขึ้นมาทันทีทันควันไม่ทำงานที่ค้างคาให้สำเร็จก็คงไม่ถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์หากอยู่ครบเทอม จะแก้อะไรบ้าง นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่ครบเทอม แต่ประเด็นสำคัญเรื่องของรัฐธรรมนูญ ต้องทำให้เสร็จให้กระบวนการทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ความเห็นที่แตกต่างไม่ใช่ความเห็นที่แตกแยกอีกต่อไปให้บรรยากาศ ของการเมือง เอื้อต่อการปฎิบัติหรือประชาธิปไตยภาคปฏิบัติและถ้าบรรยากาศทางการเมือง เป็นแบบนี้ ไปหาเสียงก็ไปตีกันในสนามเลือกตั้งตรงนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย ต้องใช้เวลามาปรับคลื่นความคิดอันนี้ ถ้าส่วนไหนที่เห็นด้วยหรือไม่เรื่อง กฎเกณฑ์กติกาในกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ปรับปรุงแก้ไขไป อันนี้เป็นเรื่องใหญ่
เรื่องเศรษฐกิจที่ทางพรรคตั้งใจเข้ามาแก้ไข และขณะนี้ทีมเศรษฐกิจของ พรรคประชาธิปัตย์ รมว.คลังก็ผลักดันหลายเรื่องอาทิเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นทั้งในและนอกระบบ และถ้าประชาชนพ้นภาวะเดือดร้อนที่เกิดจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจไปได้ และมีความมั่นใจในแนวทางของระบอบประชาชาธิปไตย ตามกฎเกณฑ์ที่ได้ยอมรับกัน ถึงวันนั้นก็ไปเลือกตั้งได้
นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเลือกตั้งไม่มีปัญหา แต่ความพร้อม ที่กล่าวไปคือ ต้องทำใจให้พร้อมก่อน ใจที่พร้อมได้คือใจที่ทำหน้าของตัวเองที่เป็นรัฐบาลมาครบถ้วนตามที่ตั้งใจเอาไว้ เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เกรงว่า หากมีการเลือกตั้งในช่วงนี้อาจจะเป็นแพ้พรรคเพื่อไทยนั้น นายสุเทพกล่าวว่า เรื่องแพ้ชนะ ในการเลือกตั้งยังคาดไม่ได้ตอนนี้ จากนั้นนายสุเทพยังได้กล่าว ย้อนผู้สื่อข่าวคุณจดคำถามนี้ไว้ให้ดี เผื่อวันหลังจะมาถามใหม่
***ชินวรณ์หักคอวิปรัฐฯชูประชามติ
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาล แถลงภายหลังการประชุมว่า วิปรัฐบาลมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนุญตามมติของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯโดยเร่งด่วน และเห็นพ้องให้ทุกฝ่ายร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไข และกันข้อครหาว่าการแก้ไขครั้งนี้ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นจุดเริ่มต้นความสมานฉันท์
นอกจากนี้วิปรัฐบาลยังเห็นว่าควรให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ประธานสภาฯมีคำสั่งให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเป็นผู้ยกร่างดังกล่าว โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมดเข้าหารือกับวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค.นี้
นายชินวรณ์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลยังมีมติเห็นพ้องว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยผ่านประชามติ เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่สำคัญ และต้องครอบคลุมทุกหมู่เหล่า เปิดรับฟังความเห็นทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยจะมีการหารือขอองแกนนำรัฐบาลและวิป 3 ฝ่าย
ส่วนเรื่องเงื่อนไขเวลาที่หลายฝ่ายเป็นห่วงนั้น พรรคร่วมเห็นตรงกันว่า ไม่มีเจตนายื้อเวลา จะอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดที่ทุกฝ่ายยอมรับ เมื่อได้ข้อเสนอจาก ทุกฝ่ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวุฒิสภา รัฐบาลแล้ว หากทำประชามติก็ต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน ไม่เกิน 120 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าสรุปว่าวิปรัฐบาลเห็นตรงกันที่จะมีการทำประชามติ นายชินวรณ์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลมีความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องที่ดี แต่รายละเอียดจะหารือกันในวิป 3 ฝ่ายอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวขอให้ตัวแทนวิปจากพรรคภูมิใจไทยยืนยันว่าสนับสนุการทำประชามติ นางบพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เลย พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ตอบคำถาม แต่นายชินวรณ์ ชิงตอบแทนว่า เชื่อว่าทุกฝ่ายยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนเรื่องรายละเอียดต้องหารือกันก่อน
ส่วนที่นายกฯตั้งธงว่าอยากให้มีการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชินวรณ์ กล่าวว่า นายกฯในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงเรื่องการทำงานต้องมีความ เห็นพ้องต้องกัน ถึงต้องมีการหารือ 3 ฝ่ายก่อนที่จะมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กระบวนการเจรจาง่ายขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าการใช้งบประมาณในการทำประชามติถึง 2 พันล้านบาท จะคุ้มหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า การลงทุนเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นกติกาสูงสุด ถือว่าไม่แพงเลย เพราะของดีและมีคุณภาพไม่ได้มาฟรี
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าตกลงวิปรัฐบาลเสียงแตกใช่หรือไม่ นายชินวรณ์ เลี่ยงที่จะตอบคำถามดังกล่าว โดยเฉไฉว่า เวลาที่เราจะดำเนินการตามกระบวนการ ต้องรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งวิป 3 ฝ่าย ก็ยืนยันว่าต้องร่วมกันต่อสู้ไปสู่จุดหมายเดียว และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้
นพ.อลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวตอนท้าย การแถลงว่า พรรคเพื่อแผ่นดินได้มีการหารือภายในโดยมีมติว่าเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ต้องเป็นการทำประชามติหลังจากผ่านวาระ 2 ไปแล้ว ซึ่งเป็นมติเดียวกับพรรคภูมิใจไทย กับพรรคชาติไทยพัฒนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการแถลงผลการประชุมวิปรัฐบาลแล้วนั้น ตัวแทนวิปรัฐบาลและนายชินวรณ์ได้มีการหารือกัน หลังจากสื่อซักถามอย่างหนักถึงการทำประชามติ
***ชวรัตน์เชียร์ประชามติแก้ รธน.
ขณะที่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่าตนเห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะจะได้ทำแบบม้วนเดียวจบ แต่ต้องดูเป็นรายมาตรา เช่นมาตราเกี่ยวกับการเลือกตั้งก็สมควรทำประชามติ แต่มาตราใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน และทุกฝ่ายยอมรัรบได้เช่น การแก้ไข ม. 190 ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ส่วนจะทำให้การแก้ไขช้าหรือไม่ตนเห็นว่ายังดีกว่าไม่ทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเสียงบประมาณในการทำประชามติจะคุ้มค่าหรือไม่ นายขวรัตน์ กล่าวว่า ลงทุนครั้งเดียวให้มันจบๆ ไปเลย แต่การทำประชามติต้องดูให้ละเอียด ต้องดูหลายมาตรา เพราะใช้เงินแล้วต้องทำทีเดียวจบ ไม่ใช่ทำประชามติ ไม่กี่มาตราแล้วต้องมาทำใหม่อีก ส่วนข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาฯ หลังแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น ตนเห็นว่าการยุบสภาฯ ไม่ได้อยู่ที่การแก้รัฐธรรมนูญ รัฐบาล สามารถทำงานครบเทอมได้ ถ้ามีเทอม 4 ปี ก็ทำให้ครบเทอม ไม่จำเป็นต้องมีการ ยุบสภาฯกลางคัน เมื่อแก้รัฐธรรมนูญให้ดีแล้ว ก็ต้องให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
เมื่อถามว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามซื้อเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ขอตอบและไม่วิจารณ์เรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด จะทำให้พรรคร่วมไม่เป็นเอกภาพ เพราะเราเป็นพรรคร่วม ที่ดีอยู่แล้ว
***อดีต กก.สมานฉันท์ฯปัดร่วมยกร่าง
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า เมื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯหมดอายุแล้ว หากจะมีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญอีกตนจะไม่รับ เพราะภาระกิจของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไม่ได้มีหน้าที่ยกร่างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราทำหน้าที่ของเรา ก็คือเมื่อได้ไป ศึกษาแล้ว วันนี้คนที่จะตัดสินใจทางการเมืองก็คือรัฐบาลไม่ใช่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ และตนเห็นว่าวุฒิสภาควรเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับบุคคลอื่นได้เข้ามา ทำหน้าที่ หากจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา บุคคลภายนอกก็ควรจะมีโอกาสได้เข้ามาทำหน้าที่ และส.ส.เองก็ทำหน้าที่นี้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นวุฒิสภา
คู่ของความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ก็เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายวุฒิสภาไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใคร เพราะวุฒิฯต้องกลับมารักษาสถานะของตัวเอง และรักษาระยะห่างเพื่อความเป็นธรรมและเป็นที่พึ่งให้ประชาชน ซึ่งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต้องตกลงให้ได้ว่าจะแก้ด้วยวิธีใด และขอยืนยันว่า วันนี้ต้องมีพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. สรรหา อดีตคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ขอดูกรอบอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นก่อน หากยังเป็นชุดเดิม ซึ่งไม่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม คงไม่ขอร่วมด้วย ทางที่ดีควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมายกร่างอีก 1 ชุด โดยนำผู้เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน เข้ามายกร่างน่าจะเหมาะสมกว่า
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตคณะกรรมการสมานฉันท์ฯจากสัดส่วนนักวิชาการ กล่าวว่าไม่สามารถเข้าร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เพื่อยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะแนวทางดังกล่าวไม่ทำให้บ้านเมืองเกิดความสมานฉันท์ แต่เป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมือง เชื่อว่าหากรัฐบาลเดินหน้าแก้ไข บ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวายแน่นอน พร้อมเตือนไปยังวิป 3 ฝ่าย ให้อ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ให้ละเอียด เพราะอาจเข้าข่ายมีความผิดจนถูกถอดถอนได้
***พท.ดันแก้ 6 ประเด็นในร่างฯเดียว
นายวรวัจน์ เอื้อปภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคว่า พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนเดิมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นตามกรอบของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่ได้ศึกษาและเสนอร่างแก้ไขเพียงร่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือกับวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค. อย่างไรก็ตามเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้วิป 3 ฝ่ายไปหาข้อสรุป ดังนั้น เมื่อมติวิป 3 ฝ่ายมีข้อสรุปอย่างไรก็ควรดำเนินการไปตามนั้น
***เทพไทจี้ถามจุดยืนพรรคเพื่อไทย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้สังคมมีความเห็นพ้องในการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีเอกภาพและสามารถทำได้จริงโดยทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนแนวทางการทำประชามติของนายกรัฐมนตรี เพราะ จะเป็นข้อสรุปและอธิบายเหตุผลต่อสังคมได้ การถกเถียงและอ้างเหตุผลของแต่ละฝ่ายจะไม่สามารถยุติได้ถ้าไม่มีคำตอบจากประชาชน โดยผ่านการทำประชามติ แม้ว่าขั้นตอนการทำประชามติจะใช้เวลาระยะหนึ่งก็ตาม แต่เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมก็น่าจะอดทนได้
นายเทพไท กล่าวว่าที่พรรคเพื่อไทยคัดค้านการทำประชามตินั้น ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าจุดยืนเป็นอย่างไร เพราะสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยเสนอแนวคิดการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยเต็มที่
ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวในประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งเอาแค่เกมการเมืองหรือหวังผลแพ้ ชนะ เป็นหลัก