ASTVผู้จัดการรายวัน - ทอท.กางแผนลงทุนสุวรรณภูมิปี 53 เร่งผุดเทอร์มินอลในประเทศวงเงิน 9,000 ล้าน ดันเฟส 2 ชงบอร์ด พ.ย.นี้ มูลค่ารวมกว่า 8 หมื่นล้าน เพิ่มขีดรับผู้โดยสารเป็น 80 ล้านคนในปี 59 พร้อมปรับแผนรุกการตลาดเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์เป็น 50% ภายใน 3 ปี ขณะที่ผลประกอบการปี 52 อ่วม 11 เดือนผู้โดยสารลด 12.21 % เที่ยวบินหาย 6.74%
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. (AOT) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของทอท.ในปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการขึ้นสู่ปีที่ 4 จะเร่งดำเนินโครงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุนประมาณ 80,000 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารเป็น 80 ล้านคนต่อปี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 -2559โดยจะเสนอคณะกรรมการทอท.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธานพิจารณาภายในเดือน พ.ย.นี้ ก่อนที่จะเสนอแผนไปยังกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
โดยเบื้องต้น โครงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปรับจากแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าในส่วนของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal)วงเงินประมาณ 9,133.52 ล้านบาทจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีรวมกับอาคารผู้โดยสารหลังเดิม 45 ล้านคน เป็น 65 ล้านคนต่อปี ส่วนทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 3และ มิดฟิลด์คองคอร์ด หรือ งานอาคารเทียบเครื่องบินหลังรอง
“แผนเดิมของเฟส 2 สศช.ให้ความเห็นชอบแล้ว ติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของรันเวย์ที่ 3 แต่เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า ในระหว่างนี้ บอร์ดทอท.ได้เห็นชอบให้ว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการหรือ PMC เริ่มงานออกแบบก่อสร้าง (Detail& Design)คู่ขนานไป โดยเบื้องต้นเงินลงทุนโครงการทั้งหมดจะใช้เงินรายได้ของทอท. 50% อีก50 %จะพิจารณาจาก 4 แนวทาง คือ เงินกู้ต่างประเทศ, เงินกู้ในประเทศ, ขายพันธบัตร,ขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน” นายเสรีรัตน์กล่าว
***เพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์เป็น 50%
นอกจากนี้ ทอท.จะปรับแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non Aero) เป็น 50% ภายใน 3 ปี (53-55) จากปัจจุบัน ทีมีรายได้ จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน 40% รายได้จากกิจกรรมด้านการบิน (Aero) 60% เช่น เพิ่มกลยุทธ์ด้านการตลาดกับร้านค้าภายในสนามบินเพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารซื้อสินค้ามากขึ้น รวมถึง การพัฒนาพื้นที่แปลง 37 เชิงพาณิชย์
โดยเร่งดำเนินโครงการในส่วนที่ไม่กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น โรงพยาบาล, ศูนย์การค้าชุมชน บริเวณลานจอดระยะยาว (Long Term Parking) ส่วนโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจ เช่น โรงแรม ศูนย์การประชุม สำนักงาน จะต้องปรับปรุงผลการศึกษาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดคัดเลือกเอกชนเข้ามาลงทุนได้ตั้งแต่ต้นปี 2553
สำหรับแผนเชิงรุกเพื่อสร้างรายได้ เบื้องต้นกำหนดไว้ 6แผน ได้แก่ 1. โครงการศูนย์การค้าชุมชน บริเวณลานจอดระยะยาว (Long Term Parking) 2.โครงการให้เอกชนร่วมทุนพัฒนาธุรกิจบนที่ดินแปลง 37 ด้านใต้จำนวน 600ไร่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ 3. โครงการให้เอกชนร่วมดำเนินการก่อสร้างและบริหารอาคารคลังสินค้าส่วนกลาง ด้านข้างคลังสินค้า 4 เขตปลอดอากร พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร
สำหรับผู้ขนส่งสินค้าขนาดกลางและเล็ก และผู้ขนส่งสินค้าตามฤดูกาลและเป็นคลังสินค้าเร่งด่วน 4. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน 5. โครงการศูนย์ซ่อมรถยนต์ครบวงจร 6. โครงการผลิตน้ำประปาผิวดินเพื่อใช้และจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการภายในสนามบิน
***ย้ายแท็กซี่ลงชั้น 1 เช็คเวลาเข้าออก
นายนิรันดร์ ธีรนาทสิน ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2552 นี้เป็นต้นไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะย้ายจุดจอดให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะจากชานชลาอาคารผู้โดยสารชั้น 2 ลงมาอยู่ชานชลาอาคารผู้โดยสารชั้น 1 เหมือนเดิม ซึ่งจะเพิ่มจำนวนคิวให้รถแท็กซี่ได้มากขึ้น กว่า 50 คัน โดยจะเร่งติดตั้งป้ายและเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำกับผู้โดยสารขาเข้าที่ต้องการใช้บริการ ซึ่งการปรับจุดจอดดังกล่าว เป็นผลมาจากมาตรการปราบปรามไกด์ผีแท็กซี่เถื่อน และเพิ่มป้องกันในระยะยาวจะมีการติดตั้งตู้รับบัตรผ่านสำหรับรถที่ผ่านเข้า-ออก ชานชลาชั้น 2 และ 4 ซึ่งจะบันทึกเวลาเข้าออกโดยให้จอดฟรีได้15 นาทีแรก 15 นาทีต่อไป ต้องเสีย 500 บาท 15 นาทีต่อไป อีก 500 บาท เพื่อป้องกันแท็กซี่เถื่อนเข้ามาจอดรถผู้โดยสาร โดยระบบจะติดตั้งเสร็จประมาณเดือนพ.ย.
**ผู้โดยสาร 11 เดือนลดลง 12.21%
ส่วนผลประกอบการในปี 2552 นายเสรีรัตน์กล่าวว่า ในช่วง 11 เดือนแรก (ต.ค.51-ส.ค.52) ปีงบประมาณ 2552 มีผู้โดยสารรวม 33.87 ล้านคน มีจำนวนเที่ยวบิน 221,326 เที่ยวบิน และมีปริมาณสินค้าขนส่งรวมทั้งสิ้น 901,454 ตัน เปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาในส่วนของผู้โดยสารและปริมาณสินค้าปรับตัวลดลง โดยเที่ยวบินลดลง 6.74% ผู้โดยสารลดลง 12.21 % ปริมาณสินค้าลดลง 24.38 %เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
ปัญหาการเมืองในประเทศและการระบาดของไข้หวัด 2009
***ส.ว.ชี้ต่างชาติไม่เข้าเหตุไม่ปลอดภัย
ในการประชุมวุฒิสภาวานนี้ ( 28 ก.ย.) นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุมถึงการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ว่าได้รับการร้องเรียนจากเพื่อนชาวต่างชาติว่า เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสิ่งของในกระเป๋าสัมภาระมักถูกลักขโมยเป็นประจำ รวมถึงความไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะผู้หญิงรู้สึกเป็นอันตรายในบริเวณชั้นล่างจนไม่กล้าลงไป ทำให้ไม่อยากมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเปลี่ยนไปลงที่ประเทศอื่น เช่น ที่ประเทศเวียดนามแทน จึงอยากให้รัฐบาล และการท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นจะทำให้ประเทศไทยเสียภาพลักษณ์และสูญเสียโอกาสหลายอย่าง.
***ตั้งงบ 100 ล้านทำพีอาร์
ทั้งนี้ในวันที่ 28 กันยายน 2552 เป็นวันครบรอบ 3 ปี ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีชื่อแรกเริ่มคือ "หนองงูเห่า" และเป็นสนามบินที่ใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานที่สุดแห่งหนึ่ง มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุดเช่นกัน
โดยใน ปี 2552 ทอท.ส่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าประกวด โดยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นท่าอากาศยานดีเด่นติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกแต่ตลอดทั้งปี สุวรรณภูมิมีแต่ปัญหา มีข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ จนหมดหวังที่จะติด 1 ใน 10 ของท่าอากาศยานดีเด่นของโลกตามที่ตั้งความหวังไว้แล้ว ทำได้เพียงเป็นท่าอากาศยานดีเด่นอันดับ 3 ของโลกจากการโหวตของผู้อ่านนิตยสารออนไลน์ Smarttravelasia.com และลำดับที่ 16 จากการประกาศผล World Airport Award ประจำปี 2552 ของ SKYTRAX ด้วย ขยับขึ้นจากอันดับที่ 37 เมื่อปีก่อน
ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ และที่สำคัญต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุดซึ่งจะต้องจ้างที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบริการและภาพลักษณ์มาเป็นผู้ช่วยวางแนวทางให้ วงเงิน 100 ล้านบาท
"การจัดอันดับนั้นมีหลายสถาบัน แต่ที่ ทอท.ต้องการคือ เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่เป็นเลิศด้านการบริการโดยผ่านการโหวตของผู้ใช้บริการจริงๆ จากสภาท่าอากาศยานนานาชาติ (Airports Council International) หรือ ACI ปีนี้มีปัญหามาก ปี 2553 ก็จะเป็นปีของการปรับปรุง การเตรียมความพร้อมในทุกๆ องค์ประกอบ และตั้งเป้าหมายว่าจะส่งประกวดอีกครั้งในปี 2554 เชื่อว่าน่าจะทำได้เพราะมีการวางแผนวางระบบที่เป็นมาตรฐานแบบสากล ไม่เหมือนที่ผ่านมาทำแบบไม่มีระบบ"
***ปรับปรุง 'สุวรรณภูมิ' โฉมใหม่
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่พอใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และส่งผลต่อการส่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าประกวดเป็นสนามบินดีเด่นระดับโลก คือ การที่มีเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ห้องน้ำ ความสะอาด ความสะดวกสบายในการเข้าออก การใช้บริการ ความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอด รวมถึงการจัดระบบการตรวจเอกสาร ตรวจเอกซเรย์สัมภาระผู้โดยสารใหม่ ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกและเสียเวลาในการรอคิวน้อยลง
ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะแก้ปัญหาต่างๆ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ ไม่มีร่องรอยการทุจริตคอร์รัปชันของระบอบทักษิณหลงเหลือ หรืออาจจะไม่มีวันนั้นก็ได้ ทอท.ในฐานะผู้ดูแลท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เจ้าของพื้นที่ เป็นด่านแรกที่ต้องรับผิดชอบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้ว ทอท.จะปล่อยให้ก้าวเดินไปในรูปแบบเดิมๆ หรือ
เร็วๆ นี้ ทอท.จะเปิดประมูลหาผู้ให้บริการรถเข็นกระเป๋าใหม่มีแผนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) แผนพัฒนาพื้นที่ แปลง 37 กว่า 1,000 ไร่เชิงพาณิชย์เป็นต้น เม็ดเงินอีกเป็นหมื่นล้านบาทที่เกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้จะดูแลจัดการปกป้องอย่างไรไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาสร้างความบอบช้ำเหมือนในอดีต ยิ่งนักการเมืองยุคนี้เข้ามาเป็นใหญ่เป็นโตกันแบบโชคช่วย ไม่มีทางรู้เรื่องสนามบินดีเท่ากับ ทอท.
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. (AOT) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของทอท.ในปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการขึ้นสู่ปีที่ 4 จะเร่งดำเนินโครงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุนประมาณ 80,000 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารเป็น 80 ล้านคนต่อปี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 -2559โดยจะเสนอคณะกรรมการทอท.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธานพิจารณาภายในเดือน พ.ย.นี้ ก่อนที่จะเสนอแผนไปยังกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
โดยเบื้องต้น โครงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปรับจากแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าในส่วนของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal)วงเงินประมาณ 9,133.52 ล้านบาทจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีรวมกับอาคารผู้โดยสารหลังเดิม 45 ล้านคน เป็น 65 ล้านคนต่อปี ส่วนทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 3และ มิดฟิลด์คองคอร์ด หรือ งานอาคารเทียบเครื่องบินหลังรอง
“แผนเดิมของเฟส 2 สศช.ให้ความเห็นชอบแล้ว ติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของรันเวย์ที่ 3 แต่เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า ในระหว่างนี้ บอร์ดทอท.ได้เห็นชอบให้ว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการหรือ PMC เริ่มงานออกแบบก่อสร้าง (Detail& Design)คู่ขนานไป โดยเบื้องต้นเงินลงทุนโครงการทั้งหมดจะใช้เงินรายได้ของทอท. 50% อีก50 %จะพิจารณาจาก 4 แนวทาง คือ เงินกู้ต่างประเทศ, เงินกู้ในประเทศ, ขายพันธบัตร,ขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน” นายเสรีรัตน์กล่าว
***เพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์เป็น 50%
นอกจากนี้ ทอท.จะปรับแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non Aero) เป็น 50% ภายใน 3 ปี (53-55) จากปัจจุบัน ทีมีรายได้ จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน 40% รายได้จากกิจกรรมด้านการบิน (Aero) 60% เช่น เพิ่มกลยุทธ์ด้านการตลาดกับร้านค้าภายในสนามบินเพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารซื้อสินค้ามากขึ้น รวมถึง การพัฒนาพื้นที่แปลง 37 เชิงพาณิชย์
โดยเร่งดำเนินโครงการในส่วนที่ไม่กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น โรงพยาบาล, ศูนย์การค้าชุมชน บริเวณลานจอดระยะยาว (Long Term Parking) ส่วนโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจ เช่น โรงแรม ศูนย์การประชุม สำนักงาน จะต้องปรับปรุงผลการศึกษาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดคัดเลือกเอกชนเข้ามาลงทุนได้ตั้งแต่ต้นปี 2553
สำหรับแผนเชิงรุกเพื่อสร้างรายได้ เบื้องต้นกำหนดไว้ 6แผน ได้แก่ 1. โครงการศูนย์การค้าชุมชน บริเวณลานจอดระยะยาว (Long Term Parking) 2.โครงการให้เอกชนร่วมทุนพัฒนาธุรกิจบนที่ดินแปลง 37 ด้านใต้จำนวน 600ไร่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ 3. โครงการให้เอกชนร่วมดำเนินการก่อสร้างและบริหารอาคารคลังสินค้าส่วนกลาง ด้านข้างคลังสินค้า 4 เขตปลอดอากร พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร
สำหรับผู้ขนส่งสินค้าขนาดกลางและเล็ก และผู้ขนส่งสินค้าตามฤดูกาลและเป็นคลังสินค้าเร่งด่วน 4. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน 5. โครงการศูนย์ซ่อมรถยนต์ครบวงจร 6. โครงการผลิตน้ำประปาผิวดินเพื่อใช้และจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการภายในสนามบิน
***ย้ายแท็กซี่ลงชั้น 1 เช็คเวลาเข้าออก
นายนิรันดร์ ธีรนาทสิน ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2552 นี้เป็นต้นไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะย้ายจุดจอดให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะจากชานชลาอาคารผู้โดยสารชั้น 2 ลงมาอยู่ชานชลาอาคารผู้โดยสารชั้น 1 เหมือนเดิม ซึ่งจะเพิ่มจำนวนคิวให้รถแท็กซี่ได้มากขึ้น กว่า 50 คัน โดยจะเร่งติดตั้งป้ายและเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำกับผู้โดยสารขาเข้าที่ต้องการใช้บริการ ซึ่งการปรับจุดจอดดังกล่าว เป็นผลมาจากมาตรการปราบปรามไกด์ผีแท็กซี่เถื่อน และเพิ่มป้องกันในระยะยาวจะมีการติดตั้งตู้รับบัตรผ่านสำหรับรถที่ผ่านเข้า-ออก ชานชลาชั้น 2 และ 4 ซึ่งจะบันทึกเวลาเข้าออกโดยให้จอดฟรีได้15 นาทีแรก 15 นาทีต่อไป ต้องเสีย 500 บาท 15 นาทีต่อไป อีก 500 บาท เพื่อป้องกันแท็กซี่เถื่อนเข้ามาจอดรถผู้โดยสาร โดยระบบจะติดตั้งเสร็จประมาณเดือนพ.ย.
**ผู้โดยสาร 11 เดือนลดลง 12.21%
ส่วนผลประกอบการในปี 2552 นายเสรีรัตน์กล่าวว่า ในช่วง 11 เดือนแรก (ต.ค.51-ส.ค.52) ปีงบประมาณ 2552 มีผู้โดยสารรวม 33.87 ล้านคน มีจำนวนเที่ยวบิน 221,326 เที่ยวบิน และมีปริมาณสินค้าขนส่งรวมทั้งสิ้น 901,454 ตัน เปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาในส่วนของผู้โดยสารและปริมาณสินค้าปรับตัวลดลง โดยเที่ยวบินลดลง 6.74% ผู้โดยสารลดลง 12.21 % ปริมาณสินค้าลดลง 24.38 %เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
ปัญหาการเมืองในประเทศและการระบาดของไข้หวัด 2009
***ส.ว.ชี้ต่างชาติไม่เข้าเหตุไม่ปลอดภัย
ในการประชุมวุฒิสภาวานนี้ ( 28 ก.ย.) นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุมถึงการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ว่าได้รับการร้องเรียนจากเพื่อนชาวต่างชาติว่า เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสิ่งของในกระเป๋าสัมภาระมักถูกลักขโมยเป็นประจำ รวมถึงความไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะผู้หญิงรู้สึกเป็นอันตรายในบริเวณชั้นล่างจนไม่กล้าลงไป ทำให้ไม่อยากมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเปลี่ยนไปลงที่ประเทศอื่น เช่น ที่ประเทศเวียดนามแทน จึงอยากให้รัฐบาล และการท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นจะทำให้ประเทศไทยเสียภาพลักษณ์และสูญเสียโอกาสหลายอย่าง.
***ตั้งงบ 100 ล้านทำพีอาร์
ทั้งนี้ในวันที่ 28 กันยายน 2552 เป็นวันครบรอบ 3 ปี ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีชื่อแรกเริ่มคือ "หนองงูเห่า" และเป็นสนามบินที่ใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานที่สุดแห่งหนึ่ง มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุดเช่นกัน
โดยใน ปี 2552 ทอท.ส่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าประกวด โดยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นท่าอากาศยานดีเด่นติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกแต่ตลอดทั้งปี สุวรรณภูมิมีแต่ปัญหา มีข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ จนหมดหวังที่จะติด 1 ใน 10 ของท่าอากาศยานดีเด่นของโลกตามที่ตั้งความหวังไว้แล้ว ทำได้เพียงเป็นท่าอากาศยานดีเด่นอันดับ 3 ของโลกจากการโหวตของผู้อ่านนิตยสารออนไลน์ Smarttravelasia.com และลำดับที่ 16 จากการประกาศผล World Airport Award ประจำปี 2552 ของ SKYTRAX ด้วย ขยับขึ้นจากอันดับที่ 37 เมื่อปีก่อน
ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ และที่สำคัญต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุดซึ่งจะต้องจ้างที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบริการและภาพลักษณ์มาเป็นผู้ช่วยวางแนวทางให้ วงเงิน 100 ล้านบาท
"การจัดอันดับนั้นมีหลายสถาบัน แต่ที่ ทอท.ต้องการคือ เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่เป็นเลิศด้านการบริการโดยผ่านการโหวตของผู้ใช้บริการจริงๆ จากสภาท่าอากาศยานนานาชาติ (Airports Council International) หรือ ACI ปีนี้มีปัญหามาก ปี 2553 ก็จะเป็นปีของการปรับปรุง การเตรียมความพร้อมในทุกๆ องค์ประกอบ และตั้งเป้าหมายว่าจะส่งประกวดอีกครั้งในปี 2554 เชื่อว่าน่าจะทำได้เพราะมีการวางแผนวางระบบที่เป็นมาตรฐานแบบสากล ไม่เหมือนที่ผ่านมาทำแบบไม่มีระบบ"
***ปรับปรุง 'สุวรรณภูมิ' โฉมใหม่
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่พอใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และส่งผลต่อการส่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าประกวดเป็นสนามบินดีเด่นระดับโลก คือ การที่มีเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ห้องน้ำ ความสะอาด ความสะดวกสบายในการเข้าออก การใช้บริการ ความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอด รวมถึงการจัดระบบการตรวจเอกสาร ตรวจเอกซเรย์สัมภาระผู้โดยสารใหม่ ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกและเสียเวลาในการรอคิวน้อยลง
ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะแก้ปัญหาต่างๆ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ ไม่มีร่องรอยการทุจริตคอร์รัปชันของระบอบทักษิณหลงเหลือ หรืออาจจะไม่มีวันนั้นก็ได้ ทอท.ในฐานะผู้ดูแลท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เจ้าของพื้นที่ เป็นด่านแรกที่ต้องรับผิดชอบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้ว ทอท.จะปล่อยให้ก้าวเดินไปในรูปแบบเดิมๆ หรือ
เร็วๆ นี้ ทอท.จะเปิดประมูลหาผู้ให้บริการรถเข็นกระเป๋าใหม่มีแผนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) แผนพัฒนาพื้นที่ แปลง 37 กว่า 1,000 ไร่เชิงพาณิชย์เป็นต้น เม็ดเงินอีกเป็นหมื่นล้านบาทที่เกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้จะดูแลจัดการปกป้องอย่างไรไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาสร้างความบอบช้ำเหมือนในอดีต ยิ่งนักการเมืองยุคนี้เข้ามาเป็นใหญ่เป็นโตกันแบบโชคช่วย ไม่มีทางรู้เรื่องสนามบินดีเท่ากับ ทอท.