ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเผยภาษีที่ดินคืบหน้ากว่า 90% สรุปผลครั้งสุดท้ายวันนี้ก่อนเสนอรมว.คลังเข็นเข้าครม. ยันมีผลบังคับใช้รับปีใหม่แน่นอน
นางลาวัลย์ ภูวรรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ว่า ขณะนี้เสร็จประมาณ 90% และวันที่ 15 กันยายน สศค.จะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับฟังจากการเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) ทั่วประเทศปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ครั้งสุดท้าย และจะเสนอให้กับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะ กฎหมายดังกล่าวจะไม่สามารถมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ตามที่กำหนดไว้ได้
“กฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง ในอีก 2 ปีข้างหน้าหลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เพราะต้องการให้ประชาชนมีระยะเวลาปรับตัว รวมถึงให้อปท.ทั่วประเทศ มีเวลาที่จะทำงานในการประเมินที่ดินรวมถึงแนววิธีในการจัดเก็บภาษีด้วย แต่ขณะนี้คาดว่ากฎหมายคงไม่สามารถเสนอเข้ารัฐสภาได้ทันในสมัยการประชุมนี้ ดังนั้นการบังคับใช้ก็คงล่าช้าออกไป แต่สศค.ต้องการผลักดันให้กำหมายดังกล่าวสามารถนำออกมาบังคับใช้แทนการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน”นางลาวัลย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ใหม่นั้น นางลาวัลย์กล่าวว่า เพื่อให้กฎหมายที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ พบว่า ในบางพื้นที่มองว่า อัตราภาษีทั่วไปที่มีเพดานการจัดเก็บที่ 0.5% นั้นต่ำเกินไป ทำให้การจัดเก็บรายได้ของอปท.ลดลง แต่ก็มีเพียงภาคตะวันออกเท่านั้น เพราะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่วนพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศมองว่า เป็นอัตราที่เหมาะสมที่กำหนดเพดานที่ 0.5% เพราะอัตราการจัดเก็บจริงจะมีคณะกรรมการกลางมากำหนดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นยังต้องมีข้อชัดเจนในเรื่องการจัดเก็บภาษีของที่ดินรอการพัฒนาของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความชัดเจนให้ผู้ประกอบการหรือกรณีที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านหรืออาคารชุดว่า ใครจะต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีดังกล่าว
นาแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนาคารรักษ์กล่าวว่า กรมธนารักษ์จะต้องประเมินราคาที่ดิน อาคารชุด และสิ่งปลูกสร้าง โดยในส่วนที่ดินรายแปลงทั่วประเทศที่มีอยู่ 30 ล้านแปลง โดยได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 5.2 ล้านแปลง เหลือ 24.7ล้านแปลงที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปีก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับจริง เพราะอปท.จะต้องใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์เป็นฐานในการคำนวณภาษี
นางลาวัลย์ ภูวรรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ว่า ขณะนี้เสร็จประมาณ 90% และวันที่ 15 กันยายน สศค.จะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับฟังจากการเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) ทั่วประเทศปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ครั้งสุดท้าย และจะเสนอให้กับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะ กฎหมายดังกล่าวจะไม่สามารถมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ตามที่กำหนดไว้ได้
“กฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง ในอีก 2 ปีข้างหน้าหลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เพราะต้องการให้ประชาชนมีระยะเวลาปรับตัว รวมถึงให้อปท.ทั่วประเทศ มีเวลาที่จะทำงานในการประเมินที่ดินรวมถึงแนววิธีในการจัดเก็บภาษีด้วย แต่ขณะนี้คาดว่ากฎหมายคงไม่สามารถเสนอเข้ารัฐสภาได้ทันในสมัยการประชุมนี้ ดังนั้นการบังคับใช้ก็คงล่าช้าออกไป แต่สศค.ต้องการผลักดันให้กำหมายดังกล่าวสามารถนำออกมาบังคับใช้แทนการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน”นางลาวัลย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ใหม่นั้น นางลาวัลย์กล่าวว่า เพื่อให้กฎหมายที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ พบว่า ในบางพื้นที่มองว่า อัตราภาษีทั่วไปที่มีเพดานการจัดเก็บที่ 0.5% นั้นต่ำเกินไป ทำให้การจัดเก็บรายได้ของอปท.ลดลง แต่ก็มีเพียงภาคตะวันออกเท่านั้น เพราะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่วนพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศมองว่า เป็นอัตราที่เหมาะสมที่กำหนดเพดานที่ 0.5% เพราะอัตราการจัดเก็บจริงจะมีคณะกรรมการกลางมากำหนดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นยังต้องมีข้อชัดเจนในเรื่องการจัดเก็บภาษีของที่ดินรอการพัฒนาของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความชัดเจนให้ผู้ประกอบการหรือกรณีที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านหรืออาคารชุดว่า ใครจะต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีดังกล่าว
นาแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนาคารรักษ์กล่าวว่า กรมธนารักษ์จะต้องประเมินราคาที่ดิน อาคารชุด และสิ่งปลูกสร้าง โดยในส่วนที่ดินรายแปลงทั่วประเทศที่มีอยู่ 30 ล้านแปลง โดยได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 5.2 ล้านแปลง เหลือ 24.7ล้านแปลงที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปีก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับจริง เพราะอปท.จะต้องใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์เป็นฐานในการคำนวณภาษี