ASTVผู้จัดการรายวัน - “เสรีพิศุทธ์”เรียกร้อง นายกฯ ยกเลิกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสีเทา สอบ "พัชรวาท" ทุจริตงบประชาสัมพันธ์ 18 ล้าน หวั่นช่วยเหลือให้พ้นผิด ชี้ชัดมีคณะกรรมการ 5 คนเป็นพวก“พัชรวาท"ระบุสอบข้อเท็จจริงถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ ทั้งที่ควรจะตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ตามข้อเท็จจริงที่ได้เคยสอบแล้ว
วานนี้ (10 ก.ย.) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อดีต ผบ.ตร.) ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 10 ก.ย.2552 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.กับพวก (ครั้งที่ 7) และขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งและกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 197/2552 ลงวันที่ 8 ก.ย.2552 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง กรณีการทุจริตงบประชาสัมพันธ์ จำนวน 18 ล้านบาท ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 7 คน ประกอบด้วย นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานกรรมการ นายวิชระ เพ่งผล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นกรรมการ พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นกรรมการ พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผบก.กองวินัย เป็นกรรมการและเลขานุการ นายมงคล แสงหิรัญ ผอ.สำนักกฏหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ และพ.ต.อ.สุกิจ โตตาบ ผกก.กลุ่มงานนิติการ กองนิติการ สำนักงานกฏหมายและสอบสวน เป็นผู้ช่วยเลขานุการนั้น
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 เป็นการเอื้อประโยชน์ และมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อมิให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกต้องได้รับโทษทั้งทางวินัยและอาญา กล่าวคือ การตั้งกรรมการจะต้องเป็นการตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ตามมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ไม่ใช่การตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงซ้ำอีก ทั้งนี้ ได้เคยเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) ในส่วนที่เหลือต่อไปให้สมบูรณ์ ไม่ใช่ย้อนกลับไปเริ่มต้นสอบสวนข้อเท็จจริงกันใหม่
**ตั้งฝ่ายตรงข้ามเป็นกรรมการสอบ**
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุอีกว่า กรรมการหลายคนที่ตั้ง มีคุณสมบัติที่ขัดต่อกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 ข้อ 8 (5) ที่ระบุว่า “มีเหตุอย่างอื่นซึ่งน่าเชื่ออย่างยิ่งว่าจะทำให้การสืบสวนเสียความเป็นธรรม” โดยเมื่อนายสมัคร สุนทรเวชร สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ซึ่งมี พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน และต่อมานายสมัครได้แต่งตั้งนายวชิระ เพ่งผล และพล.ต.ต.อาจิณ โชติวงศ์ (ยศขณะนั้น) เป็นกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ซึ่งต่อมา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ฟ้องนายวชิระ พล.ต.ต.ปัญญา พล.ต.ต.อาจิณ และ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกอีก 18 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในขณะที่ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล นั้นได้ถูก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงขณะดำรงตำแหน่ง ผบช.ปส.ว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ แต่เมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เป็น ผบ.ตร. ได้ออกคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง จึงทำให้พล.ต.ท.สุวัฒน์พ้นความผิด
หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุต่อว่า เมื่อตัวเขาถูกนายสมัครสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่ง ผกก.1-10 ในสังกัด บช.ก.นั้น พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการออกคำสั่งแต่งตั้ง ผกก.ดังกล่าว อันมีพฤติกรรมช่วยเหลือคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งมี พล.ต.ท.สุวัฒน์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และพล.ต.ต.อาจิณ เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน
ส่วนนายมงคล แสงหิรัญ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ โดยไม่มีการสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งขณะนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ร้องทุกข์ไปยัง อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการถูกปลด และตั้ง พล.ต.อ.พัชรวาท รักษาการแทน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย แต่นายมงคล ได้ให้ถ้อยคำกับคณะกรรมการจนอนุ ก.ตร.ยกคำร้องทุกข์ดังกล่าว ทำให้ไม่ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.อีก แต่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ คือ พล.ต.อ.พัชรวาท การกระทำของนายมงคล จึงเป็นผลร้ายและเป็นปรปักษ์กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์
นอกจากนี้ เมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท เข้ารับตำแหน่ง ผบ.ตร.แล้ว ได้แต่งตั้ง พล.ต.ต.อาจิณ ไปเป็นรอง ผบช.ภาค 7 พล.ต.ต.ปัญญา เป็น ผบก.กองวินัย เป็นการย้ายกลับคืนมายังตำแหน่งเดิม หลังจากที่ทั้งสองคนถูกเสนอย้ายไปในสมัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ และถัดมาอีก 4 เดือน พล.ต.อ.พัชรวาท ก็เสนอ ก.ตร.แต่งตั้ง พล.ต.ท.สุวัฒน์ ขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. และพล.ต.ต.อาจิณ ขึ้นเป็น ผบช.สำนักงาน ก.ตร.ด้วย
**เชื่อสอบสวนเสียความเป็นธรรม**
ท้ายหนังสือของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุว่า เนื่องจากบุคคลทั้ง 5 คน มีพฤติการณ์ซึ่งน่าเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่ได้รับความจริงจากการสืบสวน และจะทำให้การสืบสวนเสียความเป็นธรรม ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 ข้อ 8 (5) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อบุคคลทั้ง 5 คนเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.พัชรวาท แต่เป็นปรปักษ์กับตัวเขา ก็จะทำให้การสืบสวนข้อเท็จจริงปรากฏผลในทางที่แตกต่าง หรือตรงกันข้ามกับที่ตัวเขาได้ดำเนินการพิจารณาในเบื้องต้นมาแต่แรกในสาระสำคัญ ซึ่งจะมีผลทำให้ตัวเขาได้รับความเสียหาย และอาจถูก พล.ต.อ.พัชรวาท ฟ้องกลับได้
**แนะมอบ "ธานี" แต่งตั้งชุดใหม่**
ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงและเหตุผลของตัวเขา โดยออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเสีย และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกเสียใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลทั้ง 5 คน และให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. รักษาราชการแทน ผบ.ตร. เป็นผู้คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นคณะกรรมการดังกล่าว ส่วนนายวชิระ นั้นขอให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกข้าราชการพลเรือนคนอื่นที่มีความเป็นกลาง และมีคุณธรรมร่วมเป็นคณะกรรมการ
ทั้งนี้ หากนายกรัฐมนตรียังเพิกเฉยไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดที่มีนายธงทอง เป็นประธาน ตามที่ตัวเขาได้เรียนให้ทราบมาเป็นครั้งที่ 7 แล้วก็จะทำให้สังคมหรือประชาชนทั่วไปทราบ และเชื่อว่าการออกคำสั่งดังกล่าวมิได้เป็นการดำเนินการเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตามความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ แต่เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ได้กระทำหรือมีคำสั่งออกไป เพียงเพื่อปกป้องช่วยเหลือ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกให้พ้นผิด ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายทั้งในทางวินัยและอาญา และเป็นการตอบแทนบุญคุณที่ได้ร่วมมือกันผลักดันให้รัฐบาลชุดนี้ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารประเทศ.
วานนี้ (10 ก.ย.) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อดีต ผบ.ตร.) ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 10 ก.ย.2552 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.กับพวก (ครั้งที่ 7) และขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งและกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 197/2552 ลงวันที่ 8 ก.ย.2552 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง กรณีการทุจริตงบประชาสัมพันธ์ จำนวน 18 ล้านบาท ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 7 คน ประกอบด้วย นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานกรรมการ นายวิชระ เพ่งผล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นกรรมการ พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นกรรมการ พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผบก.กองวินัย เป็นกรรมการและเลขานุการ นายมงคล แสงหิรัญ ผอ.สำนักกฏหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ และพ.ต.อ.สุกิจ โตตาบ ผกก.กลุ่มงานนิติการ กองนิติการ สำนักงานกฏหมายและสอบสวน เป็นผู้ช่วยเลขานุการนั้น
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 เป็นการเอื้อประโยชน์ และมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อมิให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกต้องได้รับโทษทั้งทางวินัยและอาญา กล่าวคือ การตั้งกรรมการจะต้องเป็นการตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ตามมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ไม่ใช่การตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงซ้ำอีก ทั้งนี้ ได้เคยเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) ในส่วนที่เหลือต่อไปให้สมบูรณ์ ไม่ใช่ย้อนกลับไปเริ่มต้นสอบสวนข้อเท็จจริงกันใหม่
**ตั้งฝ่ายตรงข้ามเป็นกรรมการสอบ**
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุอีกว่า กรรมการหลายคนที่ตั้ง มีคุณสมบัติที่ขัดต่อกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 ข้อ 8 (5) ที่ระบุว่า “มีเหตุอย่างอื่นซึ่งน่าเชื่ออย่างยิ่งว่าจะทำให้การสืบสวนเสียความเป็นธรรม” โดยเมื่อนายสมัคร สุนทรเวชร สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ซึ่งมี พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน และต่อมานายสมัครได้แต่งตั้งนายวชิระ เพ่งผล และพล.ต.ต.อาจิณ โชติวงศ์ (ยศขณะนั้น) เป็นกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ซึ่งต่อมา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ฟ้องนายวชิระ พล.ต.ต.ปัญญา พล.ต.ต.อาจิณ และ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกอีก 18 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในขณะที่ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล นั้นได้ถูก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงขณะดำรงตำแหน่ง ผบช.ปส.ว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ แต่เมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เป็น ผบ.ตร. ได้ออกคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง จึงทำให้พล.ต.ท.สุวัฒน์พ้นความผิด
หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุต่อว่า เมื่อตัวเขาถูกนายสมัครสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่ง ผกก.1-10 ในสังกัด บช.ก.นั้น พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการออกคำสั่งแต่งตั้ง ผกก.ดังกล่าว อันมีพฤติกรรมช่วยเหลือคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งมี พล.ต.ท.สุวัฒน์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และพล.ต.ต.อาจิณ เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน
ส่วนนายมงคล แสงหิรัญ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ โดยไม่มีการสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งขณะนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ร้องทุกข์ไปยัง อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการถูกปลด และตั้ง พล.ต.อ.พัชรวาท รักษาการแทน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย แต่นายมงคล ได้ให้ถ้อยคำกับคณะกรรมการจนอนุ ก.ตร.ยกคำร้องทุกข์ดังกล่าว ทำให้ไม่ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.อีก แต่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ คือ พล.ต.อ.พัชรวาท การกระทำของนายมงคล จึงเป็นผลร้ายและเป็นปรปักษ์กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์
นอกจากนี้ เมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท เข้ารับตำแหน่ง ผบ.ตร.แล้ว ได้แต่งตั้ง พล.ต.ต.อาจิณ ไปเป็นรอง ผบช.ภาค 7 พล.ต.ต.ปัญญา เป็น ผบก.กองวินัย เป็นการย้ายกลับคืนมายังตำแหน่งเดิม หลังจากที่ทั้งสองคนถูกเสนอย้ายไปในสมัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ และถัดมาอีก 4 เดือน พล.ต.อ.พัชรวาท ก็เสนอ ก.ตร.แต่งตั้ง พล.ต.ท.สุวัฒน์ ขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. และพล.ต.ต.อาจิณ ขึ้นเป็น ผบช.สำนักงาน ก.ตร.ด้วย
**เชื่อสอบสวนเสียความเป็นธรรม**
ท้ายหนังสือของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุว่า เนื่องจากบุคคลทั้ง 5 คน มีพฤติการณ์ซึ่งน่าเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่ได้รับความจริงจากการสืบสวน และจะทำให้การสืบสวนเสียความเป็นธรรม ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 ข้อ 8 (5) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อบุคคลทั้ง 5 คนเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.พัชรวาท แต่เป็นปรปักษ์กับตัวเขา ก็จะทำให้การสืบสวนข้อเท็จจริงปรากฏผลในทางที่แตกต่าง หรือตรงกันข้ามกับที่ตัวเขาได้ดำเนินการพิจารณาในเบื้องต้นมาแต่แรกในสาระสำคัญ ซึ่งจะมีผลทำให้ตัวเขาได้รับความเสียหาย และอาจถูก พล.ต.อ.พัชรวาท ฟ้องกลับได้
**แนะมอบ "ธานี" แต่งตั้งชุดใหม่**
ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงและเหตุผลของตัวเขา โดยออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเสีย และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกเสียใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลทั้ง 5 คน และให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. รักษาราชการแทน ผบ.ตร. เป็นผู้คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นคณะกรรมการดังกล่าว ส่วนนายวชิระ นั้นขอให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกข้าราชการพลเรือนคนอื่นที่มีความเป็นกลาง และมีคุณธรรมร่วมเป็นคณะกรรมการ
ทั้งนี้ หากนายกรัฐมนตรียังเพิกเฉยไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดที่มีนายธงทอง เป็นประธาน ตามที่ตัวเขาได้เรียนให้ทราบมาเป็นครั้งที่ 7 แล้วก็จะทำให้สังคมหรือประชาชนทั่วไปทราบ และเชื่อว่าการออกคำสั่งดังกล่าวมิได้เป็นการดำเนินการเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตามความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ แต่เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ได้กระทำหรือมีคำสั่งออกไป เพียงเพื่อปกป้องช่วยเหลือ พล.ต.อ.พัชรวาท กับพวกให้พ้นผิด ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายทั้งในทางวินัยและอาญา และเป็นการตอบแทนบุญคุณที่ได้ร่วมมือกันผลักดันให้รัฐบาลชุดนี้ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารประเทศ.