นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เห็นชอบหลักเกณฑ์การประกันรายได้เกษตรกร โดย ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันอยู่ที่ 15,300 บาท ปริมาณประกันอยู่ที่ 14 ตัน ต่อครัวเรือน ข้าวหอมมะลิจังหวัดราคาประกัน 14,300 ปริมาณประกันอยู่ที่ 16 ตัน ต่อครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกัน 10,000 ปริมาณประกัน 25 ตัน ต่อครัวเรือน ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาประกัน 10,000 บาท ปริมาณประกัน 25 ตันต่อครัวเรือน และข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกัน 9,500 บาท ปริมาณประกันอยู่ที่ 16 ตัน ต่อ ครัวเรือน
โดยเกษตรกรสามารถขอใช้สิทธิประกันไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ต่อราย ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมการข้าว จัดทำผลผลิตต่อไร่เป็นรายจังหวัด แยกพื้นที่ปลูกทั้งใน และและนอกเขตชลประทาน เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณปริมาณประกันรายได้
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ออกไปอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 31 ต.ค. 52 เฉพาะภาคเหนือ อีสาน กลาง ยกเว้นภาคใต้ ที่ขยายไปจนถึง 28 ก.พ. 53 เนื่องจากมีความล่าช้าในการทำประชาคม ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทย กำลังเร่งดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบประกาศอัตราชดเชยแก่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ข้าวทุก 15 วัน โดยกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงสี ได้ขอให้มีการประกาศ 7 วันต่อครั้ง เนื่องจากราคาข้าวมีการขยับได้ง่ายกว่า สินค้าเกษตรอื่นๆ แต่เบื้องต้น ได้สั่งการให้ใช้ 15 วันไปก่อน เพราะเห็นว่าหากประกาศ 7 วันต่อครั้ง ในทางปฎิบัติอาจทำไม่ได้ แต่หากทำได้ระยะหนึ่งแล้วทำได้ดี ต่อไปอาจเปลี่ยนมาเป็น 7 วันต่อครั้งได้ ส่วนราคาอ้างอิงนั้น จะคำนวณโดย คิดจากมูลค่าข้าวสารรวมกับมูลค่าผลิตภัณฑ์หักค่าแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และค่าขนส่งเฉลี่ยจาก กทม.ถึงจังหวัดจุดซื้อขายของเกษตรกร
โดยเกษตรกรสามารถขอใช้สิทธิประกันไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ต่อราย ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมการข้าว จัดทำผลผลิตต่อไร่เป็นรายจังหวัด แยกพื้นที่ปลูกทั้งใน และและนอกเขตชลประทาน เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณปริมาณประกันรายได้
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ออกไปอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 31 ต.ค. 52 เฉพาะภาคเหนือ อีสาน กลาง ยกเว้นภาคใต้ ที่ขยายไปจนถึง 28 ก.พ. 53 เนื่องจากมีความล่าช้าในการทำประชาคม ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทย กำลังเร่งดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบประกาศอัตราชดเชยแก่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ข้าวทุก 15 วัน โดยกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงสี ได้ขอให้มีการประกาศ 7 วันต่อครั้ง เนื่องจากราคาข้าวมีการขยับได้ง่ายกว่า สินค้าเกษตรอื่นๆ แต่เบื้องต้น ได้สั่งการให้ใช้ 15 วันไปก่อน เพราะเห็นว่าหากประกาศ 7 วันต่อครั้ง ในทางปฎิบัติอาจทำไม่ได้ แต่หากทำได้ระยะหนึ่งแล้วทำได้ดี ต่อไปอาจเปลี่ยนมาเป็น 7 วันต่อครั้งได้ ส่วนราคาอ้างอิงนั้น จะคำนวณโดย คิดจากมูลค่าข้าวสารรวมกับมูลค่าผลิตภัณฑ์หักค่าแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และค่าขนส่งเฉลี่ยจาก กทม.ถึงจังหวัดจุดซื้อขายของเกษตรกร