ASTVผู้จัดการรายวัน - เล็งใช้พื้นที่ที่มีปัญหาดินเสื่อมหรือสิ่งแวดล้อมถูกทำลายบริเวณภาคตะวันออก หรือภาคใต้ตอนกลาง ผุดโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพขนาด 5 ล้านตัน/ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์อีโค ทาวน์ โดยชูอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม หวังลดกระแสต่อต้านจากชุมชน คาดได้ข้อสรุปเบื้องต้นปลายปีนี้ ลั่นโครงการดังกล่าวจะช่วย สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศปีละกว่า 4 หมื่นล้านและทดแทนการนำเข้าเหล็กได้ถึง 1 แสนล้านบาท
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในประเทศไทย มูลค่า 1.5 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมโดยเล็งพื้นที่ไว้ 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง(ไม่ใช่มาบตาพุด)หรือจันทบุรี และภาคใต้ตอนกลาง ซึ่งพื้นที่ที่ดินเสื่อมจากการถูกทำลายหรือสภาพแวดล้อมเสียไปแล้ว เช่น พื้นที่ทำนากุ้งร้าง และป่าชายเลนถูกทำลาย เป็นต้น คาดว่าจะเห็น ความชัดเจนของโครงการดังกล่าวทั้งพื้นที่ ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในปลายปีนี้
หากโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงได้จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้ปีละนับแสนล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก 4 ราย สนใจที่จะลงทุนโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทย ได้แก่ บริษัท อาซิลอร์ มิตัล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันหนึ่งของโลกจากอินเดีย บริษัท บาว สตีล จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท นิปปอน สตีล และ บริษัท เจเอฟอี จากญี่ปุ่น
ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในไทยเพื่อป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปีละประมาณ 4-5 ล้านตัน ซึ่งมองว่าโครงการที่จะผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทยจะเกิดขึ้นได้เพียง 1-2 รายเท่านั้น โดยบีโอไอ จะมีเกณฑ์คัดเลือกนักลงทุนที่เหมาะสมให้มาลงทุนในไทย
สำหรับสถานการณ์ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้นจากต้นปีนี้ คาดว่าราคาอาจจะปรับขึ้นได้ไม่มาก เนื่องจากมีกำลังการผลิตจากโรงงานเดิมที่เคยหยุดไปเช่นยุโรป กดดันราคาตลาดไว้
สำหรับความต้องการใช้เหล็กในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวขึ้น 110-20 % หากสถานการณ์การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจกต์เดินหน้าทำให้มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ขึ้นตามเส้นทางรถไฟฟ้า โดยปีนี้ความต้องการใช้เหล็ก ประมาณ 10 ล้านตัน/ปี ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่มีการใช้เหล็ก 13 ล้านตัน หรือลดลง 30-40%
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในประเทศไทย มูลค่า 1.5 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมโดยเล็งพื้นที่ไว้ 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง(ไม่ใช่มาบตาพุด)หรือจันทบุรี และภาคใต้ตอนกลาง ซึ่งพื้นที่ที่ดินเสื่อมจากการถูกทำลายหรือสภาพแวดล้อมเสียไปแล้ว เช่น พื้นที่ทำนากุ้งร้าง และป่าชายเลนถูกทำลาย เป็นต้น คาดว่าจะเห็น ความชัดเจนของโครงการดังกล่าวทั้งพื้นที่ ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในปลายปีนี้
หากโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงได้จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้ปีละนับแสนล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก 4 ราย สนใจที่จะลงทุนโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทย ได้แก่ บริษัท อาซิลอร์ มิตัล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันหนึ่งของโลกจากอินเดีย บริษัท บาว สตีล จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท นิปปอน สตีล และ บริษัท เจเอฟอี จากญี่ปุ่น
ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในไทยเพื่อป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปีละประมาณ 4-5 ล้านตัน ซึ่งมองว่าโครงการที่จะผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทยจะเกิดขึ้นได้เพียง 1-2 รายเท่านั้น โดยบีโอไอ จะมีเกณฑ์คัดเลือกนักลงทุนที่เหมาะสมให้มาลงทุนในไทย
สำหรับสถานการณ์ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้นจากต้นปีนี้ คาดว่าราคาอาจจะปรับขึ้นได้ไม่มาก เนื่องจากมีกำลังการผลิตจากโรงงานเดิมที่เคยหยุดไปเช่นยุโรป กดดันราคาตลาดไว้
สำหรับความต้องการใช้เหล็กในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวขึ้น 110-20 % หากสถานการณ์การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจกต์เดินหน้าทำให้มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ขึ้นตามเส้นทางรถไฟฟ้า โดยปีนี้ความต้องการใช้เหล็ก ประมาณ 10 ล้านตัน/ปี ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่มีการใช้เหล็ก 13 ล้านตัน หรือลดลง 30-40%