จากอนุสนธิที่ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติผู้พี่ของทักษิณผู้ผลักดันให้ญาติผู้พี่เข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.ช่วงปี 2546 แต่ต่อมาเกิดปัญหากรณีอื้อฉาวว่าจะนำโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือคิดจะแปรรูปทรัพย์สมบัติของกองทัพบกอย่างไม่โปร่งใสให้เกิดช่องทางได้เงินเข้ากระเป๋าช่วง IPO หากเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ญาติผู้น้องทักษิณต้องย้ายให้ออกไปเป็น ผบ.ทหารสูงสุดเมื่อ 1 ตุลาคม 2547 จนเกษียณอายุราชการในปี 2548
และพล.อ.ชัยสิทธิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องรัฐประหารและให้สัมภาษณ์ในวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมาด้วยอารมณ์ขยะ จนหมดความเป็นผู้ดี และสะท้อนให้เห็นถึงสันดานดิบอันไม่ใช่วิสัยของทหารโดยลักษณะสากลทหารต้องแสดงความเป็นสุภาพบุรุษทหารหาญมี EQ สูงตามที่ฝรั่งเขาเรียกว่า A Gentleman and an Officer ด้วยคำพูดถ่อยที่พรั่งพรูออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนที่คลิปนี้มีปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสื่อต่างๆ
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ปฏิเสธด้วยภาษาที่วกไปวนมา แต่จับความได้ว่า ไม่ได้เรียกร้องให้ทหารยึดอำนาจ เพราะโดยส่วนตัวเป็นทหารประชาธิปไตย แต่ถ้าไม่มีทางออกจริงๆ ก็ต้องปฏิวัติ และขู่ว่าถ้ารัฐบาลทำอะไรเกินไปก็อาจถูกปฏิวัติได้
การพูดเรื่องรัฐประหารนั้น เป็นสิทธิของใครก็พูดได้ แต่ว่าผู้พูดเป็นใครนั้นเป็นประเด็นสำคัญ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีต ผบ.ทบ.และ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นญาติผู้พี่ของทักษิณ ผู้ซึ่งกำลังดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองทั้งแบบเย็นและร้อน หวังกลับมามีอำนาจใหม่ตามที่เห็นประจักษ์มาแล้วในห้วงสงกรานต์เลือดเดือดพล่าน เมื่อคนเสื้อแดงยิงคนตายอย่างหน้าตาเฉยที่ย่านนางเลิ้ง และทำลายสุเหร่าชุมชนอิสลามย่านถนนเพชรบุรีแต่จับตัวใครไม่ได้
การพูดของ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ที่สอดแทรกเข้ามาในสถานการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงในอาณัติของทักษิณ กำลังจะเริ่มเกมการเมืองเชิงรุกโดยอาศัยวันครบรอบ 3 ปี ที่ทักษิณ ถูกโค่นอำนาจลงใน 19 กันยายน 2549 เพราะโกงกินบ้านเมืองที่ศาลพิพากษาเป็นที่ยุติแล้วทั้ง ทักษิณ-พจมาน ว่าใช้อำนาจหน้าที่และอำนาจเงินตั้งใจทุจริตซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ผิด พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 และประมาลกฎหมายอาญา ต้องโทษจำคุก 2 ปี จึงทำให้การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมทางรัฐศาสตร์ (De Facto) ที่แม้จะไม่ใช่ทฤษฎีที่ถูกต้องแต่จำเป็น มิฉะนั้นแล้ว ประเทศชาติจะไม่เหลืออะไรเลยเพราะทักษิณอาจจะกินชาติจนหมดสิ้นและสถาบันชาติอาจถูกย้ำยี่
กลุ่มคนเสื้อแดงจะนัดชุมนุมใหญ่โดยกลุ่ม นปช.ในวันที่ 19 กันยายนนี้ตามแผนการโค่นล้มรัฐบาลและลิดรอนพระราชอำนาจทางอ้อมโดยหวังให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองจนรัฐบาลรักษาสถานการณ์เลวร้ายไม่ได้ เกิดการทำร้ายประชาชน ข่มขู่ให้เข้าเป็นพวกและสร้างความโกลาหล เผาบ้านเผาเมืองเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในห้วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
แนวคิดที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การทำซ้ำเหมือนช่วงสงกรานต์ในการกดดันรัฐบาลและสถาบันองคมนตรี เพื่อทำให้รัฐบาลผสมเกิดความอ่อนแอ รัฐมนตรีถอดใจลาออกเพราะบางคนเกิดความเบื่อหน่าย หรือบางคนเกิดความกลัวถูกทำร้ายไร้การคุ้มครองเพราะองค์กรตำรวจกำลังระส่ำระสายขาดเอกภาพ
หรือเพื่อแสดงอำนาจบาตรใหญ่ให้สาธารณชนเห็นว่า ประธานองคมนตรีไม่มีความหมาย ไม่มีใครช่วยประธานองคมนตรีได้ รวมถึงการกดดันให้ประธานองคมนตรีแสดงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งขึ้นมาเพื่อจะได้ประจาน หรือขั้นสุดท้ายให้ประธานองคมนตรีถอดใจลาออก ซึ่งจะทำให้เกิดความปั่นป่วนในสถาบันองคมนตรี และเป็นการกระทบกระเทือนให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างแน่นอน เพราะสภาองคมนตรี เป็นองค์กรที่สถาปนาตามพระราชอำนาจและพระราชอัธยาศัยและมีกำหนดไว้แน่ชัดในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ
หรือคำพูดของ พล.อ.ชัยสิทธิ์ อาจจะเป็นสัญญาณให้กลุ่มทหารในระบอบทักษิณ ในกองทัพตื่นตัว และคาดหวังที่จะกลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพอีก โดยหวังให้ทักษิณ กลับสู่อำนาจทำรัฐประหารซ้อนก็เป็นได้
หรืออาจเป็นเครื่องมือแยกทหารออกจากประชาชน หรือทำให้ประชาชนระแวงว่า ทหารอาจจะใช้ความวุ่นวายในวันที่ 19 กันยายน ทำการรัฐประหาร
หรืออาจจะเป็นการกดดันทหารที่จะออกมาควบคุมสถานการณ์ตามคำสั่งรัฐบาลเห็นว่า ทหารอาจตกเป็นจำเลยทั้งสังคมและตามกฎหมาย เช่น กรณีตำรวจเมื่อ 7 ตุลาคม 2551
ดังนั้น กลยุทธ์เหล่านี้จึงเป็นสมมติฐานที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น เพราะแผนการทั้งปวงมักจะ ซ่อนเร้นวาระเลวร้ายหรือโหดร้ายไว้ในใจของกลุ่มผู้นำการชุมนุมส่วนพวกปลายแถวหรือพวกถูกจ้างวานมา ไม่มีวันจะรู้ความจริงได้เลย
อย่างไรก็ดี มีคำพูดอมตะหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ณ วันนี้ การก่อรัฐประหารเป็นไปได้ยาก ไม่เหมือนในอดีตที่เคยกระทำได้ง่ายๆ” จากวลีประโยคการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เลอ ฟิกาโร (Le Figaro) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1893 ของเฟรดริช แองเกลส์ (Friedrich Engels) ค.ศ.1820-1895 : นักปราชญ์สังคมนิยมและนักปฏิวัติชาวเยอรมัน คู่คิดของคาร์ล มาร์กซ์
รัฐประหาร คืออะไร รัฐประหารโดยพื้นฐานเดิม ตามหลักรัฐศาสตร์สมัยใหม่ มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า “Coup d’etat” หมายถึง “Stroke or Blow of State” คือ การยึดอำนาจรัฐด้วยกำลังทหารที่เป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งมวล ซึ่งเป็นกลไกภายในของรัฐเอง โดยอาจจะใช้ความรุนแรงเพื่อชิงอำนาจรัฐ หรือการยอมรับสภาพของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปราศจากการสูญเสีย แต่ตามหลักการเชิงนิตินัยแล้ว ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการออกนิรโทษกรรม หลังจากที่ก่อการสำเร็จและสถาปนาอำนาจรัฐแล้ว
หลักการนี้ได้รับอิทธิพลจากการทำรัฐประหารของนโปเลียนด้วย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ได้ทำการลวงให้คณะรัฐมนตรีสภาปฏิวัติฝรั่งเศสแห่งสาธารณรัฐที่ 1 ออกจากกรุงปารีส หลังจากเกิดเหตุยุ่งเหยิงซับซ้อนของปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 โดยอ้างเหตุว่าจะคุ้มครองจากแผนการยึดอำนาจของกลุ่มหัวรุนแรงจาโกแบงส์ (Jacobins) หรือกลุ่มชนชั้นปฏิวัติ ที่เป็นปีกสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งสาธารณรัฐขณะนั้นมีการแตกแยกเป็นหลายก๊ก
แต่กลุ่มเสียงข้างน้อยที่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นล่างต่อต้านการเข้ายุ่งเกี่ยวกับสงครามในยุโรป เริ่มใช้ความรุนแรงในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม จนเกิดยุคหฤโหด (Reign of Terror) ขึ้นภายใต้การนำของแมกซิมิเลียน โรเบสปีแอร์ ซึ่งมิได้ขจัดเฉพาะผู้ต่อต้านการปฏิวัติเท่านั้น แต่รวมถึงพรรคพวกที่เคยร่วมกันทำการปฏิวัติด้วย เช่น กลุ่มคอร์เดอส์เลียร์ (Cordeliers) และกลุ่มของยอร์จ ดองตอง (Georges Danton) เป็นต้นตอของกลียุคที่นโปเลียนต้องทำการรัฐประหาร มิฉะนั้นแล้ว ฝรั่งเศสอาจจะล่มสลายได้ เพราะมีศึกนอกบ้านด้วยกองทัพอังกฤษจ้องที่จะเข้ายึดครอง
ปฐมเหตุสำคัญที่การสู่รัฐประหาร 3 ประการ ตามแนวคิดของ Edward N. Luttwak นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ อเมริกัน โปลิช เคยเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และเป็นสมาชิกคณะศึกษาด้านความมั่นคงแห่งกลาโหมสหรัฐฯ ตลอดจนเขียนหนังสือเกี่ยวกับคู่มือการรัฐประหาร (Coup d’etat : Practical Handdbook) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1969 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งต่อเนื่อง และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 14 ภาษา สรุปสาเหตุคือ
1. ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่มีความรุนแรงและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยที่มีดัชนีอัตราการว่างงานและค่าครองชีพสูง
2. การทำสงครามยาวนานที่ถึงทางตัน หรือการพ่ายทั้งแพ้สงคราม และทางการทูต
3. วัฏจักรความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลผสมที่นำสู่ความสับสนของทิศทางการเมือง
4. การทุจริตคอร์รัปชันในหมู่ข้าราชการและนักการเมือง
อย่างไรก็ดี หลักรัฐศาสตร์ยังปรากฏแนวทางสู่อำนาจรัฐ 2 ทางนั่นเอง คือ การเลือกตั้งถูกต้องตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย (De Jure Sovereignty) และการปกครองโดยการยึดอำนาจรัฐ (De Facto Sovereignty) แต่เมื่อกระทำไม่สำเร็จก็เป็นกบฏไป
เมื่อวิเคราะห์การรัฐประหารในประเทศไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มานั้น มีการทำรัฐประหารรวมทั้งหมด 18 ครั้ง หรือ 4 ปีครั้ง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงครั้งสุดท้าย คือ เมื่อ 19 กันยายน 2549 ซึ่งกระทำการสำเร็จ 10 ครั้ง ไม่สำเร็จ 7 ครั้ง ซึ่งสาเหตุสำคัญ ได้แก่ ปัญหาการคอร์รัปชันของนักการเมือง ความเสื่อมโทรมและการแตกแยกของสังคม การจาบจ้วงสถาบันสูงสุดของชาติ การดูหมิ่นดูแคลนทหาร และการปล่อยให้ประชาชนยากจนลง
รัฐประหารเป็นเงาของทรราชหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ และวิธีการของผู้นำรัฐประหารที่จะพลิกผันจากการได้อำนาจรัฐที่มิใช่แนวทางประชาธิปไตย (Unconventional Government Approach) สู่รัฐบาลที่ประชาชนนิยม (Popular Government) นั่นคือ การคืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชนโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อปัญญาอยู่เหนือร่างกาย จิตวิญญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างและเงาร้ายจะอันตรธานหายไป
บทเรียนทางการเมืองของไทยในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นบทเรียนราคาแพง เพราะเกิดบาดแผลสังคมลึกมาก ต้องใช้เวลารักษา และหลายฝ่ายคิดว่า “เงาความคิดรัฐประหารคงไม่เกิดขึ้น ตราบเท่าที่ประชาชนยังปกติสุขตามอัตภาพ ตามกรรม และสถาบันชาติยังคงแข็งแกร่งดุจภูผาหิน ซึ่งผู้นำกองทัพและทหารเรียนรู้ถึงหน้าที่ตัวเองดีชัดเจน และหวังว่านักการเมืองคงเล่นบทบาทของตัวเองให้สมกับความคาดหวังของประชาชน เพราะความสมดุลทางการเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่กับประชาชน”
และขออย่ายั่วยุใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการป่วนวิถีทางการเมืองในยามนี้ เพราะทหารยุคนี้จะไม่เปิดบทต้องห้ามแห่งรัฐศาสตร์ เว้นแต่ต้องเผชิญกับสภาวะสิ้นชาติและประชาชนทั้งชาติปรารถนาให้กองทัพเข้าแก้ไขเท่านั้น
และพล.อ.ชัยสิทธิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องรัฐประหารและให้สัมภาษณ์ในวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมาด้วยอารมณ์ขยะ จนหมดความเป็นผู้ดี และสะท้อนให้เห็นถึงสันดานดิบอันไม่ใช่วิสัยของทหารโดยลักษณะสากลทหารต้องแสดงความเป็นสุภาพบุรุษทหารหาญมี EQ สูงตามที่ฝรั่งเขาเรียกว่า A Gentleman and an Officer ด้วยคำพูดถ่อยที่พรั่งพรูออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนที่คลิปนี้มีปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสื่อต่างๆ
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ปฏิเสธด้วยภาษาที่วกไปวนมา แต่จับความได้ว่า ไม่ได้เรียกร้องให้ทหารยึดอำนาจ เพราะโดยส่วนตัวเป็นทหารประชาธิปไตย แต่ถ้าไม่มีทางออกจริงๆ ก็ต้องปฏิวัติ และขู่ว่าถ้ารัฐบาลทำอะไรเกินไปก็อาจถูกปฏิวัติได้
การพูดเรื่องรัฐประหารนั้น เป็นสิทธิของใครก็พูดได้ แต่ว่าผู้พูดเป็นใครนั้นเป็นประเด็นสำคัญ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีต ผบ.ทบ.และ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นญาติผู้พี่ของทักษิณ ผู้ซึ่งกำลังดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองทั้งแบบเย็นและร้อน หวังกลับมามีอำนาจใหม่ตามที่เห็นประจักษ์มาแล้วในห้วงสงกรานต์เลือดเดือดพล่าน เมื่อคนเสื้อแดงยิงคนตายอย่างหน้าตาเฉยที่ย่านนางเลิ้ง และทำลายสุเหร่าชุมชนอิสลามย่านถนนเพชรบุรีแต่จับตัวใครไม่ได้
การพูดของ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ที่สอดแทรกเข้ามาในสถานการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงในอาณัติของทักษิณ กำลังจะเริ่มเกมการเมืองเชิงรุกโดยอาศัยวันครบรอบ 3 ปี ที่ทักษิณ ถูกโค่นอำนาจลงใน 19 กันยายน 2549 เพราะโกงกินบ้านเมืองที่ศาลพิพากษาเป็นที่ยุติแล้วทั้ง ทักษิณ-พจมาน ว่าใช้อำนาจหน้าที่และอำนาจเงินตั้งใจทุจริตซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ผิด พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 และประมาลกฎหมายอาญา ต้องโทษจำคุก 2 ปี จึงทำให้การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมทางรัฐศาสตร์ (De Facto) ที่แม้จะไม่ใช่ทฤษฎีที่ถูกต้องแต่จำเป็น มิฉะนั้นแล้ว ประเทศชาติจะไม่เหลืออะไรเลยเพราะทักษิณอาจจะกินชาติจนหมดสิ้นและสถาบันชาติอาจถูกย้ำยี่
กลุ่มคนเสื้อแดงจะนัดชุมนุมใหญ่โดยกลุ่ม นปช.ในวันที่ 19 กันยายนนี้ตามแผนการโค่นล้มรัฐบาลและลิดรอนพระราชอำนาจทางอ้อมโดยหวังให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองจนรัฐบาลรักษาสถานการณ์เลวร้ายไม่ได้ เกิดการทำร้ายประชาชน ข่มขู่ให้เข้าเป็นพวกและสร้างความโกลาหล เผาบ้านเผาเมืองเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในห้วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
แนวคิดที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การทำซ้ำเหมือนช่วงสงกรานต์ในการกดดันรัฐบาลและสถาบันองคมนตรี เพื่อทำให้รัฐบาลผสมเกิดความอ่อนแอ รัฐมนตรีถอดใจลาออกเพราะบางคนเกิดความเบื่อหน่าย หรือบางคนเกิดความกลัวถูกทำร้ายไร้การคุ้มครองเพราะองค์กรตำรวจกำลังระส่ำระสายขาดเอกภาพ
หรือเพื่อแสดงอำนาจบาตรใหญ่ให้สาธารณชนเห็นว่า ประธานองคมนตรีไม่มีความหมาย ไม่มีใครช่วยประธานองคมนตรีได้ รวมถึงการกดดันให้ประธานองคมนตรีแสดงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งขึ้นมาเพื่อจะได้ประจาน หรือขั้นสุดท้ายให้ประธานองคมนตรีถอดใจลาออก ซึ่งจะทำให้เกิดความปั่นป่วนในสถาบันองคมนตรี และเป็นการกระทบกระเทือนให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างแน่นอน เพราะสภาองคมนตรี เป็นองค์กรที่สถาปนาตามพระราชอำนาจและพระราชอัธยาศัยและมีกำหนดไว้แน่ชัดในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ
หรือคำพูดของ พล.อ.ชัยสิทธิ์ อาจจะเป็นสัญญาณให้กลุ่มทหารในระบอบทักษิณ ในกองทัพตื่นตัว และคาดหวังที่จะกลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพอีก โดยหวังให้ทักษิณ กลับสู่อำนาจทำรัฐประหารซ้อนก็เป็นได้
หรืออาจเป็นเครื่องมือแยกทหารออกจากประชาชน หรือทำให้ประชาชนระแวงว่า ทหารอาจจะใช้ความวุ่นวายในวันที่ 19 กันยายน ทำการรัฐประหาร
หรืออาจจะเป็นการกดดันทหารที่จะออกมาควบคุมสถานการณ์ตามคำสั่งรัฐบาลเห็นว่า ทหารอาจตกเป็นจำเลยทั้งสังคมและตามกฎหมาย เช่น กรณีตำรวจเมื่อ 7 ตุลาคม 2551
ดังนั้น กลยุทธ์เหล่านี้จึงเป็นสมมติฐานที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น เพราะแผนการทั้งปวงมักจะ ซ่อนเร้นวาระเลวร้ายหรือโหดร้ายไว้ในใจของกลุ่มผู้นำการชุมนุมส่วนพวกปลายแถวหรือพวกถูกจ้างวานมา ไม่มีวันจะรู้ความจริงได้เลย
อย่างไรก็ดี มีคำพูดอมตะหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ณ วันนี้ การก่อรัฐประหารเป็นไปได้ยาก ไม่เหมือนในอดีตที่เคยกระทำได้ง่ายๆ” จากวลีประโยคการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เลอ ฟิกาโร (Le Figaro) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1893 ของเฟรดริช แองเกลส์ (Friedrich Engels) ค.ศ.1820-1895 : นักปราชญ์สังคมนิยมและนักปฏิวัติชาวเยอรมัน คู่คิดของคาร์ล มาร์กซ์
รัฐประหาร คืออะไร รัฐประหารโดยพื้นฐานเดิม ตามหลักรัฐศาสตร์สมัยใหม่ มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า “Coup d’etat” หมายถึง “Stroke or Blow of State” คือ การยึดอำนาจรัฐด้วยกำลังทหารที่เป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งมวล ซึ่งเป็นกลไกภายในของรัฐเอง โดยอาจจะใช้ความรุนแรงเพื่อชิงอำนาจรัฐ หรือการยอมรับสภาพของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปราศจากการสูญเสีย แต่ตามหลักการเชิงนิตินัยแล้ว ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการออกนิรโทษกรรม หลังจากที่ก่อการสำเร็จและสถาปนาอำนาจรัฐแล้ว
หลักการนี้ได้รับอิทธิพลจากการทำรัฐประหารของนโปเลียนด้วย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ได้ทำการลวงให้คณะรัฐมนตรีสภาปฏิวัติฝรั่งเศสแห่งสาธารณรัฐที่ 1 ออกจากกรุงปารีส หลังจากเกิดเหตุยุ่งเหยิงซับซ้อนของปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 โดยอ้างเหตุว่าจะคุ้มครองจากแผนการยึดอำนาจของกลุ่มหัวรุนแรงจาโกแบงส์ (Jacobins) หรือกลุ่มชนชั้นปฏิวัติ ที่เป็นปีกสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งสาธารณรัฐขณะนั้นมีการแตกแยกเป็นหลายก๊ก
แต่กลุ่มเสียงข้างน้อยที่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นล่างต่อต้านการเข้ายุ่งเกี่ยวกับสงครามในยุโรป เริ่มใช้ความรุนแรงในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม จนเกิดยุคหฤโหด (Reign of Terror) ขึ้นภายใต้การนำของแมกซิมิเลียน โรเบสปีแอร์ ซึ่งมิได้ขจัดเฉพาะผู้ต่อต้านการปฏิวัติเท่านั้น แต่รวมถึงพรรคพวกที่เคยร่วมกันทำการปฏิวัติด้วย เช่น กลุ่มคอร์เดอส์เลียร์ (Cordeliers) และกลุ่มของยอร์จ ดองตอง (Georges Danton) เป็นต้นตอของกลียุคที่นโปเลียนต้องทำการรัฐประหาร มิฉะนั้นแล้ว ฝรั่งเศสอาจจะล่มสลายได้ เพราะมีศึกนอกบ้านด้วยกองทัพอังกฤษจ้องที่จะเข้ายึดครอง
ปฐมเหตุสำคัญที่การสู่รัฐประหาร 3 ประการ ตามแนวคิดของ Edward N. Luttwak นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ อเมริกัน โปลิช เคยเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และเป็นสมาชิกคณะศึกษาด้านความมั่นคงแห่งกลาโหมสหรัฐฯ ตลอดจนเขียนหนังสือเกี่ยวกับคู่มือการรัฐประหาร (Coup d’etat : Practical Handdbook) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1969 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งต่อเนื่อง และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 14 ภาษา สรุปสาเหตุคือ
1. ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่มีความรุนแรงและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยที่มีดัชนีอัตราการว่างงานและค่าครองชีพสูง
2. การทำสงครามยาวนานที่ถึงทางตัน หรือการพ่ายทั้งแพ้สงคราม และทางการทูต
3. วัฏจักรความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลผสมที่นำสู่ความสับสนของทิศทางการเมือง
4. การทุจริตคอร์รัปชันในหมู่ข้าราชการและนักการเมือง
อย่างไรก็ดี หลักรัฐศาสตร์ยังปรากฏแนวทางสู่อำนาจรัฐ 2 ทางนั่นเอง คือ การเลือกตั้งถูกต้องตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย (De Jure Sovereignty) และการปกครองโดยการยึดอำนาจรัฐ (De Facto Sovereignty) แต่เมื่อกระทำไม่สำเร็จก็เป็นกบฏไป
เมื่อวิเคราะห์การรัฐประหารในประเทศไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มานั้น มีการทำรัฐประหารรวมทั้งหมด 18 ครั้ง หรือ 4 ปีครั้ง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงครั้งสุดท้าย คือ เมื่อ 19 กันยายน 2549 ซึ่งกระทำการสำเร็จ 10 ครั้ง ไม่สำเร็จ 7 ครั้ง ซึ่งสาเหตุสำคัญ ได้แก่ ปัญหาการคอร์รัปชันของนักการเมือง ความเสื่อมโทรมและการแตกแยกของสังคม การจาบจ้วงสถาบันสูงสุดของชาติ การดูหมิ่นดูแคลนทหาร และการปล่อยให้ประชาชนยากจนลง
รัฐประหารเป็นเงาของทรราชหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ และวิธีการของผู้นำรัฐประหารที่จะพลิกผันจากการได้อำนาจรัฐที่มิใช่แนวทางประชาธิปไตย (Unconventional Government Approach) สู่รัฐบาลที่ประชาชนนิยม (Popular Government) นั่นคือ การคืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชนโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อปัญญาอยู่เหนือร่างกาย จิตวิญญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างและเงาร้ายจะอันตรธานหายไป
บทเรียนทางการเมืองของไทยในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นบทเรียนราคาแพง เพราะเกิดบาดแผลสังคมลึกมาก ต้องใช้เวลารักษา และหลายฝ่ายคิดว่า “เงาความคิดรัฐประหารคงไม่เกิดขึ้น ตราบเท่าที่ประชาชนยังปกติสุขตามอัตภาพ ตามกรรม และสถาบันชาติยังคงแข็งแกร่งดุจภูผาหิน ซึ่งผู้นำกองทัพและทหารเรียนรู้ถึงหน้าที่ตัวเองดีชัดเจน และหวังว่านักการเมืองคงเล่นบทบาทของตัวเองให้สมกับความคาดหวังของประชาชน เพราะความสมดุลทางการเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่กับประชาชน”
และขออย่ายั่วยุใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการป่วนวิถีทางการเมืองในยามนี้ เพราะทหารยุคนี้จะไม่เปิดบทต้องห้ามแห่งรัฐศาสตร์ เว้นแต่ต้องเผชิญกับสภาวะสิ้นชาติและประชาชนทั้งชาติปรารถนาให้กองทัพเข้าแก้ไขเท่านั้น