ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.ปรับค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จาก7,648 ล้านบาทเป็น 10,000 ล้านบาท เผยลงรายละเอียดต้องเลี่ยงพื้นที่สำคัญเขาพระพุทธฉาย ขณะที่ทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง งานไม่คืบช้ากว่าแผนถึง 40% ชงครม.ขอกู้เสริมสภาพคล่อง 5,000 ล้านบาท
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เปิดเผยภายหลัง เปิดการสัมมนาบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวทางรถไฟโครงการ “จัดองค์ความรู้ในการยกระดับมาตรฐานงานบริการของการรถไฟฯ” วานนี้ (21 ก.ย.) ว่า ร.ฟ.ท.ได้ปรับเพิ่มวงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทางประมาณ 106 กิโลเมตร จาก 7,648ล้านบาท เป็นกว่า 10,000 ล้านบาทเนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับแนวเส้นทางใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่านเขาพระฉายซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (เขาพระพทุธฉาย) โดยคาดว่าจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม และ คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้เร็วๆ นี้
โดยขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ จำกัด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนส์ จำกัด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ส่วนการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม ปรับปรุงแบบรายละเอียดและเอกสารประกวดราคาได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 3,926 ล้านบาทนั้น นายยุทธนากล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างมีความล่าช้ากว่าแผนงานถึง 40% โดย ร.ฟ.ท.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัด กลุ่มกิจการร่วมค้า ทีเอสซี.ซึ่งเป็นผู้รับเหมาให้เร่งดำเนินการให้ได้ตามแผนงานก่อสร้างซึ่งกำหนดการก่อสร้างต้องแล้วเสร็จตามสัญญาภายในเดือนส.ค. 2553
ในขณะที่ความคืบหน้า โครงการอสร้างทางรถไฟจากจุดสิ้นสุดทางคู่ เข้าสู่ภายในท่าเรือแหลมฉบังระยะทางประมาณ 3.4 กิโลเมตร นั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท. )เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ได้หารือร่วมกับผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อให้เร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จในต้นปี 2554 จากเดิมที่จะแล้วเสร็จปลายปี 2554เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ที่จะเสร็จประมาณกลางปี 2553 ซึ่งจะทำให้โครงข่ายเกิดประโยชน์สูงสุด
นายยุทธนากล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22 ก.ย.) ร.ฟ.ท. โดยกระทรวงคมนาคมจะขออนุมัติกู้เงิน จำนวน 5,000 ล้านบาทเพื่อนำมาใช้สำหรับเสริมสภาพคล่องให้ ร.ฟ.ท. ซึ่งในปีที่ผ่านมานั้นร.ฟ.ท.ก็ได้มีการกู้เงินในลักษณะดังกล่าวมาแล้ว กว่า 5,000 ล้านบาท
เร่งเคลียร์ปัญหา ชุมชนริมทางรถไฟหัวหิน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวถึงกรณีชาวบ้านริมทางรถไฟบริเวณอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ เกิดความไม่พอใจที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารการ ร.ฟ.ท.ไปจัดการจัดหาพื้นฝั่งตรงข้ามจากพื้นที่ให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ พร้อมทั้งให้ชาวบ้านเป็นศู่สัญญากับ ร.ฟ.ท.โดยตรง ส่วนเงื่อนไขการเช่านั้น ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามพื้นที่เดิมนั้นภายหลังชาวบ้านย้ายออกไป ร.ฟ.ท. จะดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ใหม่ให้เกิดความสวยงาม
เพิ่งคิดได้อบรมพนักงานตื่นตัวยกระดับบริการ
สำหรับ การจัดอบนรมบุคลากรร.ฟ.ท.นั้น เพื่อต้องการยกระดับการให้บริการและปรับปรุงสภาพรถในเส้นทางท่องเที่ยวเช่นกรุงเทพ-หัวหิน , กรุงเทฯ –กาญจนบุรี และวงเวียนใหญ่-มหาชัย จ.สมุทรสงคราม ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว เช่น เช่น ตู้เสบียงและร้านอาหาร การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต และในอนาคต ร.ฟ.ท.จะขยายไปเส้นทางอื่น เช่น กาญจนบุรี สระบุรี และนครราชสีมา อย่างไรก็ตามคาดว่าหลังจากการปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จจะทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการดำเนินการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านบาทจากเดิมมีรายได้ประมาณ 20 ล้านบาทต่อปี
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เปิดเผยภายหลัง เปิดการสัมมนาบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวทางรถไฟโครงการ “จัดองค์ความรู้ในการยกระดับมาตรฐานงานบริการของการรถไฟฯ” วานนี้ (21 ก.ย.) ว่า ร.ฟ.ท.ได้ปรับเพิ่มวงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทางประมาณ 106 กิโลเมตร จาก 7,648ล้านบาท เป็นกว่า 10,000 ล้านบาทเนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับแนวเส้นทางใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่านเขาพระฉายซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (เขาพระพทุธฉาย) โดยคาดว่าจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม และ คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้เร็วๆ นี้
โดยขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ จำกัด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนส์ จำกัด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ส่วนการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม ปรับปรุงแบบรายละเอียดและเอกสารประกวดราคาได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 3,926 ล้านบาทนั้น นายยุทธนากล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างมีความล่าช้ากว่าแผนงานถึง 40% โดย ร.ฟ.ท.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัด กลุ่มกิจการร่วมค้า ทีเอสซี.ซึ่งเป็นผู้รับเหมาให้เร่งดำเนินการให้ได้ตามแผนงานก่อสร้างซึ่งกำหนดการก่อสร้างต้องแล้วเสร็จตามสัญญาภายในเดือนส.ค. 2553
ในขณะที่ความคืบหน้า โครงการอสร้างทางรถไฟจากจุดสิ้นสุดทางคู่ เข้าสู่ภายในท่าเรือแหลมฉบังระยะทางประมาณ 3.4 กิโลเมตร นั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท. )เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ได้หารือร่วมกับผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อให้เร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จในต้นปี 2554 จากเดิมที่จะแล้วเสร็จปลายปี 2554เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ที่จะเสร็จประมาณกลางปี 2553 ซึ่งจะทำให้โครงข่ายเกิดประโยชน์สูงสุด
นายยุทธนากล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22 ก.ย.) ร.ฟ.ท. โดยกระทรวงคมนาคมจะขออนุมัติกู้เงิน จำนวน 5,000 ล้านบาทเพื่อนำมาใช้สำหรับเสริมสภาพคล่องให้ ร.ฟ.ท. ซึ่งในปีที่ผ่านมานั้นร.ฟ.ท.ก็ได้มีการกู้เงินในลักษณะดังกล่าวมาแล้ว กว่า 5,000 ล้านบาท
เร่งเคลียร์ปัญหา ชุมชนริมทางรถไฟหัวหิน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวถึงกรณีชาวบ้านริมทางรถไฟบริเวณอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ เกิดความไม่พอใจที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารการ ร.ฟ.ท.ไปจัดการจัดหาพื้นฝั่งตรงข้ามจากพื้นที่ให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ พร้อมทั้งให้ชาวบ้านเป็นศู่สัญญากับ ร.ฟ.ท.โดยตรง ส่วนเงื่อนไขการเช่านั้น ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามพื้นที่เดิมนั้นภายหลังชาวบ้านย้ายออกไป ร.ฟ.ท. จะดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ใหม่ให้เกิดความสวยงาม
เพิ่งคิดได้อบรมพนักงานตื่นตัวยกระดับบริการ
สำหรับ การจัดอบนรมบุคลากรร.ฟ.ท.นั้น เพื่อต้องการยกระดับการให้บริการและปรับปรุงสภาพรถในเส้นทางท่องเที่ยวเช่นกรุงเทพ-หัวหิน , กรุงเทฯ –กาญจนบุรี และวงเวียนใหญ่-มหาชัย จ.สมุทรสงคราม ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว เช่น เช่น ตู้เสบียงและร้านอาหาร การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต และในอนาคต ร.ฟ.ท.จะขยายไปเส้นทางอื่น เช่น กาญจนบุรี สระบุรี และนครราชสีมา อย่างไรก็ตามคาดว่าหลังจากการปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จจะทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการดำเนินการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านบาทจากเดิมมีรายได้ประมาณ 20 ล้านบาทต่อปี