ในสัปดาห์ก่อนผมได้กล่าวถึงวิธีการประกันราคาข้าวที่เราจะต้องรอมติจากการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าจะนำหลักการดังกล่าวมาใช้อย่างไร ผลปรากฏว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบ โครงการประกันราคาข้าวเปลือกและการประกันภัยข้าวเปลือกหอมมะลิ จำนวน 2 แสนตัน ดังที่ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจจะทราบข่าวจากสื่อต่างๆ แล้ว สำหรับในสัปดาห์นี้ เรามาติดตามกันต่อว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลมีแนวทางเกี่ยวกับการจำนำ และการประกันราคาข้าวอย่างไรบ้าง
สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้ติดตามข่าวเรื่องของการประกันราคาข้าวหอมมะลิในสัปดาห์ที่แล้ว ผมขอสรุปมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. คือ รัฐบาลได้กำหนดพื้นที่รับจำนำ ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 8 จังหวัด และให้เกษตรกรประกันราคาข้าวหอมมะลิได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท โดยเกษตรกรสามารถซื้อประกันกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 52 และสามารถขอใช้สิทธิได้ในเดือน ธ.ค. 52 (ในกรณีที่ยังมีการดำเนินโครงการรับจำนำ ราคารับจำนำต้องต่ำกว่าราคารับประกันไม่เกิน 1,000 บาทต่อตัน) ส่วนค่าเบี้ยประกันในระยะแรกอาจกำหนดไว้เป็นอัตราที่ต่ำ เช่น 0.01% ของวงเงินเอาประกัน (อาจจะยกเว้นในปีแรก) (ไทยโพสต์ วันที่ 4 มิ.ย. 52) ซึ่งคิดเป็นตัวเงินแล้วประมาณ 50 บาท เท่านั้น
ในส่วนของแนวทางการจำนำข้าวนาปรังปี 52 นั้น ในวันที่ 4 มิ.ย. ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องของการเพิ่มปริมาณรับจำนำ โดยมีมติให้เพิ่มปริมาณการรับจำนำข้าวนาปรังปี 52 เพิ่มอีก 2 ล้านตัน จากเดิม 4 ล้านตัน (กรมการค้าภายในจะทำหน้าที่จัดสรรโควตารับจำนำให้แต่ละจังหวัดตามข้อมูลปริมาณผลผลิตที่มีอยู่) ซึ่งได้กำหนดระยะเวลารับจำนำถึงวันที่ 31 ก.ค. และให้ ธ.ก.ส. หาเงินกู้เพิ่มอีก 23,600 ล้านบาทเพื่อใช้การรับจำนำเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาถึงแนวทางการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นาปี ประจำปีการผลิต 52/53 ซึ่งในเบื้องต้นมีทั้งหมด 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1. การใช้ระบบการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เข้ามาช่วยดำเนินการ 2. การจำนำที่ยุ้งฉางของเกษตรกร และ 3. การประกันราคา
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ทางสมาคมชาวนาไทยก็ได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ยกเลิกโควตารับจำนำข้าวในรายจังหวัดตามที่กรมการค้าภายในจัดสรร เนื่องจากบางจังหวัดมีโควตาจำนวนน้อย ทั้งที่มีปริมาณข้าวที่ต้องการเข้าร่วมโครงการมีจำนวนมาก (ไทยโพสต์ วันที่ 9 มิ.ย. 52) ซึ่งถ้าหากรัฐบาลไม่กำหนดโควตารับจำนำให้แต่ละจังหวัด อาจจะเกิดปัญหาว่า ถ้าผลผลิตจังหวัดใดออกก่อน จังหวัดนั้นก็จะได้เปรียบ เนื่องจากสามารถนำเข้าโครงการรับจำนำได้ก่อน เกรงว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือจะไม่ครอบคลุมเกษตรกรทั่วประเทศ
แต่หากพิจารณาในทางทฤษฎีแล้วการที่รัฐบาลรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านตัน น่าจะทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นได้ เนื่องจากเป็นการดึงผลผลิตออกจากตลาดถึงร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด
ถึงแม้ว่าแนวคิดในเรื่องของการรับจำนำ และการประกันราคา จะมีวิธีการดำเนินการ ที่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 2 แนวคิดก็สามารถเข้ามาใช้ราคาในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เพื่อเป็นราคาอ้างอิงได้ ซึ่งเราคงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าโครงการประกัน ราคาข้าว เมื่อถูกนำมาใช้จริงแล้ว จะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารงบประมาณที่มีอยู่อย่าง จำกัดได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ และเกษตรกรจะได้รับประโยชน์อะไรจากโครงการ ดังกล่าว
สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้ติดตามข่าวเรื่องของการประกันราคาข้าวหอมมะลิในสัปดาห์ที่แล้ว ผมขอสรุปมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. คือ รัฐบาลได้กำหนดพื้นที่รับจำนำ ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 8 จังหวัด และให้เกษตรกรประกันราคาข้าวหอมมะลิได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท โดยเกษตรกรสามารถซื้อประกันกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 52 และสามารถขอใช้สิทธิได้ในเดือน ธ.ค. 52 (ในกรณีที่ยังมีการดำเนินโครงการรับจำนำ ราคารับจำนำต้องต่ำกว่าราคารับประกันไม่เกิน 1,000 บาทต่อตัน) ส่วนค่าเบี้ยประกันในระยะแรกอาจกำหนดไว้เป็นอัตราที่ต่ำ เช่น 0.01% ของวงเงินเอาประกัน (อาจจะยกเว้นในปีแรก) (ไทยโพสต์ วันที่ 4 มิ.ย. 52) ซึ่งคิดเป็นตัวเงินแล้วประมาณ 50 บาท เท่านั้น
ในส่วนของแนวทางการจำนำข้าวนาปรังปี 52 นั้น ในวันที่ 4 มิ.ย. ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องของการเพิ่มปริมาณรับจำนำ โดยมีมติให้เพิ่มปริมาณการรับจำนำข้าวนาปรังปี 52 เพิ่มอีก 2 ล้านตัน จากเดิม 4 ล้านตัน (กรมการค้าภายในจะทำหน้าที่จัดสรรโควตารับจำนำให้แต่ละจังหวัดตามข้อมูลปริมาณผลผลิตที่มีอยู่) ซึ่งได้กำหนดระยะเวลารับจำนำถึงวันที่ 31 ก.ค. และให้ ธ.ก.ส. หาเงินกู้เพิ่มอีก 23,600 ล้านบาทเพื่อใช้การรับจำนำเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาถึงแนวทางการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นาปี ประจำปีการผลิต 52/53 ซึ่งในเบื้องต้นมีทั้งหมด 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1. การใช้ระบบการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เข้ามาช่วยดำเนินการ 2. การจำนำที่ยุ้งฉางของเกษตรกร และ 3. การประกันราคา
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ทางสมาคมชาวนาไทยก็ได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ยกเลิกโควตารับจำนำข้าวในรายจังหวัดตามที่กรมการค้าภายในจัดสรร เนื่องจากบางจังหวัดมีโควตาจำนวนน้อย ทั้งที่มีปริมาณข้าวที่ต้องการเข้าร่วมโครงการมีจำนวนมาก (ไทยโพสต์ วันที่ 9 มิ.ย. 52) ซึ่งถ้าหากรัฐบาลไม่กำหนดโควตารับจำนำให้แต่ละจังหวัด อาจจะเกิดปัญหาว่า ถ้าผลผลิตจังหวัดใดออกก่อน จังหวัดนั้นก็จะได้เปรียบ เนื่องจากสามารถนำเข้าโครงการรับจำนำได้ก่อน เกรงว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือจะไม่ครอบคลุมเกษตรกรทั่วประเทศ
แต่หากพิจารณาในทางทฤษฎีแล้วการที่รัฐบาลรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านตัน น่าจะทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นได้ เนื่องจากเป็นการดึงผลผลิตออกจากตลาดถึงร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด
ถึงแม้ว่าแนวคิดในเรื่องของการรับจำนำ และการประกันราคา จะมีวิธีการดำเนินการ ที่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 2 แนวคิดก็สามารถเข้ามาใช้ราคาในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เพื่อเป็นราคาอ้างอิงได้ ซึ่งเราคงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าโครงการประกัน ราคาข้าว เมื่อถูกนำมาใช้จริงแล้ว จะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารงบประมาณที่มีอยู่อย่าง จำกัดได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ และเกษตรกรจะได้รับประโยชน์อะไรจากโครงการ ดังกล่าว