ตลาด AFET ซื้อขายคึกคัก ยอดเทรดข้าวสนั่น อานิสงส์ประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาล ดันปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 1,600 สัญญา/วัน
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า วานนี้ (15 ก.ย.) การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าข้าวใน AFET คึกคักมาก โดยมีปริมาณซื้อขาย ข้าวขาว 5% (BWR5)จำนวน 1,594 สัญญา และข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 (BHMR) จำนวน 797 สัญญา ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายรวม เท่ากับ 3,174 สัญญา คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 1,000 ล้านบาท นับเป็นสถิติการซื้อขายที่สูงมากอีกหนึ่งวันในรอบเดือนกันยายนนี้ ในขณะที่เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา มีปริมาณการซื้อขายรวม เท่ากับ 2,415 สัญญา และรองจากเมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม มีปริมาณซื้อขายสูงถึง 4,735 สัญญา/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายข้าวเป็นหลัก ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับแต่ตลาดเปิดทำการซื้อขาย ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายใน AFET ในช่วงนี้อยู่ในระดับเฉลี่ย 1,600 สัญญา/วัน
สำหรับการซื้อขายวานนี้ ประกอบด้วย สัญญาข้าวขาว 5% ที่มีการซื้อขายมากสุด คือ สัญญาข้าวส่งมอบเดือนตุลาคม จำนวน 1,433 สัญญา ส่วนสัญญาข้าวหอมมะลิส่งมอบเดือนตุลาคม จำนวน 503 สัญญาตามลำดับ ซึ่งปริมาณการซื้อขายข้าวที่สูงขึ้นเป็นผลโดยตรงจากนโยบายการจำหน่ายข้าวของภาครัฐ ประกอบกับนักลงทุนเริ่มมองหาโอกาสในการลงทุน ส่งผลให้การซื้อขายล่วงหน้าข้าวใน AFET กลับมามีสีสันอีกครั้ง
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายข้าวใน AFET เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลผ่านกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าใน AFET ที่กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดประมูลตั้งแต่ในเดือนสิงหาคม (วันที่ 6 ส.ค.และ 26 ส.ค.) และล่าสุดในเดือนกันยายน (7 กันยายน) ได้เข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการประมูลแต่ละครั้งมีผู้ประกอบการค้าข้าวให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลกว่า 30 -50 ราย มีทั้งโรงสี ผู้ค้าข้าว และผู้ส่งออก หลายระดับซึ่งล่าสุดข้าวหอมมะลิได้มีการประมูลแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย คงเหลือเพียงข้าวขาวบางส่วนเท่านั้น และคาดว่าจะดำเนินการประมูลให้เสร็จในช่วงต้นเดือนหน้านี้
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การประมูลในรูปแบบนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายพอใจกับวิธีการที่รัฐบาลเลือกจำหน่ายสต็อกข้าว โดยวิธีประมูลแบบเสนอส่วนต่างราคา (การประมูลแบบ Basis) เนื่องจากวิธีการประมูลดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทุกระดับ สามารถเข้าซื้อสินค้าในสต็อกของรัฐบาลได้ และสามารถเลือกล็อกราคาล่วงหน้าที่ตนพอใจและกำหนดช่วงเวลาในการรับมอบสินค้าได้ ซึ่งทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนในการซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อข้าวจากรัฐบาล และมีการแข่งขันกันมากในการเสนอส่วนลดและส่วนเพิ่มถึงขนาดที่มีการเสนอส่วนต่างราคาที่เท่ากันหลายล็อตข้าวที่นำมาประมูล อีกทั้งในการประมูลที่ผ่านมาพบว่าช่วงส่วนต่างราคาที่เสนอแคบลงมาเป็นอย่างมาก ดังนั้นปริมาณซื้อขายใน AFET ในช่วงนี้ นอกจากมีผู้ประกอบการค้าข้าว ยังมีนักลงทุนจำนวนมาก ให้ความสนใจเข้ามาซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก อันถือได้ว่าเป็นจังหวะและโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า วานนี้ (15 ก.ย.) การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าข้าวใน AFET คึกคักมาก โดยมีปริมาณซื้อขาย ข้าวขาว 5% (BWR5)จำนวน 1,594 สัญญา และข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 (BHMR) จำนวน 797 สัญญา ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายรวม เท่ากับ 3,174 สัญญา คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 1,000 ล้านบาท นับเป็นสถิติการซื้อขายที่สูงมากอีกหนึ่งวันในรอบเดือนกันยายนนี้ ในขณะที่เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา มีปริมาณการซื้อขายรวม เท่ากับ 2,415 สัญญา และรองจากเมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม มีปริมาณซื้อขายสูงถึง 4,735 สัญญา/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายข้าวเป็นหลัก ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับแต่ตลาดเปิดทำการซื้อขาย ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายใน AFET ในช่วงนี้อยู่ในระดับเฉลี่ย 1,600 สัญญา/วัน
สำหรับการซื้อขายวานนี้ ประกอบด้วย สัญญาข้าวขาว 5% ที่มีการซื้อขายมากสุด คือ สัญญาข้าวส่งมอบเดือนตุลาคม จำนวน 1,433 สัญญา ส่วนสัญญาข้าวหอมมะลิส่งมอบเดือนตุลาคม จำนวน 503 สัญญาตามลำดับ ซึ่งปริมาณการซื้อขายข้าวที่สูงขึ้นเป็นผลโดยตรงจากนโยบายการจำหน่ายข้าวของภาครัฐ ประกอบกับนักลงทุนเริ่มมองหาโอกาสในการลงทุน ส่งผลให้การซื้อขายล่วงหน้าข้าวใน AFET กลับมามีสีสันอีกครั้ง
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายข้าวใน AFET เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลผ่านกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าใน AFET ที่กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดประมูลตั้งแต่ในเดือนสิงหาคม (วันที่ 6 ส.ค.และ 26 ส.ค.) และล่าสุดในเดือนกันยายน (7 กันยายน) ได้เข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการประมูลแต่ละครั้งมีผู้ประกอบการค้าข้าวให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลกว่า 30 -50 ราย มีทั้งโรงสี ผู้ค้าข้าว และผู้ส่งออก หลายระดับซึ่งล่าสุดข้าวหอมมะลิได้มีการประมูลแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย คงเหลือเพียงข้าวขาวบางส่วนเท่านั้น และคาดว่าจะดำเนินการประมูลให้เสร็จในช่วงต้นเดือนหน้านี้
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การประมูลในรูปแบบนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายพอใจกับวิธีการที่รัฐบาลเลือกจำหน่ายสต็อกข้าว โดยวิธีประมูลแบบเสนอส่วนต่างราคา (การประมูลแบบ Basis) เนื่องจากวิธีการประมูลดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทุกระดับ สามารถเข้าซื้อสินค้าในสต็อกของรัฐบาลได้ และสามารถเลือกล็อกราคาล่วงหน้าที่ตนพอใจและกำหนดช่วงเวลาในการรับมอบสินค้าได้ ซึ่งทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนในการซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อข้าวจากรัฐบาล และมีการแข่งขันกันมากในการเสนอส่วนลดและส่วนเพิ่มถึงขนาดที่มีการเสนอส่วนต่างราคาที่เท่ากันหลายล็อตข้าวที่นำมาประมูล อีกทั้งในการประมูลที่ผ่านมาพบว่าช่วงส่วนต่างราคาที่เสนอแคบลงมาเป็นอย่างมาก ดังนั้นปริมาณซื้อขายใน AFET ในช่วงนี้ นอกจากมีผู้ประกอบการค้าข้าว ยังมีนักลงทุนจำนวนมาก ให้ความสนใจเข้ามาซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก อันถือได้ว่าเป็นจังหวะและโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน