การแก้กรรมวิถีพุทธ
ถ้าเราเคยศึกษาพุทธศาสนามา จะมีคำกล่าวประโยคหนึ่งที่ติดปากคนไทย นั่นคือพุทธวจนะที่ตรัสว่า
“เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุด”
นี่คือ คำกล่าวของพระพุทธเจ้าสอนองคุลิมาล
องคุลิมาลหลงเชื่อผิดๆ ว่า ตัวเองจะบรรลุสู่ความสูงสุดได้ หรือเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมมันได้ ต้อง ‘ฆ่า’ ผู้คนให้ครบพันคน
ท่านจึงหลงฆ่าคน ฆ่าไปได้ 999 คน เหลือแค่เพียงคนคนเดียว
สำหรับชาวพุทธแล้ว ‘การฆ่า’ ถือเป็นบาปสุดๆ และคือการก่อกรรมหนักหน่วงที่สุด
ยิ่งการ “ฆ่า” นั้น เพื่อหวังหรือให้ตัวเอง “บรรลุ” ถึงความสูงสุด ก็ยิ่งเท่ากับติดหลงลัทธิอัตตาอย่างสูงด้วย หรือกล่าวได้ว่า นี่คือการกระทำเพื่อตัวเองหรือความยิ่งใหญ่ของตัวเอง
ในสมัยที่พระพุทธองค์จะออกบวช ท่านเองก็เชื่อแบบผิดๆ ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อแบบพราหมณ์ ไม่ต่างจากความเชื่อขององคุลิมาลมากนัก
ท่านเชื่อว่า กาย กับ จิต สามารถแยกออกจากกันได้
‘กาย’ ถือว่าเป็นสิ่งหยาบ และกิเลสอยู่ติดกับกาย ดังนั้นต้องทรมานกายเพื่อควบคุมกิเลสตัณหาให้ได้ และทำให้ ‘จิตบริสุทธิ์’ เพื่อท่านจะได้บรรลุสู่ความสูงสุด ไปเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมมัน
ดังนั้นคำว่า “เราหยุดแล้ว” ถ้าตีความก็น่าจะหมายความว่า ท่านหยุดที่จะเชื่อแบบพราหมณ์แล้ว และท่านหยุดที่จะก่อกรรม (แก่ร่างกาย) ของท่านเองแล้ว
พระพุทธเจ้าท่านพบแล้วว่า วิถีแห่งพราหมณ์นั้นผิด และถือว่าเป็นอวิชชา ไม่ใช่ทางที่จะแก้ปัญหาหรือแก้ทุกข์ได้ กลับเพิ่มทุกข์ให้แก่ (กาย) ตนเอง
องคุลิมาลก็ติดหลงอวิชชาเช่นกัน
ท่านฆ่าคนเพื่อทำลายกายที่หยาบ สกปรก เป็นแหล่งก่อเกิดและสะสมกิเลส ท่านเชื่อว่ากายกับจิตเป็นคนละเรื่องกัน จึงหลงเชื่อว่าเมื่อกายตาย แต่จิตไม่ได้ตายด้วย
การฆ่าจึงไม่เป็นบาป หรือเท่ากับปลดปล่อยให้ ‘วิญญาณ’ เป็นอิสระจากกาย
ดังนั้น ‘การฆ่า’ คือการปลดปล่อยจิตหรือวิญญาณอย่างหนึ่ง
พระพุทธองค์ตระหนักรู้ว่า แม้องคุลิมาลฆ่าคนได้ครบ 1,000 คน ก็ไม่อาจจะบรรลุความสูงสุดได้ และที่สำคัญ “การฆ่าคน คือการก่อกรรม”
ยิ่งฆ่ามากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มเวรเพิ่มกรรมไปเท่านั้น
พระพุทธองค์จึงบอกองคุลิมาลให้ “หยุด” ก่อกรรมเพิ่ม และเปลี่ยนวิถีในการคิด เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่
ท่านอธิบายแก่องคุลิมาล
คำว่า กรรม หมายถึงการกระทำที่ก่อทุกข์แก่ตัวเอง (กาย) และผู้อื่น
เมื่อเราฆ่าผู้อื่น ญาติพี่น้องของเขาก็ต้องคิดแก้แค้น ก่อเวรก่อกรรมต่อ จนกลายเป็น ‘ห่วงโซ่แห่งกรรม’ ไปไม่สิ้นไม่สุด
ทั้งหมดจึงกลายเป็นเส้นทางสู่การก่อทุกข์ ไม่ใช่เส้นทางสู่สันติสุข และไม่ใช่เส้นทางการปลดปล่อยจิต (หรือวิญญาณ) เพราะจิต (หรือวิญญาณ) ของผู้ฆ่าเองจะจมอยู่กับความทุกข์และความกังวล
องคุลิมาลจึงคิดได้ และเปลี่ยนความเชื่อใหม่ เปลี่ยนเส้นทางชีวิตใหม่ ด้วย “การหยุดฆ่า” หรือ “หยุดการก่อกรรมต่อ”
แต่คำว่า กรรม ในพุทธศาสนา ไม่ได้หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลหนึ่งๆ เท่านั้น ยังกินความหมายถึง ตำแหน่งแห่งที่ หรือ ฐานะอำนาจวาสนา ด้วย
ยิ่งคนมีฐานะแห่งอำนาจสูง ยิ่งต้องก่อ ‘กรรม’ มาก
ถ้าอ่านงานทางพุทธศาสนาเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เรื่องแรกที่ถือว่าสำคัญที่สุดคือเรื่อง เตมีย์ใบ้
เตมีย์ใบ้เกิดในวรรณะกษัตริย์ ท่านรู้ว่าถ้าท่านต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดา ท่านก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องก่อกรรมหนัก เพราะการเป็นกษัตริย์หลีกหนีไม่พ้นที่ต้องทำสงคราม หรือไม่ก็ต้องสั่งฆ่าผู้คนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ท่านจึงตระหนักว่า ฐานะการเป็นผู้มีอำนาจวาสนา (หรือฐานะกษัตริย์)
คือตำแหน่งหรือฐานะที่ท่านต้องสละทิ้ง จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้โดยเด็ดขาด
ท่านจึงทำตัวเป็นคนบ้าใบ้ เพื่อให้พระราชบิดาขับไล่ออกจากวัง โดยหวังว่าท่านจะได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบและสันโดษ ไม่ก่อกรรมก่อเวรแก่ผู้ใด
ชาวพุทธจึงเลี่ยงเรื่องการแสวงหาอำนาจ เพราะอำนาจคือตำแหน่งแห่งที่แห่งการก่อกรรม
ยิ่งคนมีอำนาจมาก ก็มักจะหลงบ้าอำนาจได้ และหลงใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ด้วย การสร้างเวรสร้างกรรมต่อคนอื่นๆ จึงมากด้วย
ยิ่งมีอำนาจ และหลงอำนาจมาก ก็ยิ่งสร้างศัตรูมาก แม้แต่บรรดาผู้คนที่เคยเป็นเพื่อนมิตรก็กลายเป็นศัตรู
เมื่อหลงอำนาจ และมีศัตรูมาก ดังนั้นไม่ใช่ตัวเองเท่านั้นที่ต้องเผชิญทุกข์หนัก แม้แต่เมีย ลูก ญาติพี่น้องก็พลอยทุกข์หนักตามไปด้วย
ปัจจุบัน คนที่มีอำนาจไม่เพียงแต่จะหลงอำนาจเท่านั้น ยังติดหลงเงินตราด้วย
อำนาจหมด เงินเกือบแสนล้านก็ถูกยึด แผ่นดินก็ไม่มีอยู่ เมียทิ้ง จะไม่ทุกข์ได้อย่างไร
ทางออกตามหลักพุทธจึงไม่ใช่การทำพิธีแก้กรรม แต่คือ “การหยุด”
หยุดแสวงหาอำนาจ หยุดแสวงหาความมั่งคั่ง เรียนรู้คำว่า “พอ”
นี่คือ จุดเริ่มแห่งการแก้กรรมแบบพุทธ
ชื่อเสียงเกียรติยศ เงินทองมหาศาล ตายแล้วขนไปได้หรือ
ทั้งหมด ทั้งหลายที่ท่านหลงติดยึด ล้วนแต่คือ “มายา”
ยิ่งหลงใหลอำนาจมาก หลงเงินทองมาก ก็ยิ่งต้องดิ้นรนเอาอำนาจกลับคืน
ยิ่งต้องดิ้นรนมาก ก็ยิ่งเพิ่มทุกข์ เพิ่มกรรมต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
กลายเป็นวัฏจักรกรรมเวร และกลายเป็นกรงที่ขังวิญญาณตนเองไปตลอดชีวิต (ยังมีต่อ)
ถ้าเราเคยศึกษาพุทธศาสนามา จะมีคำกล่าวประโยคหนึ่งที่ติดปากคนไทย นั่นคือพุทธวจนะที่ตรัสว่า
“เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุด”
นี่คือ คำกล่าวของพระพุทธเจ้าสอนองคุลิมาล
องคุลิมาลหลงเชื่อผิดๆ ว่า ตัวเองจะบรรลุสู่ความสูงสุดได้ หรือเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมมันได้ ต้อง ‘ฆ่า’ ผู้คนให้ครบพันคน
ท่านจึงหลงฆ่าคน ฆ่าไปได้ 999 คน เหลือแค่เพียงคนคนเดียว
สำหรับชาวพุทธแล้ว ‘การฆ่า’ ถือเป็นบาปสุดๆ และคือการก่อกรรมหนักหน่วงที่สุด
ยิ่งการ “ฆ่า” นั้น เพื่อหวังหรือให้ตัวเอง “บรรลุ” ถึงความสูงสุด ก็ยิ่งเท่ากับติดหลงลัทธิอัตตาอย่างสูงด้วย หรือกล่าวได้ว่า นี่คือการกระทำเพื่อตัวเองหรือความยิ่งใหญ่ของตัวเอง
ในสมัยที่พระพุทธองค์จะออกบวช ท่านเองก็เชื่อแบบผิดๆ ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อแบบพราหมณ์ ไม่ต่างจากความเชื่อขององคุลิมาลมากนัก
ท่านเชื่อว่า กาย กับ จิต สามารถแยกออกจากกันได้
‘กาย’ ถือว่าเป็นสิ่งหยาบ และกิเลสอยู่ติดกับกาย ดังนั้นต้องทรมานกายเพื่อควบคุมกิเลสตัณหาให้ได้ และทำให้ ‘จิตบริสุทธิ์’ เพื่อท่านจะได้บรรลุสู่ความสูงสุด ไปเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมมัน
ดังนั้นคำว่า “เราหยุดแล้ว” ถ้าตีความก็น่าจะหมายความว่า ท่านหยุดที่จะเชื่อแบบพราหมณ์แล้ว และท่านหยุดที่จะก่อกรรม (แก่ร่างกาย) ของท่านเองแล้ว
พระพุทธเจ้าท่านพบแล้วว่า วิถีแห่งพราหมณ์นั้นผิด และถือว่าเป็นอวิชชา ไม่ใช่ทางที่จะแก้ปัญหาหรือแก้ทุกข์ได้ กลับเพิ่มทุกข์ให้แก่ (กาย) ตนเอง
องคุลิมาลก็ติดหลงอวิชชาเช่นกัน
ท่านฆ่าคนเพื่อทำลายกายที่หยาบ สกปรก เป็นแหล่งก่อเกิดและสะสมกิเลส ท่านเชื่อว่ากายกับจิตเป็นคนละเรื่องกัน จึงหลงเชื่อว่าเมื่อกายตาย แต่จิตไม่ได้ตายด้วย
การฆ่าจึงไม่เป็นบาป หรือเท่ากับปลดปล่อยให้ ‘วิญญาณ’ เป็นอิสระจากกาย
ดังนั้น ‘การฆ่า’ คือการปลดปล่อยจิตหรือวิญญาณอย่างหนึ่ง
พระพุทธองค์ตระหนักรู้ว่า แม้องคุลิมาลฆ่าคนได้ครบ 1,000 คน ก็ไม่อาจจะบรรลุความสูงสุดได้ และที่สำคัญ “การฆ่าคน คือการก่อกรรม”
ยิ่งฆ่ามากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มเวรเพิ่มกรรมไปเท่านั้น
พระพุทธองค์จึงบอกองคุลิมาลให้ “หยุด” ก่อกรรมเพิ่ม และเปลี่ยนวิถีในการคิด เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่
ท่านอธิบายแก่องคุลิมาล
คำว่า กรรม หมายถึงการกระทำที่ก่อทุกข์แก่ตัวเอง (กาย) และผู้อื่น
เมื่อเราฆ่าผู้อื่น ญาติพี่น้องของเขาก็ต้องคิดแก้แค้น ก่อเวรก่อกรรมต่อ จนกลายเป็น ‘ห่วงโซ่แห่งกรรม’ ไปไม่สิ้นไม่สุด
ทั้งหมดจึงกลายเป็นเส้นทางสู่การก่อทุกข์ ไม่ใช่เส้นทางสู่สันติสุข และไม่ใช่เส้นทางการปลดปล่อยจิต (หรือวิญญาณ) เพราะจิต (หรือวิญญาณ) ของผู้ฆ่าเองจะจมอยู่กับความทุกข์และความกังวล
องคุลิมาลจึงคิดได้ และเปลี่ยนความเชื่อใหม่ เปลี่ยนเส้นทางชีวิตใหม่ ด้วย “การหยุดฆ่า” หรือ “หยุดการก่อกรรมต่อ”
แต่คำว่า กรรม ในพุทธศาสนา ไม่ได้หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลหนึ่งๆ เท่านั้น ยังกินความหมายถึง ตำแหน่งแห่งที่ หรือ ฐานะอำนาจวาสนา ด้วย
ยิ่งคนมีฐานะแห่งอำนาจสูง ยิ่งต้องก่อ ‘กรรม’ มาก
ถ้าอ่านงานทางพุทธศาสนาเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เรื่องแรกที่ถือว่าสำคัญที่สุดคือเรื่อง เตมีย์ใบ้
เตมีย์ใบ้เกิดในวรรณะกษัตริย์ ท่านรู้ว่าถ้าท่านต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดา ท่านก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องก่อกรรมหนัก เพราะการเป็นกษัตริย์หลีกหนีไม่พ้นที่ต้องทำสงคราม หรือไม่ก็ต้องสั่งฆ่าผู้คนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ท่านจึงตระหนักว่า ฐานะการเป็นผู้มีอำนาจวาสนา (หรือฐานะกษัตริย์)
คือตำแหน่งหรือฐานะที่ท่านต้องสละทิ้ง จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้โดยเด็ดขาด
ท่านจึงทำตัวเป็นคนบ้าใบ้ เพื่อให้พระราชบิดาขับไล่ออกจากวัง โดยหวังว่าท่านจะได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบและสันโดษ ไม่ก่อกรรมก่อเวรแก่ผู้ใด
ชาวพุทธจึงเลี่ยงเรื่องการแสวงหาอำนาจ เพราะอำนาจคือตำแหน่งแห่งที่แห่งการก่อกรรม
ยิ่งคนมีอำนาจมาก ก็มักจะหลงบ้าอำนาจได้ และหลงใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ด้วย การสร้างเวรสร้างกรรมต่อคนอื่นๆ จึงมากด้วย
ยิ่งมีอำนาจ และหลงอำนาจมาก ก็ยิ่งสร้างศัตรูมาก แม้แต่บรรดาผู้คนที่เคยเป็นเพื่อนมิตรก็กลายเป็นศัตรู
เมื่อหลงอำนาจ และมีศัตรูมาก ดังนั้นไม่ใช่ตัวเองเท่านั้นที่ต้องเผชิญทุกข์หนัก แม้แต่เมีย ลูก ญาติพี่น้องก็พลอยทุกข์หนักตามไปด้วย
ปัจจุบัน คนที่มีอำนาจไม่เพียงแต่จะหลงอำนาจเท่านั้น ยังติดหลงเงินตราด้วย
อำนาจหมด เงินเกือบแสนล้านก็ถูกยึด แผ่นดินก็ไม่มีอยู่ เมียทิ้ง จะไม่ทุกข์ได้อย่างไร
ทางออกตามหลักพุทธจึงไม่ใช่การทำพิธีแก้กรรม แต่คือ “การหยุด”
หยุดแสวงหาอำนาจ หยุดแสวงหาความมั่งคั่ง เรียนรู้คำว่า “พอ”
นี่คือ จุดเริ่มแห่งการแก้กรรมแบบพุทธ
ชื่อเสียงเกียรติยศ เงินทองมหาศาล ตายแล้วขนไปได้หรือ
ทั้งหมด ทั้งหลายที่ท่านหลงติดยึด ล้วนแต่คือ “มายา”
ยิ่งหลงใหลอำนาจมาก หลงเงินทองมาก ก็ยิ่งต้องดิ้นรนเอาอำนาจกลับคืน
ยิ่งต้องดิ้นรนมาก ก็ยิ่งเพิ่มทุกข์ เพิ่มกรรมต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
กลายเป็นวัฏจักรกรรมเวร และกลายเป็นกรงที่ขังวิญญาณตนเองไปตลอดชีวิต (ยังมีต่อ)