ในที่สุดความพยายามใน การเคลื่อนไหวของนายวีระ สมความคิดและคณะ ที่หวังกดดันรัฐบาลให้เปิดเผยความจริงเรื่องพื้นที่แผ่นดินไทยบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก็เป็นผล
เพราะวันที่ 13 กันยายน 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย โดยยอมรับว่ามีการรุกล้ำดินแดนไทยจริง และในวันเดียวกัน นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นครั้งแรก ให้สื่อมวลชนไทยได้มีโอกาสเห็นภาพชุมชนและทหารกัมพูชาบนผืนแผ่นดินไทยด้วยตาตัวเอง
ปรากฏการณ์ที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหันกลับมาสนใจในเรื่องนี้ อีกทั้งยอมรับการถูกรุกล้ำดินแดนไทยนั้น เกิดขึ้นมาจากแรงกดดันของภาคประชาชนโดยตรง ซึ่งจะใช้มาตรการที่จะนำประชาชนไปทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหาร ในวันที่ 19 กันยายน 2552 นี้
อาจกล่าวได้ว่าถ้าไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ รัฐบาลก็ยังอาจจะเพิกเฉยและพูดแต่ว่าประเทศไทยยังไม่เสียดินแดนต่อไปฉันใด อุปมาเหมือนถูกข่มขืนกระทำชำเราอยู่ทุกวันแล้วบอกว่ายังเป็นโสดอยู่ฉันนั้น
วัด ชุมชน ถนน สิ่งปลูกสร้าง ประชาชน และทหารกัมพูชา อยู่ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหลายจุด ตั้งแต่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา ทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหาร ทางเดินระหว่างผามออีแดงถึงตัวปราสาทพระวิหาร ยอดภูมะเขือ โดยที่คนไทยทั่วไปไม่สามารถขึ้นไปได้ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันว่าไทยได้ถูกรุกล้ำอธิปไตยแล้วอย่างแน่นอน
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นภารกิจลงพื้นที่ว่า:
“รัฐบาลนี้พูดเรื่องจริง ไม่มีอะไรปิดบัง ผู้นำสองประเทศไม่มีใครประสงค์ให้มีการสู้รบ เราอยากให้กลับไปสู่วันที่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไป ชมมรดกโลกซึ่งเป็นที่มาของวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราภูมิใจ เป็นสิ่งที่คิดว่าประชาชนสองประเทศรออยู่”
ข้อความนี้ดูจะทำให้สังคมไทยกระจ่างชัดอีกครั้งขึ้นว่า “ผู้นำสองประเทศไม่มีใครประสงค์ให้มีการสู้รบ” และย่อมทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า ที่ไม่มีการผลักดันประชาชนชาวกัมพูชาออกนอกพื้นที่ของไทย เพราะเป็นนโยบายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี!
แต่หวังว่าการที่นายกษิต ภิรมย์ ใช้คำว่า “มรดกโลก” กับกรณีปราสาทพระวิหารแล้วคิดว่า “ประชาชนสองประเทศรออยู่” คงไม่ได้หมายความว่า…อยากให้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยฝ่ายกัมพูชา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องถือว่านายกษิต ภิรมย์ ได้กลืนน้ำลายตัวเองในสิ่งที่เคยพูดและเคยต่อสู้ เอาไว้บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประการสำคัญที่อาจจะเป็นการเข้าใจผิดและสับสนอย่างแรงของนายกษิต เพราะประชาชนเพียงประเทศเดียวที่รอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอยู่ในขณะนี้น่าจะเป็นประชาชนในราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่าย ไม่ใช่ประชาชนในราชอาณาจักรไทย หรือประชาชนของทั้งสองประเทศ!
นายกษิต ภิรมย์ ยังให้สัมภาษณ์อีกว่า:
“หากมีสันติภาพมันมีแต่ได้กับได้ แต่นี่ทำให้เกลียดชังกัน และพอมีปัญหาขึ้นก็ไม่ใช่จะไม่ชี้แจง นี่พยายามชี้แจงแต่ก็ต้องมีความเข้าอกเข้าใจด้วย ไม่ใช่ยืนกระต่ายขาเดียวแล้วบอกว่าฉันถูกที่เหลือผิดหมด ที่เหลือนั้นเลวและไม่รักชาติ คนที่มีเหตุมีผลมีสติปัญญาพูดอย่างนั้นได้อย่างไร รักชาตินั้นมันก็รักกันทุกคน แต่ไม่มีสิทธิจะไปคลั่งชาติแล้วประณามคนอื่น”
เห็นใจอยู่บ้างที่คำพูดที่ออกมานั้นอาจเกิดจากแรงกดดันอย่างหนัก แต่บางที นายกษิต ภิรมย์ อาจจะลืมไปแล้วหรือไม่ว่าได้เคยร่วมขบวนกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งได้มี แถลงการณ์ฉบับที่ 18/2551 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โดยมีเนื้อความสรุปต่อกรณีการที่ภริยานายฮุนเซนและคณะเข้ามาทำพิธีกรรมที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวาราที่มีชุมชนชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ อันเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย ว่า: 1. พันธมิตรฯประณามกัมพูชา 2. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำหนังสือประท้วงและประณามกัมพูชา และ 3.ให้ทหารไทยผลักดันชนชาวกัมพูชาออกไปจากดินแดนไทยโดยทันที
แสดงให้เห็นว่าจุดยืนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อกรณีการถูกรุกล้ำอธิปไตยเป็นจุดยืนเดิมที่ไม่เคยเปลี่ยน!
ท่านทูตกษิต ภิรมย์ ซึ่งอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ นอกจากจะไม่เคยแสดงความไม่เห็นด้วยกับจุดยืนดังกล่าวแล้ว กลับส่งเสริมจุดยืนดังกล่าวและร่วมชุมนุมต่อเนื่องมาจนถึงการยุบพรรครัฐบาล แล้วจึงเกิดการพลิกขั้วจนตัวเองกลายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
มาวันนี้กลับมาเรียกกลุ่มคนที่มีจุดยืนเดิมที่ตัวเองเคยเข้าร่วมการต่อสู้ว่า “พวกคลั่งชาติ” แล้วเรียกตัวเองว่า “พวกรักชาติ” ได้อย่างไร?
ฝากข้อความนี้เตือนสติกัลยาณมิตรอย่าง นายกษิต ภิรมย์ คิดพิจารณา เพราะไม่อยากให้ประชาชนเข้าใจผิดจากอารมณ์ที่ขุ่นมัวครั้งนี้ แล้วมองไปว่านายกษิต ภิรมย์ เป็นคนประเภท เอาดีใส่ตัว แล้วเอาชั่วใส่คนอื่น!
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ยอมรับการถูกรุกล้ำอธิปไตยไทยเป็นครั้งแรก และยอมรับว่าที่เห็นเป็นอยู่สภาพนี้เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยว่า:
“สำหรับพื้นที่ที่เป็นชุมชนและตลาด ที่ตอนหลังมีการสร้างถนน แต่ในหลายช่วงก็มีทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาเข้าไปอยู่ เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดก็ตรึงกำลังกันเข้าไป จนมีการปะทะกัน แต่รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนในการเดินหน้าที่จะใช้พื้นที่ดังกล่าวคืนสภาพกลับไปเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะมีผลต่อเรื่องของอธิปไตยผ่านการเจรจา”
“เจรจา และสันติวิธี” ฟังแล้วก็ดูดี แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยได้ใช้วิธีการเจรจาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาแต่กลับถูกรุกล้ำดินแดน และเสียเปรียบเพิ่มมากขึ้น
ประการสำคัญคือการรุกล้ำตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชานั้น ฝ่ายกัมพูชาได้มีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่ต้องการยึดพื้นที่ให้ได้มากขึ้น ทั้งการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ขยายชุมชน สร้างถนน สร้างวัด และยังให้ทหารแปลงสภาพกลายเป็นประชาชนและพระสงฆ์
โดยเฉพาะการสร้างวัดและให้ทหารกัมพูชาแปลงสภาพเป็นพระสงฆ์นั้น ถือเป็นยุทธวิธีที่นำศาสนามาบังหน้า มุ่งหวังสร้างภาพไม่ให้ทหารไทยกล้าใช้กำลังในการผลักดันฝ่ายกัมพูชาออกไป
กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่การรุกล้ำตามธรรมชาติ ที่จะไปคิดเแก้ไขปัญหาด้วยการไปยกเลิกเขตอุทยานแห่งชาติแล้วให้คนไทยไปอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวแข่งกับชาวกัมพูชาได้ หากแต่เป็นเจตนาในการใช้ยุทธวิธีของรัฐบาลกัมพูชาที่ใช้ทหารและพลเรือนเข้ายึดดินแดนไทยอย่างชัดเจน ที่ราชอาณาจักรไทยจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยมาตรการทางการทูตและมาตรการทางการทหารควบคู่กันไป
ด้วยเหตุผลนี้การปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา ในปี 2551 จนถึงปี 2552 จึงเกิดขึ้นหลายครั้งและทวีรุนแรงเพิ่มขึ้น
3 ตุลาคม 2551 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2 นายเพราะปะทะกับทหารฝ่ายกัมพูชาซึ่งได้เข้ามาวางกำลังในบริเวณช่องอานม้าและใช้อาวุธยิงใส่ทหารไทย
6 ตุลาคม 2551 ทหารไทย 2 นายบาดเจ็บสาหัส เพราะเหยียบกับระเบิดในพื้นที่ภูมะเขืออันเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทย
15 ตุลาคม 2551 ทหารกัมพูชายิงจรวดอาร์พีจี และอาวุธปืนสงครามอีกหลายประเภทใส่ทหารไทยอย่างหนัก และทหารไทยได้ทำการยิงตอบโต้จากการถูกรุกรานดังกล่าว
26 มกราคม 2552 ทหารพราน กองกำลังสุรนารี เหยียบกับระเบิดทางทิศตะวันตกของปราสาทตาเมือนธม จ.สุรินทร์ ห่างจากปราสาทตาเมือนธมเข้ามาในดินแดนไทย 1 กิโลเมตร ทหารไทยบาดเจ็บสาหัส 1 นาย สูญเสียฝ่าเท้าซ้ายกระดูกแตกละเอียด
2 เมษายน 2552 ทหารไทยเหยียบกับระเบิดในจุดตรวจการณ์ของฝ่ายไทยจนขาขาด จากนั้นทหารกัมพูชาได้ยิงปืนใส่ทหารไทยจนมีทหารไทยเสียชีวิต 2 นายและบาดเจ็บสาหัสอีกหลายนาย ทหารไทยจึงยิงตอบโต้จนทำให้ตลาดหน้าทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชาเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น
12 กันยายน 2552 ทหารกัมพูชาพยายามใช้กองกำลังที่จะรุกล้ำเข้ามาถึงที่ปราสาทตาเมือนธม จ.สุรินทร์ ผ่านการวางแผนมาล่วงหน้าในการสร้างถนนเป็นแรมปีจากฝั่งกัมพูชามาจนเกือบถึงตัวปราสาท ปรากฏว่าทหารไทยได้ปะทะกับทหารกัมพูชาเพื่อปกป้องดินแดนไทยอย่างหาญกล้า
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลมัวแต่มองว่าต้องใช้สันติวิธีและใช้การประท้วงอย่างเดียว แล้วทหารในพื้นที่เหล่านั้นเขาจะเสี่ยงชีวิตไปเพื่ออะไร?
ถ้ารัฐบาลและกองทัพยอมรับว่าต้องมีการใช้กำลังปะทะกันเพื่อตรึงไม่ให้กัมพูชารุกล้ำอธิปไตยหรือดินแดนไทยมากขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าจะใช้ตรรกะนี้แล้วจะตอบอย่างไรในกรณีดินแดนไทยที่ถูกรุกล้ำโดยฝ่ายกัมพูชา เหตุใดจึงปล่อยให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ถนน และขยายชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยที่คนไทยไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวได้?
เพราะรัฐบาลไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ทหารจึงทำหน้าที่ได้แค่ตามนโยบายรัฐบาลกำหนด ประชาชนผู้รักชาติที่นำโดยนายวีระ สมความคิด จึงต้องทำหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 70 และ 71 ในการแสดงเจตนารมณ์เพื่อทวงคืนดินแดนไทยกลับคืนมา
ซึ่งแน่นอนว่าการไปในครั้งนี้ ทุกฝ่ายตระหนักดีว่ามีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!
แม้ว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะดูสุ่มเสี่ยง แต่ก็เป็นมาตรการที่ได้ผลในการกดดันบังคับให้รัฐบาลต้องตัดสินใจใช้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งต่ออธิปไตยของชาติ และจะต้องหาหนทางมิให้ประชาชนผู้รักชาติเหล่านี้ต้องบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต
ถ้าคิดแบบตื้นๆ เหมือนรัฐบาลชุดก่อนคือ ฝ่ายอำนาจรัฐจัดประชาชนมาปะทะประชาชน หรือใช้กำลังทหารไทยมาปิดกั้นปะทะกับประชาชนผู้รักชาติ หรือสั่งให้มีการปิดปั๊มน้ำมันหรือปิดโรงแรมเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนผู้รักชาติ ฯลฯ ถ้าคิดจะใช้แผนสกปรกเหล่านี้ ก็ย่อมจะต้องถูกเปิดโปงและประจานแผนชั่วร้ายนี้ในท้ายที่สุดอย่างแน่นอน
แต่สำหรับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้นำ ผู้ริเริ่ม หรือเป็นผู้ตัดสินใจในการเคลื่อนไหวในภารกิจศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ แต่ก็มีความเป็นห่วงในเรื่องอันตรายและความปลอดภัยของชีวิตประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมครั้งนี้เป็นพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่พร้อมเสียสละเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อทวงคืนอธิปไตยของชาติอย่างหาญกล้า
จึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะดำเนินการหยุดยั้งความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้ ด้วยการผลักดันการรุกล้ำอธิปไตยจากฝ่ายกัมพูชาครั้งนี้ให้สำเร็จก่อนวันที่ 19 กันยายน 2552 หรือแม้หากยังทำไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะขอเวลาทวงคืนดินแดนไทยให้สำเร็จในเร็ววัน ได้ภายในกี่วัน!!!?
แต่ถ้ารัฐบาลคิดว่าการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในครั้งนี้เป็นการคลั่งชาติแบบไร้เหตุผล ก็ควรเชิญนายวีระ สมความคิดและคณะไปออกอากาศร่วมกับนายกษิต ภิรมย์ หรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางฟรีทีวีก่อนวันที่ 19 กันยายน 2552 ประชาชนจะได้รู้ว่า ใครเป็นของจริงและใครเป็นของปลอม เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าควรจะถอนตัวหรือเข้าร่วมกับขบวนการทวงคืนดินแดนไทยครั้งนี้
แต่ถ้ายังคงเพิกเฉยและปล่อยให้มีคณะประชาชนผู้รักชาติดังกล่าวต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บบนเขาพระวิหาร รัฐบาลต้องรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว!
เพราะวันที่ 13 กันยายน 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย โดยยอมรับว่ามีการรุกล้ำดินแดนไทยจริง และในวันเดียวกัน นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นครั้งแรก ให้สื่อมวลชนไทยได้มีโอกาสเห็นภาพชุมชนและทหารกัมพูชาบนผืนแผ่นดินไทยด้วยตาตัวเอง
ปรากฏการณ์ที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหันกลับมาสนใจในเรื่องนี้ อีกทั้งยอมรับการถูกรุกล้ำดินแดนไทยนั้น เกิดขึ้นมาจากแรงกดดันของภาคประชาชนโดยตรง ซึ่งจะใช้มาตรการที่จะนำประชาชนไปทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหาร ในวันที่ 19 กันยายน 2552 นี้
อาจกล่าวได้ว่าถ้าไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ รัฐบาลก็ยังอาจจะเพิกเฉยและพูดแต่ว่าประเทศไทยยังไม่เสียดินแดนต่อไปฉันใด อุปมาเหมือนถูกข่มขืนกระทำชำเราอยู่ทุกวันแล้วบอกว่ายังเป็นโสดอยู่ฉันนั้น
วัด ชุมชน ถนน สิ่งปลูกสร้าง ประชาชน และทหารกัมพูชา อยู่ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหลายจุด ตั้งแต่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา ทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหาร ทางเดินระหว่างผามออีแดงถึงตัวปราสาทพระวิหาร ยอดภูมะเขือ โดยที่คนไทยทั่วไปไม่สามารถขึ้นไปได้ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันว่าไทยได้ถูกรุกล้ำอธิปไตยแล้วอย่างแน่นอน
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นภารกิจลงพื้นที่ว่า:
“รัฐบาลนี้พูดเรื่องจริง ไม่มีอะไรปิดบัง ผู้นำสองประเทศไม่มีใครประสงค์ให้มีการสู้รบ เราอยากให้กลับไปสู่วันที่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไป ชมมรดกโลกซึ่งเป็นที่มาของวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราภูมิใจ เป็นสิ่งที่คิดว่าประชาชนสองประเทศรออยู่”
ข้อความนี้ดูจะทำให้สังคมไทยกระจ่างชัดอีกครั้งขึ้นว่า “ผู้นำสองประเทศไม่มีใครประสงค์ให้มีการสู้รบ” และย่อมทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า ที่ไม่มีการผลักดันประชาชนชาวกัมพูชาออกนอกพื้นที่ของไทย เพราะเป็นนโยบายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี!
แต่หวังว่าการที่นายกษิต ภิรมย์ ใช้คำว่า “มรดกโลก” กับกรณีปราสาทพระวิหารแล้วคิดว่า “ประชาชนสองประเทศรออยู่” คงไม่ได้หมายความว่า…อยากให้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยฝ่ายกัมพูชา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องถือว่านายกษิต ภิรมย์ ได้กลืนน้ำลายตัวเองในสิ่งที่เคยพูดและเคยต่อสู้ เอาไว้บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประการสำคัญที่อาจจะเป็นการเข้าใจผิดและสับสนอย่างแรงของนายกษิต เพราะประชาชนเพียงประเทศเดียวที่รอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอยู่ในขณะนี้น่าจะเป็นประชาชนในราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่าย ไม่ใช่ประชาชนในราชอาณาจักรไทย หรือประชาชนของทั้งสองประเทศ!
นายกษิต ภิรมย์ ยังให้สัมภาษณ์อีกว่า:
“หากมีสันติภาพมันมีแต่ได้กับได้ แต่นี่ทำให้เกลียดชังกัน และพอมีปัญหาขึ้นก็ไม่ใช่จะไม่ชี้แจง นี่พยายามชี้แจงแต่ก็ต้องมีความเข้าอกเข้าใจด้วย ไม่ใช่ยืนกระต่ายขาเดียวแล้วบอกว่าฉันถูกที่เหลือผิดหมด ที่เหลือนั้นเลวและไม่รักชาติ คนที่มีเหตุมีผลมีสติปัญญาพูดอย่างนั้นได้อย่างไร รักชาตินั้นมันก็รักกันทุกคน แต่ไม่มีสิทธิจะไปคลั่งชาติแล้วประณามคนอื่น”
เห็นใจอยู่บ้างที่คำพูดที่ออกมานั้นอาจเกิดจากแรงกดดันอย่างหนัก แต่บางที นายกษิต ภิรมย์ อาจจะลืมไปแล้วหรือไม่ว่าได้เคยร่วมขบวนกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งได้มี แถลงการณ์ฉบับที่ 18/2551 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โดยมีเนื้อความสรุปต่อกรณีการที่ภริยานายฮุนเซนและคณะเข้ามาทำพิธีกรรมที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวาราที่มีชุมชนชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ อันเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย ว่า: 1. พันธมิตรฯประณามกัมพูชา 2. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำหนังสือประท้วงและประณามกัมพูชา และ 3.ให้ทหารไทยผลักดันชนชาวกัมพูชาออกไปจากดินแดนไทยโดยทันที
แสดงให้เห็นว่าจุดยืนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อกรณีการถูกรุกล้ำอธิปไตยเป็นจุดยืนเดิมที่ไม่เคยเปลี่ยน!
ท่านทูตกษิต ภิรมย์ ซึ่งอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ นอกจากจะไม่เคยแสดงความไม่เห็นด้วยกับจุดยืนดังกล่าวแล้ว กลับส่งเสริมจุดยืนดังกล่าวและร่วมชุมนุมต่อเนื่องมาจนถึงการยุบพรรครัฐบาล แล้วจึงเกิดการพลิกขั้วจนตัวเองกลายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
มาวันนี้กลับมาเรียกกลุ่มคนที่มีจุดยืนเดิมที่ตัวเองเคยเข้าร่วมการต่อสู้ว่า “พวกคลั่งชาติ” แล้วเรียกตัวเองว่า “พวกรักชาติ” ได้อย่างไร?
ฝากข้อความนี้เตือนสติกัลยาณมิตรอย่าง นายกษิต ภิรมย์ คิดพิจารณา เพราะไม่อยากให้ประชาชนเข้าใจผิดจากอารมณ์ที่ขุ่นมัวครั้งนี้ แล้วมองไปว่านายกษิต ภิรมย์ เป็นคนประเภท เอาดีใส่ตัว แล้วเอาชั่วใส่คนอื่น!
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ยอมรับการถูกรุกล้ำอธิปไตยไทยเป็นครั้งแรก และยอมรับว่าที่เห็นเป็นอยู่สภาพนี้เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยว่า:
“สำหรับพื้นที่ที่เป็นชุมชนและตลาด ที่ตอนหลังมีการสร้างถนน แต่ในหลายช่วงก็มีทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาเข้าไปอยู่ เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดก็ตรึงกำลังกันเข้าไป จนมีการปะทะกัน แต่รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนในการเดินหน้าที่จะใช้พื้นที่ดังกล่าวคืนสภาพกลับไปเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะมีผลต่อเรื่องของอธิปไตยผ่านการเจรจา”
“เจรจา และสันติวิธี” ฟังแล้วก็ดูดี แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยได้ใช้วิธีการเจรจาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาแต่กลับถูกรุกล้ำดินแดน และเสียเปรียบเพิ่มมากขึ้น
ประการสำคัญคือการรุกล้ำตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชานั้น ฝ่ายกัมพูชาได้มีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่ต้องการยึดพื้นที่ให้ได้มากขึ้น ทั้งการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ขยายชุมชน สร้างถนน สร้างวัด และยังให้ทหารแปลงสภาพกลายเป็นประชาชนและพระสงฆ์
โดยเฉพาะการสร้างวัดและให้ทหารกัมพูชาแปลงสภาพเป็นพระสงฆ์นั้น ถือเป็นยุทธวิธีที่นำศาสนามาบังหน้า มุ่งหวังสร้างภาพไม่ให้ทหารไทยกล้าใช้กำลังในการผลักดันฝ่ายกัมพูชาออกไป
กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่การรุกล้ำตามธรรมชาติ ที่จะไปคิดเแก้ไขปัญหาด้วยการไปยกเลิกเขตอุทยานแห่งชาติแล้วให้คนไทยไปอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวแข่งกับชาวกัมพูชาได้ หากแต่เป็นเจตนาในการใช้ยุทธวิธีของรัฐบาลกัมพูชาที่ใช้ทหารและพลเรือนเข้ายึดดินแดนไทยอย่างชัดเจน ที่ราชอาณาจักรไทยจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยมาตรการทางการทูตและมาตรการทางการทหารควบคู่กันไป
ด้วยเหตุผลนี้การปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา ในปี 2551 จนถึงปี 2552 จึงเกิดขึ้นหลายครั้งและทวีรุนแรงเพิ่มขึ้น
3 ตุลาคม 2551 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2 นายเพราะปะทะกับทหารฝ่ายกัมพูชาซึ่งได้เข้ามาวางกำลังในบริเวณช่องอานม้าและใช้อาวุธยิงใส่ทหารไทย
6 ตุลาคม 2551 ทหารไทย 2 นายบาดเจ็บสาหัส เพราะเหยียบกับระเบิดในพื้นที่ภูมะเขืออันเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทย
15 ตุลาคม 2551 ทหารกัมพูชายิงจรวดอาร์พีจี และอาวุธปืนสงครามอีกหลายประเภทใส่ทหารไทยอย่างหนัก และทหารไทยได้ทำการยิงตอบโต้จากการถูกรุกรานดังกล่าว
26 มกราคม 2552 ทหารพราน กองกำลังสุรนารี เหยียบกับระเบิดทางทิศตะวันตกของปราสาทตาเมือนธม จ.สุรินทร์ ห่างจากปราสาทตาเมือนธมเข้ามาในดินแดนไทย 1 กิโลเมตร ทหารไทยบาดเจ็บสาหัส 1 นาย สูญเสียฝ่าเท้าซ้ายกระดูกแตกละเอียด
2 เมษายน 2552 ทหารไทยเหยียบกับระเบิดในจุดตรวจการณ์ของฝ่ายไทยจนขาขาด จากนั้นทหารกัมพูชาได้ยิงปืนใส่ทหารไทยจนมีทหารไทยเสียชีวิต 2 นายและบาดเจ็บสาหัสอีกหลายนาย ทหารไทยจึงยิงตอบโต้จนทำให้ตลาดหน้าทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชาเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น
12 กันยายน 2552 ทหารกัมพูชาพยายามใช้กองกำลังที่จะรุกล้ำเข้ามาถึงที่ปราสาทตาเมือนธม จ.สุรินทร์ ผ่านการวางแผนมาล่วงหน้าในการสร้างถนนเป็นแรมปีจากฝั่งกัมพูชามาจนเกือบถึงตัวปราสาท ปรากฏว่าทหารไทยได้ปะทะกับทหารกัมพูชาเพื่อปกป้องดินแดนไทยอย่างหาญกล้า
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลมัวแต่มองว่าต้องใช้สันติวิธีและใช้การประท้วงอย่างเดียว แล้วทหารในพื้นที่เหล่านั้นเขาจะเสี่ยงชีวิตไปเพื่ออะไร?
ถ้ารัฐบาลและกองทัพยอมรับว่าต้องมีการใช้กำลังปะทะกันเพื่อตรึงไม่ให้กัมพูชารุกล้ำอธิปไตยหรือดินแดนไทยมากขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าจะใช้ตรรกะนี้แล้วจะตอบอย่างไรในกรณีดินแดนไทยที่ถูกรุกล้ำโดยฝ่ายกัมพูชา เหตุใดจึงปล่อยให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ถนน และขยายชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยที่คนไทยไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวได้?
เพราะรัฐบาลไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ทหารจึงทำหน้าที่ได้แค่ตามนโยบายรัฐบาลกำหนด ประชาชนผู้รักชาติที่นำโดยนายวีระ สมความคิด จึงต้องทำหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 70 และ 71 ในการแสดงเจตนารมณ์เพื่อทวงคืนดินแดนไทยกลับคืนมา
ซึ่งแน่นอนว่าการไปในครั้งนี้ ทุกฝ่ายตระหนักดีว่ามีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!
แม้ว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะดูสุ่มเสี่ยง แต่ก็เป็นมาตรการที่ได้ผลในการกดดันบังคับให้รัฐบาลต้องตัดสินใจใช้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งต่ออธิปไตยของชาติ และจะต้องหาหนทางมิให้ประชาชนผู้รักชาติเหล่านี้ต้องบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต
ถ้าคิดแบบตื้นๆ เหมือนรัฐบาลชุดก่อนคือ ฝ่ายอำนาจรัฐจัดประชาชนมาปะทะประชาชน หรือใช้กำลังทหารไทยมาปิดกั้นปะทะกับประชาชนผู้รักชาติ หรือสั่งให้มีการปิดปั๊มน้ำมันหรือปิดโรงแรมเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนผู้รักชาติ ฯลฯ ถ้าคิดจะใช้แผนสกปรกเหล่านี้ ก็ย่อมจะต้องถูกเปิดโปงและประจานแผนชั่วร้ายนี้ในท้ายที่สุดอย่างแน่นอน
แต่สำหรับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้นำ ผู้ริเริ่ม หรือเป็นผู้ตัดสินใจในการเคลื่อนไหวในภารกิจศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ แต่ก็มีความเป็นห่วงในเรื่องอันตรายและความปลอดภัยของชีวิตประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมครั้งนี้เป็นพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่พร้อมเสียสละเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อทวงคืนอธิปไตยของชาติอย่างหาญกล้า
จึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะดำเนินการหยุดยั้งความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้ ด้วยการผลักดันการรุกล้ำอธิปไตยจากฝ่ายกัมพูชาครั้งนี้ให้สำเร็จก่อนวันที่ 19 กันยายน 2552 หรือแม้หากยังทำไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะขอเวลาทวงคืนดินแดนไทยให้สำเร็จในเร็ววัน ได้ภายในกี่วัน!!!?
แต่ถ้ารัฐบาลคิดว่าการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในครั้งนี้เป็นการคลั่งชาติแบบไร้เหตุผล ก็ควรเชิญนายวีระ สมความคิดและคณะไปออกอากาศร่วมกับนายกษิต ภิรมย์ หรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางฟรีทีวีก่อนวันที่ 19 กันยายน 2552 ประชาชนจะได้รู้ว่า ใครเป็นของจริงและใครเป็นของปลอม เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าควรจะถอนตัวหรือเข้าร่วมกับขบวนการทวงคืนดินแดนไทยครั้งนี้
แต่ถ้ายังคงเพิกเฉยและปล่อยให้มีคณะประชาชนผู้รักชาติดังกล่าวต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บบนเขาพระวิหาร รัฐบาลต้องรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว!